Rolex Master of Cinema James Cameron on Unlimited Potential and Infinite Possibilities

Share this article

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักสำรวจและเทสติโมนีของ Rolex เจมส์ คาเมรอน เป็นบุคลากรระดับแนวหน้าแห่งวงการภาพยนตร์ แต่ก่อนที่คาเมรอนจะได้เป็นผู้กำกับระดับโลกเช่นนี้ เขาก็มีแรงผลักดันอย่างแรงกล้าอย่างที่ใครก็ไม่อาจเทียบได้ ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งไม่มีอะไรฉุดรั้งได้ และความสามารถอย่างไม่ท้อถอยที่จะสร้างผลงานที่ดีที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวยอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้ อาจเป็นสิ่งที่ครูมัธยมของเขาที่ชื่อ เอียน แมคเคนซี มองเห็นในตัวของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Avatar คนนี้
บทความ: โจนาธาน โฮ

[ English ]

“เขาเดินมาหาผมตรงทางเดินวันหนึ่งแล้วก็พูดขึ้นมาว่า ‘เธอมีศักยภาพไร้ขีดจำกัดนะ’ คุณครูเอียน แมคเคนซีสมัยมัธยมของเจมส์ คาเมรอน พูดราวกับเห็นอนาคต

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักสำรวจและเทสติโมนีของ Rolex เจมส์ คาเมรอน ในฐานะบุคลากรระดับแนวหน้าแห่งวงการภาพยนตร์ผลงานของเขาอย่าง Titanic นั้นชนะรางวัล Oscars ถึง 11 สาขาซึ่งเท่ากับสถิติสูงสุด และ Avatar ก็ยังคงครองแชมป์ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประวัติศาสตร์ แต่ก่อนที่คาเมรอนจะได้เป็นผู้กำกับระดับโลกเช่นนี้ เขาก็มีแรงผลักดันอย่างแรงกล้าอย่างที่ใครก็ไม่อาจเทียบได้ ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งไม่มีอะไรฉุดรั้งได้ และความสามารถอย่างไม่ท้อถอยที่จะสร้างผลงานที่ดีที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวยอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้ อาจเป็นสิ่งที่ครูมัธยมของเขาที่ชื่อ เอียน แมคเคนซี มองเห็นในตัวของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Avatar คนนี้

“ตอนที่คุณอายุ 14 ปีแล้วมีใครสักคนบอกคุณว่าคุณมีศักยภาพไร้ขีดจำกัด นั่นเป็นอะไรที่น่าฟังมากเลยจริงๆ นะครับ” คาเมรอนย้อนความไปยังช่วงเวลาที่โรงเรียน Stamford Collegiate แห่งเมืองไนแอการาฟอลส์ ซึ่งเขาไม่เคยลืมคำพูดเหล่านั้นเลย “การที่มีคนเชื่อมั่นในตัวคุณถือเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก” คาเมรอนกล่าวในการสัมภาษณ์ช่วงเดินพรมแดงรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ Titanic

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักสำรวจและเทสติโมนีของ Rolex เจมส์ คาเมรอน
ใส่นาฬิกา Oyster Perpetual Rolex Deepsea

การที่แมคเคนซีกระตุ้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพนั้นเป็นการทำตามหลักพื้นฐานของเกอเธที่ว่า “หากเราปฏิบัติต่อใครราวกับว่าเขาประสบความสำเร็จตามศักยภาพที่เขาน่าจะเป็นได้แล้ว เราก็จะส่งให้เขาคนนั้นได้เป็นในสิ่งที่เขาควรจะได้เป็นจริงๆ”

“คุณครูแมคเคนซีกระตุ้นให้เด็กเพี้ยนๆ อย่างเราแสดงออกซึ่งความคิดและตัวตน … เขาวาดกรอบเพื่อเป็นการปูทางแล้วปล่อยให้เราได้โลดแล่น”

