การประกาศผลรางวัล GPHG หรือรางวัลออสการ์ของวงการนาฬิกาครั้งล่าสุดที่เจนีวา
บทความ: รักดี โชติจินดา ภาพ: GPHG
หลายคนเปรียบ Grand Prix d’Horlogerie de Genève ว่าเป็นเหมือนรางวัลออสการ์ของวงการนาฬิกาซึ่งจะว่าไปแล้วก็คือใช่เลย รางวัล GPHG จัดเป็นครั้งที่ 23 แล้วในปีนี้โดยเปิดรับนาฬิกาทุกสัญชาติจากทั่วโลก โดยมีข้อแม้เพียงว่าจะต้องเป็นนาฬิกาที่วางตลาดหลังสิ้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 จนถึงภายในสิ้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 นาฬิกาที่เข้าชิงรางวัลต่างๆ นั้นอาจจะเป็นการเสนอชื่อโดยตรงจากทางแบรนด์ผู้ผลิต หรือเป็นการเสนอชื่อโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิแห่ง GPHG Academy ก็ได้ โดยหากเป็นกรณีหลังนั้นทาง GPHG ก็จะต้องนำเรื่องไปแจ้งกับทางแบรนด์นาฬิกาเพื่อให้ตัดสินใจว่าตนอยากส่งนาฬิการุ่นนั้นเข้าประกวดด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ นาฬิกาหนึ่งแบรนด์สามารถส่งนาฬิกาเข้าประกวดได้ไม่เกิน 7 รุ่นใน 15 รางวัลของรายการ
ขั้นตอนต่อไปคือการที่สมาชิก GPHG Academy ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 850 ท่านร่วมกันโหวตนาฬิกาผ่านทางเว็บที่จัดทำขึ้นพิเศษเพื่อการนี้ การโหวตรอบที่ 1 นี้จะทำให้ได้นาฬิกาที่เข้ารอบชิงจำนวน 6 รุ่นในแต่ละรางวัล จากนั้นจึงเป็นการโหวตรอบที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยคะแนนโหวต 30 คะแนนจากคณะกรรมการจำนวน 30 ท่านที่คัดเลือกมาจากสมาชิก GPHG Academy ทั้งหมดและได้สัมผัสกับนาฬิกาเรือนจริงทั้งหมดที่เจนีวา รวมกับคะแนนโหวตอีก 15 คะแนนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เหลืออีก 820 ท่านที่โหวตผ่านเว็บเข้ามา สำหรับรางวัลพิเศษต่างๆ นอกเหนือจากรางวัลหลักนั้นก็เป็นหน้าที่ในการตัดสินใจของคณะกรรมการ 30 ท่านดังกล่าวด้วยเช่นกัน
พิธีมอบรางวัล GPHG ปีนี้จัดในค่ำของวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน ที่ Théâtre du Léman ริมทะเลสาบเจนีวาเหมือนเดิม นาฬิกาที่ได้รับรางวัลหลายรุ่นก็เป็นไปตามที่คาดเดา แต่หลายรุ่นก็มาแบบเซอร์ไพรส์อยู่เหมือนกัน เริ่มต้นด้วย Christopher Ward ซึ่งเป็นแบรนด์นาฬิกาสัญชาติอังกฤษแบรนด์แรกที่ประสบความสำเร็จในรายการ GPHG ด้วยนาฬิการุ่น C1 Bel Canto ที่ได้รับรางวัล Petite Aiguille (แปลเป็นอังกฤษตรงตัวได้ว่า Small Hand) สำหรับนาฬิกาที่มีราคาป้ายในช่วง 2,000-8,000 ฟรังก์สวิส นาฬิกาตัวเรือนไทเทเนียมขนาด 41 มม. รุ่นนี้กลายเป็นที่สนใจของคนเล่นนาฬิกาจากทั่วโลกทันทีที่มีการเปิดตัวโดยแบรนด์ Christopher Ward จากอังกฤษ เพราะว่ามีกลไกตีเสียงสัญญาณต้นชั่วโมงและอยู่ในระดับราคาที่จับต้องได้ ความชาญฉลาดอยู่ตรงที่การนำเอาโมดูลบอกเวลาแบบจั๊มปิ้งอาวที่ทางแบรนด์เคยใช้ในนาฬิการุ่นเก่ารุ่นหนึ่งมาดัดแปลงใหม่เพื่อการนี้ และชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ตีเสียงสัญญาณต้นชั่วโมงนั้นก็อยู่บนหน้าปัดให้เห็นแบบเด่นชัดด้วย
