พบกับนาฬิการุ่นใหม่ทั้งหมดของ Rolex ในปีนี้
บางครั้งเราก็อดเปรียบเปรยในใจไม่ได้ว่า Rolex นั้นเป็นเหมือนสถาปนิกชื่อก้องโลกคนหนึ่ง ด้วยเหตุที่ว่า Rolex เป็นผู้ออกแบบผลงานที่มีความเป็นอมตะเหนือกาลเวลา โดยคำนึงถึงคุณสมบัติในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการใช้งาน ความทนทานและความงาม ไม่เพียงเท่านั้น ผลงานของ Rolex ยังมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในระดับที่ใครมองก็จะรู้ได้ทันทีว่านี่คือเรือนเวลาของแบรนด์ดังจากเจนีวานี้อย่างแน่นอนด้วย
Oyster Perpetual Sky-Dweller
Oyster Perpetual Sky-Dweller เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ดีว่า Rolex มีความสม่ำเสมอในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมของอุตสาหกรรมนาฬิกาที่มีมายาวนาน นาฬิกาตัวเรือนขนาด 42 มม. ในกลุ่ม Classic ของ Rolex รุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปี 2012 ให้เป็น “นาฬิกาที่สง่างามสำหรับนักท่องโลก” ด้วยฟังก์ชั่นสำคัญ คือ การบอกเวลาในประเทศที่สองด้วยจานหมุนทางด้านครึ่งล่างของหน้าปัด เหมาะสำหรับผู้ใช้นาฬิกาที่ต้องเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในโลก ไม่ว่าจะเพื่อการทำธุรกิจหรือเพื่อการท่องเที่ยวก็ตาม
โดยผู้ใช้นาฬิกา Oyster Perpetual Sky-Dweller สามารถตั้งเวลาที่สองนี้ให้ตรงกับเวลาในประเทศไทย เพื่อที่จะได้ใช้ดูเวลาที่บ้านเราขณะที่ตนเองอยู่ในประเทศอื่น หรือในทางกลับกัน หากเราไม่ได้เดินทางไปที่ใด เราก็สามารถตั้งเวลาที่สองนี้ให้ตรงกับประเทศใดประเทศหนึ่งที่เรามีความจำเป็นต้องติดต่อด้วยอยู่บ่อยครั้งก็จะได้รับความสะดวกเช่นกัน เพราะเราจะสามารถดูได้ทันทีว่าประเทศนั้นกี่โมงแล้วและเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืนเนื่องจากการแสดงค่าของจานหมุนนี้เป็นแบบ 24 ชั่วโมง
การตั้งค่าเวลาที่หนึ่งและเวลาที่สองทำได้โดยง่ายด้วยระบบ Ring Command อันชาญฉลาดของ Rolex ซึ่งจะปรับเปลี่ยนการทำงานของเม็ดมะยมไปตามตำแหน่งการหมุนขอบตัวเรือนแบบหยัก กล่าวคือ เมื่อหมุนขอบตัวเรือนทวนเข็มนาฬิกาไปสามจังหวะ ผู้ใช้นาฬิกาจะสามารถตั้งจานหมุนตัวเลข 24 ชั่วโมงให้ตรงกับเวลาที่ต้องการด้วยการหมุนเม็ดมะยม
หากหมุนขอบตัวเรือนทวนเข็มนาฬิกาไปสองจังหวะ ผู้ใช้นาฬิกาจะสามารถตั้งเวลาในท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีผลต่อความเที่ยงตรงของนาฬิกาเพราะเข็มชั่วโมงของ Rolex รุ่นนี้เป็นแบบกระโดดที่เดินหน้าหรือถอยหลังได้เป็นจังหวะละหนึ่งชั่วโมง โดยที่เข็มวินาทียังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องจึงไม่จำเป็นต้องเทียบเวลาใหม่แต่อย่างใด ฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์มากเวลาที่เราเดินทางไปยังประเทศอื่น เพราะเมื่อไปถึงก็จะสามารถตั้งเข็มชั่วโมงให้ตรงกับเวลาในท้องถิ่นได้ทันที
ในระบบ Ring Command นี้ เมื่อหมุนขอบตัวเรือนไปยังตำแหน่งที่สาม (ทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งจังหวะ) ผู้ใช้นาฬิกาก็จะสามารถตั้งวันที่และเดือนได้โดยใช้เม็ดมะยมเม็ดเดิมอีกเช่นกัน Oyster Perpetual Sky-Dweller เป็นนาฬิกาที่มีระบบปฏิทินที่ซับซ้อนเหนือนาฬิกาทั่วไป กลไกปฏิทินนี้มีชื่อเรียกว่า Saros และเป็นปฏิทินแบบแอนนวลคาเลนดาร์ซึ่งได้รับการตั้งโปรแกรมมาเป็นพิเศษให้รู้ว่าเดือนใดมี 30 หรือ 31 วัน ไม่เพียงเท่านั้น นาฬิการุ่นนี้ยังสามารถแสดงค่าเดือนได้ด้วย ผ่านทางสัญลักษณ์สีแดงในหน้าต่างเล็กบริเวณรอบนอกของหน้าปัดที่ตรงกับตำแหน่งหลักชั่วโมงทั้ง 12
ความพิเศษทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลไก calibre 9001 ซึ่งมีกำลังลานสำรอง 72 ชั่วโมง และทำให้เรากล่าวได้ว่ากลไกนี้เป็นกลไกที่มีความซับซ้อนที่สุดเท่าที่ Rolex เคยผลิตมา Rolex ผลิตนาฬิกา Oyster Perpetual Sky-Dweller ด้วยวัสดุต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ รุ่น yellow Rolesor หรือ white Rolesor (วิธีการนำทองมาใช้คู่กันกับ Oystersteel ของ Rolex) รุ่น yellow gold 18 กะรัต รุ่น Everose gold 18 กะรัต เพื่อให้ตรงตามความชอบของผู้ซื้อ แต่ทุกรุ่นที่มีมาแต่เดิมนั้นจะสวมใส่ด้วยสายโลหะทั้งสิ้น จนกระทั่งในปี 2020 นี้ที่ Rolex ผลิตนาฬิกา
Oyster Perpetual Sky-Dweller ด้วยสายแบบ Oysterflex เป็นครั้งแรก Oysterflex เป็นสายนาฬิกาที่ผสานคุณสมบัติในด้านความทนทานของสายโลหะเข้ากับความสบายข้อมือของสายอีลาสโตเมอร์ โครงสร้างของสาย Oysterflex ประกอบด้วยแกนชั้นในที่ผลิตจากอัลลอยซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นไทเทเนียมและนิคเกิล ภายนอกหลอมเคลือบด้วยอีลาสโตเมอร์แบบประสิทธิภาพสูงสีดำซึ่งมีความทนทานต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
สาย Oysterflex นี้มาพร้อมกับบานพับ Oysterclasp ที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียวกันกับตัวเรือน โดยบานพับนี้ได้รับการออกแบบให้มีระบบ Rolex Glidelock extension system ในตัวเพื่อให้ผู้ใช้ปรับความยาวของสายระหว่างวันได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ การปรับความยาวของสายนี้ทำได้เต็มที่หกระดับ แต่ละระดับมีระยะ 2.5 มม. รวมความยาวสายที่ปรับได้ทั้งสิ้นประมาณ 15 มม.
นาฬิกา Oyster Perpetual Sky-Dweller รุ่นใหม่ของปี 2020 ที่ใช้สาย Oysterflex ได้แก่ รุ่นตัวเรือน yellow gold 18 กะรัต หน้าปัดสีดำ รุ่นตัวเรือน Everose gold 18 กะรัต หน้าปัดสีช็อคโกแลต และรุ่นตัวเรือน Everose gold 18 กะรัต หน้าปัดสีขาว ทุกรุ่นกันน้ำถึงระดับความลึก 100 เมตร
We often find ourselves considering the notion that Rolex is one of the world’s most celebrated architects – someone who conceives signature creations that stand the test of time, someone who strives to deliver that perfect balance of functionality, reliability and aesthetics.
The Oyster Perpetual Sky-Dweller serves as a great example of how Rolex keeps the watch world going with important innovations while also preserving traditions.
First introduced in 2012, the 42 mm timepiece in the Classic range is presented by the manufacture as “an elegant watch for frequent travellers”. It fulfils this designation by way of a second time zone indication in an off-centre disc that occupies the lower half of the dial. This arrangement makes the Sky-Dweller the ideal timepiece to grace the wrist of individuals who frequently traverse the world either for business or pleasure, so that they will always know the time back home. Alternately, they can use the 24-hour time indication to show time in a second country of their choice when not traveling.
Setting both the local time and the reference time is made very convenient with the ingenious Ring Command system. Essentially, Rolex has developed and patented this mechanism for the global traveller to easily access the watch functions that need to be set. With the fluted rotatable bezel turned counterclockwise by three positions, the crown allows the user to set the reference time. With the bezel turned counterclockwise by two positions, the local time can be changed quickly and effortlessly without affecting the precision of timekeeping, thanks to the Rolex jumping hour hand. The hour hand is adjusted independently in one-hour increments, either forwards and backwards, leaving the minute and seconds hands unchanged.