เมื่อได้ยินคำพูดเช่นนั้นจากคุณครู คาเมรอนก็คิดในใจว่า “เริ่มลงมือเลยดีกว่า” แม้ที่โรงเรียน Stamford Collegiate จะไม่มีวิชาศิลปะการละครเปิดสอน แต่ด้วยการกระตุ้นของแมคเคนซี คาเมรอนและนักเรียนอีกสองสามคนที่โรงเรียนที่เน้นด้านการกีฬาแห่งนี้ก็ร่วมกันใช้เวลาหลายชั่วโมงหลังหมดคาบเรียนในแต่ละวันเพื่อจัดเวที จัดไฟ และสร้างฉากสำหรับการแสดงต่างๆ เท่ากับว่าแมคเคนซีได้ปูทางให้แก่คาเมรอนจนนำไปสู่ผลงานดังช่วงแรกเริ่มของเขาอย่าง The Terminator

เจมส์ คาเมรอนสวมนาฬิกา Rolex เรือนแรกของเขาในกองถ่าย The Terminator และกำกับการแสดงของลินดา แฮมิลตัน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องถ่ายทำด้วยงบประมาณอันน้อยนิด นักแสดงนำคนเหล็ก อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ เคยให้สัมภาษณ์กับ Metro News ว่า “มันเป็นหนังที่มีงบน้อยมากเสียจนเราต้องถ่ายบางฉากในฮอลลีวูดโดยที่ไม่ได้ขออนุญาต” แม้จะมีคุณภาพที่ดิบ ทว่า The Terminator ได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีที่ฉาย และเมื่อเวลาผ่านไป 30 ปีก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่มีแฟนคลับติดตามมากมายและควรค่าแก่การรับชมซ้ำ

ภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ของคาเมรอนสร้างความแปลกใหม่ด้วยความสมจริงในเชิงศิลป์และความล้ำหน้าของวิชวลเอฟเฟกต์ต่างๆ จนทำสถิติทางรายได้ทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศมากมาย อีกทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลต่างๆ โดยเฉพาะ Titanic ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 14 สาขาและชนะจริง 11 สาขาซึ่งเป็นสถิติที่ยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดมาทำลายได้ ในจำนวนนั้นคาเมรอนเองได้รับสามรางวัลในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยมและลำดับภาพยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตาม คาเมรอนก็ตระหนักดีว่า “พวกเราต่อยอดความสำเร็จจากคนอื่นๆ ที่อยู่ในวงการมาก่อนเรา”

เจมส์ คาเมรอน ขณะเตรียมดำดิ่งลงสู่ร่องลึกมาเรียน่าโดยมีนาฬิกา Rolex บนข้อมือ

ส่งต่อคบไฟ

แมคเคนซีจากไปในปี 1989 ก่อนที่เขาจะได้เห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ต่างๆ ของคาเมรอน แต่เขาคงจะภูมิใจหากได้ยินศิษย์ของเขาพูดเกี่ยวกับการสอนคนว่า “เราไปบังคับอะไรเขาไม่ได้หรอก เขาต้องอยากได้ยินเรื่องที่คุณจะบอกเขาได้เสียก่อน และถ้าเขาอยากให้คุณช่วย เดี๋ยวเขาก็ขอให้คุณช่วยเอง” ซึ่งเป็นการสะท้อนวิธีการของคุณครูชีววิทยาของเขา และเขายังให้สัมภาษณ์กับ Buffalo News เมื่อปี 1997 อีกว่า “ผมเกือบจะสามารถลากเส้นตรงจากสิ่งที่ผมในสมัยนั้น (สมัยเรียนมัธยม) มาจนถึงสิ่งที่ผมทำในวันนี้ได้”

เส้นทางสายอาชีพของคาเมรอนบ่งบอกถึงความหลงใหลในเรื่องต่างๆ ของเขา ทั้งการสร้างภาพยนตร์ การสำรวจทางทะเล เทคโนโลยี และยังมีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมแทรกลงไปในผลงานสร้างสรรค์ของเขาด้วย คาเมรอนเขียน อำนวยการสร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่อง The Abyss ซึ่งต่อให้มีภาพยนตร์เรื่องอื่นของคาเมรอนที่ประสบความสำเร็จอย่างดีเช่นกันในภายหลัง แต่ The Abyss ก็ยังคงเป็นดั่งลายเซ็นที่ทรงอิทธิพลของเขา เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำผู้สร้างภาพยนตร์ ช่างเทคนิคและนักดำน้ำระดับอาชีพมาทำงานร่วมกันในภาพยนตร์ที่ยังคงได้รับการขนานนามว่า “ผลิตยากที่สุดในประวัติศาสตร์” อนึ่ง คาเมรอนมีความมุ่งมั่นในระดับที่เขาประกาศว่าถ้าเขาไม่สามารถทำในวิ่งที่ 2001: A Space Odyssey ทำให้กับวงการภาพยนตร์ไซไฟและอวกาศได้ เขาก็จะไม่เล่าเรื่องโลกใต้น้ำ Abyss ของเขาเลย

