ทำไมเราจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ของเมืองเดรสเดนก่อนที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของ A. Lange & Söhne ได้อย่างลึกซึ้ง
บทความ: รักดี โชติจินดา
บทความนี้เป็นเรื่องราวของแบรนด์นาฬิกาเยอรมันเพียงบริษัทเดียว แต่ในการที่จะทำความเข้าใจที่มาและที่ไปของ A. Lange & Söhne และสถานะอันสูงส่งในวงการนาฬิกายุคสมัยปัจจุบันของแบรนด์นี้ได้นั้น เราจะต้องย้อนเวลากลับไปในอดีตและมองภาพในมุมกว้างให้เห็นทั่วถึงทั้งยุโรปเสียก่อน
คนส่วนมากในโลกนี้รับรู้มาว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลก จนทำให้ไม่ได้ศึกษาต่อแล้วว่าที่จริงนั้นทั้งแต่ก่อนและในสมัยนี้ก็ยังมีการผลิตนาฬิกาในประเทศอื่นๆ ด้วย อย่างในสมัยอดีต ก่อนที่เจนีวาจะรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงแห่งการประดิษฐ์นาฬิกานั้นก็มีลอนดอนและปารีสที่มีชื่อเสียงมาก่อนหน้า หรือทางฝั่งเยอรมนีก็มีเดรสเดนซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมืองสำคัญสำหรับการประดิษฐ์นาฬิกา และมีการอุปถัมภ์จากราชวงศ์หรือชนชั้นสูงเหมือนเช่นที่ลอนดอนและปารีสด้วย แต่แล้วปัจจัยทางด้านสังคม อุตสาหกรรมและการเมืองก็ได้ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาในเมืองต่างๆ เหล่านี้เสื่อมถอยไปและถูกสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นมาแทนที่

ดังนั้นหากเราจะทำความเข้าใจกับบริษัท A. Lange & Söhne อย่างในปัจจุบันนี้ได้ เราจะต้องย้อนกลับไปดูเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเดรสเดนยุคศตวรรษที่ 18 เมื่อครั้งที่กำลังเข้าสู่สถานะแห่งการเรืองอำนาจเสียก่อน ในสมัยนั้น กษัตริย์ออกุสตุสที่สองซึ่งครองราชย์จากปี ค.ศ. 1697-1733 มีความสนพระทัยในงานที่เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นนักสะสมตัวยงที่เก็บของทุกอย่างที่น่าประทับใจ ในปี ค.ศ. 1728 เมื่อพระองค์เห็นว่าหอศิลป์จะเต็มแล้วจึงมีดำริให้แยกอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ออกจากภาพวาดแล้วนำไปจัดแสดงไว้ในพื้นที่ใหม่ที่ให้ชื่อว่าหออุปกรณ์คณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลวงแห่งเดรสเดน ในบรรดาของที่เก็บรักษาไว้นั้นก็ย่อมต้องมีนาฬิกาแดดและนาฬิกาจักรกลจากประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก (และเป็นเรื่องน่าทึ่งว่าของทั้งหลายยังอยู่ถึงวันนี้ให้คุณเข้าไปชมได้เพียงแค่จ่ายค่าตั๋ว 8 ยูโร)

จากนั้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 ก็มีชายคนหนึ่งชื่อว่าเฟอร์ดินานด์ อดอล์ฟ ลังเง่อเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน แต่ความฉลาดหลักแหลมของเขาประกอบกับความถนัดทางด้านเทคนิคทำให้มีคนสนับสนุนให้เขาได้เขาเข้าเรียนในวิทยาลัยเทคนิคของเมืองเดรสเดน จากนั้นเขาได้เป็นลูกศิษย์ของช่างนาฬิกาชื่อโยฮาน คริสเตรียน ฟรีดิก กุทเคสในปี ค.ศ. 1830 แล้วจึงไปศึกษาต่อที่ปารีสซึ่งเป็นศูนย์กลางเรื่องงานประดิษฐ์นาฬิกาแบบความเที่ยงตรงสูงอย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้น ไม่เพียงเท่านั้น เขายังได้เห็นอีกด้วยว่าอุตสาหกรรมนาฬิกาในภาคตะวันตกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีประสิทธิภาพด้วยระบบของการแบ่งงานกันทำได้อย่างไร

ครั้นเมื่อเขาเดินทางกลับมาถึงเดรสเดนในปี ค.ศ. 1841 แล้ว เขาก็มีความมุ่งมั่นที่จะก่อตั้งอุตสาหกรรมนาฬิกาขึ้นบ้างเพื่อทดแทนการทำเหมืองเพราะว่าภูเขาในแถบนั้นกำลังจะไม่เหลือแร่เงินให้ขุดแล้ว ทางฝั่งรัฐบาลได้อนุมัติแผนของเขาในปี ค.ศ. 1845 โดยให้เงินกู้ยืมไปพร้อมกับเงื่อนไขว่าลังเง่อจะต้องจ้างคนท้องถิ่นจำนวน 15 คนมาเป็นพนักงานเรียนรู้และฝึกงาน ยังผลให้เขาสามารถเปิดเวิร์คช็อปของตนได้ในเมืองเล็กๆ ใกล้เดรสเดนที่มีชื่อว่ากลาสฮุตเตอร์ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1845 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น A. Lange & Söhne ในปี ค.ศ. 1868 เมื่อริชาร์ดผู้เป็นบุตรชายมาร่วมกิจการด้วย แล้วเอมิลซึ่งเป็นลูกชายอีกคนหนึ่งจึงตามมาสมทบในปี ค.ศ. 1871