Quite simply, this means you will be able to adjust the hour hand to the local time very quickly as soon as you arrive at your destination or even before you land. A third position (one click anti-clockwise) of the rotatable bezel would allow the user to set the calendar (date and month).
This brings us to the subject of the annual calendar. While most watches dutifully carry out a cycle of 31-day date indication, the
Oyster Perpetual Sky-Dweller is equipped with the Saros annual calendar: an ingenious mechanism patented by Rolex that automatically differentiates between 30-day and 31-day months. The months of the year are marked by 12 discreet apertures around the circumference of the dial, outside the hour markers, with the current month identified in red. These complications are built on top of the calibre 9001 with a power reserve of approximately 72 hours, making it one of the most complicated calibres ever made by Rolex.
Rolex has introduced the Oyster Perpetual Sky-Dweller in various configurations and materials fitted with the Oyster bracelet: in yellow or white Rolesor (Rolex’s signature juxtaposition of 18 ct gold and Oystersteel), in 18 ct yellow or Everose gold. However in 2020, the new Sky-Dweller is fitted with an Oysterflex bracelet for the first time.
An Oysterflex bracelet combines the robustness of a metal bracelet with the comfort of the elastomer strap. Here, flexible blades of a titanium and nickel alloy are overmoulded with high-performance black elastomer that is resistant against environmental effects. It is equipped with a folding Oysterclasp in the same material as the Oyster case. In addition, it features the Rolex Glidelock extension system comprised of a rack located under the clasp cover with six notches of approximately 2.5 mm apart, allowing the length of the bracelet to be adjusted easily, and without tools, up to some 15 mm.
The new Sky-Dweller is available in 18 ct yellow gold with a black dial, in 18 ct Everose gold with a chocolate dial, and in 18 ct Everose gold with a white dial. They are waterproof to a depth of 100 metres.
Oyster Perpetual Submariner and
Oyster Perpetual Submariner Date
การพิชิตห้วงความลึกของมหาสมุทรโดย Rolex นั้นถือเป็นหน้าบทสำคัญในประวัติศาสตร์ของโลกนาฬิกา เพราะนาฬิกาเรือนใดก็ไม่อาจทำหน้าที่บอกเวลาได้ หากตัวเรือนไม่สามารถกันฝุ่นหรือความชื้นซึ่งจะนำไปสู่การติดขัดหรือการอ็อกซิไดซ์ข้างในตัวเรือน
Oyster Perpetual Submariner เป็นผลลัพธ์แห่งการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นของการดำน้ำแบบสกูบา โดยหลังจากที่ Rolex ประสบความสำเร็จในการออกแบบและจดสิทธิบัตรคุ้มครองตัวเรือนกันน้ำแบบ Oyster เมื่อปี 1926 แล้ว Rolex ก็ยังทดลองปรับปรุงตัวเรือนดังกล่าวต่อไปจนกระทั่งมีการเปิดตัวนาฬิกา Oyster Perpetual Submariner เมื่อปี 1953 พร้อมด้วยประสิทธิภาพในการกันน้ำลึกถึง 100 เมตร
จากนั้นเพียงหนึ่งปีจึงมีการปรับปรุงต่อจนกระทั่ง Oyster Perpetual Submariner รุ่นที่ออกตามมานั้นสามารถกันน้ำได้ลึก 200 เมตร แล้วในปี 1969 Rolex ก็เปิดตัวนาฬิกา Oyster Perpetual Submariner Date โดยเพิ่มฟังก์ชั่นวันที่เข้าไป และระดับการกันน้ำซึ่งในช่วงแรกนั้นอยู่ที่ 200 เมตรก็ได้รับการปรับปรุงให้เป็น 300 เมตรในปี 1979
นอกจากความทนทานแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับนักประดาน้ำก็คือความชัดเจนของการแสดงค่าเวลา Rolex ใส่ใจในประเด็นนี้ตั้งแต่แรกจึงออกแบบให้หลักชั่วโมงต่างๆ มีรูปทรงที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความชัดเจน และนาฬิกา Oyster Perpetual Submariner รุ่นที่สองก็ยังพัฒนาต่อไปอีกด้วยการเพิ่มสัญลักษณ์รูปทรงกลมบนเข็มชั่วโมง ผู้ใช้จะได้แยกแยะระหว่างเข็มชั่วโมงและเข็มนาทีได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น และมีการเพิ่มบ่าป้องกันเม็ดมะยมอีกด้วย
จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน Rolex ก็ยังเลือกใช้สารเรืองแสงที่มีชื่อว่า Chromalight เพื่อเติมลงไปในเข็มบอกเวลาและหลักชั่วโมงให้เรืองแสงสีฟ้าเป็นเวลายาวนานขณะที่อยู่ในที่มืด โดย Chromalight นี้จะให้ความสว่างได้ยาวนานกว่าสารเรืองแสงแบบดั้งเดิมนานถึงสองเท่า บนขอบตัวเรือนหมุนได้ทิศทางเดียวของนาฬิกาก็มีสารโครมาไลท์บรรจุอยู่ในแคปซูลตรงกลางสัญลักษณ์สามเหลี่ยมที่แทนตำแหน่งศูนย์ด้วยเช่นกัน
Rolex มีการปรับปรุงนาฬิกา Oyster Perpetual Submariner ทีละน้อยตลอดมา โดยทุกรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปเพราะความจำเป็นในด้านการใช้งาน และเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ หลังจากที่เทคโนโลยีการผลิตและวัสดุศาสตร์พัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง Rolex ก็เลือกใช้วัสดุเซราโครมในการผลิตวงแหวนสำหรับขอบตัวเรือนเพราะว่าวัสดุชนิดนี้ทนทานต่อการขีดข่วนเป็นอย่างยิ่งและจะไม่ซีดจางไปตามกาลเวลาแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การปรับโฉมนาฬิกา Oyster Perpetual Submariner และ Oyster Perpetual Submariner Date ครั้งล่าสุดในปีนี้ เริ่มต้นกันที่
Oyster Perpetual Submariner ซึ่งมีตัวเรือนวัสดุ Oystersteel ที่ได้รับการออกแบบใหม่และมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเป็น 41 มม. พร้อมด้วยการขัดแต่งด้านข้างตัวเรือนและขาตัวเรือนที่เงางามยิ่งกว่าเดิม
ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าตัวเรือน Oyster นั้นเป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งการกันน้ำ ตัวเรือนชั้นกลางผลิตขึ้นจาก Oystersteel ทั้งชิ้น โดยที่ Oystersteel นี้เป็นอัลลอยชนิดที่ทนทานต่อการกัดกร่อนเป็นพิเศษ ฝาหลังของตัวเรือนเป็นแบบขันเกลียวและเม็ดมะยมเป็นแบบ Triplock เพื่อการปกป้องสูงสุดสำหรับเครื่องนาฬิกาซึ่งใช้กลไก calibre 3230
คุณสมบัติสำคัญของกลไกรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ ได้แก่ ระบบเฟืองแกว่ง Chronergy ที่จดสิทธิบัตรโดย Rolex โดยมีกลไกการทำงานประกอบด้วยแฮร์สปริง Parachrom สีฟ้า อัลลอยต้านสนามแม่เหล็กที่มีความแม่นยำมากกว่าแฮร์สปริงแบบดั้งเดิมถึง 10 เท่า ผลิตโดย Rolex เป็นการภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้ประกอบกันทำให้กลไก calibre 3230 มีความเที่ยงตรงและทนทานต่อทั้งการสั่นสะเทือนและสนามแม่เหล็กมากยิ่งขึ้น กำลังลานสำรองของเครื่องรุ่นนี้ก็นานขึ้นเป็นประมาณ 70 ชั่วโมง
ทางด้าน Oyster Perpetual Submariner Date ใหม่ของปีนี้ก็มีรุ่นที่หลากหลาย อาทิ รุ่นตัวเรือน Oystersteel ขอบหน้าปัดเซรามิก Cerachrom สีดำ รุ่นตัวเรือน Oystersteel ขอบหน้าปัดเซรามิก Cerachrom สีเขียว รุ่น yellow Rolesor ขอบหน้าปัดเซรามิก Cerachrom สีน้ำเงิน และรุ่นตัวเรือน white gold 18 กะรัต ขอบหน้าปัดเซรามิก Cerachrom สีน้ำเงิน
นาฬิกา Oyster Perpetual Submariner Date ทำงานด้วยกลไก 3235 ซึ่ง Rolex นำมาใช้ในนาฬิการุ่นนี้เป็นครั้งแรก กลไกรุ่นนี้มีประสิทธิภาพในทางเทคนิคที่เหนือชั้นเช่นเดียวกับกลไก calibre 3230 แต่มีอีกหนึ่งคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาด้วย นั่นก็คือการแสดงค่าวันที่
สายของทั้งนาฬิการุ่น Oyster Perpetual Submariner และนาฬิการุ่น
Oyster Perpetual Submariner Date ใหม่นี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้รับกับตัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสาย Oyster มีข้อสายที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนสามชิ้นที่มีความคงทน มาพร้อมกับชุดตัวล็อกนิรภัย Oysterlock แบบพับได้ซึ่งมีระบบ Glidelock อยู่ด้านใน สามารถปรับแต่งความยาวของสายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือในช่วง 10 ระดับ ระดับละ 2 มม. สำหรับรุ่น Oyster Perpetual Submariner Date ที่เป็น white gold 18 กะรัตจะมี ชิ้นส่วนเซรามิกแทรกอยู่ด้านในข้อสายด้วยเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความทนทาน ถือเป็นอีกหนึ่งความใส่ใจในรายละเอียดที่ Rolex มีในเรื่องของคุณภาพ
Rolex’s creation of waterproof wristwatch marks a significant milestone in the watchmaking industry, as watches would not be able to serve their function if they are not protected from dust and moisture, which can cause clogging or oxidization inside the case.