ในปีนี้มีนาฬิกาผู้หญิง 2 รุ่นที่เราจับตาดูเป็นพิเศษ และทั้ง 2 รุ่นนั้นก็ได้ชนะรางวัลในประเภทที่ทางแบรนด์ส่งเข้าประกวดด้วยกันทั้งคู่ ได้แก่ Bulgari Serpenti Cleopatra ในประเภท Jewellery Watch Prize ที่มีไว้สำหรับนาฬิกาที่แสดงออกถึงความเหนือชั้นในการออกแบบจิวเวลรีและการประดับอัญมณี ตลอดจนการเลือกใช้อัญมณีประเภทต่างๆ Bulgari Serpenti Cleopatra เป็นนาฬิกาสไตล์กำไลข้อมือที่ผลิตจากพิงค์โกลด์ บนพื้นผิวมีการประดับเพชรหนักรวมประมาณ 86.5 กะรัตเต็มพื้นที่ในสไตล์พาเวเซ็ท แล้วยังมีโทปาซ 3 เม็ด รูเบลไลท์ 2 เม็ด แทนซาไนท์ 2 เม็ดและอเมธิสท์ 2 เม็ด และอีกรุ่นหนึ่งก็คือ Dior Grand Soir Automate Etoile de Monsieur Dior ซึ่งได้รับรางวัล Ladies’ Complication Prize เพราะว่ามีออโตมาตอนรูปดาวที่ขยับขึ้นลงได้บนหน้าปัด ท่ามกลางฉากเมืองปารีสยามค่ำคืนบริเวณอาคารเลขที่ 30 ถนนมงแตญอันเป็นประวัติศาสตร์ของแบรนด์ Dior ที่ปารีส
และที่ตระการตายิ่งกว่านั้นก็คือ Bovet Récital 20 Astérium นาฬิกาตูร์บิยองแอนนวลคาเลนดาร์เจ้าของรางวัล Calendar and Astronomy Prize ในปีนี้ซึ่งสะกดทุกสายตาด้วยหน้าปัดแบบเปิดและโดมแซฟไฟร์สีฟ้าที่แกะสลักเป็นรูปแผนที่หมู่ดาวยามค่ำคืนด้วยเลเซอร์ Récital 20 Astérium รุ่นนี้มีการแสดงค่าที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์มากมายเกินกว่าจะระบุถึงได้หมดในย่อหน้านี้ เราจึงคิดว่าเมื่อมีเวลาก็จะเขียนบทความแยกต่างหากให้กับนาฬิกาสองหน้าสุดล้ำรุ่นนี้ไปเลยจะเป็นการดีที่สุด
นอกเหนือจากรางวัลที่แบ่งตามประเภทนาฬิกาทั้ง 15 ประเภทแล้วก็ยังมีรางวัลพิเศษที่อาจจะออกหรือไม่ออกก็ได้แล้วแต่ดุลยพินิจของคณะกรรมการ ได้แก่ รางวัล Innovation Prize ซึ่งมีไว้สำหรับนาฬิกาเข้ารอบสุดท้ายเรือนใดเรือนหนึ่งที่แสดงออกถึงวิสัยทัศน์อันแปลกใหม่ในด้านการบอกเวลา และ/หรือ นาฬิกาที่ช่วยเปิดแนวทางใหม่สำหรับศิลปะแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา ในปีนี้รางวัล Innovation Prize ตกเป็นของ Hautlence Sphere Series 1 ตัวเรือนสเตนเลสสตีลทรงหน้าจอทีวีที่บอกชั่วโมงด้วยลูกโลกสามมิติที่หมุนไปมาได้ทางด้านซ้ายของหน้าปัด และบอกนาทีด้วยเข็มแบบเรโทรเกรดทางด้านขวาของหน้าปัด
อีกหนึ่งรางวัลพิเศษที่น่าสนใจคือ Audacity Prize ซึ่งมีไว้สำหรับเรือนเวลาที่มีลักษณะแตกต่าง แปลกใหม่และส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในวงการนาฬิกา รางวัลนี้ตกเป็นของนาฬิกาที่เราเพิ่งนำเสนอทางโซเชียลมีเดียเมื่อไม่นานมานี้ นั่นก็คือ Persée Azur จาก Maison Alcée นี่คือผลงานแจ้งเกิดในฐานะผู้ประกอบการของคุณอัลเซ มงต์ฟอร์ตชาวฝรั่งเศสเคยทำงานกับแบรนด์นาฬิกาใหญ่ๆ มาก่อนที่จะก่อตั้งธุรกิจของตนเองเพื่อออกแบบและจำหน่ายนาฬิกาตั้งโต๊ะแบบ DIY ระดับลักชัวรีที่ผู้ซื้อจะต้องประกอบเองที่บ้าน นาฬิกา Persée Azur ทำงานด้วยเครื่องนาฬิกามีกำลังลานสำรอง 14 วันและมีกลไกตีเสียงสัญญาณหนึ่งครั้งเมื่อขึ้นชั่วโมงใหม่ บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ช่างน่าจะประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด 169 ชิ้นได้เสร็จในเวลา 10 ชั่วโมงโดยใช้เครื่องมือที่ให้มาพร้อมในชุดตามคู่มือที่ให้มา
รางวัลใหญ่ที่สุดแห่งปีซึ่งก็คือ Aiguille d’Or Grand Prix (หรือแปลตรงตัวว่ารางวัล Golden Hand) ตกเป็นของ Code 11.59 by Audemars Piguet Ultra-Complication Universelle RD#4 ซึ่งเป็นหนึ่งในหกเรือนเวลาที่เข้ารอบสุดท้ายของการชิงรางวัลในประเภท Mechanical Exception โดยที่ RD#4 นั้นเป็นนาฬิกาข้อมือแบบขึ้นลานอัตโนมัติระดับอัลตร้าคอมพลิเคทรุ่นแรกของคอลเลคชั่น Code 11.59 by Audemars Piguet ต้นแบบของการพัฒนาคือนาฬิกาพกที่มีชื่อว่า Universelle จากปี ค.ศ. 1899 ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วน 1,168 ชิ้นที่ทำให้นาฬิกาเรือนนั้นมีคอมพลิเคชั่นมากถึง 19 รายการด้วยกัน สำหรับตัว RD#4 เองนั้นมีคอมพลิเคชั่นต่างๆ มากถึง 23 คอมพลิเคชั่นซึ่งรวมถึงแกรนด์ซอนเนอรี มินิทรีพีทเตอร์ เพอร์เพทชวลคาเลนดาร์ สปลิทเซ็กเกินด์ฟลายแบ็คโครโนกราฟ และ ฟลายอิ้งตูร์บิยอง ซึ่งทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในเครื่องรุ่นคาลิเบอร์ 1000 อันประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนทั้งสิ้น 1,140 ชิ้น และนี่คือบางส่วนของรางวัลที่มีการมอบภายในงาน Grand Prix d’Horlogerie de Genève ครั้งที่ 23 ในปีนี้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Code 11.59 by Audemars Piguet Ultra-Complication Universelle RD#4 Pays Tribute to a Historical Pocket Watch
Winning watches are an admirable mix of the expected and the unexpected.
Words: Ruckdee Chotjinda Photo: GPHG
The Grand Prix d’Horlogerie de Genève is often described as the Oscars of the watch industry. The analogy is quite fitting indeed as the GPHG is as respected as it is anticipated. For the 23rd edition, the program was open to watches from around the world, provided that they are commercialized from after May 2022 to end of October 2023. Watches are submitted either directly by the brands or through the proposal of the GPHG Academy in which case the watch brands must decide whether or not to proceed with the entries. One watch brand can have as many as seven watches entered in the 15 categories of the competition.