เฟอร์ดินานด์ อดอล์ฟ ลังเง่อสร้างคุณงามความดีไว้ให้กับวงการนาฬิกาหลายประการ เขาเป็นผู้ริเริ่มการใช้ระบบเมตริกซึ่งมีความแม่นยำกว่าระบบหน่วยวัดของปารีสมาก (1 ลีนของปารีส = 2.2558 มม.) และเขายังใช้เวลานานถึง 20 ปีในการค่อยๆ พัฒนาและปรับปรุงสถาปัตยกรรมการออกแบบเครื่องแบบธรีควอเตอร์เพลทซึ่งสามารถให้ความมั่นคงได้มากกว่าในระยะยาว และยังเป็นรายละเอียดการออกแบบที่สำคัญของนาฬิกา Lange จนถึงวันนี้

หลังจากที่เฟอร์ดินานด์ อดอล์ฟจากไปในปี ค.ศ. 1875 ลูกชายทั้งสองและรุ่นหลานก็สืบทอดกิจการนาฬิกาที่รุ่งเรืองนั้นเรื่อยมาจนกระทั่งอาคารโรงงานถูกระเบิดทำลายในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าทางครอบครัวลังเง่อจะพยายามกอบกู้กิจการขึ้นมาใหม่ แต่ในที่สุดแล้วเมืองกลาสฮุตเตอร์ก็ตกอยู่ในการปกครองของโซเวียตในปี ค.ศ. 1945 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันออกในที่สุด ณ จุดนี้ก็ไม่มี A. Lange & Söhne อีกแล้วเพราะรัฐบาลใหม่เข้ามายึดเอาธุรกิจต่างๆ ไป ที่เป็นผู้ผลิตนาฬิกาก็ถูกรวมกันเข้าเป็นบริษัทกลางชื่อ Glashütter Uhrenbetriebe หรือ GUB เพื่อผลิตนาฬิกาขายให้กับประเทศคอมมิวนิสท์อื่นเป็นหลัก ทำให้วอลเตอร์ ลังเง่อซึ่งเป็นเหลนของเฟอร์ดินานด์ อดอล์ฟต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองฟอร์ซไฮม์ในประเทศเยอรมนีตะวันตก

A. Lange & Söhne จะไม่มีทางกลับมาได้เลยหากไม่มีการรวมชาติของเยอรมนีในปี ค.ศ. 1990 ในปีนั้น วอลเตอร์ ลังเง่อใช้ฤกษ์วันที่ 7 ธันวาคมในการจดทะเบียนบริษัทของธุรกิจครอบครัวเขาใหม่อีกครั้งโดยไม่มีพนักงานหรือเครื่องจักรใดๆ นับเป็นเวลา 145 ปีพอดีจากการก่อตั้งกิจการครั้งแรกโดยคุณปู่ทวด เขาใช้เวลาสี่ปีในการพัฒนานาฬิกาคอลเลคชั่นแรกซึ่งประกอบด้วยเรือนเวลาทั้งหมดสี่รุ่น ในจำนวนนี้มีสามรุ่นที่มีการแสดงค่าวันที่แบบเอาท์ไซส์เดทด้วยหน้าต่างคู่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนาฬิกาแบบห้านาทีที่เฟอร์ดินานด์ อดอล์ฟ ลังเง่อเคยช่วยกุทเคสประดิษฐ์ให้กับโรงอุปรากรแห่งเดรสเดนเมื่อปี ค.ศ. 1841

นาฬิกา Lange ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มีการขัดแต่งในระดับที่เลอเลิศ บนบาลานซ์ค็อกมีการแกะสลักลวดลายดอกไม้ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผลงานของช่างท่านใด หากคุณใส่นาฬิกา Lange กลับไปเยือนโรงงานเขาก็จะบอกคุณได้เพียงเอากล้องส่องว่าบาลานซ์ค็อกชิ้นนี้เป็นฝีมือของช่างคนใดและวันนั้นอยู่หรือไม่ อีกหนึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือว่าไม่ว่าจะเป็นนาฬิการุ่นที่มีราคาต่ำหรือสูง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นที่บอกเวลาได้อย่างเดียวหรือมีคอมพลิเคชั่นด้วย ความประณีตในการผลิตกลับเท่ากันทั้งหมด ไม่ใช่ว่าพอเป็นรุ่นถูกแล้วก็ขัดแต่งน้อยกว่าแต่อย่างใด

