ถ้าคุณเป็นคนรักนาฬิกา ชอบประวัติศาสตร์หรือตื่นเต้นทุกครั้งที่เห็นรูปนาฬิกาสวยๆ คลิกตามมาได้เลย
บทความ: รักดี โชติจินดา
หลังจากที่นั่งคลิกดูนั่นโน่นนี่แบบเพลินๆ อยู่ 45 นาทีจึงนึกขึ้นมาได้ว่าที่จริงเรามีหน้าที่ต้องเขียนบทความเรื่องนี้ The Persistence of Memory คือชื่อของนิทรรศการแบบออนไลน์ที่จัดให้มีขึ้นโดย The Hour Glass เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องราวของช่างนาฬิกาอิสระระดับแนวหน้าของวงการที่มีผลงานในช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-2020 ซึ่งเป็น 5 ทศวรรษแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เราได้เห็นอุตสาหกรรมนาฬิกาจักรกลตกต่ำถึงจุดเกือบล่มสลายก่อนที่จะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างที่เห็นในทุกวันนี้
The Hour Glass เป็นตัวแทนจำหน่ายที่มีบูติคกว่า 45 แห่งใน 12 เมืองใหญ่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังเป็นที่ขึ้นชื่ออีกด้วยในด้านการสนับสนุนแบรนด์นาฬิกาไฮเอ็นด์ขนาดเล็กให้เป็นที่สนใจของผู้ซื้อ คุณไมเคิล เทย์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท กล่าวว่า “โปรเจคใหญ่นี้อยู่ในแผนงานมานานหลายปีแล้ว และผมก็ภูมิใจมากๆ กับผลลัพธ์ที่ออกมา เราสามารถรวบรวมนาฬิกาตัวอย่างได้ราว 150 เรือนเพื่อเป็นตัวแทนแห่งงานประดิษฐ์นาฬิกาชั้นสูงในช่วงเวลาดังกล่าว หลายเรือนได้ยืมมาจากคอลเลคชั่นส่วนตัวของนักสะสมคนสำคัญ และบ้างก็มาจากตัวช่างนาฬิกาเหล่านั้นเอง”
นิทรรศการออนไลน์นี้มีการจัดระเบียบด้วยการแยกเป็นห้องต่างๆ แต่ละห้องนำเสนอเรื่องราวของช่างนาฬิกาเพียงหนึ่งคนเท่านั้น เมื่อคลิกเข้าไปแล้วก็จะพบกับประวัติของช่างนาฬิกา เรื่องราวแห่งความสำเร็จในแต่ละช่วงของเวลา ตลอดจนเรือนเวลาที่โดดเด่นของเขา อย่างในภาพตัวอย่างนี้ผมลองคลิกเข้าไปในห้องของแดเนียล รอธ และก็ได้อ่านทั้งบางเรื่องที่รู้อยู่แล้วและเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งก็คือว่าแดเนียล รอธเคยมีส่วนในการพัฒนาแบรนด์ Breguet ในปี ค.ศ. 1973 หลังจากที่เจ้าของในขณะนั้นซื้อชื่อ Breguet มาจากทายาทรุ่นที่ 9 ของตระกูลแล้วย้ายโรงงานจากปารีสกลับมาตั้งที่วาลเลเดอชูซ์
นอกจากจะมีสไตล์การเขียนที่ไม่เยิ่นเย้อแล้ว ภาพถ่ายยังเป็นตัวชูโรงของนิทรรศการในครั้งนี้จริงๆ เพราะคุณภาพงานถ่ายอยู่ในระดับดีงามเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาพนาฬิกากับพร็อพ ภาพโคลสอัพส่วนต่างๆ ทางด้านหน้าและด้านหลังของนาฬิกา หรือช็อทบนข้อมือก็เลิศไม่แพ้กัน ภาพถ่ายเหล่านี้ทำให้เราในฐานะผู้ชมได้เห็นรายละเอียดต่างๆ อย่างดียิ่งกว่าเวลาได้เห็นเรือนจริงขณะจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หรือแกลเลอรี และโดยรวมก็ไม่ได้รีทัชจนสวยเกินจริงแต่อย่างใด เราจึงยังเห็นรอยขีดข่วนบนตัวเรือนและคราบการอ็อกซิไดซ์ของทองได้อย่างสมจริง
สุดท้าย เมื่อชมทุกอย่างเสร็จแล้ว นิทรรศการนี้ยังมีของที่ระลึกขายคุณด้วยราวกับเป็นการไปเยือนสถานที่จริง ไฮไลท์เห็นจะเป็นโปสการ์ดและจิ๊กซอว์รูปนาฬิกางามๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ผมเชื่อว่าวงการนาฬิกาควรมีแหล่งความรู้แบบนี้บ้าง ไม่ใช่มีแต่เรื่องของราคาและการเก็งกำไร เพราะทุกวันนี้ความคิดบางเรื่องมันก็ผิดเพี้ยนจากที่ควรจะเป็นไปมากแล้ว
ถ้าคุณยังอ่านตามที่ผมร่ายยาวมาจนถึงจุดนี้ก็คงจะเป็นคนที่สนใจจริงๆ แล้ว ขอเชิญไปรับประสบการณ์ The Persistence of Memory ด้วยตนเองต่อได้เลยที่ https://ovr.thehourglass.com ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Gem Dior is the Birth of a Shape
