By the 1980s, the suit as a women’s power uniform was in full swing. That Anglo-Saxon sartorial trend is making its way to Asia.
Words: Angelyn Tan
Acting as a power statement, the suit was largely recognised as a distinctly masculine ensemble. But in 1920, Coco Chanel pioneered a movement towards a less fitted look for women, at first pushing a vision of androgyny. And, then, in a powerful, perceptibly counter-cultural move, she created the “Chanel suit” – an ensemble of fitted skirt topped with a wool, collarless button-up jacket, usually with braid trim, metallic buttons and fitted sleeves – it became a controversial power statement.

Women’s suits eventually enjoyed a cultural momentum during the late 1960s to 1970s, coinciding with the feminist movement. Women started to become more prominent in the workplace and the women’s suit evolved beyond a mere feminised interpretation of the men’s suit. Over time, fabric, cut, colour and ornamentation distinguished the women’s suit to express both femininity and authority – it was a power ensemble not meant to blend women with men but to allow them to stand out. By the 1980s, the suit as a women’s power uniform was in full swing, peaking with unofficial ambassadors like UK PM Thatcher and today, fronted by German Chancellor Angela Merkel and former US Secretary of State Hillary Clinton. It was very much an Anglo-Saxon sartorial trend but it’s making its way to Asia.

What we love about 2019’s power suits is that it is sleek, simple and practical. Ultimately, a work of art that could be worn with a sense of empowerment. The modern women’s pantsuit bears a legacy of close to 100 years when women were just beginning to enter the workforce in greater numbers and taking on leadership positions in government.

Fast forward to 2019, power suits are no longer just for women holding national leadership positions and the corporate environment, it’s a movement that’s been increasingly a staple on the fashion runway and even on female Western celebrities. From Brie Larson to Taylor Swift, the power suits proves that it can be worn sharp or slouchy, bright checks or block colours.

Increasingly, women celebrities are taking advantage of what the power suits got to offer and in essence, inspiring a broader market of women with their portrayals both on the red carpet and on silver screen. Jameela Jamil wore a green power suit while heavily touching on the points of body positivity in an interview and Lady Gaga wore a Marc Jacob power suit when she delivered a speech against sexual assault. This has proven that this fashion trend is more than just a power suit. Though the power suit is a norm in the Western world, the biggest fashion trend for the past few seasons has not been shying away from Asia, and in particular, China.
A masculine, rebellious look is what Chinese women have been chasing after. According to the “2019 China Fashion Data Report” by Alibaba, “suits” was female shoppers’ top-searched keyword on Taobao last year, with the sales volume of women’s suits surpassing that of men’s suits for the first time on January 27, 2019. Blazers have been increasing sales by 39 percent and on the contrary, The Alibaba reports expects that in ten years, the number of Chinese women owning suits will far surpass that of men.

While not an entirely new phenomenon, it’s not just who have been celebrities have been influencing fashion trends but they are certainly among the most potent influencers when it comes to shifting the cultural barometer leading some commentators to opine that the growing popularity of women’s suits in China may be part of actress Yao Chen’s influence. Spotted in a suit in almost every episode of the hit television drama “All Is Well”, the power suit was worn for a reason. However, in Korea, the “office lady power suit” look is almost de rigueur, imitating life and vice versa.

