5 European Couturiers of 20th Century: Their Lives and Their Enduring Styles

Share this article

Luxuo พาคุณย้อนรอยดูอดีตช่วงเริ่มแรกของ 5 กูตูริเยร์รุ่นบุกเบิกวงการ
บทความ: ลีออน เนียม

[ English ]

อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ กูตูริเยร์เจ้าของผลงานการดีไซน์ที่แหวกแนวและเน้นการใช้สีโทนโมโนโครมเคยกล่าวไว้ว่า “แฟชั่นนั้นจางหาย สไตล์สิยืนยง” และสไตล์ที่สืบทอดกันมาก็คือสิ่งที่ทำให้แฟชั่นโอตกูตูร์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ในวันนี้เราจึงขอพาคุณย้อนกลับไปดูอดีตช่วงเริ่มแรกของ 5 กูตูริเยร์รุ่นบุกเบิกของวงการ ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่คนส่วนมากไม่เคยได้รับรู้ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่ออัจฉริยะทั้ง 5 ท่านนี้

คริสเตียน ดิออร์ (ค.ศ. 1905-1957)

กูตูริเยร์ชื่อดังผู้นี้แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานศิลปะตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว หลังจากเกิดเรื่องเศร้าขึ้นภายในบ้าน เขาจำต้องปิดแกลเลอรี่และขายแบบร่างแฟชั่นเพื่อให้มีเงินพออยู่ได้ แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ

เพราะความสามารถที่เตะตาทำให้เขาได้งานออกแบบเสื้อผ้าสตรีจากโรเบิร์ต ปิเกต์ และลูเซียง เลอลง ซึ่งเป็นกูตูริเยร์ชื่อดังในยุคนั้น ดิออร์สร้างความเกรียวกราวให้กับเวทีแฟชั่นของปารีสเมื่อปี 1947 ด้วยแฟชั่นแนว “นิวลุค” เพราะอยากให้เหล่าสตรีกลับมาแต่งตัวสวยสมความเป็นหญิงในแบบยุคศตวรรษที่ 20 หรือก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคที่ต้องกระเหม็ดกระแหม่เรื่องการแต่งตัว โดยออกแบบเสื้อไหล่แคบคู่กับกระโปรงเอวคอดบานฟูฟ่องเพื่อเน้นสัดส่วนโค้งเว้าของสตรี

แบรนด์ Dior เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงจนต้องขยายคอลเลคชั่นให้ครอบคลุมทั้งเสื้อผ้าบุรุษและสตรี ถึงแม้ผลงานจะหลากหลาย ทว่าสไตล์อันยืนยงของ Dior ก็คือเสื้อผ้าที่หรูหรา สง่างามและตัดเย็บอย่างประณีต ซึ่งช่วยเน้นความเป็นหญิงและความเป็นชายได้เป็นอย่างดี

คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ (ค.ศ. 1933-2019)

คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ (ถือกำเนิดในนามคาร์ล อ็อตโต ลาเกอร์เฟลดต์) ย้ายจากฮัมบูร์กบ้านเกิดมาที่ปารีสตอนอายุ 14 ปี พรสวรรค์ของเขาเป็นที่ประจักษ์ในการแข่งขัน International Woolmark เมื่อปี 1954 ในฐานะแชมป์ประเภทการออกแบบเสื้อโค้ต จากนั้นเขาก็ได้ทำงานกับปิแอร์ บัลแมง ออกแบบเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ Chole และเป็นผู้กุมบังเหียน LVMH ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Fendi (ทำกำไรได้ 800 ล้านยูโรในปี 2017) และ Chanel (ทำกำไรได้ 1.35 พันล้านปอนด์ในปี 2017) โดยบริหารแบรนด์ที่ใช้ชื่อตัวเองควบคู่กันไป เจ้าแห่งวงการแฟชั่นซึ่งมีพรสวรรค์หลายอย่างยังสนใจงานด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบภายในและการถ่ายภาพแฟชั่นด้วย

“การออกแบบเสื้อผ้าคือสิ่งที่ผมทำได้อย่างเป็นธรรมชาติพอๆ กับการหายใจเลยล่ะ” กูรูด้านแฟชั่นท่านนี้เคยกล่าวไว้ ผลงานที่เกิดจากพรสวรรค์ของเขามีหลายอย่าง ตั้งแต่แฟชั่นโอต์กูตูร์ของแบรนด์ Fendi และ Chanel ไปจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสไตล์สวยมาดเท่ของแบรนด์ที่ใช้ชื่อตัวเอง

อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ (ค.ศ. 1936-2008)

แซงต์ โลรองต์มีวัยเด็กที่ลำเค็ญเนื่องจากไม่ค่อยมีเพื่อนที่โรงเรียนและมีลักษณะท่าทางเหมือนผู้หญิงจนทำให้โดนแกล้งเป็นประจำ หลังจากคว้าแชมป์ Woolmark Prize มาครองในปี 1954 แซงต์ โลรองต์ก็ได้พบกับมิเกล เดอ บรูนอฟฟ์ (บรรณาธิการ Vogue ฝรั่งเศส) ในปี 1955 ซึ่งทึ่งกับแบบร่างของแซงต์ โลรองต์จนกล่าวว่า “ในชีวิตนี้ผมไม่เคยเจอใครที่มีพรสวรรค์เหนือกว่าคุณเลย” จากนั้นบรูนอฟฟ์ก็แนะนำให้แซงต์ โลรองต์ได้รู้จักกับดิออร์ ซึ่งตกลงจ้างเขาทันที พอดิออร์เสียชีวิตกะทันหันด้วยอาการหัวใจวายในปี 1957 เขาก็เข้ามาดูแลแบรนด์ Dior ในฐานะกูตูริเยร์ที่อายุน้อยที่สุดในโลกด้วยวัยเพียง 21 ปี

หลังจากที่ต้องสู้คดีเพราะโดนเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม อดีตลูกมือของดิออร์ผู้นี้ก็เปิดห้องเสื้อของตัวเองร่วมกับปิแอร์ แบร์เจซึ่งเป็นทั้งหุ้นส่วนและคนรักในปี 1961 ในบรรดาผลงานของแซงต์ โลรองต์ ผลงานที่สร้างชื่อให้เขามากที่สุดคือการปรับแบบทักซิโด้ให้เหมาะกับสรีระของผู้หญิง

ทุกวันนี้ห้องเสื้อ YSL ซึ่งกุมบังเหียนโดยแอนโทนี วัคคาเรลโล ยังเป็นแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อวงการเสื้อผ้าบุรุษและสตรี และเป็นที่รู้จักจากผลงานการดีไซน์ที่สง่างามแต่แหวกแนว ดูเย้ายวน โดยตัดเย็บอย่างประณีตและเน้นการใช้สีโทนเดียว

จิออร์จิโอ อาร์มานี (ค.ศ. 1934-ปัจจุบัน)

จิออร์จิโอ อาร์มานี แฟชั่นไอคอนวัย 84 ปี ผู้มีผมขาวที่หวีแสกเรียบร้อยเป็นจุดสังเกต ถือกำเนิดที่เมือง
ปิอาเชนซาทางตอนเหนือของอิตาลี พอลาออกจากมหาวิทยาลัยมิลานและผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว เขาก็ไปทำงานออกแบบเสื้อผ้าบุรุษให้กับบริษัทของนีโน เชอร์รูติ พร้อมกับรับงานฟรีแลนซ์จากห้องเสื้ออื่นๆ ด้วย

แบรนด์ที่ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ “Armani” ตามชื่อเจ้าของคือผลลัพธ์ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจระหว่างเซอร์จิโอ กาเลอ็อตติ ซึ่งเป็นทั้งผู้เขียนแบบและดีไซเนอร์ด้วย

ณ ปัจจุบันดีไซเนอร์ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ปราดเปรื่องด้วยผู้นี้มีรายได้รวมถึง 9 พันล้านดอลลาร์ และผลงานที่สร้างชื่อให้เขามากที่สุดก็คือการปรับแบบสูททำงานตามปกติเพื่อเพิ่มลุคแมนๆ ให้กับผู้หญิงและเติมลุคสบายๆ ให้กับผู้ชาย อาร์มานีเปิดตัวคอลเลคชั่นโอต์กูตูร์ในชื่อ Armani Privé ในปี 2005 และขยายคอลเลคชั่นให้ครอบคลุมทั้งชุดชั้นใน เสื้อผ้าบุรุษและสตรี เสื้อผ้าเด็กและแอคเซสซอรี โดยเป็นที่รู้กันว่าสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาคือการตัดเย็บอย่างประณีตและการใช้สีโทนกลางๆ