The development of the Oyster Perpetual Submariner is attributed to the advent of scuba diving. Having already proven their success with the advent of the waterproof Oyster case that was patented in 1926, Rolex experimented with further improvements which culminated in the introduction of the Submariner in 1953 – the first wristwatch for divers that is waterproof to a depth of 100 metres. This was doubled to 200 metres in the following year, and then to 300 metres in 1989.
In 1969, Rolex unveiled the Oyster Perpetual Submariner Date, adding the date function. Its waterproofness, then guaranteed to 200 metres, was extended in 1979 to a depth of 300 metres.
Besides build integrity, legibility marks another key consideration as diving is a matter of survival. The first Submariner is designed with hour markers in different shapes to enable instant and reliable reading. The watch was soon fitted with other technical innovations, such as a luminescent disc on the hour hand to clearly distinguish it from the minute hand and a crown guard.
Over the decades, Rolex went on to make further advances, and developed the Chromalight, a luminescent material that fills the hands and hour markers, emitting a blue glow in dark conditions which lasts up to two times longer than traditional phosphorescent materials. The same luminescent material is filled inside the capsule of the triangular zero marker on the unidirectional rotating bezel.
Other incremental improvements were made over the years and every detail is decided on the basis of necessity or functionality. More recently, with advancement in production technology and material sciences, Rolex developed Cerachrom bezel inserts that are virtually scratchproof and resistant to environmental effects.
All these improvements are present in the new generation
Oyster Perpetual Submariner and Submariner Date launched this year, in addition to a redesigned and slightly larger 41 mm case in Oystersteel, whose profile is highlighted by the light reflections from the case sides and lugs.
As noted earlier, the Oyster case is hermetically sealed and waterproof. One key element that attributed to this waterproofness is the middle case that is crafted from a solid block of Oystersteel – an alloy particularly resistant to corrosion.
In addition, the screwed down case back and a Triplock winding crown jointly offer optimum protection to the watch movement, which, in this case, is the brand new calibre 3230. The movement offers enhanced precision and resistance to shocks and magnetic fields, thanks to the use of the Chronergy escapement, blue Parachrom hairspring and Paraflex shock absorbers. Calibre 3230 also has a power reserve of approximately 70 hours due to the escapement’s superior efficiency and the new barrel architecture.
Meanwhile, the 2020 Oyster Perpetual Submariner Date brings an even greater variety of novelties. In addition to the variation in Oystersteel with a black Cerachrom bezel insert, there are three other versions in Oystersteel with a green Cerachrom bezel insert, in yellow Rolesor with a blue Cerachrom bezel insert, and in 18 ct white gold with a blue Cerachrom bezel insert. These Oyster Perpetual Submariner Date models are powered by the calibre 3235, which is used in the Submariner range for the first time. It shares the superior technical benefits found in the aforementioned calibre 3230, but with the addition of the date function.
All new Submariner and Submariner Date come equipped with a remodelled Oyster bracelet. The three-piece link bracelet, known for its robustness, is presently enhanced with the Oysterlock folding safety clasp and the Rolex Glidelock extension system. With 10 notches approximately 2 mm apart, it enables quick and effortless adjustment of the bracelet length. Additional ceramic inserts are located on the inside of the bracelet links of the 18 ct white gold Submariner Date in order to improve flexibility and longevity – a further reflection of Rolex’s thoughtfulness and dedication to quality.
