Hermès แสดงความแข็งแกร่งทางด้านเทคนิคด้วยการจับคู่ตูร์บิยองสามแกนกับมินิทรีพีทเตอร์
บทความ: รักดี โชติจินดา
Hermès Arceau Duc Attelé เป็นนาฬิกาที่มีความซับซ้อนที่สุดรุ่นหนึ่งในงาน Watches and Wonders Geneva ปีนี้ เพราะว่าเป็นการรวมเอากลไกเซ็นทรอลตูร์บิยองแบบสามแกนและมินิทรีพีทเตอร์ที่มีก็องแบบจูนนิ่งฟอร์คมาไว้ในนาฬิกาเรือนเดียวกัน นี่คือผลงานสำคัญของ Hermès ที่เจริญรอยตามรุ่นพี่อย่าง Arceau L’heure de la lune ซึ่งเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการนำเสนอภาพของข้างขึ้นข้างแรมในปี ค.ศ. 2019 และ Arceau Le Temps Voyageur ที่มาพร้อมกับรูปแบบใหม่ของการบอกเวลาใน 2 ประเทศพร้อมกันในปี ค.ศ. 2022
ตูร์บิยองเป็นกลไกที่ถูกคิดค้นขึ้นช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เพื่อช่วยยกระดับความเที่ยงตรงของนาฬิกาพกด้วยการหักล้างความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก จากนั้นในช่วงยุคทศวรรษที่ 90 เมื่อคนหันกลับมาสนใจนาฬิกาจักรกลอีกครั้ง ตูร์บิยองจึงกลายเป็นกลไกที่ใครต่อใครชื่นชอบ และเราก็ได้เห็นวิวัฒนาการของตูร์บิยองจากนั้นเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตูร์บิยองหลายตัวในนาฬิกาเรือนเดียว หรือบ้างก็เป็นตูร์บิยองตัวเดียวแต่ว่ามีหลายแกนหมุน
Arceau Duc Attelé จัดอยู่ในกลุ่มหลังเนื่องจากมีตูร์บิยองแบบ 3 แกนอยู่ตรงกลางวงแหวนตัวเลขชั่วโมงและเข็มบอกเวลาแบบเพอริเฟอรอล ลวดลายที่ปรากฏบนตูร์บิยองนั้นคือตัว H สองตัวซ้อนกันอยู่ และเป็นลวดลายที่ถอดแบบมาจากชุดโลหะที่ใช้ตกแต่งลิฟท์ภายในบูติคของ Hermès ที่เลขที่ 24 ถนนรูดูโฟบูกร์แซงตอนอเร กรุงปารีส ตูร์บิยองชุดนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากถึง 99 ชิ้นก็จริง แต่น้ำหนักนั้นเบาเพียง 0.449 กรัมเนื่องจากผลิตจากไทเทเนียม กรงชั้นนอก กรงชั้นกลางและกรงชั้นในจะหมุนครบหนึ่งรอบในเวลา 300, 60 และ 25 วินาทีตามลำดับ โดยที่บาลานซ์ของตูร์บิยองนั้นทำงานที่ความถี่สูง 5 เฮิร์ตซ์หรือนับจำนวนครั้งของการแกว่งตัวได้ 36,000 ครั้งต่อชั่วโมง
จากนั้นยังเพิ่มความพิเศษด้วยกลไกมินิทรีพีทเตอร์ที่สามารถบอกเวลาด้วยเสียงเมื่อเจ้าของนาฬิกาเลื่อนสไลด์ด้านข้างตัวเรือน มินิทรีพีทเตอร์ของนาฬิการุ่นนี้ประกอบด้วยแฮมเมอร์รูปหัวม้าขัดเงาที่อยู่ถัดลงไปจากเข็มบอกกำลังลานสำรอง และก็องรูปทรงตัวยูเหมือนจูนนิ่งฟอร์คที่ทอดตัวเป็นวงกลมไปตามรอบนอกของหน้าปัด เวลาที่กลไกมินิทรีพีทเตอร์ทำงาน แฮมเมอร์รูปหัวม้าก็จะตีลงบนก็องดังกล่าวจนเกิดเป็นเสียงก้องกังวานตามจังหวะของชั่วโมง ควอเตอร์และเศษนาทีที่เกินมาจากควอเตอร์ และเมื่อพลิกมาทางด้านหลังจะพบกับเครื่องนาฬิกาแบบไขลานรุ่น H1926 ที่มีการฉลุวีลต่างๆ ให้ดูเหมือนล้อรถม้า Duc Attelé ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีจากโลโก้ของ Hermès ในปัจจุบัน
เราคิดว่าเมื่อครั้งที่อองรี ดอริงญีออกแบบตัวเรือนทรง Arceau เมื่อปี ค.ศ. 1978 นั้นเขาคงไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งตัวเรือนทรงนี้จะถูกใช้บรรจุคอมพลิเคชั่นระดับนี้ แต่ด้วยรูปทรงที่สามารถย่อและขยายตามต้องการได้และด้วยพื้นที่ภายในตัวเรือนที่มีเหลือเฟือจึงทำให้ Arceau เป็นดีไซน์ที่รองรับกลไกที่มีความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
Arceau Duc Attelé มีขนาด 43 มม. แต่ว่าเมื่ออยู่บนข้อมือคนทั่วไปแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าใหญ่เป็นพิเศษแต่อย่างใด Hermès จะผลิตนาฬิการุ่นนี้เป็น 2 เวอร์ชั่น จำนวนเวอร์ชั่นละ 24 เรือน ได้แก่ เวอร์ชั่นไทเทเนียมเกรด 5 หน้าปัดลายกิโยเช่เคลือบสีเทาเข้ม สวมใส่ด้วยสายหนังสีแอนธราไซท์ผิวด้าน และ เวอร์ชั่นโรสโกลด์หน้าปัดอเวนจูรีน สวมใส่ด้วยสายหนังสีเอบิสบลูผิวด้าน
