Musée Atelier Audemars Piguet จุดหมายสำคัญที่คนรัก AP ต้องมาเยือนสักครั้งในชีวิต
บทความ: รักดี โชติจินดา
Audemars Piguet เป็นแบรนด์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์นาฬิกาสวิส แต่ตัวบริษัทเองนั้นก็มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลอยู่เสมอจึงริเริ่มโปรเจค Musée Atelier Audemars Piguet ขึ้นให้เป็นพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบล้ำสมัยเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจได้สัมผัสถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ส่งให้ AP มาถึงจุดนี้ในวงการได้
อันที่จริงแล้ว MAAP ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของ Audemars Piguet เพราะว่าก่อนหน้านี้ทางแบรนด์ก็มีการจัดห้องเล็กๆ ภายในอาคารดั้งเดิมให้เป็นพิพิธภัณฑ์มาแล้วตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1990 แต่ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ลักษณะปิดที่ต้องขอเข้าชมหรือว่าต้องได้รับเชิญให้มาชมเท่านั้น จากนั้นในปี ค.ศ. 2013 ทางแบรนด์จึงจัดให้มีการประกวดออกแบบอาคารและพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ขึ้นซึ่งประกาศผู้ชนะในปีต่อมาว่าเป็นบริษัท Bjarke Ingels Group จากประเทศเดนมาร์ค โดยอาคารที่ BIG เสนอนั้นจะเป็นพาวิลเลียนกระจกทรงสไปรอลในสไตล์ร่วมสมัยที่ทั้งเชื่อมต่อกับอาคารเก่าแก่ดั้งเดิมจากปี ค.ศ. 1875 ของ AP และดูกลมกลืนกับทัศนียภาพของเมืองเลอบราซูส์ไปพร้อมกัน
จากนั้นจึงมีการพัฒนาต่อเนื่องในรายละเอียดและเริ่มก่อสร้างอาคารโดยบริษัทสัญชาติสวิสชื่อ CCHE ส่วนการตกแต่งบรรยากาศการจัดแสดงภายในนั้นเป็นฝีมือของ Atelier Brückner จากประเทศเยอรมนี ในที่สุด MAAP ก็พร้อมเปิดประตูต้อนรับแขกผู้มาเยือนเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 และตั้งแต่นั้นตัวผมเองก็ตั้งใจเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อเดินทางไปต่างประเทศได้อีกครั้งก็จะต้องมาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้ได้
คุณจัสมิน โอเดอมาร์ ประธานคณะกรรมการของ Audemars Piguet เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า “เราต้องการให้ผู้มาเยือนสัมผัสได้ถึงมรดก ความเชี่ยวชาญ ต้นกำเนิดทางวัฒนธรรมและความเปิดกว้างสู่โลกภายในอาคารที่จะสะท้อนถึงทั้งความยึดมั่นในรากฐานและจิตวิญญาณแห่งวิสัยทัศน์ของเรา ที่สำคัญ เราต้องการจะเชิดชูช่างนาฬิกาและช่างฝีมือทั้งหลาย รุ่นแล้วรุ่นเล่า ที่ทำให้ Audemars Piguet มาอยู่ ณ จุดนี้ได้”
ความเหนือชั้นในด้านวิศวกรรมและการออกแบบปรากฏให้เห็นชัดยิ่งขึ้นเมื่อเดินเข้าไปอยู่ภายในอาคาร MAAP แล้ว เพราะผู้มาเยือนจะพบว่ากำแพงกระจกโค้งทั้งหมดนั้น นอกจากจะห่อหุ้มอาคารจากสภาพแวดล้อมภายนอกและแบ่งโซนของห้องต่างๆ ภายในแล้วยังทำหน้าที่แบกรับหลังคาเหล็กทั้งหมดไว้อีกด้วย ส่วนระแนงทองเหลืองที่หล่อเป็นลวดลายตะข่ายก็ช่วยควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่ข้างในและปรับอุณหภูมิในระดับหนึ่ง
MAAP มีนาฬิกาพกและนาฬิกาข้อมือจัดแสดงอยู่รวมกันราว 300 เรือนตามเส้นทางที่วนเป็นสไปรอล เริ่มตั้งแต่เรือนที่มีอายุเก่าแก่ยิ่งกว่าตัวแบรนด์ Audemars Piguet เองที่ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1875 และไล่มาจนถึงปัจจุบัน บางเรือนก็ได้รับการคัดเลือกมาเพื่อเป็นตัวแทนของความเชี่ยวชาญทางด้านกลไกอย่างเช่นนาฬิกาพก Universelle จากปี ค.ศ. 1899 และนาฬิกาพกกลไกรีพีทเตอร์แบบ 5 นาทีที่เล็กที่สุดในโลกจากปี ค.ศ. 1921 แต่อีกหลายเรือนก็ถูกนำมาจัดแสดงเพื่อเป็นตัวแทนถึงความสำคัญในด้านดีไซน์ของนาฬิกาและความเชื่อมโยงกับเรื่องราวและเหตุการณ์ทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละยุคสมัย
ผมขอไม่ลงรายละเอียดไปมากกว่านี้เพราะต้องการให้คุณผู้อ่านได้ค้นพบด้วยตนเองเมื่อถึงวันที่ได้ไปเยือน MAAP ในเวลานี้ขอบอกเพียงว่าถ้าคุณเป็นแฟน AP แล้วไม่ว่าอย่างไรก็ต้องไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต และถึงว่าคุณไม่ใช่แฟน AP โดยตรงแต่ด้วยความหลงใหลในนาฬิกาจักรกลแล้วเมื่อได้ไปเห็นสิ่งต่างๆ ก็จะตื่นเต้นไปด้วยกันอยู่ดี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อาจไม่มีลูกเล่นในเชิงอินเตอร์แอคทีฟให้คนมากดมาเล่นเหมือนพิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่ไม่เฉพาะทางเท่านี้หรือต้องเน้นรองรับกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่านี้ แต่ MAAP ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวาเพราะว่ามีห้องเวิร์คช็อปแกรนด์คอมพลิเคชั่นและห้องเวิร์คช็อปเมติเยร์ดาต์ซึ่งมีช่างนั่งทำงานอยู่จริง (และเป็นที่มาของชื่อ Musée Atelier) เวิร์คช็อปทั้งสองนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดพื้นที่เพื่อสร้างประสบการณ์ภายในพิพิธภัณฑ์ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้เห็นถึงเบื้องหลังของการทำงานประกอบกลไกนาฬิกาที่ซับซ้อน หรือการแกะสลักหรือประดับอัญมณีบนชิ้นงานที่จะไปเป็นส่วนหนึ่งของเรือนเวลาสไตล์จิวเวลรีสุดวิจิตรของ AP
คุณเซบาสเตียน วิวาส ผู้อำนวยการฝ่ายประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ของ Audemars Piguet กล่าวสรุปไว้ได้อย่างครบถ้วนเมื่อตอนที่มีการเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในปี ค.ศ. 2020 ว่า “Musée Atelier Audemars Piguet เป็นสถานที่เพื่อการค้นพบ การเรียนรู้และความเป็นกันเองที่อำนวยให้มีการส่งต่อความรู้และความเชี่ยวชาญจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้ ความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมและการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์นั้นก็เปรียบได้ดั่งความซับซ้อนของเครื่องนาฬิการะดับแกรนด์คอมพลิเคชั่นด้วยเช่นกัน”
ผู้สนใจจะมาเยือน MAAP จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซท์ www.museeatelier-audemarspiguet.com และจ่ายค่าเข้าชมล่วงหน้าคนละ 30 ฟรังก์ การเข้าชมจะอยู่ในรูปแบบกลุ่มละ 6 คนโดยมีเจ้าหน้าที่ของแบรนด์เป็นผู้เดินนำให้คอยให้ความรู้ในแต่ละจุด รวมเวลาเข้าชมกลุ่มละ 120 นาที ภาษาที่ใช้ในแต่ละรอบจะเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่กดจองรอบนั้นเป็นคนแรกเลือกภาษาอะไร
ตารางเวลาในขณะนี้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 ระบุว่า MAAP จะเปิดให้เข้าชมวันอังคารถึงวันศุกร์วันละ 2 รอบ เริ่มต้นเวลา 14.00 น. และ 15.00 น. วันเสาร์เริ่มต้นเวลา 10.00 น. และ 11.00 น. โดยในบางเสาร์จะมีรอบบ่ายเพิ่มด้วยแต่ว่าไม่การันตีแน่นอน หากคุณต้องการไป MAAP ในช่วงเวลาหลังจากนั้นหรือมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเขียนไปสอบถามที่ info-museeatelier@audemarspiguet.com ได้ แล้วทีมงานของพิพิธภัณฑ์จะให้คำแนะนำที่จำเป็นแก่คุณเอง
ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าถ้าจะไปจริงๆ ก็ควรจะพักที่โรงแรม Hotel des Horlogers ที่อยู่ข้างกันเสียเลย เพราะว่าเลอบราซูส์นั้นอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเข้าออกไม่ได้สะดวกมากนัก ถ้าไปนอนที่นั่นสัก 2 คืนก็จะทำให้คุณเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้แบบไม่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา แถมยังจะได้ซึมซับความงามของธรรมชาติในย่านวาลเลเดอชูซ์อันเป็นที่ตั้งของเลอบราซูส์และเป็นย่านสำคัญของวงการนาฬิกาสวิสด้วย
โปรแกรมคร่าวๆ คือ ไปถึงโรงแรมในวันที่ 1 แล้วพักผ่อนหรือออกไปชมธรรมชาติข้างนอก จากนั้นเข้าพิพิธภัณฑ์ตามเวลานัดหมายในวันที่ 2 ตกเย็นก็ทานอาหารในโรงแรมสบายๆ แล้ววันที่ 3 ก็เช็คเอาท์ออกจากโรงแรมเพื่อไปยังจุดหมายที่อื่นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต่อไป คนรักนาฬิกาคนใดได้มาสัมผัสประสบการณ์แบบนี้ย่อมกลับไปพร้อมความสุขแน่นอน และจะมาฤดูร้อนหรือฤดูหนาวก็ได้เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง: Audemars Piguet Reintroduces the Starwheel
The architectural marvel where history comes to life may be out of way but it certainly is worth your effort to get there.
