ศักยภาพรอบด้านในการออกแบบและผลิตนาฬิกาตามแบบฉบับของ Chanel
บทความ: รักดี โชติจินดา ภาพ: Chanel
คนส่วนมากรู้จักนาฬิกา Chanel เพียงแค่ชื่อเท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ เพราะแม้ว่า Chanel จะไม่ได้ผลิตนาฬิกามาเป็นธุรกิจแรกหรือธุรกิจหลักก็จริง แต่ในเรื่องความจริงจังและวิสัยทัศน์นั้นไม่แพ้ใครเลย นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวนาฬิการุ่นแรกในชื่อ Première เมื่อปี ค.ศ. 1987 ซึ่งออกแบบตามรูปทรงของฝาขวดน้ำหอม No. 5 และรูปทรงของจัตุรัสปลาซวองโดมชื่อดังของปารีส กล่าวคือ Première ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนาฬิกาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพียงเท่านั้น แต่ว่ามาพร้อมกับสตอรี่ที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเองด้วย
แต่ Chanel ก็ไม่ได้มีแค่สตอรี่ และก็ไม่ได้ทำธุรกิจในลักษณะจ้างใครผลิตนาฬิกาให้ตนเอง เพราะเขาเอาดีทางนี้โดยการซื้อโรงงานผลิต ขัดแต่งและประกอบชิ้นส่วนตัวเรือนนาฬิกาชื่อ G&F Chatelain ที่เมืองลาโชเดอฟองด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1993 มาเป็นของตนเองเลย เพื่อเป็นการปลดล็อคทุกข้อจำกัดในการผลิตที่แบรนด์นาฬิกาจะต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หากต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์ให้ผลิตชิ้นส่วนให้

แล้วในปี ค.ศ. 1998 ทาง Chanel ยังสร้างอาคารโรงงานแห่งใหม่ที่ทันสมัยและใหญ่โตถึง 8,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ปัจจุบันโรงงานบริเวณชานเมืองลาโชเดอฟองด์แห่งนี้มีพนักงานราว 330 ชีวิตที่มีความเชี่ยวชาญในตำแหน่งหน้าที่งานต่างๆ มากเกือบ 60 สาขาอาชีพ และเราเคยไปเยี่ยมชมการทำงานของแผนกต่างๆ ภายในโรงงานแห่งนี้มาแล้วตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิดขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น เราสามารถบอกคุณผู้อ่านเลยด้วยว่า Chanel เป็นแบรนด์นาฬิกาเพียงหนึ่งในไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่มีความสามารถในการผลิตตัวเรือนและชิ้นส่วนนาฬิกาเซรามิกแบบทนทานต่อการขีดข่วนด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา เราได้เห็นการใช้งานวัสดุเซรามิกอย่างชัดเจนที่สุดในคอลเลคชั่น J12 ของ Chanel เรือนเวลาระดับไอค่อนของวงการที่เพิ่งฉลองครบรอบ 20 ปีไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้เอง

J12 เป็นผลงานการออกแบบของฌัก เอลเลอ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของ Chanel ในสมัยนั้นซึ่งต้องการออกแบบนาฬิกาสปอร์ตสีดำล้วนที่สวมใส่ได้ในทุกโอกาส แล้วในภายหลังจึงมีรุ่นที่เป็นเซรามิกสีขาวอย่างที่สาวๆ หลงใหลไม่แพ้สีดำตามออกมา แรงบันดาลใจและชื่อของเรือนเวลาแบบยูนิเซ็กซ์รุ่นนี้มาจากเรือยอทช์แข่งระดับ J-Class ความยาว 12 เมตรที่ดูโฉบเฉี่ยวและบ่งบอกถึงชีวิตที่โลดแล่นอยู่บนผิวน้ำ นี่เองเป็นเหตุผลที่นาฬิการุ่นนี้มีตัวเรือนและสายที่ผลิตจากเซรามิกที่ทนทานต่อการขีดข่วนตั้งแต่แรกเริ่ม และมีขอบตัวเรือนแบบหมุนได้ทิศทางเดียวซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการจับเวลาด้วย
Chanel J12 รุ่นล่าสุดมีแบบเซรามิกสีดำดูน่าค้นหาและแบบเซรามิกสีขาวที่เปล่งปลั่งแบบไม่มีวันเสื่อมคลาย รุ่นสีดำมีเข็มบอกเวลาสีขาวและหลักชั่วโมงเซรามิกสีขาวบนหน้าปัดแลคเกอร์สีดำ รุ่นสีขาวมีเข็มบอกเวลาสีดำและหลักชั่วโมงเซรามิกสีดำบนหน้าปัดแลคเกอร์สีขาว ในเรื่องขนาดนั้น Chanel ผลิตนาฬิกา J12 เป็น 2 ขนาดให้คุณเลือก ได้แก่ รุ่นขนาด 38 มม. ที่ทำงานด้วยเครื่องนาฬิกาแบบออโต้รุ่นคาลิเบอร์ 12.1 และมีหน้าต่างวันที่ตรงกลางระหว่างตำแหน่ง 4 และ 5 นาฬิกา และรุ่นขนาด 33 ม. ที่ทำงานด้วยเครื่องนาฬิกาแบบออโต้รุ่นคาลิเบอร์ 12.2 ซึ่งไม่มีฟังก์ชั่นวันที่ เครื่องนาฬิกาขนาดใหญ่และขนาดเล็กนี้มีกำลังลานสำรอง 70 และ 50 ชั่วโมงตามลำดับ

