แคทริน บิเกโลว์ ผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กับการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ภายใต้การท้าทายและกระตุ้นของลอว์เรนซ์ วีเนอร์ ผู้เป็นอาจารย์ของเธอ
บทความ: โจนาธาน โฮ
จนถึงบัดนี้ แคทริน บิเกโลว์ ยังคงเป็นผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัล Academy Award สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์ปี 2008 เรื่อง The Hurt Locker เดิมทีนั้นเธอเข้าศึกษาด้านจิตรกรรมที่สถาบันศิลปะซานฟรานซิสโกและทำงานเป็นจิตรกรเพื่อหาเลี้ยงตนเองแบบสมถะ ขณะนั้นเธอพักอาศัยอยู่ศิลปินสองท่านซึ่งมีอิทธิพลต่องานของเธอมาก ได้แก่ จิตรกรและผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน จูเลียน ชนาเบล และ ศิลปินด้านการแสดงผู้ยิ่งใหญ่ วีโต แอคคอนชี หลังจากนั้นไม่นานนัก บิเกโลว์จึงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ซึ่งเธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและการวิจารณ์จากคณาจารย์ อาทิ แอคคอนซี ซูซาน ซอนแทก และ ลอว์เรนซ์ วีเนอร์
“หากมีกระแสขัดขวางการที่ผู้หญิงจะสร้างภาพยนตร์ ฉันก็เพียงเลือกที่จะไม่สนใจว่านั่นเป็นอุปสรรคด้วยสองเหตุผลด้วยกัน คือ ฉันไม่อาจเปลี่ยนเพศของฉันได้ และฉันจะไม่ยอมเลิกสร้างภาพยนตร์”
แม้ว่าคนส่วนมากจะจดจำ The Loveless ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เธอกำกับเรื่องแรกในฐานะภาพยนตร์ใหญ่เรื่องแรกของเธอที่ได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างล้นหลามในปี 1981 แต่ตัวบิเกโลว์เองบอกเล่าในการสัมภาษณ์เมื่อปี 1995 ว่าภาพยนตร์สั้นชื่อ The Set-Up ซึ่งเป็นงานวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเธอต่างหากที่ไปเข้าตาผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ ยาน โทมาส “ไมลอส” ฟอร์แมน
ความสำเร็จในช่วงแรกเริ่มนี้เองที่เป็นตัวกำหนดอารมณ์และแนวทางให้กับสัญชาตญาณในการสร้างภาพยนตร์ของเธอ เมื่อคุณชมภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว คุณก็จะสังเกตเห็นถึงวิธีการสร้างภาพยนตร์แอคชั่นที่ไม่เหมือนใครของเธอ ตลอดจนแนวภาพที่เป็นเหมือนลายเซ็นประจำตัวเธอเมื่อเธอกำกับภาพยนตร์แอ็คชั่นในยุคทศวรรษที่ 90 อย่างเช่น Blue Steel (1990) Point Break (1991) และ Strange Days (1995) ซึ่งเรื่องสุดท้ายนี้เขียนบทและอำนวยการสร้างโดยเจมส์ คาเมรอน เทสติโมนีอีกท่านหนึ่งของ Rolex
ต้นกำเนิดของแรงบันดาลใจและการส่งต่อความรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด
ก่อนที่บิเกโลว์จะกลายมาเป็นศิษย์ของลอว์เรนซ์ วีเนอร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งคู่เคยร่วมงานกันมาแล้วในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเธอมักปรากฏตัวในภาพยนตร์ของวีเนอร์ ช่วยตัดต่อหรือช่วยเขียนบทบางส่วน นี่เองเป็นช่วงที่เธอได้ฝึกปรือเทคนิคการใช้เสียงเพื่อแบ่งแยกภาพ และได้ทดลองเล่นกับคุณสมบัติต่างๆ ในความเป็นภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมโดยตรง ดังที่เราได้เห็นอีกในผลงานชิ้นเอกของเธออย่าง The Set-Up, The Hurt Locker, Zero Dark Thirty และล่าสุดคือ Detroit
