Casio นำดีไซน์ G-Shock แบบ 2100 มาสู่ไลน์ MR-G เป็นครั้งแรกพร้อมตัวเรือนที่ออกแบบตามหลักการต่อไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม
บทความ: รักดี โชติจินดา ภาพ: CMG
ที่ผ่านมาเรารู้สึกแปลกใจว่าทำไม Casio จึงไม่นำดีไซน์ของนาฬิกา G-Shock ซีรีส์ 2100 มาผลิตในคอลเลคชั่นระดับไฮเอ็นด์ MR-G เสียที แต่จากนี้เราก็ไม่ต้องใช้จินตนาการอีกต่อไปเมื่อ Casio เปิดตัว G-Shock MRG-B2100 ใหม่สำหรับลูกค้าที่ชื่นชอบรายละเอียดและความประณีตในระดับสูงพิเศษ ขอบตัวเรือนของนาฬิการุ่นนี้ออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากเทคนิคการต่อไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่มีชื่อเรียกว่าคิกุมิจนมีส่วนประกอบมากถึง 27 ชิ้น (ในขณะที่ขอบตัวเรือนแบบของรุ่น GM-B2100 นั้นเป็นชิ้นส่วนเดียว) และนอกจากการใช้วัสดุอัลลอยที่มีความแข็งแกร่งหลายชนิดในการผลิตองค์ประกอบต่างๆ ของตัวเรือนและสายนาฬิกาแล้ว MRG-B2100 รุ่นนี้ยังมีอีกหนึ่งจุดขายสำคัญนั่นก็คือหน้าปัดเรซินสีดำที่ขึ้นรูปเป็นลวดลายแบบฉลุสไตล์คูมิโกะโคชิเหมือนฉากกั้นห้องในบ้านแบบญี่ปุ่นเพื่อให้แสงลอดลงไปยังโซลาร์เซลที่อยู่ข้างใต้ได้และตอกย้ำจิตวิญญาณแห่งความเป็นญี่ปุ่นไปพร้อมกัน
คุณทัตสึยะ อิซากิคือบุคลากรคนสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา MRG-B2100 รุ่นนี้และนาฬิกา G-Shock รุ่นต่างๆ มานานกว่า 30 ปี ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำแผนกวางแผนผลิตภัณฑ์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาฮามูระของ Casio Computer ที่โตเกียว และ Luxuo/World of Watches Thailand มีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณทัตสึยะขณะที่เดินทางมาร่วมงานเปิดตัวนาฬิการุ่น MRG-B2100 นี้ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลมเพื่อนำเสนอรายละเอียดแห่งความแตกต่างให้สื่อมวลชนและลูกค้าได้เข้าใจด้วยตนเอง
เวลาออกแบบนาฬิกา G-Shock แต่ละรุ่นมีอายุคนใส่อยู่ในใจบ้างหรือไม่ครับ
เวลาเราจะออกแบบ จริงๆ มันต้องมาในโจทย์ที่ว่า Absolute Toughness ก่อน G-Shock ทุกเรือนต้องอยู่ภายใต้คอนเซปท์นี้ โดยหลักแล้วเราออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนมากกว่า เราทำเพื่อให้คนคนนั้นไปใช้ชีวิตให้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแอดเวนเจอร์แบบไหน เพราะฉะนั้นในเรื่องของอายุ จริงๆ เราไม่ได้เจาะจงขนาดนั้น แต่เราดูว่าเขาจะเอานาฬิกาไปใช้ทำอะไรมากกว่าครับ อย่างไรก็ดี เวลาเราออกแบบสินค้า บางทีเราก็มีการลองทำสัมภาษณ์ก็มีครับ เราอาจจะทดลองหลายๆ แบบดูว่าเสียงตอบรับจากตลาดจะเป็นอย่างไร
MR-G เริ่มครั้งแรกปี ค.ศ. 1996 แต่ตอนนั้นยังไม่มีเรื่องของวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นเข้ามา พอจะจำได้หรือไม่ครับว่าคอนเซปท์นี้เริ่มประมาณปีอะไร