อูแบร์ เดอ จีวองชี (ค.ศ. 1927-2018)

จีวองชีถือกำเนิดในครอบครัวชนชั้นสูงที่เมืองโบเวส์ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ตอนอายุ 17 เขาได้รับโอกาสในการฝึกงานกับกูตูริเยร์ที่ชื่อฌาคส์ ฟาธ ควบคู่กับการเรียนที่สถาบันชั้นนำอย่าง École National Supérieure des Beaux-Arts พรสวรรค์ด้านศิลปะที่เปี่ยมล้นทำให้เขาได้ทำงานกับโรเบิร์ต ปิเกต์, ลูเซียง เลอลง และเอลซา เชียปาเรลลี ก่อนเปิดห้องเสื้อที่ใช้ชื่อตัวเองกลางกรุงปารีส

นอกจากชุดราตรีที่งามสง่า หมวกที่เน้นความเป็นหญิงและสูทสั่งตัดของเขาจะเป็นที่ชื่นชอบแล้ว จีวองชียังมองการณ์ไกลจนกลายเป็นผู้นำเทรนด์อีกต่างหาก เขาตอบรับวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่โดยมักจะร่างแบบให้ชายผ้าสั้นลงและเน้นส่วนโค้งเว้าน้อยลง รวมทถึงยังมีเรื่องของมิตรภาพที่ยืนยงระหว่างดีไซเนอร์ที่น่ายกย่องท่านนี้กับดาราดังชาวอังกฤษอย่างออเดรย์ เฮปเบิร์น ซึ่งทำให้เขาอุทิศตนให้กับการออกแบบเสื้อผ้าจำนวนนับไม่ถ้วนให้เธอสวมใส่ด้วย

แฟชั่นคือสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตามกระแสสังคมในแต่ละยุค และบทความที่เลือกมาก็แสดงถึงจุดยืน ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ และอาจจะรวมถึงลักษณะเฉพาะตัวของเราด้วย ทุกผลงานล้วนมีความเสี่ยงอยู่ในตัว ดีไซเนอร์จึงต้องชั่งใจอย่างรอบคอบและมองการณ์ไกลเพื่อสร้างผลงานที่สอดคล้องกับความต้องการด้านแฟชั่นของเรา เพราะถ้าหรูหราเกินไป มันก็จะน่าขัน และถ้าธรรมดาเกินไป มันก็จะน่าเบื่อ นอกจากจะทำให้เราสามารถแสดงตัวตนของเราแล้ว ดีไซเนอร์ชื่อดังเหล่านี้และดีไซเนอร์ท่านอื่นๆ –ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง มีชื่อเสียงหรือไม่มี– ยังทำให้เรากล้าฝันให้ยิ่งใหญ่ขึ้นและเลือกทางที่ไม่ค่อยมีใครเลือกเดินแบบพวกเขาด้วย


Luxuo sheds light on the little known early days of five pioneering European couturiers.

Words: Leon Ngiam

“Fashions fade, style is eternal”, Yves Saint Laurent, the couturier known for his monochromatic palette and edgy design, once famously said. It is the profound reverence afforded to the brand’s heritage that gives haute couture its distinctive definition. To pay homage to 5 couturiers who have devoted their ingenuity to fabricate our kaleidoscopic apparels, Luxuo hopes to shed light on their little known early days and their characteristic styles.

Christian Dior (1905-1957)
The luminary expressed his intention to pursue the arts early on in life but was thwarted by his family’s reluctance. After a family tragedy, he closed his art gallery and sold fashion sketches to make ends meet. Yet, his brilliance broke a silver lining when he was scouted by the prevailing couturiers of the time, Robert Piguet and Lucien Lelong, to design women’s apparels.

Dior stormed the Paris fashion stage in 1947 by introducing the “New Look” in light of the inveterate vestiary austerity of WW2. This was inspired by Dior’s desire to return to the 20’s pre-WW2 days of extravagant femininity by designing tight-fitting jackets with padded hips, petite waists, and A-line skirts to accentuate the voluptuousness of women’s contours.