วีเนอร์คือหนึ่งในผู้บุกเบิกงานด้านศิลปะเชิงแนวคิดในยุคทศวรรษที่ 60 เขาได้พบกับบิเกโลว์ที่งานปาร์ตี้ครั้งหนึ่งที่บ้านของกอร์ดอน แมตตา-คลาร์ก ในย่านโซโฮช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ซึ่งตอนนั้นบิเกโลว์เพิ่งจะอายุ 22 ปี เธอกล่าวว่า “เขา (วีเนอร์) ได้ถ่ายทอด (ปรัชญาที่ว่าเนื้องานนั้นสำคัญกว่าผลงานศิลป์ที่ได้ในท้ายที่สุด) ให้ผู้คนอย่างฉัน ฉันคิดว่าช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้นมาก และมันจะติดตัวคุณไปตลอดไม่ในทางใดก็ทางหนึ่ง มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดในการสร้างสรรค์และใช้ภูมิปัญญาของคุณ และจะปรากฏให้เห็นในงานที่คุณสร้างตลอดไป”
ไม่เพียงเท่านั้น ก่อนที่บิเกโลว์จะเข้าเรียนในระดับปริญญาโทด้านภาพยนตร์ต่อนั้น เธอเข้าเรียนในหลักสูตรการศึกษาอิสระของพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันวิทนีย์ที่นิวยอร์คซิตี้และก็มีวีเนอร์ผู้นี้เองที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ ทั้งสองจึงมีความสนิทชิดเชื้อกันจนถึงทุกวันนี้และได้สร้างภาพยนตร์ร่วมกันหลายเรื่องอีกด้วย
“คุณไม่อาจทิ้งสิ่งที่คุณเรียนรู้แล้วได้ คุณไม่อาจลืมสิ่งที่คุณรับทราบแล้วได้” บิเกโลว์กล่าวในเรื่องของการส่งต่อความรู้
บิเกโลว์รู้สึกดีกับช่วงเวลาที่เธอได้ทำงานและเรียนรู้จากวีเนอร์ เธอกล่าวว่า “มันคือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ วิธีการคิดจริงๆ ค่ะ และมันก็เป็นไปอย่างไม่รู้ตัวด้วย” ฝั่งวีเนอร์ผู้เป็นอาจารย์ก็เห็นด้วยกับประโยคนั้นของเธอโดยการกล่าวว่า “เราทุกคนต้องทำงานร่วมกับคนอื่น นี่คือบริบทที่ไม่มีมานานถึง 25 ปีแล้ว บริบทที่ใครสักคนหนึ่งจะเดินทางมายังนิวยอร์คซิตี้แล้วได้ทำงานร่วมกับศิลปินที่มีอาวุโสกว่าแล้วยังอยู่รอดปลอดภัยได้”
การถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นกระบวนการทางวิพาษวิธี โดยวีเนอร์จะเป็นฝ่ายท้าทายบิเกโลว์อยู่เสมอ การโต้ตอบและบทสนทนาระหว่างทั้งสองคนนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยปรับแต่งกระบวนการตัดสินใจในการสร้างสรรค์ของเธอ บิเกโลว์รู้สึกว่าคำถามในเชิงอัตถิภาวนิยมของวีเนอร์นั้นทำให้เธอรู้สึกตื่นเต้นและว้าวุ่นใจในเวลาเดียวกัน และเธอรู้สึกว่าทั้งหมดนี้คือจุดกำเนิดของแรงบันดาลใจทั้งปวง
แสงสว่างในความมืด — การสร้างความกลมกลืนจากความแตกต่าง
แม้บิเกโลว์จะไม่ค่อยเปิดเผยรายละเอียดในชีวิตช่วงที่อยู่นิวยอร์คของเธอในทศวรรษที่ 70 แต่เราก็เห็นได้ว่าบรรยากาศทางการเมืองในเวลานั้นส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านศิลปะของเธอ และสะท้อนอยู่ในภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นทริลเลอร์อิงการเมืองเรื่อง Zero Dark Thirty นิวยอร์คเองจำต้องประสบกับช่วงเวลาอันยากลำบากอยู่หลายครั้ง และสภาพสังคมเช่นนั้นก็มักจะจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับคน ศิลปินอย่างบิเกโลว์ก็เพียงทำหน้าที่ของตนในการสำรวจสภาพสังคมรอบตัวเท่านั้น
ในช่วงเวลานี้เองที่บิเกโลว์ได้ประกาศจุดยืนทางด้านความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของเธอเมื่อเธอเริ่มร่วมงานกับ Art & Language ศิลปินกลุ่มนี้มีความมุ่งมั่นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้วยการผสานแนวคิดทางการเมืองแบบเอียงซ้ายในเวลานั้นเข้ากับแนวคิดทางการเมืองเชิงปรัชญาตามทฤษฎีวรรณกรรมซึ่งวีเนอร์เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนในเชิงสร้างสรรค์รายสำคัญคนหนึ่ง
บิเกโลว์เล่าถึงช่วงเวลานั้นว่า “ลอว์เรนซ์ วีเนอร์เปิดโลกทัศน์ของฉันให้เห็นถึงกระบวนการพินิจพิเคราะห์และการทำให้ประหลาดใจ เขาทำให้ฉันเห็นว่าศิลปะสามารถช่วยเสริมแต่งและให้ความรู้ได้อย่างไร” เราสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อใครสักคนหนึ่งซึมซับผลงาน วัตถุ งานเขียนหรือภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลเข้าไป เขาจะมองและรับรู้ความเป็นไปของโลกในมุมที่เปลี่ยนไปด้วย
เธอเปรียบเปรยให้เห็นภาพว่า “อยากให้คุณนึกถึงแนวปะการังและฝูงปลาน้อยใหญ่ ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่ส่งอิทธิพลต่อตัวคุณ คุณเวียนว่ายอยู่ในโลกนี้แล้วปะการังกับปลาเหล่านี้ก็ล้อมรอบตัวคุณอยู่ คุณกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวปะการังที่ได้ส่งอิทธิพลแก่คุณ สัมผัสขัดเกลาคุณ เมตตากับคุณ โหดร้ายกับคุณ นี่คือทะเลแห่งชีวิตที่ถาโถมเข้าใส่คุณ ซัดสาดเข้าใส่คุณ และคุณแค่พยายามลอยคอไว้ให้ได้เท่านั้น บางครั้งคุณก็ต้องพยายามหาอากาศหายใจ
มันเป็นกระบวนการที่ทั้งท้าทายและเข้มงวดค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณได้รับแรงบันดาลใจจากใครสักคนที่พิเศษและน่าเกรงขามและถ่อมตน คงไม่มีคำอื่นที่จะมาบรรยายประสบการณ์นี้ได้อีกนอกจากคำว่าเปลี่ยนชีวิตค่ะ”
นาฬิกาที่เธอเลือกใส่ก็มีเอกลักษณ์ไม่แพ้เทคนิคการสร้างภาพยนตร์ที่เธอเฝ้าพัฒนาและปรับปรุงมาตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี เรือนเวลาสุดคลาสสิกนั้นก็คือ Oyster Perpetual Datejust 36 ที่พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตด้วยดีไซน์ที่มีชั้นเชิงแบบอมตะและขอบตัวเรือนวัสดุเอเวอร์โรสโกลด์ 18 กะรัตแบบหยักประดับเพชรที่สะท้อนความสง่างามของเจ้าของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี
และเช่นเดียวกับตัวของบิเกโลว์ นาฬิกา Datejust ได้ก้าวข้ามผ่านยุคสมัยต่างๆ ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งรายละเอียดทางสุนทรียภาพที่ทำให้นาฬิการุ่นนี้โดดเด่นเป็นอย่างมาก Datejust เปิดตัวครั้งแรกในปี 1945 โดยเป็นนาฬิกาข้อมือกันน้ำที่ใช้เครื่องแบบขึ้นลานอัตโนมัติที่มีความเที่ยงตรงระดับโครโนมิเตอร์รุ่นแรกที่มีหน้าต่างวันที่ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาบนหน้าปัด และยังเป็นเรือนเวลาที่นำเสนอนวัตกรรมสำคัญทั้งหมดของ Rolex ในเวลานั้นจนเป็นดั่งนิยามแห่งนาฬิกาข้อมือสมัยใหม่ เหมือนกับที่บิเกโลว์เป็นผู้กำหนดนิยามว่าภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นทริลเลอร์อิงการเมืองร่วมสมัยจะต้องเป็นอย่างไรนั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง: Rolex Master of Cinema James Cameron on Unlimited Potential and Infinite Possibilities
The first and only woman ever with an Oscar for directing, Kathryn Bigelow found that when her mentor Lawrence Weiner challenged and frustrated her, he effectively shaped her creative process
Words: Jonathan Ho
Kathryn Bigelow is the first — and still only — woman to ever win the Academy Award for Best Director. The auteur of 2008’s The Hurt Locker, had originally studied painting at the San Francisco Art Institute, eking out a humble living as a painter while staying with her first two influences, American painter and filmmaker Julian Schnabel and influential performance artist Vito Acconci. Not long after, she entered the graduate film program at Columbia University, where she studied theory and criticism under mentors like Acconci, Susan Sontag, and Lawrence Weiner.
“If there’s specific resistance to women making movies, I just choose to ignore that as an obstacle for two reasons: I can’t change my gender, and I refuse to stop making movies.”