According to Jing Daily, the television series portrays the life of a typical Chinese middle-class family, which traditionally values sons over daughters, with women as second-class family members. Its plot has particularly struck a chord with Chinese women through the protagonist Su Mingyu (acted by Yao Chen), who confronts the gender bias in her own family with fierce independence. The power suit ties in nicely with the female lead as it becomes a way to express its rebellion against outdated gender stereotypes. This may hit close to home for Chinese women since the media often portray Chinese woman as the vulnerable sex.
บทบาทของชุดสูททำงานในการสร้างลุคหญิงแกร่งผู้มีศักยภาพในฐานะผู้นำ
บทความ: แองเจลีน ตัน
ด้วยความที่ชุดสูทเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงพลังอำนาจ จึงเป็นที่ยอมรับกันมาตลอดว่าชุดสูทเป็นเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชาย อย่างไรก็ดีในปี ค.ศ.1920 โคโค ชาเนล ได้บุกเบิกเทรนด์การออกแบบชุดสูทสำหรับผู้หญิงซึ่งออกแบบให้เข้ารูปน้อยกว่าสูทผู้ชาย โดยทีแรกเธอตั้งใจจะนำเสนอเสื้อผ้าที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าออกแบบมาสำหรับเพศใด ทว่าผลงานชิ้นต่อมาได้ผลักดันให้เธอกลายเป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่นที่ทรงอิทธิพลและสวนกระแสกับวัฒนธรรมในยุคนั้น เธอได้ออกแบบ “สูทสไตล์ Chanel” ซึ่งเป็นชุดสูทที่ประกอบด้วยกระโปรงเข้ารูปและเสื้อสูทผ้าวูล ไม่มีปก มีกระดุม มีผ้ากุ๊นตามชายเสื้อ ใช้กระดุมโลหะ และตัดเย็บช่วงแขนให้เข้ารูป สูทสไตล์ชาเนลก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงพลังอำนาจของผู้หญิงนับแต่นั้นมา
ช่วงปลายทศวรรษ 1960 ต่อเนื่องไปจนถึง 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเรียกร้องสิทธิสตรี ชุดสูทสำหรับผู้หญิงก็ได้รับแรงสนับสนุนจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมดังกล่าวในเวลานั้น ผู้หญิงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในที่ทำงาน และชุดสูทของผู้หญิงก็ได้วิวัฒนาการไปไกลกว่าที่จะเป็นเพียงแค่เครื่องแต่งกายสำหรับผู้หญิงซึ่งดัดแปลงมาจากชุดสูทผู้ชาย เมื่อเวลาผ่านไป เนื้อผ้า การตัดเย็บ สี และเครื่องประดับประดาต่างๆ ล้วนมีส่วนทำให้สูทของผู้หญิงแตกต่างออกไป โดยแสดงออกถึงความเป็นหญิงและอำนาจ จะเห็นได้ว่าชุดสูททำงานของผู้หญิงในยุคนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะทำให้ผู้หญิงกลมกลืนไปกับผู้ชาย แต่เป็นการออกแบบเพื่อที่จะทำให้ผู้หญิงโดดเด่นมากกว่า เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1980 ก็มาถึงยุคแห่งความรุ่งเรืองของสูทในฐานะของเครื่องแบบสำหรับผู้หญิงที่เป็นผู้นำและผู้บริหาร ความนิยมของสูทได้ก้าวไปถึงจุดสูงสุดเมื่อสุภาพสตรีที่มีบทบาทสำคัญระดับโลกได้กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์อย่างไม่เป็นทางการ หนึ่งในบรรดาผู้นำหญิงที่สวมสูทเป็นประจำในสมัยนั้นก็คือมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ตามมาด้วยผู้นำหญิงในปัจจุบันอย่างอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี หรือฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ แม้ว่าเทรนด์การใส่สูทของผู้หญิงจะเป็นเรื่องของซีกโลกตะวันตก แต่ในปัจจุบันเทรนด์นี้ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่ทวีปเอเชียเช่นกัน
เราชื่นชอบดีไซน์ของสูททำงานผู้หญิงในปี 2019 เพราะดูสง่างาม เรียบง่าย และคล่องตัว อาจกล่าวได้ว่าชุดสูทในยุคนี้เปรียบเสมือนงานศิลป์ที่นำมาสวมใส่ได้ แถมยังเพิ่มพลังอำนาจให้ผู้สวมใส่อีกด้วย ชุดสูทผู้หญิงแบบที่เป็นกางเกงเป็นเครื่องแต่งกายที่สื่อถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานนับตั้งแต่ร้อยปีที่แล้ว สมัยที่ผู้หญิงเริ่มออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้นและก้าวขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำในรัฐบาล
นับจากอดีตมาจนถึงปี 2019 จะเห็นว่าผู้หญิงยุคปัจจุบันที่สวมใส่ชุดสูทไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ผู้นำประเทศหรือผู้บริหารในองค์กรต่างๆ เท่านั้น แต่ชุดสูทผู้หญิงยังถูกนำมาขึ้นรันเวย์แฟชั่นอยู่เสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งเหล่าคนดังในซีกโลกตะวันตกที่สวมชุดสูทออกงานกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น บรี ลาร์สัน หรือ เทเลอร์ สวิฟต์ ต่างก็พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าสูทสำหรับผู้หญิงสมัยนี้มีหลากหลายสไตล์ ทั้งแบบเรียบหรูหรือแบบที่เหมาะกับสาวมาดเซอร์ ไม่ว่าจะตัดเย็บด้วยผ้าลายตาหมากรุกสีสดหรือผ้าสีพื้นเรียบๆ ก็ดูดีได้
เหล่าเซเลบและดาราต่างเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากชุดสูททำงานกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของพวกเธอที่สวมชุดสูทขณะเดินบนพรมแดงและแสดงบทบาทต่างๆ ในภาพยนตร์ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงคนอื่นๆ ลุกขึ้นมาใส่สูทบ้าง นักแสดงสาว จามีลา จามิล สวมชุดสูททำงานสีเขียวไปให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฉบับหนึ่ง ส่วนเลดี้ กาก้า ก็ใส่ชุดสูทที่ออกแบบโดย มาร์ค จาคอบส์ ตอนที่เธอกล่าวสุนทรพจน์เพื่อต่อต้านการคุกคามทางเพศ นี่เป็นการพิสูจน์ว่าผู้หญิงที่นิยมสวมชุดสูทไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกลุ่มผู้นำหรือผู้บริหารอีกต่อไป แม้ว่าการที่ผู้หญิงใส่สูทจะเป็นเรื่องธรรมดาของโลกตะวันตก แต่ในสองสามฤดูกาลที่ผ่านมาเทรนด์แฟชั่นที่ฮิตติดลมบนที่สุดของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน ก็คือแฟชั่นชุดสูทของผู้หญิง
ข้อมูลจาก China Fashion Data Report ปี 2019 ซึ่งจัดทำโดยอาลีบาบารายงานว่า ผู้หญิงจีนต้องการมีภาพลักษณ์ที่ดูใกล้เคียงกับผู้ชายและดูเป็นนักปฏิวัติ คำว่า “สูท” เป็นคีย์เวิร์ดที่ผู้หญิงซึ่งซื้อสินค้าในโลกออนไลน์ใช้ในการค้นหาผ่านเว็บไซต์ Taobao มากที่สุดในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ยอดขายชุดสูทผู้หญิงได้ไต่ขึ้นไปจนสูงกว่ายอดขายชุดสูทผู้ชายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 ในขณะที่เสื้อเบลเซอร์มียอดขายสูงขึ้น 39% ข้อมูลในรายงานของอาลีบาบายังคาดการณ์อีกว่า ในสิบปีข้างหน้าจำนวนผู้หญิงจีนที่มีชุดสูทจะมากกว่าจำนวนผู้ชายจีนที่มีชุดสูทอย่างแน่นอน
แม้จะไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ และไม่ควรด่วนสรุปว่าคนดังและดาราเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อเทรนด์แฟชั่น แต่คงต้องยอมรับว่าคนดังและดาราเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงกระแสทางวัฒนธรรม นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้นักวิจารณ์บางคนแสดงความคิดเห็นว่า การที่ชุดสูทผู้หญิงได้รับความนิยมมากขึ้นในจีน อาจเป็นเพราะอิทธิพลของเหยา เฉิน นักแสดงหญิงที่โด่งดังในจีน เธอสวมสูททำงานในละครซีรีส์สุดฮิตเรื่อง All Is Well เกือบทุกตอน คงต้องมีเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชุดสูทถูกเลือกมาให้เธอสวมใส่ในละครเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีสำหรับละครเกาหลี ลุคสาวทำงานในชุดสูทถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นการเลียนแบบจากชีวิตจริง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Jing Daily ระบุว่า ละครซีรีส์ All Is Well เรื่องนี้นำเสนอชีวิตของครอบครัวชนชั้นกลางในจีน ซึ่งให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว ทำให้ผู้หญิงกลายเป็นชนชั้นสองในครอบครัว พล็อตของละครเรื่องนี้เข้าถึงจิตใจของผู้หญิงจีน ผ่านนางเอกคือ ซู มิงยู ซึ่งแสดงโดย เหยา เฉิน เธอต่อต้านคนในครอบครัวที่มีอคติต่อผู้หญิงด้วยการเลือกที่จะพึ่งพาตนเอง ชุดสูททำงานมีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับคาแร็กเตอร์ของนางเอก เพราะการใส่สูทเป็นวิธีแสดงออกถึงการต่อต้านความเชื่อในยุคเก่าที่ว่าเพศหญิงเป็นเพศที่ด้อยกว่า การปฏิวัติความคิดเดิมๆ เช่นนี้น่าจะโดนใจสาวๆ ชาวจีน เพราะโดยทั่วไปสื่อในจีนมักจะนำเสนอภาพของผู้หญิงว่าเป็นเพศที่อ่อนแออยู่เสมอ