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักสำรวจและเทสติโมนีของ Rolex เจมส์ คาเมรอน
ใส่นาฬิกา Oyster Perpetual Rolex Deepsea

ภาพยนตร์เรื่อง The Abyss คือที่สุดขององค์รวมระหว่างความสามารถในการเล่าเรื่องของคาเมรอนและความหลงใหลในโลกใต้ทะเลของเขา

หากแมคเคนซีคือผู้จุดประกายแห่งความฝันและจินตนาการให้กับคาเมรอน อาจารย์คนที่สองของเขาก็จะต้องเป็น โรเจอร์ คอร์แมน หรือ “บิดาแห่งภาพยนตร์ป๊อป” ซึ่งทำให้คาเมรอนมีจรรยาบรรณอันแน่วแน่ในการทำงาน เจมส์ คาเมรอนได้กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์กับ Academy of Achievement ในปี 1999 ไว้ว่า “ไม่มีงานไหนที่เป็นเพียงแค่งาน”

คาเมรอนเคยทำงานในทุกระดับของวงการการภาพยนตร์มาแล้ว เริ่มด้วยการเป็นผู้ช่วยส่วนตัว ต่อมาเป็นทีมงานเซ็ตฉาก และสุดท้ายจึงได้มีโอกาสทำงานหลังกล้องบ้างในฐานะผู้กำกับกองที่สอง เมื่อเราเข้าใจแรงขับเคลื่อนหลักๆ  ในความสำเร็จทางอาชีพของคาเมรอน เราก็จะเริ่มเห็นถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่ทำให้ Rolex เป็นนาฬิกาที่เขาเลือกใช้เช่นกัน การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อความเที่ยงตรงในการบอกเวลาทำให้ Rolex เป็นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่ได้รับประกาศนียบัตร Certificate of Chronometric Precision ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1910

ซึ่งไม่ต่างจากความพยายามของคาเมรอนในการไปถึงความสมบูรณ์แบบแห่งการสร้างภาพยนตร์ วิสัยทัศน์ของคาเมรอนสอดคล้องกับจิตวิญญาณของ Rolex ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การผลักดันขีดจำกัดอยู่เสมอ และการมองภาพในระยะยาว คาเมรอนปรุงแต่งแนวคิดของภาพยนตร์เรื่อง The Abyss อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงมัธยมปลาย อีกทั้งยังขัดเกลาไอเดียและมุมมองของเขา จนกระทั่งถึงวันที่เขารู้สึกว่าเทคโนโลยีในการผลิตภาพยนตร์ได้ก้าวหน้ามากพอที่จะทำให้จินตนาการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกบนพื้นมหาสมุทรของเขาเป็นจริงขึ้นได้

แม้จะใช้งบประมาณสูงกว่าที่ตั้งไว้ แม้จะต้องประสบกับความท้าทายด้านเทคนิค และแม้จะต้องคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการถ่าย แต่ The Abyss ก็ทลายข้อจำกัดในการถ่ายทำภาพยนตร์และการจัดไฟใต้น้ำได้ในท้ายที่สุด นอกจากนี้ ประสบการณ์ของคาเมรอนในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Abyss ยังได้วางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับพาหนะควบคุมจากระยะไกลซึ่งนำไปสู่การสร้างกล้องดิจิตอลสามมิติ Fusion Camera System ความสำเร็จเช่นนี้ทำให้คาเมรอนได้เดินรอยตามนักสำรวจของ National Geographic Explorers อย่าง เดวิด ดูบิเลต์ และ ซิลเวีย เอิร์ล ซึ่งต่างก็เป็นเทสติโมนีของ Rolex เช่นกัน

