Luxuo Thailand พาคุณชมทุกรายละเอียดแห่งความใส่ใจในการตกแต่งบูติคระดับแฟล็กชิปที่ปลาซว็องโดมของ Chanel
บทความ: ลภีพันธ์ โชติจินดา ภาพ: Chanel
เมื่อกล่าวถึงแบรนด์ Chanel เราจะคุ้นเคยกับบ้านเลขที่ 31 ถนนกัมบงที่ปารีสอันเป็นกูตูร์เวิร์คช็อปของมาดมัวแซลกาเบรียล ชาเนล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Chanel ในอดีตและยังเป็นแหล่งกำเนิดของแรงบันดาลใจที่สะท้อนออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Chanel นับไม่ถ้วน แต่หลังจากที่เธอจากโลกนี้ไปแล้วกว่า 20 ปี บริษัท Chanel ก็ได้ซื้อตึกทาวน์เฮาส์เลขที่ 18 กลางจัตุรัสปลาซว็องโดมอันเป็นแหล่งช้อปปิ้งสำคัญเพื่อสร้างเป็นบูติคสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มจิวเวลรี่และนาฬิกาโดยเฉพาะ และยังมีพื้นที่ที่เป็นสตูดิโอให้เหล่านักออกแบบและช่างฝีมือผู้ชำนาญในงานประดิษฐ์จิลเวลรี่และนาฬิกาได้ใช้เป็นสถานที่ทำงานอีกด้วย
Chanel ใช้เวลาช่วงราวหนึ่งปีที่ผ่านมาในการปรับโฉมพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นของบูติคแห่งนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อความสดใหม่และเพื่อให้บูติคแห่งนี้สะท้อนถึงเรื่องราวและความใฝ่ฝันของมาดมัวแซลชาเนลได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น งานตกแต่งเสร็จสิ้นจนบูติคเลขที่ 18 ปลาซว็องโดมสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา และเราก็ได้ไปเยี่ยมชมบูติคแห่งนี้ไม่นานหลังจากนั้น พื้นที่ภายในมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจนโดยมีผลิตภัณฑ์จิวเวลรี่ต่างๆ อยู่ชั้นล่าง นาฬิกาอยู่ชั้นบนและผลงานระดับไฮจิวเวลรี่อยู่ชั้นบนสุด ยิ่งเมื่อได้รับการบอกเล่าถึงรายละเอียดการตกแต่งในโซนต่างๆ ก็ยิ่งประทับใจและซึมซับถึงความเป็น Chanel ในทุกองค์ประกอบของบูติคได้มากขึ้นไปอีก
ความลงตัวทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยฝีมือของสถาปนิกชาวอเมริกัน ปีเตอร์ มาริโน่ซึ่งร่วมงานกับแบรนด์ Chanel มาอย่างยาวนานและให้สัมภาษณ์ในโอกาสของการเปิดบูติคโฉมใหม่นี้ไว้ดังนี้ …
อะไรคือวิสัยทัศน์ที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบแฟล็กชิปแห่งใหม่นี้
การผสมผสานระหว่างความหรูหราและความทันสมัย ผมคิดว่ามันเหมาะกับ Chanel มาก นอกจากการเลือกใช้พาเลตต์สีขาว สีทอง สีดำ และสีเบจ ซึ่งเป็นสีของแบรนด์ Chanel แล้ว ผมยังเลือกใช้พื้นผิวที่แตกต่างกันถึงห้าหรือหกแบบ อย่างเช่นแลคเกอร์ซึ่งเป็นตัวแทนของกาเบรียล ชาเนลก็ได้รับการตีความใหม่อย่างมีเอกลักษณ์ที่บริเวณโถงชั้นล่างทั้งหมด
การทำงานร่วมกับช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญซึ่งใช้งานฝีมือที่หาได้ยากนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างเต็มที่ Chanel เป็นบริษัทที่ไม่เหมือนใครด้วยงานฝีมือยอดเยี่ยมที่ทางแบรนด์รังสรรค์ขึ้น ผมรู้สึกทึ่งเสมอกับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ได้เห็นจากแบรนด์ Chanel ตั้งแต่คอลเลคชั่นไฟน์จิวเวลรี่ ไปจนถึงแฟชั่นโอตกูตูร์ Chanel เป็นแบรนด์ที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่
ชั้นล่างเป็นชั้นที่มีรายละเอียดการตกแต่งมากที่สุด เมื่อคุณขึ้นไปชั้นบนรายละเอียดก็จะถูกลดทอนลง และเมื่อคุณขึ้นไปถึงชั้นบนสุดก็จะพบกับดีไซน์ที่เรียบง่ายที่สุดที่เป็นราวกับห้องไวท์รูมที่แทบจะไม่มีสิ่งใดแย่งความสนใจของคุณไปจากผลงานระดับไฮจิวเวลรี่ที่อยู่เบื้องหน้า นอกจากวิวที่งดงามและภาพวาดโดยนิโกลาส์ เดอ สตาเอลเท่านั้น
