IWC Adds Modern Flair While Respecting the Heritage of the Portugieser Collection

Share this article

IWC Portugieser ในตัวเรือนที่ดูเพรียวและใส่ง่ายกว่าเดิม พร้อมหน้าปัดสีใหม่ที่คงความคลาสสิกของคอลเลคชั่นไว้ได้เป็นอย่างดี
บทความ: รักดี โชติจินดา

[ English ]

ในวงการนาฬิกานั้นจะมีเรือนเวลาทรงกลมสักกี่รุ่นที่ใครมองผ่านๆ ก็บอกได้ทันทีว่าเป็น IWC Portugieser ด้วยเข็มทรงใบไม้ที่เพรียวยาว ตัวเลขอารบิกที่ดูหนักแน่น และการวางองค์ประกอบหน้าปัดอย่างสมมาตร ชื่อรุ่น Portugieser นี้มีที่มาจากคำว่า “โปรตุเกส” ในภาษาเยอรมัน ที่มาของชื่อเกิดจากเมื่อครั้งที่ IWC ผลิตนาฬิกาข้อมือขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องนาฬิกาพกเพื่อส่งไปขายรีเทลเลอร์รายหนึ่งที่โปรตุเกสเมื่อปี ค.ศ. 1939 จนกลาย Portugieser กลายเป็นคอลเลคชั่นนาฬิกาที่เก่าแก่ที่สุดคอลเลคชั่นหนึ่งของ IWC และยังเป็นพื้นที่ให้ทางแบรนด์ได้โชว์ศักยภาพในการคิดค้นกลไกอันซับซ้อนต่างๆ เรื่อยมาด้วย

IWC ปรับโฉมนาฬิกา Portugieser ในปีนี้ด้วยการลดความหนาของตัวเรือนลงและใช้แซฟไฟร์คริสตอลทรงสูงที่นอกจากจะดูให้อารมณ์วินเทจแล้วยังช่วยทำให้เกิดพื้นที่สำหรับเข็มนาฬิกาทั้งหมดด้วย ใครที่เคยรู้สึกว่า Portugieser หนาไปสำหรับข้อมือตนเองก็ขอให้ไปลองดูเวอร์ชั่นใหม่นี้ก่อนเพราะอาจจะพบว่าใส่ได้พอดีกว่าเดิมก็ได้

Portugieser Automatic 40

ในเรื่องของสีสันนั้น IWC ได้เลือกทำหน้าปัด Portugieser ใหม่เป็นทั้งหมด 4 สีด้วยกันเพื่อให้สอดคล้องกับสีของแสงที่เราเห็นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เริ่มต้นกันที่สีโฮไรซอนบลูในโทนฟ้าอ่อนที่จับคู่กับตัวเรือนไวท์โกลด์ซึ่งดูสะดุดตาที่สุดเนื่องจากว่า Portugieser ไม่เคยมีหน้าปัดสีทำนองนี้มาก่อน หรือถ้าคุณชอบความหนักแน่นก็ต้องเลือกหน้าปัดสีออบซิเดียนที่ดูดำสนิท ตัดกับความอบอุ่นของตัวเรือนเร้ดโกลด์หรือตัวเรือนอาร์เมอร์โกลด์ลิขสิทธิ์เฉพาะของ IWC ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หน้าปัดสีดูนนั้นจะออกไปในเฉดที่หลายคนจะเรียกว่าเป็นหน้าสีแชมเปญ ดูวินเทจนิดๆ และสีสุดท้ายคือสีซิลเวอร์มูนที่จะมาพร้อมกับเข็มสีทองหรือสีน้ำเงิน แล้วแต่รุ่น

IWC เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้ตัวเรือนแบบปรับปรุงใหม่และหน้าปัดสีใหม่เหล่านี้หลายรุ่นภายในงาน Watches and Wonders Geneva อาทิ Portugieser Automatic 40 ซึ่งมีหน้าตาถอดแบบมาจากนาฬิกา Portugieser รุ่นแรกในปี ค.ศ. 1939 โดยจะมีเพียงแค่เข็มวินาทีเล็กบริเวณตำแหน่ง 6 นาฬิกาเท่านั้น นาฬิการุ่นนี้ทำงานด้วยเครื่องแบบขึ้นลานอัตโนมัติรุ่นคาลิเบอร์ 82200 ซึ่งมีกำลังลานสำรอง 60 ชั่วโมง สองเวอร์ชั่นที่มีออกมาแล้วในเวลานี้ ได้แก่ รุ่นหน้าปัดสีโฮไรซอนบลูในตัวเรือนไวท์โกลด์ และรุ่นหน้าปัดสีออบซิเดียนในตัวเรือนเร้ดโกลด์