ตอนแรกเลย ใช่ครับ เราไม่มี แต่แค่ตอนที่เรายังไม่ได้มีเรื่องของวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นเข้ามานี่ MR-G มันก็มีราคา 3-4 เท่าของ G-Shock ปกติแล้วครับ ทีนี้พอเราทำต่อมาจนถึงปีที่เราไปออกงาน Baselworld ปี 2008 มันก็มีความคิดที่ว่าเราต้องไปสื่อสารกับโลกว่าเราคือแบรนด์นาฬิกาจากญี่ปุ่น เราไปแค่นี้พอหรือ เราต้องมานั่งคิดโจทย์ใหม่ เพราะฉะนั้นเราจึงพูดถึงเรื่องการทำของแบบคนญี่ปุ่นคือ “โมโนะสึกูริ” ตรงนี้เป็นจิตวิญญาณครับ ประเทศญี่ปุ่นนี่เรามีความภาคภูมิใจในคำว่า “Made in Japan” มากครับ เราจึงเอาสิ่งเหล่านี้มาอยู่ใน MR-G ของเราด้วยเพื่อพูดให้โลกรู้ว่าเราเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นนะ นั่นคือจุดเริ่มต้นว่าทำไมถึงเริ่มมีตรงนี้เข้ามาครับ
นาฬิกา G-Shock ผลิตที่โรงงานหลายแห่งใช่หรือไม่ครับ
ครับ ถ้าเป็นของแพงอย่างเช่นรุ่น MR-G หรือรุ่น MT-G เราทำที่โรงงานยามากาตะที่ญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นรุ่นปกตินี่จริงๆ ก็มีหลายที่เช่นที่จีนก็มีและอย่างที่ไทยก็มี
โรงงานที่ยามากาตะมีเทคโนโลยีอะไรที่จะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกถึงความแตกต่างได้ เช่น ความละเอียดของเนื้องานหรือการทดสอบที่เหนือกว่าที่อื่น
ต้องบอกก่อนว่าเรื่องการทดสอบต่างๆ อย่างเช่นการทดสอบการตกจากที่สูงนั้นเราทำที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาของเรา ไม่ได้ทำที่โรงงาน ที่โรงงานที่ยามากาตะจะมีเรื่องของการทดสอบการกันน้ำสำหรับนาฬิกาที่เป็นไลน์หรู ทุกเรือนที่ผลิตเสร็จต้องผ่านการทดสอบนี้ แล้วจุดเด่นมากๆ ของโรงงานที่ยามากาตะคือช่างของเราที่มีทักษะสูงมาก เพราะว่าเขาสั่งสมประสบการณ์มานาน อย่างเช่นที่ยามากาตะจะสามารถผลิตชิ้นส่วนเล็กๆ และยังคงขึ้นรูปโครงสร้างของชิ้นส่วนได้ด้วย และพร้อมประกอบ เพราะฉะนั้นมีไม่กี่โรงงานที่จริงๆ ทำอย่างนั้นได้ ถือว่ามีทักษะที่สูงมาก เพราะเราทำกันในระดับนาโนเมตรกันเลย คือละเอียดมากๆ
MRG-B2100 นี้เป็น MR-G รุ่นแรกที่มีหน้าตาแบบซีรีส์ 2100 อยากถามว่าทำไมไม่เคยมีตั้งแต่ก่อนหน้านี้เพราะซีรีส์ 2100 ก็ติดตลาดมานานแล้ว
รุ่น 2100 นี่วางขายจริงคือปี 2019 แล้วขายดีมากจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกเลยครับ จุดที่จำเป็นต้องเล่าถึงเรื่องดีไซน์ของ 2100 ก่อนเลยก็คือทุกคนชอบคิดว่าหน้าแปดเหลี่ยมนี้ไม่ใช่ออริจินัลของเรา แต่ที่จริงหน้าแปดเหลี่ยมนี้มันมาจากการที่เราเอาตัวที่เป็นออริจินัลของเราอย่าง 5000 และ 5600 มาปรับใหม่ให้เป็นนาฬิกาแบบเข็ม หลังจากนั้นเราก็เริ่มประเมินว่ารุ่นที่มันจะต้องมาอยู่ในไลน์ MR-G นี่มันต้องเป็นรุ่นที่มีอนาคตและบ่งบอกตัวของเราเองได้ชัดเจนที่สุด จะเห็นได้ว่า MR-G มีการดึงเอารุ่นเก่าๆ ที่เป็นออริจินอลของเราเข้ามา ก่อนหน้านี้เป็นรุ่นแบบดิจิตอล แล้วครั้งนี้เราถึงจะประเมินว่าตัว 2100 นี่เป็นรุ่นที่มีอนาคตเพราะมันบ่งบอกถึงจิตวิญญาณของของแบรนด์เราได้ดีครับ