ความสนใจในท้องทะเลลึกและความสนใจในงานสำรวจและอนุรักษ์ที่จริงจังขึ้นเรื่อยๆ ของคาเมรอนได้นำเขาไปสู่ที่สุดของซากเรืออับปาง นั่นก็คือเรือ Titanic โดยคาเมรอนทำการดำน้ำด้วยเรือดำน้ำเล็กลงไปยังซากเรือลำนี้เป็นจำนวน 12 ครั้งในปี 1995 เพื่อเตรียมการสำหรับการสร้างภาพยนตร์ ในการนี้เขาจะต้องพัฒนาอุปกรณ์ถ่ายทำ อุปกรณ์แสงและอุปกรณ์หุ่นยนต์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อให้รับสภาพแรงดันของท้องทะเลลึกได้

Titanic ทำให้คาเมรอนปรารถนาที่จะลงไปในทะเลให้ได้ลึกยิ่งกว่าเดิม และในวันที่ 26 มีนาคม 2012 เขาก็ทำสถิติการดำเดี่ยวลงไปถึงระดับความลึก 10,908 เมตร (35,787 ฟุต) ของจุดที่ลึกที่สุดของโลกที่เรียกกันว่าชาเลนเจอรร์ดีป บริเวณร่องลึกมาเรียน่าด้วยเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ชื่อ Deepsea Challenger ซึ่งเขาได้ร่วมออกแบบและประดิษฐ์เอง โดยที่มีนาฬิกา Rolex Deepsea Challenge รุ่นพิเศษผูกติดอยู่กับแขนหุ่นยนต์ไฮดรอลิกที่อยู่ด้านนอกยานด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้คาเมรอนเป็นผู้ที่นำภาพอันแปลกใหม่และสะกดใจมาสู่ผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นโลกจริง โลกต่างดาวหรือโลกในจิตนาการก็ตาม

Deepsea Challenge ทำให้โลกได้เห็นความลี้ลับที่อยู่ในห้วงลึกของมหาสมุทรผ่านทางภาพสามมิติความคมชัดสูง  และผ่านทางตัวอย่างที่เก็บขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การระบุสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ อย่างน้อย 68 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้มีแอมฟิพ็อดซึ่งมีลักษณะคล้ายกุ้ง ปลิงทะเล จุลินทรีย์หลายหมื่นตัว และสารเคลือบหินลักษณะเป็นริ้วที่เรียกกันว่าแผ่นชั้นจุลินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ดำรงอยู่ได้ในความมืด หลังจากนั้น ในเดือนสิงหาคมปี 2014 เจมส์ คาเมรอนได้เปิดตัวสารคดีเรื่อง Deepsea Challenge 3D ซึ่งเป็นการย้อนรอยภารกิจการสำรวจในครั้งนั้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงการดำลงสู่ห้วงของมหาสมุทรแปซิฟิกครั้งที่ 13 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ปัจจุบันนี้ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เราได้ตระหนักว่าโลกเรานี้ยังมีสิ่งที่รอคอยการค้นพบอยู่อีกมาก

ทางซ้ายคือ Rolex Deepsea Challenge จากการสำรวจในปี 2012
และทางขวาคือ Deep Sea Special จากการสำรวจในปี 1960

โลกในจิตนาการและโลกที่ถูกสรรค์สร้าง

สำหรับคาเมรอนแล้วก็คงจะเป็นเรื่องของโชคชะตาที่กำหนดให้ Rolex เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรมในการทำงานที่ไม่เคยบกพร่องของเขา หลังจากที่นาฬิกา Rolex Oyster Perpetual Submariner เรือนแรกของเขาได้เป็นเพื่อนคู่ข้อมือที่ติดตามเขาไปในการเดินทางในโลกมายาและโลกจริงนับครั้งไม่ถ้วนเป็นเวลา 20 ปี คาเมรอนก็ตัดสินใจมอบนาฬิกาเรือนนั้นให้กับเจ้าของคนใหม่ที่อาศัยอยู่กลางป่าลึกของแอมะซอนเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนคำขอบคุณ บุคคลผู้นั้นก็คือหัวหน้าเผ่าชื่อโรปนีของชนพื้นเมืองคายาโปที่คาเมรอนเข้าไปศึกษาวัฒนธรรมเพื่อนำไปประกอบการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Avatar