ผลงานศิลปะหลักๆ ที่คุณเลือกมาสำหรับบูติคเลขที่ 18 ปลาซว็องโดมมีอะไรบ้าง
เรามีภาพ Eternal Movement ของไอดริส ข่านบริเวณทางเข้า ผลงานชิ้นนี้เป็นภาพพิมพ์ลายเส้นแบบอิสระในสไตล์โครโนโมเจนิกที่ผมมองแล้วรู้สึกว่าโรแมนติกดุจเป็นบทกวี ภาพนี้มีลักษณะเหมือนเนื้อเพลงที่ผมมองว่ามีความเป็น Chanel เพราะในขณะที่หลายคนพูดว่ากาเบรียล ชาเนลเป็นคนที่เข้มงวด เข้มงวดมากๆ แต่ริบบิ้นที่เธอสวมไว้บนคอหรือลวดลายริบบิ้นที่เธอฝากไว้ในผลงานจิวเวลรี่ของเธอก็ยังมีความอ่อนช้อยเหมือนกับโน้ตเพลง ถ้าเธอเป็นแค่คนที่เข้มงวดมากๆ เธอคงไม่สามารถเป็นชาเนลได้
และเราได้มอบหมายให้ประติมากรโยฮันน์ เครเตนสร้างผลงานรูปเสาจากการตีความเสาว็องโดมที่อยู่ด้านนอกขึ้นมาใหม่ โดยเสาว็องโดมเองนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจจากเสาทราจันมาอีกทอดหนึ่งและเป็นอนุสาวรีย์ที่ผมประทับใจและมีชื่อเสียงพอๆ กับหอไอเฟล นอกจากนี้ยังมีรูปปั้น Bronze Box ของผมอีกหลายชิ้นซึ่งเป็นอาร์ทเอดิชั่นที่ผมภูมิใจมาก เพราะคนเราต้องใช้เวลาชั่วชีวิตในการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่เหมือนกับอะไรที่เคยมีมาก่อน เป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใครและมีความสวยงามในตัวของมันเอง
ที่ฐานของบันไดมีผลงานชื่อ Coco Chandelier โดยประติมากรโจเอล มอร์ริสันจากแคลิฟอร์เนียซึ่งเคยทำงานอยู่ในอู่จักรยานยนต์ ผมเลือกจ้างเขาให้สร้างผลงานที่เป็นภาพของกาเบรียล ชาเนลเพราะว่ารายละเอียดในงานของเขาดูโมเดิร์น ผมชอบการหลอมรวมและผสมผสานเส้นสายแบบคลาสสิกเข้ากับพลังในสไตล์นั้น ผมรู้ได้เลยว่าผลงานที่จะออกมานั้นจะต้องสวยทันสมัยแน่ๆ ผมใช้โคมระย้าจากอพาร์ทเมนท์เลขที่ 31 บนถนนกัมบงของชาเนลมาเป็นองค์ประกอบ และมอร์ริสันก็ออกแบบก้านเหล็กที่ยื่นออกมาจากศีรษะของเธอแล้วเอาร็อคคริสตอลเม็ดโตไปห้อยไว้ตรงปลาย ทั้งหมดประกอบกันดูเป็นเหมือนโคมระย้า ผมดูแล้วรู้สึกว่ามันมีความหมายมากๆ และผมก็สนุกกับงานชิ้นนี้มาก และก็ยังมีผลงานของนิโกลาส์ เดอ สตาเอลด้วยครับ
ดูเหมือนว่าคุณจะมีความผูกพันเป็นพิเศษกับภาพชื่อ Composition ของนิโกลาส์ เดอ สตาเอล จากปี ค.ศ. 1950 ซึ่งประดับอยู่ในห้องโถงใหญ่ คุณพอจะเล่าเรื่องนี้ให้ผู้คนได้รับทราบหรือไม่
ภาพวาดมีชะตาและชีวิตของตนเองอย่างที่เราสามารถเขียนชีวประวัติของภาพแต่ละภาพได้ เดิมทีผมซื้อภาพชื่อ Composition นี้จาก Sotheby’s ที่ลอนดอนเมื่อ 20 กว่าปีก่อนให้ลูกค้ารายหนึ่งซึ่งในภายหลังเขาขายต่อไป พอ Chanel บอกว่าคิดจะซื้อภาพนี้อยู่ ผมเองก็ยังคิดว่ามันเป็นไอเดียที่แปลกมาก แต่ทาง Chanel รู้สึกว่าภาพนี้เป็นตัวแทนของความหรูหราแบบทันสมัยและแสดงถึงความก้าวหน้าในเชิงความคิด แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไว้ด้วยความเป็นนิรันดร์แบบโบราณ ซึ่งสื่อถึงคุณค่าของ Chanel ได้เป็นอย่างดี ผมก็รู้สึกตื่นเต้นไปด้วยครับ
คุณชื่นชอบส่วนใดของโปรเจคนี้มากที่สุด
สิ่งที่สนุกที่สุดสำหรับผมในฐานะสถาปนิกก็คือการได้ออกแบบบันใดใหม่ และผมก็เพลินกับการออกแบบพรมเป็นอย่างมากด้วย ผมเป็นคนที่ชอบการออกแบบอะไรแบบนี้มากเลยครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Matara Co-Founder and Chief Executive Officer on the Rise of the Brand
Following a complete redesign, the flagship store is ready to welcome customers into the carefully woven universe of Chanel once again.