The New Oyster Perpetual
Oyster Perpetual เป็นตัวแทนแห่งความเป็น Rolex ในหลายแง่มุม นาฬิการุ่นนี้เป็นทายาทที่สืบทอดดีเอ็นเอโดยตรงมาจากนาฬิกาข้อมือกันน้ำรุ่นแรกของโลกเมื่อปี 1926 หรือเรียกว่าเป็น “แก่นแท้ของ Oyster”
ส่วนคำว่า Perpetual ในชื่อรุ่นนั้นก็มาจาก Perpetual rotor ซึ่งทำหน้าที่ขึ้นลานให้กับเครื่องนาฬิกาแบบอัตโนมัติจากจังหวะการเคลื่อนไหวข้อมือและแขนของผู้สวมใส่นาฬิกา และการที่ Oyster Perpetual แสดงค่าเฉพาะชั่วโมง นาทีและวินาทีเท่านั้นก็ทำให้นาฬิการุ่นนี้เป็นเครื่องบอกเวลาที่เปี่ยมด้วยความเรียบง่ายและบริสุทธิ์
ขณะนี้ Oyster Perpetual มีทั้งหมดห้าขนาดด้วยกัน ได้แก่ 28, 31, 34, 36 มม. และขนาดใหม่ 41 มม. ทุกรุ่นใช้ขอบตัวเรือนแบบโดม Oyster Perpetual 41 และ Oyster Perpetual 36 รุ่นใหม่ของปีนี้ทำงานด้วยกลไก calibre 3230 ตัวเรือนกันน้ำ Oyster ที่มีเม็ดมะยมแบบ Twinlock และนี่เป็นครั้งแรกที่สาย Oyster ของ Oyster Perpetual 41 และ 36 มีระบบ Easylink อยู่ในบานพับ Oysterclasp เพื่อขยายความสายอีกประมาณ 5 มม.
นาฬิกา Oyster Perpetual ทุกรุ่นผลิตด้วยวัสดุ Oystersteel Rolex เลือกใช้สเตนเลสสตีลชนิดพิเศษในเกรด 904 แอลนี้มาตั้งแต่ปี 1985 แล้วเนื่องจากเป็นสตีลชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างที่อุตสาหกรรมการบินและเคมีไว้วางใจเลือกใช้ โดยนอกจากที่ Oystersteel จะทนทานต่อการกัดกร่อนเป็นอย่างดีแล้วยังให้ความเงางามในระดับที่เหนือกว่าอีกด้วย
กระบวนการผลิต Oystersteel นั้นซับซ้อนกว่าการผลิตสเตนเลสสตีลทั่วไป ผู้ผลิตจะต้องหลอมโลหะซ้ำในสภาวะสุญญากาศหลังจากที่หล่อไปแล้วหนึ่งครั้ง เพื่อทำให้วัสดุมีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น และกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะส่งผลต่อคุณสมบัติของวัสดุในภายหลัง Rolex ให้ความสำคัญต่อเรื่องคุณภาพในจุดนี้มากถึงขึ้นที่ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอนเพื่อสแกนเนื้อวัสดุ Oystersteel แต่ละล็อทที่ผลิตได้ก่อนที่จะตกลงรับมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนนาฬิกาต่างๆ ด้วยตนเองต่อไป
ความแข็งแกร่งของวัสดุ Oystersteel นี้ทำให้ Rolex ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษและกระบวนการพิเศษในการขึ้นรูปและกลึงชิ้นส่วน Oystersteel แต่ละชิ้น และมีการใช้กระบวนการความร้อนช่วยด้วย ก่อนที่จะนำมาขัดแต่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นมีพื้นผิวแบบขัดเงาหรือขัดลายเส้นตามดีไซน์ของนาฬิกาแต่ละรุ่น
ความเงางามของ Oystersteel นี้เด่นชัดไม่ว่าจะปรากฏคู่กับหน้าปัดนาฬิกาสีอะไร เช่น Oyster Perpetual 41 รุ่นหน้าปัดสีดำสว่างที่ดูเคร่งขรึมเป็นทางการ หรือหน้าปัดสีน้ำเงินสว่างที่เพิ่มดีกรีของความคูลในระดับที่เหมาะสม ทั้งสองรุ่นนี้มีเข็มและหลักชั่วโมงผลิตจาก white gold 18 กะรัต ในขณะที่รุ่นหน้าปัดสีเงินจะให้อีกความรู้สึกหนึ่งด้วยเข็มและหลักชั่วโมงที่ผลิตจาก yellow gold 18 กะรัต
ในเรื่องสีสันนั้น นาฬิกา Oyster Perpetual 41 และ Oyster Perpetual 36 มีหน้าปัดแบบแลคเกอร์ที่สวยงาม 4 สีด้วยกัน ได้แก่ สีแดงปะการัง สีฟ้าเทอร์ควอยซ์ สีเขียวและสีเหลือง และเฉพาะ Oyster Perpetual 31 และ 36 จะมีสีที่ 5 เพิ่มเข้ามานั่นก็คือสีชมพูแคนดี้
เข็มและหลักชั่วโมงบนหน้าปัดนาฬิกา Oyster Perpetual ทุกสีมีการเคลือบหรือเติมสารเรืองแสง Chromalight เพื่อการเรืองแสงสีฟ้ายาวนานในที่มืด และแซฟไฟร์คริสตอลของ Oyster Perpetual รุ่นใหม่นี้มีการเคลือบสารป้องกันแสงสะท้อนไว้ทางด้านในด้วยเพื่อความชัดเจนของหน้าปัดในสภาพแสงต่างๆ
ในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานนั้น นาฬิกา Oyster Perpetual ทุกรุ่นผ่านการรับรอง Superlative Chronometer ซึ่งเป็นมาตรฐานของ Rolex มาตั้งแต่ปี 2015 โดยนาฬิกาที่ประกอบเสร็จแล้วแต่ละเรือนจะผ่านการทดสอบการกันน้ำ ความเที่ยงตรง ประสิทธิภาพในการขึ้นลานและกำลังลานสำรอง เกณฑ์ความเที่ยงตรงของ Rolex คือ +2/-2 วินาทีต่อวันในขณะที่เกณฑ์ของมาตรฐานโครโนมิเตอร์ปกติคือ +6/-4 วินาทีต่อวัน เมื่อนาฬิกาผ่านการทดสอบและรับรองแล้วจะได้เหรียญตราสัญลักษณ์สีเขียว green seal เป็นเครื่องบ่งบอกถึงมาตรฐานดังกล่าว และนาฬิกาเรือนนั้นจะมาพร้อมกับการรับประกันทั่วโลกเป็นเวลา 5 ปี
