Luxuo Thailand ขออาสาไขทุกข้อข้องใจ เปิดประตูสู่โลกแฟชั่น “โอตกูตูร์” อันวิจิตรบรรจงและหรูหราอลังการ
บทความ: ปาริสา พิชิตมาร
คุณอาจจะเคยนิ่งอึ้งไปชั่วขณะระหว่างที่กำลังคุยกับใครๆ แล้วบทสนทนาเกิดหันเหเข้าไปสู่เรื่องของแฟชั่นโอตกูตูร์ แต่ตัวคุณเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าแฟชั่นโอตกูตูร์คืออะไรกันแน่ ถ้าอย่างนั้น Luxuo ขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับแฟชั่นโอตกูตูร์แบบหมดเปลือก นับตั้งแต่แบรนด์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A อย่าง Alaia ไปจนถึงตัวอักษร Z อย่าง Zuhair Murad ผ่านคู่มือเปิดประตูสู่โลกแฟชั่นโอตกูตูร์ฉบับสมบูรณ์ของเรา

โอตกูตูร์คืออะไร
หากแปลความหมายแบบตรงตัว คำว่าโอตกูตูร์
หมายถึง การตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นสูง เสื้อผ้าแฟชั่นโอตกูตูร์มักจะตัดเย็บด้วยมือทั้งหมด และเป็นงานตัดเย็บที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อลูกค้าคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
โดยเลือกใช้แต่ผ้าที่มีคุณภาพดีที่สุด นำมาตัดเย็บด้วยเทคนิคพิเศษ
และใส่ใจในทุกรายละเอียด ด้วยความที่การตัดเย็บเสื้อผ้าเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน
และรูปแบบของเสื้อผ้าก็มีความวิจิตรตระการตา
ผลงานสร้างสรรค์แต่ละชิ้นจึงมีราคาที่แพงลิบลิ่วจนยากจะจับต้อง
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เสื้อผ้าโอตกูตูร์จะเป็นที่นิยมในวงจำกัด ซึ่งมีแต่เชื้อพระวงศ์และมหาเศรษฐีเท่านั้น
ด้วยความที่แฟชั่นโอตกูตูร์ถูกจัดว่าเป็นแฟชั่นที่เป็นงานฝีมือและงานศิลปะ
แฟชั่นเสื้อผ้าประเภทนี้จึงไม่มีพื้นที่ใดๆ ในโลกการค้า และบางครั้งงานออกแบบแฟชั่นเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพียงเพื่อโชว์ผลงานมากกว่าที่จะนำมาสวมใส่ได้จริง

บางครั้งแบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ อาจนำคำว่า โอตกูตูร์ มาใช้ในความหมายกว้างๆ เพื่ออธิบายถึงเสื้อผ้าชั้นสูงที่สั่งตัดตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และเสื้อผ้าดังกล่าวถูกผลิตขึ้นในเมืองที่เป็นศูนย์กลางแฟชั่นของโลก อย่างไรก็ดี ในประเทศฝรั่งเศสคำว่า “Haute Couture” นั้นเป็นคำที่มีกฎหมายคุ้มครอง แบรนด์ต่างๆ จะมีสิทธิใช้คำนี้ได้เมื่อมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่เคร่งครัด ซึ่งสมาพันธ์ห้องเสื้อชั้นสูง หรือ Chambre Syndicale de la Haute Couture เป็นผู้กำหนดไว้ สมาพันธ์ดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการที่คอยดูแลการดำเนินงานของห้องเสื้อในแวดวงแฟชั่นชั้นสูง ห้องเสื้อที่มีสิทธิเรียกตนเองว่า “ห้องเสื้อชั้นสูง” และต้องการจะใช้คำว่า “Haute Couture” ในสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ คือ สมาชิกของสมาพันธ์ Chambre Syndicale de la Haute Couture ที่ออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าตามที่ลูกค้ารายบุคคลสั่งตัด มีสตูดิโอออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าตั้งอยู่ที่ปารีส และมีลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลาในสตูดิโอดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 15 คน มีเจ้าหน้าที่เทคนิคที่ทำงานเต็มเวลาในสตูดิโอออกแบบและตัดเย็บอย่างน้อยหนึ่งแห่งไม่ต่ำกว่า 20 คน และจัดแสดงคอลเลคชั่นผลงานที่ออกแบบเองไม่น้อยกว่า 50 ชิ้น ในแต่ละฤดูกาลของแฟชั่นในเดือนมกราคมและกรกฎาคม

