MB&F ออกแบบ Horological Machine รุ่นแรกที่ไม่ได้อิงเรื่องราวจากวัยเด็กของคุณแม็กซิมิเลียน บุสเซอร์ผู้ก่อตั้งแบรนด์
บทความ: รักดี โชติจินดา
ใครที่อยู่ในวงการนาฬิกามานานหรือติดตามแบรนด์ MB&F เป็นพิเศษจะทราบอยู่แล้วว่านาฬิกาในไลน์ Horological Machine จะออกแบบจากเรื่องราวที่เป็นความสนใจในวัยเด็กของคุณแม็กซิมิเลียน บุสเซอร์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ และไลน์ Legacy Machine ก็ออกแบบด้วยบริบทแห่งอดีตเช่นกันแม้ว่าจะไม่ได้เป็นอดีตของคุณแม็กซ์โดยตรงก็ตาม ดังนั้นเมื่อทีมของเรามีโอกาสสัมภาษณ์คุณแม็กซ์เมื่อเดือนมิถุนายน เราจึงตั้งใจถามเขาตรงๆ เลยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่เราจะได้เห็น Horological Machine รุ่นใหม่ที่มีที่มาจากปัจจุบันหรืออนาคตบ้าง คำตอบของคุณแม็กซ์คือ HM11 ซึ่งเขาพร้อมจะนำเสนอต่อสายตาของชาวโลกในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง
สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ที่คุณแม็กซ์ให้ความสนใจเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมยุคโพสท์โมเดิร์นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวทางในการออกแบบดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่โลกมีแต่อาคารทรงเหลี่ยมของยุคโมเดิร์นที่เน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักมานานนับทศวรรษ เราจะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างในยุคโพสท์โมเดิร์นนั้นมีความโค้งมนอย่างเห็นได้ชัด และดูเหมือนกับเป็นสิ่งที่เกิดมาจากธรรมชาติมากกว่าเป็นสิ่งสร้างของมนุษย์ บ้านทรงบับเบิ้ลที่ดูล้ำสมัยในยุคนั้นก็เกิดจากสถาปัตยกรรมแนวนี้ด้วยเช่นกัน หากเป็นพ็อดเดี่ยวๆ ก็อาจดูเหมือนกับยูเอฟโอที่มาลงจอด และที่เป็นหลังใหญ่เลยนั้นก็เหมือนการนำพ็อดเดี่ยวๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างเพื่อให้แต่ละพ็อดทำหน้าที่เหมือนห้องต่างๆ ของบ้านทั่วไป
HM11 Architect ก็เป็นเหมือนบ้านสไตล์นี้หลังหนึ่งด้วยเช่นกัน ผู้ที่นำทีมออกแบบนาฬิการุ่นนี้ก็คือคุณเอริค จิรูด์ซึ่งมีผลงานที่ทำให้กับแบรนด์ต่างๆ ในวงการนี้มานานหลายปี คุณเอริคเริ่มวาดภาพ HM11 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ตัวเรือนนาฬิกามีลักษณะเหมือนจานบินที่มีพ็อด 4 พ็อดหันออกคนละทิศจนดูมีรูปทรงคล้ายดอกจิกสี่แฉกเมื่อมองจากด้านบน แต่ละพ็อดทำหน้าที่เหมือนห้องแต่ละห้องในบ้านอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กล่าวคือ พ็อดหนึ่งมีหน้าปัดบอกเวลา พ็อดหนึ่งมีเข็มบอกกำลังลานสำรอง พ็อดหนึ่งมีเครื่องวัดอุณหภูมิ (ทำงานได้ในช่วง -20 ถึง 60 องศาเซลเซียส) และพ็อดสุดท้ายมีเม็ดมะยม บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนแกนหมุนเพื่อให้คุณเลือกหมุนให้พ็อดที่ต้องการหันเข้ามุมสายตามองได้ การหมุนตัวเรือนในทิศตามเข็มนาฬิกานั้นเป็นการขึ้นลานให้กับเครื่องนาฬิกาด้วย หากหมุนตัวเรือนเพียง 10 รอบก็จะได้กำลังเต็มลาน 96 ชั่วโมงพอดี
บ้านหลังนี้มีตัวเรือนที่ผลิตจากไทเทเนียมและมีหลังคาแซฟไฟร์คริสตอลที่เผยให้เห็นกลไกเซ็นทรอลฟลายอิ้งตูร์บิยองที่ตั้งอยู่ตรงใจกลางโครงสร้าง MB&F ผลิต HM11 Architect ในสองเวอร์ชั่นด้วยกันในช่วงเริ่มแรกนี้ ความแตกต่างอยู่ที่สีที่เคลือบบนเพลทและบริดจ์ของเครื่องด้วยกระบวนการพีวีดี ได้แก่ สีฟ้าสดและสีเร้ดโกลด์ สวมใส่ด้วยสายสีขาวและสีเขียวตามลำดับ และผลิตเป็นจำนวนจำกัด 25 เรือนทั้งสองแบบ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HM11 Architect หรือ MB&F กรุณาติดต่อ PMT The Hour Glass สาขาสยามพารากอนที่ 02-129-4774
บทความที่เกี่ยวข้อง: Ulysse Nardin Freak One Builds on 22 Years of Technological Innovation
The latest Horological Machine revolves around an interest that is not from Mr. Büsser’s childhood, for the first time.
Words: Ruckdee Chotjinda
Long-time watch enthusiasts and followers of MB&F would recognize that Horological Machines are based on one or another childhood interest of brand founder Maximilian Büsser. The Legacy Machines also looked to the past, if not directly his own, for inspirations. So for our interview with him back in June, one of our editorial members thought to ask if there is an idea or a concept in the present or the future that he liked enough to design a Horological Machine around it. It turned out that he had just the right creation just to answer our question, and that it was set to be unveiled to the world in November.
The interest Mr. Büsser developed later on in life which became the conceptual foundation of Horological Machine 11 is architecture, or post-modern architecture, to be exact. Following the decade after World War II when architecture was more concerned about pragmatism and purpose, and forms were largely rectilinear, a new movement began to form with the inspiration to design a space that is more organic and humanistic, as if it were born out of nature. That gave rise to retro futuristic bubble houses which could be a singular unit that looked like a landed UFO or an elaborated one with connecting modules that offer the same functionality as a full-fledged house.
It was precisely the latter that the HM11 Architect is modeled after. Respected watch and product designer Eric Giroud took the lead design responsibility for this project and started drawing what would become the HM11 back in 2018. The result is a saucer-shaped timepiece with four protruding pods that give the whole ensemble the likeness of a quatrefoil when viewed from the top. Each pod serves a purpose like a room in a house – they hold the time-telling dial, the power reserve indicator, the thermometer (from -20°C to 60°C) and the crown. This structure turns on its core so you can have a chosen room facing you as you wish. Turning the structure in the clockwise direction also winds the movement. Only 10 complete rotations are required to reach the maximum power reserve of 96 hours.
The house that is HM11 Architect is crafted from titanium with sapphire crystal for the roof, exposing to clear view the central flying tourbillon at the heart of the structure. Two aesthetic versions are produced of the HM11 Architect at launch. Limited to 25 pieces each, they differ in the PVD color of the plates and bridges with one in ozone blue and the other in red gold, and worn on a white or khaki green strap, respectively. For more information on HM11 Architect or MB&F, please contact PMT The Hour Glass Siam Paragon at 02-129-4774.
See also: Ulysse Nardin Freak One Builds on 22 Years of Technological Innovation