All 850 GPHG Academy members took part in the first round of voting on the program’s secure digital platform. This process produced nomination of six watches for each of the categories. For the second round of voting, a jury of 30 members selected from the GPHG Academy met in Geneva to evaluate all nominated watches in person in order to cast their second ballot. These 30 jury votes were then combined with the online ballots from the remaining 820 GPHG Academy members which represented 15 votes in total. The jury also decided the four discretionary prizes outside of the permanent prizes.
In the evening of Thursday 9 November, Théâtre du Léman in Geneva was filled with an enthusiastic crowd once again as prizes were announced. Winners are an admirable mix of the expected and the unexpected. Christopher Ward became the first British watch brand to have won an award at GPHG. Their C1 Bel Canto is recognized with the Petite Aiguille or the Small Hand Prize for watches “with a retail price between CHF 2,000 and CHF 8,000”. When it was first released by the British company, the 41 titanium watch became an Internet sensation because of its ability to chime on the hour and at a relatively affordable asking price. This was achieved through an ingenious modification of an existing jumping hour module, and the mechanism involved is clearly visible on the dial of the watch.
Two feminine timepieces we have been observing with great interest also won the prize in their respective categories. The Jewellery Watch Prize is awarded to a watch “demonstrating exceptional mastery of the art of jewellery and gemsetting, and also distinguished by the choice of stones”. To this end, the pink gold manchette of the Bulgari Serpenti Cleopatra is pavé-set with approximately 86.5 carats of diamonds and adorned by three topazes, two rubellites, two tanzanites and two amethysts. Meanwhile, the Ladies’ Complication Prize is won by Dior Grand Soir Automate Etoile de Monsieur Dior. The yellow gold and white gold watch features an automaton of moving stars on a multi-level dial depicting the night scene at 30 Montaigne in Paris.
Even more astounding is Bovet Récital 20 Astérium, the winner of Calendar and Astronomy Prize this year. The annual calendar tourbillon watch stuns with its open architecture and translucent blue sapphire dome with laser-engraved night sky map. The complete list and details of all of its astronomical indications will require a dedicated article on its own, which we intend to produce when we have the time.
Apart from the 15 categorial prizes, four other prizes are awarded on a discretionary basis to worthy finalists which qualify for them. Hautlence Sphere Series 1 has won the Innovation Prize which “rewards the best competing timepiece offering an innovative vision of time measurement and/or opening up new development pathways for the watchmaking art”. The TV screen-shaped stainless steel watch indicates the hour by way of a three dimensional spinning sphere to the left of the dial, and a retrograde minute hand to the right.
Another discretionary prize of note is the Audacity Prize for “the best competing timepiece featuring a non-conformist, offbeat approach to watchmaking”. The winner of this price is the Persée Azur clock from Maison Alcée, which we happened to feature recently on our social media by coincidence. Maison Alcée was founded by Alcée Montfort from France who has worked with a few major brands in the past. Her business model at this time revolves around the design and production of luxury DIY clocks that you can enjoy building at home. Persée Azur is powered by a hand-winding movement with 14 days of power reserve, as well as a mechanism to chime at the top of the hour. A regular person with no watchmaking experience should be able to assemble its 169 parts within 10 hours, using the tools and the manual provided in the kit.
For the grand finale of the evening, the Aiguille d’Or Grand Prix or the Golden Hand Grand Prize was presented to one of the six finalists from the Mechanical Exception category: the Code 11.59 by Audemars Piguet Ultra-Complication Universelle RD#4. This first ultra-complicated, self-winding wristwatch within the Code 11.59 by Audemars Piguet collection pays tribute to the Universelle pocket watch that was created in 1899 with 1,168 parts that form 19 complications. It counts the grand sonnerie, minute repeater, perpetual calendar, split-seconds flyback chronograph and flying tourbillon among its 23 complications. Its Calibre 1000 is made up of 1,140 parts. These are merely some of the prizes awarded last night in Geneva. Please see the GPHG web site for more of the winning pieces and their particular details.