ปัจจุบันนี้ ตัวเลือกของคาเมรอนคือนาฬิการุ่น Oyster Perpetual Rolex Deepsea พร้อมหน้าปัด D-blue ซึ่งเขาเรียกนาฬิกาเรือนนี้ว่าเป็น “เพื่อนที่ซื่อสัตย์” และเป็นดั่งเครื่องย้ำเตือนว่า “ไม่ว่าผมจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไร ผมจะระลึกได้ถึงช่วงเวลาที่วิเศษมากๆ ในชีวิตผม ตอนที่ทีมนักพัฒนาทีมเล็กๆ ของผมสร้างและใช้งานเรือดำน้ำ Deepsea Challenger ของเรา อีกทั้งได้บรรลุความฝันของพวกเราในการดำดิ่งสู่จุดที่ลึกที่สุดอย่างชาเลนเจอร์ดีป นาฬิกาเรือนนี้เชื่อมโยงผมกับตำนานของนักสำรวจท่านอื่นๆ ผู้สวมใส่นาฬิกาของ Rolex ไปสู่มุมต่างๆ ที่ห่างไกลที่สุดบนโลก ซึ่งรวมถึง ดอน วอลช์ เพื่อนของผม ผู้เคยดำลงไปยังชาเลนเจอร์ดีปเช่นกันในปี 1960 พร้อมกับนาฬิกา Rolex เรือนหนึ่ง”

บางคนก็คิดไปว่าผู้สร้างอย่างคาเมรอนพกวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์แบบมากับตัว แต่ในโลกแห่งความจริงนั้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น คาเมรอนอาจจะเขียนเรื่องของเขาเอง แต่เขาจะต้องร่วมมือกับศิลปินคนอื่นๆ เพื่อให้เกิดเป็นภาพที่มีรายละเอียด การรับฟังความคิดเห็นจากศิลปินคนอื่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าศิลปินคนนั้นจะเป็นลูกศิษย์ของตนก็ตาม

คาเมรอนเคยเล่าถึงครั้งที่เขาไปเยือนบ้านสแตนลีย์ คูบริคว่า “ผมเดินทางไปจนถึงบ้านเขาที่ประเทศอังกฤษเพื่อบอกเขาว่าผลงานของเขานั้นมีความหมายกับผมมากเพียงใด แต่เขาไม่ได้อยากพูดถึงเรื่องเก่าๆ ของเขาเลย เขากำลังทำภาพยนตร์เรื่องใหม่ในชื่อว่า A.I. และต้องการความรู้จากผมว่าเราทำวิชวลเอฟเฟกต์ใน True Lies อย่างไร เพราะเขารู้แล้วว่าในเวลานั้นมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าดิจิตอลคอมโพสิท กลายเป็นว่าผมใช้เวลาทั้งวันในการสอนสแตนลีย์ คูบริคซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่เซอเรียลที่สุด สแตนลีย์เป็นเหมือนฟองน้ำที่ดูดซับทุกอย่างได้ เขาอายุเกือบจะ 80 ปีแล้วในเวลานั้นแต่ยังคงมีใจที่เปิดกว้างและเหมือนเป็นเด็ก เขาทุ่มเทให้กับเรื่องงานฝีมืออย่างเต็มที่ และต้องการจะเรียนรู้ว่าจะทำอะไรได้อย่างไรและจะทำให้ดียิ่งขึ้นอีกได้อย่างไร”

Avatar อาจจะเป็นโลกในจินตนาการก็จริง แต่เมื่อคาเมรอนมีบุคลากรที่มีความสามารถระดับแนวหน้าของโลกรายล้อมเช่นนี้ เขาก็สามารถทำโลกในจินตนาการให้เกิดขึ้นจริงได้ นี่เองคือคบไฟแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดแบบไม่รู้จบในโลกของเรา คาเมรอนกล่าวไว้ได้อย่างสวยงามที่สุดว่า “คุณถือคบไฟไว้ในมือในชั่วขณะหนึ่ง แต่เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งคุณก็ต้องส่งคบไฟนั้นต่อให้ใครสักคนที่อัดแน่นด้วยไอเดียและความมุ่งมั่นและเรื่องราวที่เป็นของคนในรุ่นของเขา แล้วเขาจะรับคบไฟนั้นแล้วออกวิ่งต่อไปเอง”

บทความที่เกี่ยวข้อง: Cameron’s full interview at Rolex.org


Filmmaker, explorer and Rolex Testimonee Cameron represents the pinnacle of film-making. But even before Cameron hit the big leagues, he already possessed a peerless drive, irrepressible creativity and an undaunted ability to make the best of any situation, this was perhaps what his mentor Ian McKenzie saw in the Avatar director.