If you consider yourself a watch enthusiast, come and appreciate this illustrated distillation of artisanal watchmaking of the past 50 years.
Words: Ruckdee Chotjinda
Forty-five minutes after the online exhibition is open to the public at 19:00 on Thursday 11 March, I decide to relate it to you my dear audience in the very same way I experienced it. “The Persistence of Memory” online exhibition by The Hour Glass is an illustrated history of artisanal watchmaking from 1970 to 2020 – the five decades which has seen the mechanical watchmaking industry plummeting to the ground and rising once again to its peak.
The Hour Glass with a network of over 45 boutiques in 12 cities across the Asia Pacific Region is known as a champion of independent watchmaking. Its Group Managing Director Michael Tay, says, “This survey has been a project that has been fermenting for several years now and I couldn’t have been happier with its outcome. We assembled some 150 of the finest examples of artisanal watchmaking of this period. Many of these watches were on loan from important private collections as well as from the artisans themselves.”
This online exhibition is comprised of rooms, each one dedicated to a master. Visitors choose a name that intrigues them in order to be presented with the background of that watchmaker, his career milestones and important timepieces. For the purpose of this example, I chose Daniel Roth and read about what little I already knew about him, plus more. For example, I was not aware that he contributed to the revitalisation of Breguet in 1973 after the owners at the time bought the name from the ninth generation of the Breguet family and relocated the operation from Paris to Vallée de Joux.
Succinct writing is complemented by stunning photography, and I mean stunning. This should be the gold standard for watch photography indeed whether for styled ambiance, deep macro or wristed shots. The photographs offer the level of clarity that allows visitors to appreciate featured timepieces in such a way that they cannot in, say, a real museum or gallery setting. They are also not overly retouched so the light scratches from use and gold oxidation from exposure to the elements are still visible on the cases, for example.
Lastly, as if this was a real, physical venue, the exhibition offers a finishing experience of a shop where the usual items are sold. The highlights should be the postcards and the jigsaw puzzles which feature the said photographs of the watches. I find this exhibition a great antidote for such time as this when watch buyers can become too concerned about resale value or financial appreciation (okay, I mean speculation or that so-called “investment” mentality). There needs to be a cultivation of some sort, in order to restore balance.
Access to “The Persistence of Memory” is open to the public at https://ovr.thehourglass.com. Do head on over. You will not be disappointed if you managed to follow me to this very last line of the article.
See also: Gem Dior is the Birth of a Shape