คิกูมิเป็นชื่อของเทคนิค ไม่ใช่ชื่อของลวดลาย ถูกหรือไม่ครับ
คิกูมิเป็นเทคนิคโบราณของญี่ปุ่นที่ไม่ใช้ตะปูหรือไม่ใช้อะไรเลย เป็นลิ่มเป็นเดือยที่เข้าล็อคกันแบบพอดี และความยอดเยี่ยมของมันคือทุกคนจะชอบคิดว่าไม่มีตะปูแล้วมันจะไม่มีความแข็งแรงหรือเปล่า แต่จริงๆไม่ใช่ เข้าแล้วคือแข็งแรงมากสุดๆ ซึ่งมันเหมาะเจาะกับความเป็น G-Shock มาก ครั้งนี้เมื่อเราต้องมาทำมาตัว 2100 นี้ เราก็คิดแล้วคิดอีกแล้วว่าจะทำอย่างไรให้ตัวนี้มันอยู่ในขีดสุดของ MR-G ให้ได้ เราจึงคิดว่าเราต้องแยกส่วนมันออกมาทุกส่วนก่อนแล้วนำมาเกลามันในทุกรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ขอบตัวเรือนมันถึงได้มีส่วนประกอบมากถึง 27 ชิ้น เหมือนกับงานคิกูมิที่เป็นการเอาชิ้นส่วนที่มีรายละเอียดต่างๆ มาประกอบกันครับ
ขอคำถามสุดท้ายเรื่องความพิเศษของหน้าปัดครับ
หน้าปัดของ MRG-B2100 ได้รับการออกแบบให้มีร่องแบบคูมิโกะโคชิซึ่งโดยปกติแล้วคนเขาจะไม่ทำงานคูมิโกะโคชิเป็นแผ่นเล็กและบางขนาดนี้ เพราะว่าเมื่อมันเป็นรูแล้วมันจะทะลุ มันทำยากมาก เราใช้วิธีขึ้นรูปด้วยเรซินเป็นแผ่นด้วยเครื่องก่อน พอออกมาแล้วจึงขัดตามรูเล็กๆ ด้วยมือคนอย่างระมัดระวัง ตรงนี้มันจึงเป็นความยาก และเมื่อขัดเสร็จแล้วจึงเคลือบภายนอกให้หน้าปัดดูเงาราวกับว่าเป็นโลหะอีกทีหนึ่งครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Omega on the Wrists of Thai Olympic and Paralympic Athletes
The novelty is the first 2100 series product to appear in the MR-G collection.
Words: Ruckdee Chotjinda Photo: CMG
We used to wonder why Casio had not incorporated the design of the G-Shock 2100 series into the high-end MR-G collection. Now, we do not have to rely anymore because Casio has unveiled the new G-Shock MRG-B2100 for customers who appreciate exceptional detail and craftsmanship. This model’s bezel is inspired by the traditional Japanese wood joinery technique called Kigumi, comprising up to 27 components, whereas the GM-B2100 model is built with a single-piece bezel. Alongside the use of various durable alloys for the watch case and bracelet, a standout feature of this MRG-B2100 is its black resin dial which is molded in the Kumiko Koshi style. Resembling Japanese room dividers, this signature dial allows light to pass through to the solar cell underneath and embodies the spirit of Japan at the same time.