Words: Jonathan Ho

“He came up to me in the hallway one day and he said, ‘You have unlimited potential,’” how prescient were the words of James Cameron’s high school teacher Ian McKenzie.

Filmmaker, explorer and Rolex Testimonee Cameron represents the pinnacle of film-making. Titanic won 11 Oscars, tying for the most awards ever, and Avatar holds the record as the highest-grossing film in history. But even before Cameron hit the big leagues, he already possessed a peerless drive, irrepressible creativity and an undaunted ability to make the best of any situation, this was perhaps what McKenzie saw in the Avatar director.

“When you’re 14 and somebody tells you you have unlimited potential, that’s a really cool thing to hear,” recalls Cameron of his time at Stamford Collegiate High School in Niagara Falls. Cameron never forgot those words. “It meant something,” he said to an interviewer during the red carpet premiere of Titanic, “to have somebody believe in you”.

When McKenzie encouraged his student’s potential, he was practicing Goethe’s fundamental assertion that when we treat a person “as if he already were what he potentially could be, we make of him what he should be.”

“Mr McKenzie encouraged us crazy, fringe-type kids to express ourselves … he created the framework and let us go.”

Indeed, Cameron on hearing his mentor’s words thought to himself, “I better get busy.” Stamford Collegiate never had a theatre arts programme but spurred on by McKenzie, Cameron and a few other kids in a jock-oriented high school would stay after school for hours to create a stage, put in lighting, build sets to put on plays. In other words, McKenzie would set Cameron up on a path to create his pre-fame opus The Terminator.

Shot on a shoe-string budget, its titular lead Arnold Schwarzenegger once told Metro News that, “it was such a small budget movie that we had to do some of the shots in Hollywood without permits.” Never one to let a small detail like budget get in the way of making a good movie, Cameron managed to make do. Despite its raw quality, The Terminator became the top grossing film for that year and in the 30 years since then, a cult movie worthy of repeated viewings.

Cameron’s films blazed a trail for their artistic realisation and advanced visual effects, setting numerous performance records in the United States and internationally. Earning numerous nominations and awards, most notably, the 14 Academy Award nominations and 11 Oscars wins, unbroken records, including Cameron’s own three for Best Picture, Best Director and Best Editing for Titanic, Cameron is cognisant that, “We build on the shoulders of the people who came before us.”

Passing the Torch

Though McKenzie passed in 1989 before seeing his protege’s greatest achievements, he would be rightly proud to hear Cameron’s own thoughts on mentorship. “You can’t force it on them. They have to want to hear what you have to share. The best way is to provide an environment to let them create within, and if they want your help, they’ll ask for it,” says Cameron echoing his beloved biology teacher’s methodology. “I can almost draw a direct line to what I do now from what I did then (back in high school),” Cameron told Buffalo News in 1997.

Cameron’s career expresses his passions – filmmaking and ocean exploration and technology, the latter part of the environmental advocacy interwoven in much of his creative work. He wrote, produced and directed The Abyss. Despite his other recent cinematic successes, The Abyss remains his seminal calling card because it was the movie that brought together filmmakers, technicians and professional divers in what is still called “the toughest film to make in history”. Such was Cameron’s ambition that he declared that if he couldn’t do what 2001: A Space Odyssey did for science fiction films and space, he would have refused to tell the story of the underwater world that was his Abyss.

There isn’t a more perfect marriage of Cameron’s narrative sensibilities and aquatic fascinations than The Abyss.

If McKenzie shaped his potential to dream and imagine, his second professional mentor, “The Pope of Pop Cinema” Roger Corman equipped him with a resolute work ethic. During a 1999 interview with Academy of Achievement, James Cameron intimates, “no job is just a job”.

Going through the rungs of filmmaking, first as a Personal Assistant, then later as Set Builder, and then finally getting some time behind the camera as a 2nd unit director, understanding the key drivers of Cameron’s career accomplishments is to begin to see the analogous tapestry of attributes which makes Rolex his choice of timekeeping accessory as well. Similar to Cameron’s quest for filmmaking perfection, it was this relentless pursuit for chronometric precision that led to a Rolex watch becoming the first wristwatch in the world to receive the Swiss Certificate of Chronometric Precision in 1910.