นาฬิการุ่นที่มีขนาดใหญ่ถัดขึ้นมาคือ Portugieser Automatic 42 ซึ่งมีตัวเรือนขนาด 42 มม. และเป็นอีกหนึ่งไอค่อนตลอดกาลของวงการนาฬิกาเพราะเป็นการสืบทอดดีไซน์มาจากนาฬิกา Portugieser Automatic รุ่นปี ค.ศ. 2000 นาฬิการุ่นนี้ทำงานด้วยเครื่องแบบขึ้นลานอัตโนมัติรุ่นคาลิเบอร์ 52011 ซึ่งมีกำลังลานสำรองนาน 7 วัน โดยสังเกตได้จากการวางเข็มวินาทีเล็กไว้ที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกาและเข็มบอกกำลังลานสำรองที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา Portugieser Automatic 42 เป็นนาฬิกาที่มีหลายเวอร์ชั่นที่สุดในเวลานี้ ได้แก่ รุ่นหน้าปัดสีโฮไรซอนบลูในตัวเรือนไวท์โกลด์ รุ่นหน้าปัดสีออบซิเดียนในตัวเรือนเร้ดโกลด์ รุ่นหน้าปัดสีดูนในตัวเรือนสเตนเลสสตีล รุ่นหน้าปัดสีซิลเวอร์มูนเข็มสีทองในตัวเรือนสเตนเลสสตีล และรุ่นหน้าปัดสีซิลเวอร์มูนเข็มสีน้ำเงินในตัวเรือนสเตนเลสสตีล

และถ้าข้อมือคุณใส่นาฬิกาขนาด 44.4 มม. ไหว เราก็อยากนำเสนอ Portugieser Perpetual Calendar ใหม่ รุ่นหน้าปัดสีโฮไรซอนบลูในตัวเรือนไวท์โกลด์ รุ่นหน้าปัดสีดูนในตัวเรือนไวท์โกลด์ รุ่นหน้าปัดสีออบซิเดียนในตัวเรือนอาร์เมอร์โกลด์ และรุ่นหน้าปัดสีซิลเวอร์มูนเข็มสีทองในตัวเรือนอาร์เมอร์โกลด์

Portugieser Perpetual Calendar

นาฬิกากำลังลานสำรอง 7 วันรุ่นนี้เป็นการต่อยอดจาก Portugieser Automatic 42 ด้วยการเพิ่มกลไกเพอร์เพทชวลคาเลนดาร์ที่ใช้งานง่ายเข้ามา เราจะเห็นชื่อวันและตัวเลขวันที่รอบนอกของวงเข็มวินาทีที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกาและรอบนอกของเข็มบอกกำลังลานสำรองที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาตามลำดับ เข็มชี้เดือนจะอยู่ในวงหน้าปัดย่อยที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกาโดยมีตัวเลขปีคริสตศักราช 4 หลักอยู่ทางด้านซ้าย และถัดขึ้นไปทางด้านบนสุดเป็นมูนเฟสแบบ Double Moon ที่สะท้อนให้เห็นภาพของดวงจันทร์จากมุมมองของคนที่อยู่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้อย่างแม่นยำ โดยนาฬิการุ่นนี้นั้นได้รับการโปรแกรมด้วยระบบกลไกให้รู้ว่าเดือนใดมี 31 หรือ 30 วัน และรู้ด้วยว่าเดือนกุมภาพันธ์ในปีนั้นจะมีเพียงแค่ 28 วันหรือว่าจะมี 29 วันอย่างที่เกิดขึ้นทุก 4 ปีในปีอธิกสุรทิน

สุดท้ายนี้เราขอปิดบทความด้วยนาฬิกา Portugieser Eternal Calendar ตัวเรือนแพลทตินัมซึ่งไม่เกี่ยวกับโทนสีใหม่ๆ ข้างต้น แต่ว่าเป็นนาฬิกาที่มีความซับซ้อนที่สุดรุ่นหนึ่งในงาน Watches and Wonders Geneva ปีนี้ อีเทอร์นอลคาเลนดาร์เป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดของนาฬิกาเพอร์เพทชวลคาเลนดาร์ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในรอบศตวรรษ นั่นก็คือว่าเพอร์เพทชวลคาเลนดาร์โดยปกติจะไม่รู้ว่าปี ค.ศ. 2100, 2200 และ 2300 นั้นเป็นปียกเว้นพิเศษไม่ให้เป็นปีอธิกสุรทิน แต่ปี ค.ศ. 2400 จะเป็นปีอธิกสุรทินตามสูตรคำนวณปกติ และวิธีการแก้ไขของวิศวกรที่ IWC ก็คือการเพิ่มเฟืองตัวหนึ่งที่จะหมุนครบหนึ่งรอบในเวลา 400 ปีเพื่อช่วยให้เครื่องนาฬิกาสามารถแสดงค่าปฏิทินได้อย่างถูกต้องเรื่อยไปโดยที่เจ้าของนาฬิกาไม่ต้องส่งนาฬิกากลับมาให้ช่างปรับตั้งในปีที่มีการยกเว้นทุก 100 ปีที่ว่านั้น