Though many remember her first directorial debut The Loveless, as her first feature film to gain critical acclaim in 1981, Bigelow recalled during a 1995 interview that it was her experimental short film and MFA thesis The Set-Up that caught the eye of Academy Award winning director Jan Tomáš “Miloš” Forman.
It was this early success that determined the tone and tenor of her cinematic instincts. It is through her graduate film that one can trace her unconventional approach to action cinema and her signature visual aesthetics when she directed 1990s action films such as Blue Steel (1990), Point Break (1991) and Strange Days (1995), written and produced by fellow Rolex Testimonee James Cameron.
Genesis of Inspiration and the perpetuation of Knowledge
Long before she studied under Lawrence Weiner at Columbia, the pair had began collaborating in the early 1970s, often appearing in or editing his moving-image works and contributing to scripts. It is here that she honed her signature use of audio to dissect images, experimentation with the inherent properties of film and video, to create an engagement with the active viewer, that we see replicated in her seminal works like The Set-Up, The Hurt Locker, Zero Dark Thirty and most recently, Detroit.
Weiner was a pioneer in the formation of conceptual art in the 1960s. Weiner had met Bigelow at a party at Gordon Matta-Clark’s house in Soho in the early 1970s, when she was 22. “He (Weiner) transferred that (philosophy the work is more important than the finished art object) to people, like me,” said Bigelow, “I found it to be a very exciting, transformative period, and you carry it with you in some way. It becomes part of your creative and intellectual construct and comes out in the work you do forever.”
Indeed, before she even enrolled for graduate studies in film, Weiner was Bigelow’s official mentor for the Whitney Museum of American Art’s Independent Study Program in New York City, and as a result, the two would become close and still remain so today, having made several films together.
“You can never unlearn what you learn, you can never unknow what you know.” – Bigelow on the transferring of knowledge
Bigelow looks fondly on her time working and learning under Weiner, “It is really a process of transferring information, transferring knowledge, a way of thinking, and it’s unconscious.” An assessment that her mentor agrees with, “Everybody worked with everybody,” He said. “You’re talking about a context that for the past 25 years has not existed, that a person coming in to New York City could find themselves with older artists and somehow or another survive without the grinding and all that.”
There’s no question that knowledge transfer is a dialectic. Weiner challenged Bigelow constantly, shaping her creative decisions through constant dialogue and conversation, posing existential questions that Bigelow found simultaneously exciting and frustrating, to her, these were the genesis of inspiration.
The Light in the Darkness: Creating harmony out of contrast
Though Bigelow is reticent about discussing details of her time in New York during the 1970s, the politics in the air had an effect on Bigelow’s artistic development and it is reflected in the political action thriller Zero Dark Thirty. New York was enduring some hard times and social conditions like these often sparked creativity: artists like Bigelow were essentially exploring their milieu.
It is during this time that Bigelow established her creative and intellectual voice when she started working with Art & Language. The artist collective was serious about disruption, merging the practical, leftist politics of the time with the philosophical politics of literary theory of which Weiner was a major contributor creatively.
“Lawrence Weiner opened my eyes to the process of both examination and surprise, and how art can enhance, inform,” recollects Bigelow. Without a doubt, when one internalises a particular work, or object, or text or a film, is transformative, it changes the way you see, your perception of the universe.
Bigelow describes it with an analogy: “Think of a coral reef with all these schools of fish. Those are all your influences. You’re swimming in this world and then they’re all around you. You are part of that coral reef that has influenced you, that has brushed up against you, been kind to you, been cruel to you. It is the sea of life that washes over you, buffets you like a current and you just try to stay afloat. There are times when you’re gasping for air. It is a challenging, rigorous process, especially if you’re being inspired by somebody who is so extraordinary and intimidating and humbling. It’s just transformative, there is no other way to describe it.”
It’s hard to imagine that close to 50 years on, Bigelow has refined and mastered a cinematographic technique every bit as iconic as her choice: the Oyster Perpetual Datejust 36. An archetypical classic watch thanks to a functional yet sophisticated design that never goes out of fashion, the diamond-set fluted 18 ct Everose gold bezel reflects the elegance of her owner.
Like her, the Datejust has spanned eras while retaining the enduring aesthetic that make it so distinctive. Launched in 1945, it was the first self-winding waterproof chronometer wristwatch to display the date in a window at 3 o’clock on the dial, and consolidated all the major innovations that Rolex had contributed, defining the modern wristwatch just as Bigelow has come to define the genre of contemporary political action thrillers.
See also: Rolex Master of Cinema James Cameron on Unlimited Potential and Infinite Possibilities