ทำไมงานแสดงแฟชั่นโอตกูตูร์จึงต้องจัดแยกออกมาเป็นแฟชั่นวีคของตนเอง
เนื่องจากแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นสูงมีความอลังการที่แตกต่างออกไปจากแฟชั่นประเภทอื่น แถมยังต้องอาศัยคนทำงานที่มีฝีมือและสู้งานหนัก
จึงต้องมีการจัดแสดงแฟชั่นประเภทนี้แยกจากการจัดแสดงแฟชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูป อาจเป็นเรื่องง่ายที่บางคนจะตัดสินว่าเสื้อผ้าโอตกูตูร์เป็นสิ่งสร้างที่เว่อร์วัง ในขณะที่บางคนมองว่าแฟชั่นโอตกูตูร์เป็นจุดสูงสุดของแฟชั่นที่เหนือระดับ
อันที่จริงหนึ่งในหน้าที่ของแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นสูงก็คือการสร้างแรงบันดาลใจและการทำหน้าที่ของผู้นำเทรนด์นั่นเอง
ในการตัดเย็บเสื้อผ้า โอตกูตูร์จะมีการทดลองใช้ผ้าและเทคนิคที่แปลกใหม่
และต่อมาไอเดียและการออกแบบใหม่ๆ เหล่านี้ก็มักจะค่อยๆ แทรกซึมไปสู่การออกแบบและตัดเย็บในแบรนด์แฟชั่นระดับรองๆ
ลงมา การจัดแสดงแฟชั่นโอตกูตูร์ Haute Couture มีขึ้นปีละสองครั้งที่ปารีสในเดือนมกราคมและกรกฎาคม

ทำไมต้องเป็นปารีส
งานแสดงแฟชั่นบางรายการมักจะจัดในพื้นที่เดิมมาโดยตลอด อย่างเช่น
งานแฟชั่นโชว์ชุดเจ้าสาวมักจัดที่นิวยอร์ก ในขณะที่งานแสดงแฟชั่นโอตกูตูร์จะใช้ปารีสเป็นพื้นที่ประจำในการจัดงาน สมาพันธ์ Chambre
Syndicale de la Haute Couture ได้ออกกฎไว้ว่า
งานแสดงแฟชั่นโอตกูตูร์จะเกิดขึ้นในปารีสได้เพียงที่เดียวเท่านั้น
และนั่นก็เป็นเรื่องที่เหมาะควรแล้ว เพราะปารีสเป็นถิ่นกำเนิดของแฟชั่นโอตกูตูร์ ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิร์ธ ได้ก่อตั้งห้องเสื้อแห่งหนึ่ง
ซึ่งถือว่าเป็นห้องเสื้อโอตกูตูร์ ที่แท้จริงแห่งแรกในปารีสเมื่อปี
ค.ศ. 1858 ในขณะที่สมาพันธ์ Chambre Syndicale de la Haute
Couture เริ่มปรากฏตัวขึ้นในปี ค.ศ. 1868 เพื่อดำเนินการประสานงานและให้การสนับสนุนแก่สมาชิก

แบรนด์โอตกูตูร์ที่ควรรู้จัก
ปัจจุบันสมาพันธ์ Chambre Syndicale de la Haute Couture มีสมาชิกทั้งหมด 16 ราย ซึ่งผ่านการอนุมัติโดยสมาพันธ์ฯ หลายแบรนด์อาจจะเป็นที่รู้จักเพราะมีชื่อเสียงโด่งดังมายาวนานในวงการแฟชั่น และภายหลังได้ก้าวเข้ามาในวงการแฟชั่นโอตกูตูร์ด้วย ในขณะเดียวกันบางแบรนด์ก็เริ่มต้นจากการเป็นห้องเสื้อโอตกูตูร์ก่อน แล้วจึงขยายกิจการออกไปจนกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลกที่ครอบคลุมหลากหลายมิติของสินค้าแฟชั่น แบรนด์ดังกล่าว ได้แก่ Chanel, Dior, Givenchy, Jean Paul Gaultier, Giambattista Valli และ Maison Margiela