Portugieser Eternal Calendar

หากเท่านั้นยังไม่พอ Portugieser Eternal Calendar เรือนนี้ก็ยังมีมูนเฟสที่เที่ยงตรงแบบเหลือเชื่อ จากรุ่นเดิมที่จะคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 1 วันในเวลา 577.5 ปีก็กลายเป็นมูนเฟสที่จะคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 1 วันในเวลา 45,361,055 ปี และเมื่อวานนี้เอง IWC ก็เพิ่งเปิดเผยว่านาฬิกา Portugieser Eternal Calendar ได้รับการรับรองจาก Guinness World Records ให้เป็นนาฬิกาข้อมือที่มีมูนเฟสแม่นยำที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการไปแล้ว หากคุณอยากทำความเข้าใจกับความพิเศษของนาฬิการุ่นนี้เพิ่มเติมก็ขอเชิญคลิกลิงค์ข้างใต้นี้เพื่อดูบทความที่เราเคยเขียนไว้เมื่อ 2 เดือนก่อนได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง: IWC Solves Leap Year Discrepancy Issue with the Eternal Calendar


The Schaffhausen-based manufacturer’s new Portugieser line-up is impressive in a thoughtful way.

Words: Ruckdee Chotjinda

Few round watches out there are as easily identifiable as the Portugieser by IWC. Portugieser is the German word for “Portuguese”. The name alludes to how, in the year 1939, IWC produced for a Portuguese retailer a large wristwatch that was driven by a pocket watch movement. It has since become one of the oldest watch collections at IWC and the platform through which the company presented many of its most elaborated complications.

The Portugieser receives a major refresh at Watches and Wonders Geneva this year. Of course, the long leaf hands, short Arabic numerals and general symmetry of the dial are retained. The improvements have most to do with how the case is re-engineered for a more slender side profile, and how the use of a box-glass sapphire crystal does not only give the hands the space they need to exist and move about but also to afford the watch an extra vintage appeal.

Portugieser Automatic 40

Four colorways are offered with these novelties to correspond with the endless cycle of day and night. There is no doubt that the Horizon Blue dial which comes in a white gold case is the most eye-catching of all – the Portugieser never came in a hue this cool and, dare we say, young. But if you are looking for impact, well, there is the Obsidian dial whose pitch-black shade contrasts sharply with the warmth of the red gold or IWC’s proprietary Armor Gold case. Meanwhile, the Dune dial proposes nostalgia with a sweet touch of champagne and the Silver Moon dial ensures greatest versatility with either gold-plated hands or blue hands.

You can find the redesigned case and new dial colorways across several product lines. The Portugieser Automatic 40 is the quintessential Portugieser that best resembles the original Portugieser watch from 1939 with only the small second hand at the six o’clock position. It is driven by the self-winding Calibre 82200 with a power reserve of 60 hours. You will find the refreshed Portugieser Automatic 40 with a Horizon Blue dial in a white gold case, and, an Obsidian in a red gold case.

Portugieser Automatic 42

At 2 mm larger, the Portugieser Automatic 42 is another timeless icon and a direct descendant of the Portugieser Automatic from 2000. It is equipped with the 7-day self-winding Caliber 52011 which positions the small second hand at the nine o’clock position to counterbalance the power reserve indicator at three o’clock. You have the greatest aesthetic choices here with a Horizon Blue dial in a white gold case, an Obsidian dial in a red gold case, a Dune dial in a stainless steel case, and, a Silver Moon with either gold-plated hands or blue hands in a stainless steel case.

Now, if your wrist can take a 44.4 mm watch, we should want to present to you the refreshed Portugieser Perpetual Calendar in a Horizon Blue dial in a white gold case, a Dune dial in a white gold case, an Obsidian in an Armor Gold case, and, a Silver Moon dial with gold-plated hands in an Armor Gold case.

Portugieser Perpetual Calendar

This 7-day-power-reserve watch builds upon the foundation of the Portugieser Automatic 42 by adding a user-friendly perpetual calendar with day and date outside of the nine and three o’clock subdials, respectively. The month can be found at six o’clock with the 4-digit year next to its left. At 12 o’clock, the Double Moon display shows how the moon would look like on a given day as viewed from people in the northern or southern hemisphere. The Portuguieser Perpetual Calendar is mechanically programmed to be aware of the differing months and the addition of the leap day on the 29th of February once in four years.

Separately from the aforementioned colorways, we would be remiss if we do not touch upon the Portugieser Eternal Calendar in platinum: one of the most technically significant launches at Watches and Wonders Geneva this year. Whereas “conventional” perpetual calendar watches would require a manual adjustment in years 2100, 2200 and 2300 when the leap year is skipped, but not in 2400 when the leap year is observed per the calculation rules, the Portugieser Eternal Calendar is given the enhancement of a 400-year gear so it would be able to account for this centurial exception.

Portugieser Eternal Calendar

And as if that is not already impressive, IWC engineers have also improved the moon phase accuracy from one-day deviation in 577.5 years to the same in 45,361,055 years. In fact, an announcement was made by IWC yesterday that the Portugieser Eternal Calendar is recognized by Guinness World Records as the world’s most precise moon phase wristwatch. For more details on the science behind the technical superiority of this striking watch, please see an earlier article we have dedicated to it in the link below.

See also: IWC Solves Leap Year Discrepancy Issue with the Eternal Calendar

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image