Such was his singular vision, a philosophy that sees parallels in Rolex’s perpetual spirit that is based on a fundamental belief in unlimited human potential, in continuous improvement, in always pushing the boundaries and taking the long-term view.Cameron continued to nurture the concept of The Abyss throughout high school, refining his ideas and vision until the day he felt that production technology had evolved sufficiently to realise his vision of the alien life on the ocean floor.

Many cost-overruns, technical challenges, and innovations later, The Abyss ultimately broke new ground in underwater cinematography and lighting, Cameron’s experiences in creating The Abyss laid the foundation for the development of new remote vehicle technologies which eventually led to the creation of the digital 3D Fusion Camera System, feats which have equipped him to follow in the footsteps of National Geographic Explorers like fellow Rolex Testimonees David Doubilet and Sylvia Earle.

His attraction to the deep and growing affinity to subjections of exploration and conservation ultimately drew him to the Everest of shipwrecks: Titanic. In 1995, Cameron made 12 manned-submersible dives to the Titanic in preparation for his feature film, developing unprecedented filming, lighting and robotic equipment for use in the extreme pressures of the deep.

Titanic fuelled Cameron’s desire to go even deeper. On 26 March 2012, he made a record-breaking solo dive 10,908 metres (35,787 feet) to the earth’s deepest point, piloting the DEEPSEA CHALLENGER submersible he co-designed and engineered to the bottom of the Challenger Deep in the Mariana Trench with a specially made Rolex Deepsea Challenge watch that was attached on the exterior of the submersible’s hydraulic manipulator arm. Cameron continues to bring audiences new and compelling experiences of worlds real, alien and imagined.

The DEEPSEA CHALLENGE shed new light on the deep, providing high-resolution 3D images and collecting valuable samples for the scientific community that have led to the identification of at least 68 new species. They include shrimp-like creatures called amphipods, sea cucumbers, tens of thousands of microbes and stringy rock coatings known as microbial mats which contain organisms that can survive in the dark. In August 2014, James Cameron released a feature documentary, DEEPSEA CHALLENGE 3D, tracing the expedition from its beginnings until the last of its 13 dives in the Pacific. The film serves as a reminder to us of how much of this planet remains to be discovered.

A World Imagined and A World Realised

Perhaps it is an act of poetic providence that for Cameron, his Rolex has always been a symbol of his uncompromising work ethic. After accompanying him on countless expeditions over the last 20 years, reel and real, his first Rolex Submariner finally found its new home deep in the Amazon: a symbol of thanks to Chief Ropni of the Kayapo people, a tribe whose culture he studied for Avatar.

Today, his choice is a commemorative Oyster Perpetual Rolex Deepsea with a D-blue dial. Cameron calls it his “constant companion” and a reminder that, “no matter where I am or what I’m doing, of a very special moment in my life, when my tiny team of innovators built and operated our DEEPSEA CHALLENGER submersible and accomplished our dream of diving to the deepest place on the planet, the Challenger Deep. The watch connects me to the legacy of all the other explorers who’ve carried their Rolexes to the most distant corners of the Earth, including my friend Don Walsh who took one to the Challenger Deep in 1960.”

There’s this idea that an auteur like Cameron shows up with a perfect vision, but it doesn’t work that way. Cameron may write his own material, but he collaborates with the artists to refine that picture. Getting the feedback from other artists is the important thing, even with people he mentors.

Cameron speaks fondly of the time he went to Stanley Kubrick’s house, “I made a pilgrimage to his house in England and got to tell him how important his work was to me. But he didn’t want to talk about his old stuff. He was making a new movie called A.I. and wanted to pick my brain about how we did the visual effects in True Lies because he knew that there was this new thing with digital composites. I literally spent the day mentoring Stanley Kubrick. It was the most surreal experience. Stanley was like a sponge. Here is a guy who was almost 80 and still open and childlike, and all about the craft, all about learning how to do it and do it better.”

Avatar may be a world imagined but when Cameron surrounds himself with the world’s most talented people available, that’s when he sees the world realised; it’s a torch of creativity that gets passed down and you put something enduring into the world. Cameron says it best, “You’ve got that torch in your hands for a moment. At a certain point you have to pass that torch on, and someone exploding with ideas and with passion and things to say that are relevant to their generation will take that torch and run with it.”

See also: Cameron’s full interview at Rolex.org

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image