Words: Lapheepun Chotjinda Photo: Chanel
The address most famously associated with Chanel is 31 Rue Cambon in Paris. That couture workshop of Mademoiselle Gabrielle Chanel continues to inspire the creation of countless products to this day. There is another important address, however. The townhouse at 18 Place Vendôme was acquired by the Chanel brand over 20 years after the passing of its founder. This location in the middle of the landmark shopping square is dedicated specifically to the showcase of jewelry and watch products. There is ample studio space for the designers and the craftsmen to create and execute their work as well.
Chanel spent the past year renovating the entirety of this 3-storey boutique in order to add modernity and to represent more appropriately the stories and the dreams of the mademoiselle. Renovation work was completed and the boutique at 18 Place Vendôme resumed operation on 18 May. We paid a visit to this flagship location shortly after. Customers are presented with jewelry products on the ground level, with watches on the upper floor and high jewelry on the top floor. As we moved from room to room, the decorative details of each area were explained to us and that contributed to our appreciation of the elements that made the space so very Chanel.
Peter Marino is the person to be credited for the impressive outcome of this renovation project. The American architect, who has worked extensively with Chanel, gave an interview on the occasion of the boutique’s reopening below …
What was your vision behind this new era of the 18 Place Vendôme flagship?
It is a combination of luxe with modernity. I think that suits Chanel very well. The palette explores white, gold, black and beige – the colors of Chanel. But within this, I explored five or six different textures. Take lacquer, a real standby for Gabrielle Chanel, which is here interpreted uniquely across the ground floor’s salons.
Working with specialist ateliers and the rare crafts they deploy is a commitment to time. Chanel is an extraordinary company, with great craftsmanship. I’m always awestruck by the constant creativity of the brand, from its fine jewelry collections to Haute Couture. It is not a static house.
To start with the most elaborate décor on the ground floor and as you work your way up, the design gets simpler. The top floor is the simplest: when you see the Haute Joaillerie pieces, you are in a sort of “white room” with very little distraction. Just the killer view and the Nicolas de Staël painting.
What are the key works of art that you have chosen for the 18 Place Vendôme?
At the entrance, there is Idris Khan’s Eternal movement, a digital chronomogenic print of free-flowing lines. I find it romantic, poetic. It has a modern lyricism that I find equivalent to Chanel’s. Many say Gabrielle Chanel was strict, so strict, but the ribbons she put on her neck or in her jewelry speak of a lyric note. If she were just strict boxes, she wouldn’t be Chanel. Then we commissioned sculptor Johan Creten to create a column that would reinterpret the Colonne Vendôme outside, itself inspired by the Trajan Column, a monument which fascinates me and which is as famous as the Eiffel Tower.
There are also several of my Bronze Box sculptures, which are art editions. I am very proud of them. It takes a lifetime to find your voice to do something that doesn’t resemble anything else out there that is original and unique and beautiful.
At the base of the staircase is Coco Chandelier, a portrait of Gabrielle Chanel by California-based sculptor Joel Morrison, who worked in a motorbike shop. I commissioned him because he has a modern touch. I love fusing and infusing classic lines with that kind of energy. I felt the result would be chic. I took the chandelier in her 31 Rue Cambon apartment as an element and he reinterpreted the fer forgé arms coming out of her head, tipped with big drops of rock crystal. These go together as all about the chandelier. For me, that is meaningful, and I have great fun. And then there is the Nicolas de Staël!
You share an astonishing connection with “Composition”, the 1950 oil painting by Nicolas de Staël, which is placed in the Grand Salon. Can you unveil your shared history?
Paintings do have their own karma and their own lives – you could write a biography for each and every one. I had originally purchased “Composition” from Sotheby’s in London more than 20 years ago on behalf of a client, who later sold it. When Chanel mentioned this was the painting they considered buying, I thought it was wild. But the house felt it really represents the same kind of luxurious modernism, forward thinking but at the same time, bearing this sort of ancient eternalism that represented the values of Chanel well. I was thrilled.
What were your favourite parts of this project?
The most fun for an architect is imagining a new staircase. I also greatly enjoyed designing the carpets – I’m a design-maniac regarding these!
See also: Matara Co-Founder and Chief Executive Officer on the Rise of the Brand