The Oyster Perpetual epitomises the quintessential Rolex in many ways. Labelled “The Essence of the Oyster”, the Oyster Perpetual is the direct descendant of the world’s first waterproof wristwatch introduced in 1926 – it obtained the second part of its name from the perpetual rotor that self-winds continuously by using the kinetic motions of the wearer. Displaying the hour, the minute and the second, these are chronometer wristwatches in their purest form.
Representing both robustness and elegance, this Oyster Perpetual range is now available in five sizes, from 28, 31, 34 to 36 mm and a new 41 mm size – all with a domed bezel.
The Oyster Perpetual 41 timepieces and the brand new versions of the Oyster Perpetual 36 are powered by the calibre 3230, which debuts this year as noted in earlier pages, housed within the waterproof Oyster case with a Twinlock winding crown. And for the first time ever, the Oyster bracelet of the Oyster Perpetual 41 and 36 watches offer the Easylink comfort extension, allowing for swift adjustment of the bracelet length of approximately 5 mm.
The Oyster Perpetual watches are produced exclusively in Oystersteel. For Rolex, this high-performance material is the benchmark of stainless steel that has been used by the brand since 1985. It belongs to the 904L steel family, and is commonly utilised in the aerospace and chemical industries. Oystersteel provides excellent anti-corrosion properties while also displaying outstanding sheen.
The Oystersteel manufacturing process is not simple at all. It involves the metal being re-melted in a vacuum after the first casting, in order to purify the material and remove any inclusions that would diminish its properties at a later stage. In order to ensure quality, Rolex uses a scanning electron microscope, capable of detecting even the slightest structural or surface defect, to control each Oystersteel casting received. Only castings that meet the brand’s exacting specifications are accepted for in-house production of watch components.
Additionally, given their strength, specific tooling and production methods are required in the stamping and machining of Oystersteel components. Thermal treatments are also used to facilitate the production process. The final polishing imparts each watch component with the desired polished or satin finish.
The new Oyster Perpetual 41 shines with either the bright black dial with its formal, understated look or the bright blue dial which adds a dash of coolness – both with hands and hour markers in 18 ct white gold. The silver dial reveals more opulence with the use of 18 ct yellow gold hands and hour markers.
Both the Oyster Perpetual 41 and the Oyster Perpetual 36 are also offered in four lacquer dials in coral red, turquoise blue, green and yellow. The fifth dial option in candy pink can only be found on the Oyster Perpetual 31 and 36.
Regardless of the dial choice, the hands and markers on the
Oyster Perpetual watches are coated or filled with the Chromalight luminescent material for a long-lasting blue glow in the dark. Note also that the sapphire crystal of the new generation Oyster Perpetual has been applied with an anti-reflective coating underneath in order to ensure optimal legibility under all light conditions.
Excellent performance on the wrist is assured by the fact that all Oyster Perpetual watches have received Superlative Chronometer certification – a Rolex standard since 2015. The certification with the green seal and 5-year international warranty is awarded only after the fully assembled watches have successfully passed the series of in-house tests for waterproofness, precision, self-winding capacity and power reserve.
The tolerance range of Rolex Superlative Chronometer is +2/-2 seconds per day, more than twice that is required of an official chronometer’s tolerance of +6/-4 seconds per day.