Tatsuya Izaki is the key figure behind the development of this MRG-B2100, and countless other G-Shock models for over 30 years. He currently serves as the Advisory Planner in the Product Planning Development Department of Casio Computer’s Hamura R&D Center in Tokyo. We sat down with him to talk about the novelty and the MR-G collection in general after the MRG-B2100 launch event at Central Chidlom, where he personally explained the unique details to journalists and customers.
Do you factor in the age of the users when designing a G-Shock model?
When we design, the primary idea is always “Absolute Toughness”. Every G-Shock must adhere to this concept. Essentially, we design watches to be consistent with people’s lifestyles. We aim for the watch to enable them to live their lives fully, regardless of the type of adventure. Therefore, we do not specifically target any particular age, but rather focus on what the user will use the watch for. Having said that, when designing products, we sometimes conduct interviews and experiment with various designs to see how the market would respond.
The MR-G line was first introduced in 1996, without Japanese craftsmanship as a core feature. Can you recall when this concept was introduced?
It’s true that we did not have that concept in the beginning. But even without it, the MR-G already costed three to four times more than regular G-Shock watches. By the time we participated in Baselworld in 2008, we came to the realization that we might not have done enough to communicate to the world that we are a Japanese brand. So we developed this idea of showing how things are made in Japan, our “Mono Tsukuri” which is the spirit. We the Japanese people take great pride in the phrase “Made in Japan”. Therefore, we have incorporated these elements into our MR-G line to showcase our Japanese brand identity to the world. This marked the beginning of how Japanese craftsmanship is featured.
Are G-Shock watches produced at multiple factories?
Yes, high-end models like the MR-G and MT-G are manufactured at our Yamagata factory in Japan. Regular models are produced in various locations, including China and Thailand.
What technologies at the Yamagata factory can help buyers justify the difference? Can they expect tighter tolerance or superior testing?
Actually, the various tests like the drop tests are conducted at our research and development laboratory, not the factory. The Yamagata does feature water resistance tests for luxury watch lines, though. All produced watches must undergo these tests. Another key highlight of the Yamagata factory is its highly skilled artisans, who have accumulated extensive experience over the years. They can produce and assemble small components with such a high precision that can be found at only few factories. This is a very high skill. We work at the nanometer level, which is miniscule.
The MRG-B2100 is the first MR-G model to feature the 2100 series design. Why was this not done earlier, considering that the 2100 series has been popular for a long time?
The 2100 series was officially launched in 2019 and quickly became globally recognized. One thing that needs to be pointed out is the origin of the 2100 design – people often think that the octagonal shape is not original to us. In fact, it has derived from how we adapted our original 5000 and 5600 designs into an analog watch. Later on, we would determine that models to be included in the MR-G line must have a clear future and best represent our identity. This is why you have seen the reinterpretation of older original models in the MR-G collection, beginning with the digital ones. And now we have come to the conclusion that the 2100 series has a strong potential as it very well embodies the spirit of our brand.
Kigumi is the name of the technique, not the pattern, correct?
Kigumi is an ancient Japanese technique that does require the use of nails or fasteners but rather interlocking joints. As a matter of fact, people often think that a Kigumi structure is not secure because the absence of nails. The truth is otherwise – the integrity is solid once the joints are locked, and this aligns perfectly with G-Shock’s robustness. So when we looked at how we could bring the 2100 design to top MR-G quality, we thought to dissect everything and refine each component in the smallest detail. This is why the bezel is constructed of 27 parts, much like a Kigumi work which involves joinery of detailed components.
Finally, can you explain the uniqueness of the dial?
The MRG-B2100’s dial is designed in the Kumiko Koshi style, which is challenging to create on such a small and thin piece of work because it will be prone to breaking. We mold the resin dial with a machine first, then we carefully polish the tiny openings by hand, which is a very challenging task. Once the polishing is done, we coat the dial so to give it a metallic sheen.
See also: Omega on the Wrists of Thai Olympic and Paralympic Athletes