สี่สุดยอดคอมพลิเคชั่นที่ตอกย้ำความเชี่ยวชาญด้านกลไกของ Vacheron Constantin
บทความ: รักดี โชติจินดา
นับเป็นเวลากว่าสองศตวรรษมาแล้วที่ Vacheron Constantin สร้างสีสันให้กับวงการนาฬิกาด้วยผลงานรุ่นต่างๆ จำนวนนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพิเศษชนิดที่ผลิตเพียงแค่เรือนเดียวในโลก หรือว่าจะเป็นรุ่นที่ผลิตขายเป็นการทั่วไปก็ตาม และนาฬิกาเหล่านี้ก็มักจะมีคอมพลิเคชั่นชั้นสูงของวงการนาฬิกาเป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่ด้วย เราขอยกมาพูดถึงเป็นไฮไลท์จำนวนทั้งหมด 4 คอมพลิเคชั่นด้วยกันในบทความนี้

เราขอเริ่มต้นที่โครโนกราฟซึ่งเป็นฟังก์ชั่นโปรดของผู้ซื้อนาฬิกาจำนวนมาก โครโนกราฟเป็นกลไกที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 19 เพื่อการจับเวลาเป็นช่วงระยะสั้นๆ Vacheron Constantin เองเริ่มผลิตนาฬิกาโครโนกราฟเมื่อปี ค.ศ. 1874 ในรูปของนาฬิกาพกที่มีโครโนกราฟและวงทดนาที กลไกโครโนกราฟนั้นจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงและทนทานไม่ว่าจะนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมเช่นใด และการออกแบบตัวเครื่องยังต้องคำนึงถึงการบริหารพลังงานขณะใช้งานจริงอีกด้วย

เมื่อเข้าสู่ยุคของนาฬิกาข้อมือ Vacheron Constantin ก็สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วด้วยการนำเสนอนาฬิกาข้อมือที่มีโครโนกราฟรุ่นแรกเมื่อปี ค.ศ. 1917 ก่อนที่จะมีการพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อยมา เครื่องนาฬิกาโครโนกราฟรุ่นสำคัญรุ่นหนึ่งของ Vacheron Constantin ในวันนี้ก็คือรุ่นคาลิเบอร์ 5200 ซึ่งเป็นองค์รวมแห่งจิตวิญญาณของเครื่องนาฬิกาโครโนกราฟรุ่นที่เกิดขึ้นก่อนหน้าทั้งหลาย คาลิเบอร์ 5200 นี้เป็นผลงานของการวิจัยและพัฒนาเป็นเวลานาน 5 ปี และมีคุณภาพในระดับที่ได้มาตรฐานเจนีวาซีล Vacheron Constantin เริ่มใช้เครื่องรุ่นนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 และในปีนี้ก็ยังนำมาเคลือบเอ็นเอซีให้ดูเข้ากันกับตัวเรือนไทเทเนียมของนาฬิการุ่น Overseas Chronograph Everest ซึ่งเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่นจำนวน 150 เรือน

คอมพลิเคชั่นต่อไปถือเป็นดาวเด่นแห่งโลกนาฬิกา นั่นก็คือตูร์บิยองซึ่งเป็นกลไกที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยอับราฮัม-หลุยส์ เบรเกต์ในปี ค.ศ. 1795 และจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1801 กลไกซึ่งถือเป็นนวัตกรรมระดับมาสเตอร์พีซนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความเที่ยงตรงให้กับนาฬิกาด้วยการเฉลี่ยค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก
ก่อนอื่นเราต้องนึกภาพก่อนว่านาฬิกาในสมัยนั้นเป็นนาฬิกาพก เมื่อเจ้าของออกจากบ้านก็จะเอานาฬิกาพกใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อกั๊กและนาฬิกาก็จะอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้นโลกทั้งวัน ทำให้เกิดการสะสมความคลาดเคลื่อนไปเรื่อยๆ แต่ตูร์บิยองเข้ามาบรรเทาปัญหาตรงจุดนี้ด้วยการนำเอาชิ้นส่วนของเครื่องนาฬิกาที่จะได้รับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงของโลกเข้าไปวางไว้ในกรงที่หมุนอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนจนได้ความเที่ยงตรงสูงสุด

Vacheron Constantin เริ่มผลิตนาฬิกาตูร์บิยองในปี ค.ศ. 1901 โดยเริ่มต้นด้วยนาฬิกาพกก่อนที่จะมาผลิตนาฬิกาข้อมือแบบมีตูร์บิยองในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 แล้วเมื่อเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ พัฒนาไปอีกขั้น ตูร์บิยองของ Vacheron Constantin ก็ได้รับการต่อยอดให้ล้ำยิ่งขึ้นไปอีกด้วย เรือนที่เราเลือกมาเพื่อชูประเด็นนี้โดยเฉพาะก็คือ Les Cabinotiers Retrograde Armillary Tourbillon จากปี ค.ศ. 2016 ซึ่งมีตูร์บิยองที่ประกอบด้วยกรง 2 กรงซ้อนกันและทำหน้าที่หมุนใน 2 ระนาบอย่างต่อเนื่องเพื่อความเที่ยงตรงสูงสุด