Oyster Perpetual Datejust 31
เราขอส่งท้ายบทความจากหน้าปกนี้ด้วยนาฬิกา Oyster Perpetual Datejust 31 ซึ่งเป็นเรือนเวลาแห่งความสง่างามแบบอมตะตลอดกาลในกลุ่ม Classic ของ Rolex ชื่อรุ่นของ Oyster Perpetual Datejust มีที่มาย้อนกลับไปได้ถึงปี 1945 ซึ่งในขณะนั้น Oyster Perpetual Datejust ได้เป็นนาฬิกาข้อมือแบบขึ้นลานอัตโนมัติรุ่นแรกในโลกที่มีฟังก์ชั่นวันที่ที่ตำแหน่งสามนาฬิกา Oyster Perpetual Datejust มีรุ่นสำหรับทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี และมีดีไซน์ที่หลากหลายตามความคิดสร้างสรรค์ของ Rolex ในการจับคู่วัสดุและองค์ประกอบต่างๆ
ในปีนี้ Rolex เปิดตัวนาฬิกา Oyster Perpetual Datejust 31 สำหรับสุภาพสตรีจำนวนสี่รุ่นด้วยกัน ทุกรุ่นเป็น white Rolesor ซึ่งเป็น Oystersteel ประกอบกับ white gold 18 กะรัต ได้แก่ รุ่นหน้าปัดสีเทาเข้มหรือสีเขียวมิ้นต์หลักชั่วโมงแบบขีดและสายแบบ Jubilee ซึ่งมีบานพับซ่อนแบบ Crownclasp
อีกสองรุ่นที่ออกใหม่ใช้สายแบบ Oyster ซึ่งมีบานพับแบบ Oysterclasp และระบบ Easylink เพื่อการขยายความยาวสายได้ประมาณ 5 มม. ได้แก่ รุ่นหน้าปัดแลคเกอร์สีขาวที่มาพร้อมกับหลักชั่วโมงเลขโรมันผลิตจาก white gold 18 กะรัต และรุ่นหน้าปัดสีม่วงเข้มซึ่งมีการประดับเพชรทรงบริลเลียนท์คัทจำนวน 46 เม็ดบนขอบตัวเรือน white gold และบนตัวเลขโรมัน VI ขนาดใหญ่
นาฬิการุ่นใหม่ทั้งสี่นี้ทำงานด้วยกลไก calibre 2236 ซึ่งมีซิลิคอนแฮร์สปริงแบบ Syloxi ที่จะรักษาความเที่ยงตรงได้ดีกว่าแฮร์สปริงทั่วไปถึง 10 เท่ายามเมื่อนาฬิกาได้รับแรงสั่นสะเทือน ยิ่งเมื่อใช้คู่กับกลไกดูดซับแรงสั่นสะเทือนแบบ Paraflex ก็ยิ่งทำให้เครื่องรุ่นนี้เที่ยงตรงมากยิ่งขึ้นตลอดระยะการทำงานของกำลังลานสำรองประมาณ 55 ชั่วโมง ความสูงส่งของรูปลักษณ์และความเหนือชั้นของประสิทธิภาพเช่นนี้เองที่ทำให้ Rolex เป็นเรือนเวลาที่ผู้ซื้อทั่วโลกให้ความไว้วางใจ และปรารถนาที่จะครอบครองไปตลอดชีวิต
We conclude this cover story with the Oyster Perpetual Datejust 31. Timeless and elegant, the Datejust watches exemplify the archetype of the Classic Rolex watch with aesthetics that never go out of fashion. Its name is derived from the fact that, back in 1945, the Datejust was the first self-winding wristwatch to feature the date indication via a window at the three o’clock position. The range is decidedly unisex with models offered specifically for gentlemen and ladies, and in endless number of creative permutations.
For this extraordinary year of 2020, Rolex focuses on the Oyster Perpetual Datejust 31 for ladies with four new white Rolesor references, a combination of Oystersteel and 18 ct white gold. Two of the references feature a dark grey or mint green dial with index hour markers and Jubilee bracelet with concealed folding Crownclasp.
Two other references come with an Oyster bracelet, a folding Oysterclasp and the Easylink comfort extension link of approximately 5 mm. One of the dials is in a white lacquer with Roman numeral hour markers in 18 ct white gold and the other is in aubergine with a 18 ct white gold bezel set with 46 brilliant-cut diamonds and a diamond-set Roman numeral VI.
All four novelties are powered by the calibre 2236 with a Syloxi silicon hairspring that is 10 times more precise against shocks than a traditional hairspring. Together with the patented Paraflex shock absorbers, the movement is able to deliver superior precision with a power reserve of approximately 55 hours. Such union of nobility and performance is one of the reasons why Rolex has earned the trust of the world’s discerning watch buyers, bringing them a timepiece that lasts a lifetime.
See also: Rolex Green Seal and the Superlative Chronometer Difference