ส่วนสมาชิกสมาพันธ์ฯ อย่าง Alexis Mabille, Julien Fournie และ Maurizio Galante นั้นเป็นห้องเสื้อที่ตัดเย็บเฉพาะเสื้อผ้าชั้นสูงเท่านั้น นอกจากรายชื่อสมาชิกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแล้ว ยังมีรายชื่อสมาชิก Correspondent Member ซึ่งเป็นห้องเสื้อในประเทศอื่น และสมาชิก Guest Member ที่ได้รับเชิญจากสมาพันธ์ฯ ทั้งนี้สมาชิกแต่ละรายต่างก็เป็นแบรนด์ที่เราคุ้นหูคุ้นตากันมานาน อาทิ Azzedine Alaia, Elie Saab, Fendi Couture, Giorgio Armani Prive, Valentino, Versace, Georges Hobeika, Ralph & Russo, Zuhair Murad และ Guo Pei ดีไซเนอร์ชาวจีนที่โด่งดังจากชุดราตรีสุดอลังการ ซึ่งสื่อพากันตั้งชื่อให้ว่า “ชุดไข่เจียว” (Omelette Gown) ที่นักร้องสาวริฮานนาสวมใส่ไปในงาน Met Gala 2015

Luxuo Thailand unlocks all your curiosities about the fastidious and fancy world of haute couture.
Words: Parisa Pichitmarn
Ever been smacked in a middle of a conversation that veered onto haute couture grounds but not quite sure what it is that people are discussing? Get the names of the frills right from Alaia to Zuhair Murad with our definitive guide to haute couture.
What exactly is haute couture?
The literal meaning of haute couture is high dressmaking. This type of high-end fashion is usually all made by hand and constructed for a specific client, using only the highest quality of fabrics and employing extreme techniques and attention to detail. Because of its time-consuming nature and extravagantly wondrous designs, exorbitant prices usually come with each creation—thus naturally limiting haute couture to the likes of princesses and the extremely wealthy. Considered as the artisanal and fine art side of fashion, haute couture has no place in the commercial world and is sometimes used for display instead of practical wear.
Sometimes brands may loosely use the term to describe their high-fashion, custom-fitted clothing that is produced in fashion capitals of the world, however, in France, the term ‘haute couture’ is protected by law. To be able to use this particular designation, brands must meet a rigorous set of qualifications set by the Chambre Syndicale de la Haute Couture, a governing body that oversees this highest discipline in fashion. In order to have a right to call itself a couture house and to use the word ‘haute couture’ in its promotion materials, members of Chambre Syndicale de la Haute Couture must design made-to-order pieces for private clients; have a workshop in Paris that employs at least 15 members full-time; have at least 20 full-time technical people in at least one workshop and present a collection of at least 50 original designs every fashion season in January and July.
Why do haute couture shows have their own separate fashion week?
Due to its differing extraordinary nature, workmanship and arduous labor that goes into creating haute couture, it does not get shown alongside ready-to-wear brands. It may be easy to dismiss haute couture as an over-the-top spectacle, but as the pinnacle at the top of the fashion totem pole, one of the main functions of haute couture is to inspire and serve as trend-setters. As it is haute couture that experiments with unusual fabrics and techniques, these new ideas and designs usually trickle down to fashion houses along the chain. Haute couture fashion shows usually take place twice a year in Paris in January and July.
Why Paris?
Certain types of shows have always been site specific—bridal shows have always been shown in New York, while haute couture has always had stomping grounds in Paris. The federation has made it a rule that Paris is the only place that the haute couture shows take place and fittingly so, as Paris is home to the origins of haute couture. Charles Frederick Worth founded what was considered the first true couture house in Paris in 1858, while the Chambre Syndicale de la Couture emerged in 1868 to offer coordination and support among its members.
Haute couture brands to know
There are currently 16 members of haute couture approved by the Chambre Syndicale de la Haute Couture. Many of these names you will recognize as fashion’s biggest names, for they have also gotten onto the haute couture train, while some have started out as couture houses, before becoming a multi-dimensional, global fashion house. This includes Chanel, Dior, Givenchy, Jean Paul Gaultier, Giambattista Valli and Maison Margiela.
Other members, such as Alexis Mabille, Julien Fournie, and Maurizio Galante solely produce haute couture. On this ever-shuffling list of members are also correspondent members and guest members which include long-time familiar names like Azzedine Alaia, Elie Saab, Fendi Couture, Giorgio Armani Prive, Valentino, Versace, Georges Hobeika, Ralph & Russo, Zuhair Murad and Guo Pei—best known for the “omelette gown” Rihanna wore to the Met Gala in 2015.