และการบอกเวลานอกจากจะใช้เข็มนาฬิกาแล้วยังใช้กลไกที่ทำหน้าที่ตีเสียงสัญญาณได้อีกเช่นกัน นี่คือนวัตกรรมของช่างนาฬิกาในสมัยโบราณก่อนที่โลกจะมีไฟฟ้าใช้ กลไกที่ช่างเหล่านั้นคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้คนรู้เวลาในยามค่ำคืนมีการพัฒนามาตามลำดับ ในช่วงเริ่มแรกนาฬิกาตั้งพื้นหรือนาฬิกาตั้งโต๊ะสามารถตีเสียงสัญญาณเมื่อขึ้นชั่วโมงใหม่หรือเมื่อเวลาผ่านไปทุกควอเตอร์หรือห้วง 15 นาทีในแต่ละชั่วโมง ก่อนที่ในภายหลังจะมีกลไกที่เจ้าของนาฬิกาสามารถกดสั่งงานเพื่อให้นาฬิกาตีเสียงสัญญาณบอกเวลาเป็นชั่วโมงและนาทีได้ตามต้องการโดยไม่ต้องรอช่วงต้นชั่วโมง

Vacheron Constantin ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขากลไกนี้ด้วยเช่นกัน นาฬิกาพก Vacheron Constantin จากปี ค.ศ. 1806 เป็นนาฬิกาเรือนแรกของแบรนด์ที่มีกลไกตีเสียงสัญญาณบอกเวลาในระดับชั่วโมงและควอเตอร์ หลังจากนั้น 2 ทศวรรษจึงมีนาฬิกาในรูปแบบกร็องซอนเนอรีที่สามารถตีเสียงสัญญาณบอกชั่วโมงและควอเตอร์ได้โดยอัตโนมัติตามออกมา

นาฬิกาประเภทนี้อาจดูเรียบๆ ภายใต้หน้าปัดที่มีเพียงเข็มบอกเวลา 2 เข็มหรือ 3 เข็ม หรืออาจเป็นคอมพลิเคชั่นหนึ่งในบรรดาคอมพลิเคชั่นจำนวนมาก เหมือนอย่างนาฬิการุ่น Tour de l’Île ที่ Vacheron Constantin ผลิตเนื่องในโอกาสครบรอบ 250 ปีของแบรนด์เมื่อปี ค.ศ. 2005 นาฬิกาสองหน้าในตัวเรือนพิงค์โกลด์รุ่นดังกล่าวเป็นเรือนเวลาสำหรับข้อมือที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลกในเวลานั้นซึ่งมีมินิทรีพีทเตอร์เป็นหนึ่งใน 16 คอมพลิเคชั่นแห่งความพิเศษ

คอมพลิเคชั่นสุดท้ายที่จะกล่าวถึงก็คือเข็มแสดงค่าแบบเรโทรเกรดซึ่งจะเดินกวาดไปตามสเกลชั่วโมง นาทีหรือวันที่จนถึงสุดทางแล้วดีดกลับไปยังจุดเริ่มต้นเพื่อเริ่มการทำงานรอบใหม่ ข้างใต้หน้าปัดนั้นจะมีชุดลีเวอร์และสเนลแคมกับสปริงที่ยึดติดกับพินเนียนเพื่อช่วยรีเซ็ทเข็มกลับไปยังตำแหน่งเริ่มต้นอย่างรวดเร็วในจังหวะเดียว

Vacheron Constantin เริ่มผลิตนาฬิกาที่มีเข็มแบบเรโทรเกรดตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1920 เป็นต้นมา บ้างก็มีเข็มเรโทรเกรดสำหรับชั่วโมงและอีกเข็มสำหรับนาที บ้างก็มีเข็มนาทีแบบเรโทรเกรดประกอบกับฟังก์ชั่นจั๊มปิ้งอาวเพื่อการแสดงค่าชั่วโมงเป็นระบบตัวเลขในหน้าต่าง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ถูกยกมาใช้ในคอลเลคชั่นนาฬิการ่วมสมัยอีกหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Mercator ตัวเรือนเยลโลว์โกลด์ในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งมีเข็มบอกชั่วโมงและนาทีแบบเรโทรเกรด หรือรุ่น Saltarello ตัวเรือนเยลโลว์โกลด์ในปี ค.ศ. 1997 ซึ่งมีเข็มนาทีแบบเรโทรเกรดคู่กับฟังก์ชั่นจั๊มปิ้งอาว