Well regarded by the high society, the House of Dior has expanded to a comprehensive collection to accessorise and adorn both men and women. Within its wide provision, Dior’s invariable signature lies in those ornate, elegant and sophisticated garments that chisel women’s femininity and men’s virility.

Karl Lagerfeld (1933-2019)

At the young age of 14, Karl Lagerfeld (born Karl Otto Lagerfeldt) moved to Paris from his hometown of Hamburg. His talent was realised in the 1954 International Woolmark competition where he emerged as the winner for the coat category. He then worked for Pierre Balmain before designing for Chole and eventually helming LVMH owned Fendi (2017 profit of €800) and Channel (2017 profit of £1.35 billion) while simultaneously managing his eponymous brand. Kaiser Karl, a man of many talent, also dabbled in architecture, interior design, fashion photography and interestingly, in game voice over.

The fashion meister once said, “I design like I breathe.” Across his numerous fashion engagements, his virtuosity varies from haute couture in Fendi and Channel to the rock and chic urbanity of his ready-to-wear namesake brand.

Yves Saint Laurent (1936 – 2008)

Saint Laurent had a difficult childhood due to his unpopularity in school and he was constantly bullied for being effeminate. After Saint Laurent won the Woolmark Prize in 1954, he met Michael de Brunhoff (editor of French Vogue) in 1955 who, utterly amazed by Saint Laurent’s sketches, said, “I have never in my life met anyone more gifted.” Impressed, Brunhoff then introduced Saint Laurent to Dior who immediately hired him. In 1957, when Dior unexpectedly died of a heart attack, he took over Dior at 21 years old as the world’s youngest couturier.

The former protégé of Dior launched his atelier with his partner and lover, Pierre Berge, in 1961, after a bitter legal battle with Dior over his unjust dismissal. Amongst his creations, Saint Laurent was most credited for revamping the tuxedo (Le Smoking Jacket) to adapt to the female anatomy. Today, the House of YSL, helmed by Anthony Vaccarello, is a force to be reckoned with for men’s and women’s wear and is recognised by its elegant but edgy, provocative yet sophisticated monochromatic design language.

Giorgio Armani (1934 – present)

Spotting a neatly parted white tuft hair, the 84 year-old fashion icon, Giorgio Armani, was born in the northern Italian town of Piacenza. After he dropped out of  the University of Milan and conscripted into the army, he worked for the Nino Cerruti company to design menswear while freelancing for other atelier simultaneously. The namesake brand we know today as “Armani” was the fruit of the extensive collaboration between Sergio Galeotti, an architectural draftsman, and the designer himself.

The shrewd entrepreneur-cum-designer had amassed a wealth of $9 billion to date and is best known for his trademark of revamping traditional business suits to create a more masculine look for women (aptly called ‘power suits’) and a unstructured look for men. Known for his characteristic clean cut lines and neutral colours, Armani introduced his haute couture line, Armani Privé, in 2005 and had fastidiously expanded his label to include undergarments, men’s, kid’s and women’s wear, accessories.

Hubert de Givenchy (1927 – 2018)

Born to an aristocratic family in Beauvais, in northern France, then 17 year old Givenchy took up an apprenticeship with couturier Jacques Fath while he studied at the esteemed École National Supérieure des Beaux-Arts. His brimming artistic flair led him to work for Robert Piguet, Lucien Lelong, and Elsa Schiaparelli before founding his namesake Maison on Rue Alfred de Vigny in the 8th arrondissement of Paris.

Adored for his elegant evening gowns, feminine hats and tailored suits, Givenchy also possessed a trend-setting prescience. To embrace youth culture, he favoured shorter hemlines and straighter contours in his sketches. The revered designer was also known for his strong affiliations with the British movie icon, Audrey Hepburn, whose countless engagements he took on as his personal devotion.

As we know, fashion is a metamorphosing social construct that is intertwined with contemporary matters of the day. The articles that we choose show our standings, beliefs, values, aspirations and, perhaps, idiosyncrasies as well. Every creation is inherently risky; it mandates the designers’ careful, visceral calibration and prescience of cultural trends to intersect with our fashion appetite. Too flamboyant and it becomes absurd; too mundane and it becomes lacklustre. These luminaries, along with other designers – male or female, celebrated or otherwise – not only bestowed us the capacity to express ourselves, but more vitally, the audacity to dream bigger and, in their footsteps, take the road less traveled.

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image