เครื่องนาฬิกาตระกูลคาลิเบอร์ 12 ของ Chanel เป็นผลงานการออกแบบและผลิตของบริษัทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเครื่องนาฬิกาชื่อ Kenissi ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนที่ก่อตั้งโดย Tudor และมี Tudor เป็นหุ้นใหญ่และมี Chanel ถือหุ้น 20% โมเดลธุรกิจนี้ถือว่าหลักแหลมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการรับประกันว่า Chanel จะสามารถเข้าถึงเครื่องนาฬิการะดับไฮเอ็นด์ที่ผลิตและปรับแต่งเพื่อ Chanel โดยเฉพาะตลอดไป โดยโรงงาน Kenissi ที่เมืองเลอล็อคนั้นนอกจากจะผลิตเครื่องให้กับ Tudor และ Chanel เป็นหลักแล้วก็ยังสามารถผลิตเครื่องขายให้กับแบรนด์นาฬิกาอื่นๆ ที่สนใจซื้ออีกด้วย และปัจจุบันก็มีลูกค้าประจำเป็นแบรนด์ระดับแนวหน้าของวงการแล้วหลายแบรนด์ ในจำนวนนี้รวมถึง Bell & Ross (ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ Chanel เองก็ถือหุ้นอยู่ด้วย เหมือนที่ Chanel มีหุ้นอยู่ใน Romain Gauthier และ F.P. Journe หรือที่เพิ่งประกาศเพิ่มเติมวันนี้เลยก็คือ MB&F)
หากคุณสนใจอยากทำความรู้จักและเป็นเจ้าของนาฬิกา Chanel แล้ว เราขอแนะนำให้ไปลองทาบแต่ละรุ่นแต่ละสีแต่ละขนาดบนข้อมือที่บูติคด้วยตนเองเลย เพื่อให้ได้เรือนเวลาที่ถูกใจและทำให้คุณอยากสวมใส่ทุกวันไปอีกนานหลายปี

บทความที่เกี่ยวข้อง: COUTURE O’CLOCK Explained by CHANEL Watchmaking Creation Studio Director Arnaud Chastaingt
We were and still are impressed by the large watch manufacture the Parisian fashion house owns and operates in La Chaux-de-Fonds, Switzerland.
Words: Ruckdee Chotjinda Photo: Chanel
Many people are familiar with Chanel watches, primarily by the name alone, which is quite regrettable. Although Chanel did not start with watch business as the first or main venture, their level of seriousness and the insightfulness of their vision are truly remarkable. This is evident right from the introduction of their first watch model named Première in 1987, designed after the shape of the stopper of the No. 5 perfume bottle, which in turn took after the shape of Place Vendôme in Paris. Première is not just a rectangular watch, but one with a compelling story that adds value to the timepiece.
Chanel goes beyond just storytelling – they do not operate their watch business by outsourcing the production to others. Instead, they took control of the process by acquiring the manufacturing facility called G&F Chatelain in La Chaux-de-Fonds, Switzerland, in 1993. This move allowed Chanel to unlock the limitations associated with relying on suppliers for watch components.

In 1998, Chanel built a new, modern, and spacious manufacturing facility covering 8,000 square meters to ensure they can meet future demands. Currently, the workforce at this La Chaux-de-Fonds facility consists of about 330 skilled employees in nearly 60 different areas of expertise. We have had the good fortune of visiting their various departments before the onset of the pandemic.
One fact we are happy to share with you is that, since 2006, Chanel is one of the few watch brands in the world with the capability to produce ceramic watch cases and parts on their own. The use of this scratch-resistant material is most evident in their J12 collection, which celebrated its 20th anniversary a few years ago.

The J12 was designed by Jacques Helleu, the Artistic Director of Chanel at that time, who aimed to realise an all-black sports watch suitable for every occasion. Later on, a version in white ceramic was introduced, capturing the hearts of many women just as much as the black version. The inspiration and the name of this unique timepiece came from the J-Class racing yachts, specifically the 12-meter-long ones. These yachts exude elegance and signify a life of sailing on the water’s surface. This is the reason why this watch model has had the case and bracelet made of durable ceramic from the very beginning. It also features a unidirectional rotating bezel as a tool used for timing.
The latest J12 models are available in either enchanting black and lustrous white ceramic. The black version features white hands and white ceramic hour markers on a black lacquered dial. The white version, on the other hand, has black hands with black ceramic hour markers on a white lacquered dial. In terms of sizes, Chanel offers two sizes for the J12: the 38 mm version, powered by the self-winding Calibre 12.1 with a date window between 4 and 5 o’clock positions; and the 33 mm version, powered by the self-winding Calibre 12.2 without a date function. These two movements offer a power reserves of 70 and 50 hours, respectively.

The Calibre 12 family of watch movements is a product of the collaboration between Chanel and watch movement specialist Kenissi. This joint venture was founded by Tudor with the Genevan firm as the major shareholder. With a 20% investment in Kenissi, Chanel is in a commercially brilliant position where they can be guaranteed of access to high-end movements which can be tailored for their watches. Concerning Kenissi, their manufacture in Le Locle not only produces movements for Tudor and Chanel but also caters to other watch brands interested in purchasing their movements. A handful of famous brands are already Kenissi clients, including Bell & Ross (another brand in which Chanel has stakes, like Romain Gauthier, F.P. Journe, and, as announced today, MB&F).
For now, if you want to know more about Chanel watches, we suggest you go try them at the boutique to see how the sizes and the colours feel the most right on your wrist. It is the only way to ensure that you get the most fitting timepiece that you will enjoy wearing for years to come.

See also: COUTURE O’CLOCK Explained by CHANEL Watchmaking Creation Studio Director Arnaud Chastaingt