พื้นที่เพียงบทความเดียวย่อมไม่เพียงพอต่อการบรรยายถึงความพิเศษที่เป็นรากฐานแห่งกลไกชั้นสูงทั้ง 4 ประเภทนี้ หรือประวัติศาสตร์อันทรงเกียรติของ Vacheron Constantin เอาไว้เราจะหาโอกาสเขียนบทความเกี่ยวกับแบรนด์ดีแบรนด์นี้อีกในอนาคตครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: World of Watches Editors on the Subject of Green Dials
We take a survey of four complications that serve as key pillars to the mechanical prowess of this 265-year-old maison.
Words: Ruckdee Chotjinda
For over two centuries, Vacheron Constantin has enriched the watchmaking scene with countless creations, whether they were one-off pieces or series productions. Notably, more than a handful of these timepieces featured one or more complications, making them regarded as high watchmaking products. This article takes a quick overview of four of them.
We begin with the chronograph – a perennial favourite for today’s watch buyers. The chronograph was invented in the early 19th century for the purpose of short-time measurement. At Vacheron Constantin, the earliest example of a chronograph dates to 1874 when a hunter-type pocket watch was produced with a chronograph and a minute counter. The chronograph function needs to be precise and reliable, irrespective of the environment in which it operates. Its movement design must consider energy management as well.
As the market shifted towards wristwatches, Vacheron Constantin was quick to cater to the demand. Stylistic and technical evolutions have been ongoing since their first wrist chronograph in 1917. Today, the maison’s Calibre 5200 embodies the pioneering spirit of its predecessors. A Hallmark of Geneva-certified self-winding movements, Calibre 5200 represents a product of five years of research and development. It was first used in 2015 and modified this year with NAC treatment to match the titanium case of the Overseas Chronograph Everest limited edition of 150 pieces.
Another star symbol of high watchmaking, the tourbillon marks the second pillar to talk about. Designed to counteract the effects of gravity on intricate movement parts, this masterpiece of watchmaking art was developed in 1795 and patented in 1801 by Abraham-Louis Breguet.
In those days, pocket watches were often worn inside a waistcoat pocket where they remained in the same vertical position all day. This very practice left the regulating organs exposed to the influences of the earth’s gravity. The tourbillon was conceived to counter this by putting the affected parts inside of a constantly rotating cage, thereby averaging out the deviations to achieve maximum accuracy.
The tourbillion has been an integral part of Vacheron Constantin’s history since 1901, beginning first with pocket watches before appearing in wristwatches since the early 1990s. In more recent years, with modern day computational advances, the Vacheron Constantin tourbillon has reached new heights. Chosen as an example, the Les Cabinotiers Retrograde Armillary Tourbillon launched in 2016 features a tourbillon that is comprised of two nested carriages that move on two different axes inside of a sphere in perpetual motion.
But time-telling has always been more than meets the eye. Back in the days before electricity, watchmakers managed to keep people informed of the time in the dark with striking mechanisms built into their clocks. The technology progressed from auditory indication of the passing hour and quarter to on-demand striking of the hour as well as the minute.
Vacheron Constantin is also a master in this rarefied field of expertise. The first record of their striking watch is that of a quarter repeater pocket watch from 1806. It was followed two decades later by the grande sonnerie watches that sounded the passing hour and quarter.
Striking watches may appear under the simplistic guise of a two-hander or a three-hander, or as a part of a high watchmaking ensemble. A remarkable example of the latter is the pink gold Tour de l’Île watch from 2005 to mark Vacheron Constantin’s 250th anniversary celebration. The double-sided timepiece was the world’s most complicated wristwatch at the time of its release, and it listed the minute repeater among its 16 complications.
Finally, we look at the retrograde indicators, another wondrous member of mechanical watchmaking. The retrograde is a hand that travels along an arc to indicate either the hour, minute or date, returning in one sweeping motion to the beginning position after having completed its segment. Its return to zero action is made possible by a carefully designed lever arm and snail cam set, with the help of a spring that is attached to the pinion.
The examples of Vacheron Constantin watches with a retrograde display are generous, beginning from the 1920s onwards. Some of them had one retrograde hand for the hour and another for the minute. Some went one step further by adding the jumping hour indication to provide a digital display. These stylistic experimentations are carried on to the contemporary collections, as seen with the Mercator yellow gold wristwatch with a bi-retrograde display of 1995, and the Saltarello yellow gold wristwatch with a jumping hour display and retrograde minutes of 1997.
We hope this article has given you a glimpse into the intricate world of high watchmaking at Vacheron Constantin. Check back soon for our future articles on this fantastic brand.

See also: World of Watches Editors on the Subject of Green Dials