หากที่ผ่านมาคุณยังไม่เคยได้ลองจับลองพลิกนาฬิกา A. Lange & Söhne ดูหน้าดูหลัง ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็ตาม เราขอเชิญชวนให้คุณใช้เวลาสักเล็กน้อยไปลองดูที่บูติคให้เห็นกับตา แล้วคุณจะเข้าใจเลยว่าที่เราพยายามสื่อสารด้วยเนื้อที่ตรงนี้คือเรื่องอะไรกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง: The Radical Simplicity of ochs und junior Watches
To fully appreciate the soul of A. Lange & Söhne watches, one need to first under the history of Dresden and the effects it had on the course of Saxon watchmaking.
Words: Ruckdee Chotjinda
Although this article focuses on one German watch firm, it is imperative that we examine the broader picture, including both geography and time, to fully perceive how things came to be, and why A. Lange & Söhne commands so much respect among connoisseurs in the global watchmaking communities.
Switzerland’s status as a peerless watch-producing country has blinded citizens of the world to the fact that excellent timekeepers were also (and still are) produced outside of the landlocked country. Other than Geneva, the prominent watchmaking capitals included London and Paris – the watchmaking activities in the latter cities thrived, largely due to the patronage of the royalty and the elite. The eastern Germany city of Dresden served as another important centre, also with aristocratic ties. In ensuing eras, social, industrial and political factors contributed to these cities’ demise as watchmaking hubs, giving dominance to Switzerland.
In order to understand the A. Lange & Söhne company of today, we must first re-visit 18th century Dresden when the Saxon city was emerging as an important power. King Augustus II the Strong, who reigned from 1697 to 1733, was a great patron of the arts and culture, and a notable collector of all things impressive. In 1728, Augustus the Strong saw it necessary to restructure the city’s Chamber of Art by separating scientific instruments from paintings, quartering them in a dedicated space called the Royal Cabinet of Mathematical and Physical Instruments. Naturally, sundials and clocks of various origins comprised an important part of that collection (and quite impressively, you can pay a small fee of EUR 8 to see those objects today).
Ferdinand Adolph Lange entered the scene in the first half of the 19th century. Born to an impoverished family, his intelligence and technical aptitude earned him financial support for education at the technical college of Dresden. Lange became an apprentice to watchmaker Johann Christian Friedrich Gutkaes in 1830. He furthered his studies in Paris, then a centre of precision watchmaking, as mentioned above, and witnessed how watches were efficiently produced through a labour division system in western Switzerland.
Upon Lange’s return to Dresden in 1841, he was convinced that it was possible to formally establish a watchmaking trade as a viable replacement to mining, as the mountains in the region were becoming depleted of silver. The government eventually approved his plans in 1845. With a loan in hand and the condition that he must hire 15 local apprentices, Lange inaugurated his workshop in the adjacent small town of Glashütte on 7 December 1845. The company changed its name to A. Lange & Söhne in 1868, when Lange’s son Richard joined the business. Another son, Emil, followed suit in 1871.
Ferdinand Adolph Lange made several contributions to watchmaking. He adopted the metric system, which was much more precise than the Parisian system (1 ligne = 2.2558 millimetres). The three-quarter plate architecture, developed over the course of 20 years, offered long-lasting stability and remains a signature of the brand until this day.
After Ferdinand Adolph passed away in 1875, his sons and their successors continued to operate the prosperous watchmaking business as such – up until 8 May 1945, the day World War II ended, when the factory was sadly destroyed by a bomb. Despite the family’s attempt to rebuild, Glashütte was occupied by the Soviets in 1948 and became a part of East Germany. A. Lange & Söhne ceased to exist when the new administration expropriated businesses, bundling up all watch manufactories in the area into an entity called Glashütter Uhrenbetriebe (GUB), which subsequently produced watches mostly for the communist states. Walter Lange, the great grandson of Ferdinand Adolph, had no choice but to relocate to Pforzheim in West Germany.
The rebirth of A. Lange & Söhne would not have been possible without the reunification of Germany in 1990. On 7 December of that year, exactly 145 years after the first inauguration, Walter Lange re-incorporated his family business with no employees or machines. He spent the next four years perfecting the first collection of four watches: three of them with the patented outsized date whose double windows were inspired by the 5-minute clock Ferdinand Adolph Lange helped Gutkaes build for Dresden’s Semper Opera House back in 1841.
Modern-day Lange watches are finished to an astounding level. They are also characterised by the engraving of a floral motif on the balance cock. If you ever visit the manufactory with your Lange watch, the fine people in the engraving department will be able to tell you who among them performed that work of artistry. More importantly, the same attention to detail can be found across the entire price range of A. Lange & Söhne. There are simpler and more complicated Lange watches, but they are invariably finished to the same macro photography-worthy magnitude.
If, for any reason, you previously missed the chance to familiarise yourself with these fantastic creations from Germany, take the time to do so, and you will fully appreciate the fine points we are trying to make here.

See also: The Radical Simplicity of ochs und junior Watches