Words: Ruckdee Chotjinda
Audemars Piguet is an integral part in the fabric of Swiss watchmaking history, but the manufacture is not just about the past and, with one foot always stepping into the future, they went on to realise a most inspirational project called the Musée Atelier Audemars Piguet (MAAP), to offer interested parties a window into the important elements that solidified the brand’s position in the industry.
The MAAP is not the manufacture’s first museum. They have had an organised but small museum inside a historical building since the 1990s, and visits were by invitation or appointment only. Then, in 2013, Audemars Piguet launched an architecture and museography competition that was won by Bjarke Ingels Group (BIG) from Denmark in the following year. BIG’s design is a contemporary, spiral-shaped glass pavilion which seamlessly connects with the oldest Audemars Piguet building from 1875; it also blends in with the remote valley landscape of Le Brassus.
Further development ensued. Construction of the MAAP was undertaken by the Swiss firm CCHE with internal scenographic work done by Atelier Brückner from Germany. The MAAP finally opened its door for the first time in June 2020, and it was among the top of my things to see in Switzerland once international travel resumed.
“We wanted visitors to experience our heritage, savoir-faire, cultural origins and openness to the world in a building that would reflect both our rootedness and forward-thinking spirit. But, before all, we wanted to pay tribute to the watchmakers and craftspeople who have made what Audemars Piguet is today, generation after generation,” shared Jasmine Audemars, Chairwoman of the Board of Directors, Audemars Piguet, in an earlier communication.
This feat of engineering and design becomes even clearer once you step inside. The entire steel roof is supported by curved glass walls that provide a shell to the construction and divide the compartments within. A mesh of brass runs along the top half of the external surface to help regulate light and temperature.
About 300 pocket watches and wristwatches are on display along the spiral course of the MAAP. These exhibits range in age from before 1875 when Audemars Piguet was officially founded to the present day. While some specimens, like the or the smallest 5-minute repeater pocket watch in the world from 1921, are meant to exemplify technical ingenuity, others illustrate the importance of timepiece designs and the cultural associations over time.
I will, of course, not go into the particulars because I want to save the pieces for you to discover during your eventual visit to this magnificent place. Let’s just say that it is a compulsory pilgrimage for fans of Audemars Piguet and a worthy visit for anyone with a passion for mechanical watchmaking.
Although most of the displays are not interactive like those in places geared towards a broader or younger audience, the MAAP is never idle though, and it is called the “Musée Atelier” because the Grandes Complications and the Métiers d’Art workshops are strategically located at the heart of the spiral. Together, they enhance the museum’s spatial configuration and offer visitors a glimpse into how some of the most complicated timepieces are constructed, or how gem-setters and engravers bring life into the manufacture’s exquisite jewellery timepieces.
Sébastian Vivas summed it up best around the time of the museum’s opening in 2020. The Heritage and Museum Director of Audemars Piguet said, “The Musée Atelier Audemars Piguet is a unique place of discovery, learning and conviviality where knowledge and savoir-faire are passed on to the next generation. The technical complexity of its architecture and scenography connects it to the highly complicated movement of a grande complication.”
All visits to the MAAP are in the form of a 120-minute guided tour which must be booked and paid for in advance via the museum’s website at www.museeatelier-audemarspiguet.com. Each group is limited to only six people, and the cost is CHF 30 per person. Tours are conducted in either English, French or German, depending on the language selected by the first person who completes the booking for that particular session.
The currently published schedule indicates two visits daily from Tuesdays to Fridays, beginning at 14:00 and 15:00; and two visits on Saturdays beginning at 10:00 and 11:00. Additional afternoon slots are occasionally offered on Saturdays but they are not guaranteed. As far as we can tell, this arrangement is valid until at least February 2023. If you plan to visit in a later month, please contact info-museeatelier@audemarspiguet.com as the team will gladly help facilitate a pleasant experience for you.
Further, as Le Brassus is in a remote location, and as the larger Vallée de Joux itself is a worthwhile destination for all lovers of watches, I recommend a stay of two nights at the adjacent Hotel des Horlogers for anyone wishing to visit the MAAP. This will ensure the most ideal and complete experience without commuting pressures, and also allow you to enjoy a bit of scenery on the side.
Check into the hotel on Day 1, then relax or go out to explore nature; join the guided tour at your booked time on Day 2 and indulge in the hotel’s fine cuisine curation; finally, check out on Day 3 and relocate to your next Swiss destination. That would be a perfect, satisfaction-guaranteed itinerary whether you choose to visit in the summer or winter time.
See also: Audemars Piguet Reintroduces the Starwheel