บทความที่เกี่ยวข้อง: Hermès Arceau Le Temps Voyageur for All Dreamers and Travellers
The maison’s tour de force for the year is a nicely conceived product of haute horlogerie.
Words: Ruckdee Chotjinda
Hermès Arceau Duc Attelé was among the most ambitious mechanical creations at Watches and Wonders Geneva this year, featuring a central triple-axis tourbillon and a tuning fork minute repeater. It follows in the footsteps of the 2019 Arceau L’heure de la lune, which reimagined the moon phase display, and the 2022 Arceau Le Temps Voyageur, which proposed a more elaborate way to indicate time in two zones simultaneously.
Originally invented in the early 19th century to counter the effect of gravity on the accuracy of pocket watches, the tourbillon has become a holy grail for watch enthusiasts since the renaissance of mechanical watchmaking in the 1990s. Since then, we have seen a proliferation of tourbillon designs, including multiple tourbillon setups and single tourbillons operating on multiple axes.
The Arceau Duc Attelé belongs to the latter category, featuring a triple-axis tourbillon in the surround of a chapter ring and two peripheral hands. Its interlacing double H motif recalls the ironwork decorating the elevator at the maison’s first Paris boutique at 24 Rue du Faubourg-Saint-Honoré. Despite being composed of 99 components, the tourbillon setup weighs only 0.449 gram, thanks to the use of titanium. Its outer, intermediate and inner carriages complete one revolution in 300, 60, and 25 seconds, respectively, while the balance functions at a high frequency of 5 Hz. or 36,000 vph.
Adding to the technical mastery of this watch is the minute repeater that chime the time sonorously when the slide on the side of the case is actuated. Its mirror-polished, horse-head hammers sit just below the power reserve indicator and strike on the u-shaped tuning fork tempered steel gongs that go around the edge of the dial. More equestrian references are to be found on the hand-winding H1926 movement, particularly the cut-out gears which resemble the spoked wheels of the Duc Attelé carriage as seen on the Hermès logo today.
We are quite sure that Henri d’Origny did not think of these horological complications when designing the Arceau case in 1978. Still, the emblematic round case with asymmetrical stirrup lugs has proven to be ideal for haute horlogerie applications, thanks to its scalable size and generous internal volume.
The Hermès Arceau Duc Attelé measures 43 mm but is quite wearable on a regular-sized wrist. Two versions of the watch will be produced, each limited to 24 units. The grade 5 titanium version features a lower dial with a striped guilloché motif and anthracite coating, paired with a matte anthracite leather strap. The rose gold version features a lower dial in aventurine and is paired with a matte abyss blue leather strap.
See also: Hermès Arceau Le Temps Voyageur for All Dreamers and Travellers