The “Less is More” Approach of the New BMW Logo Design

Share this article

วิเคราะห์ที่มาที่ไปของการปรับโลโก้ BMW ครั้งล่าสุดที่ทำให้แฟนคลับเสียงแตกเป็นฝั่งที่รับและไม่รับ
บทความ: จูเลีย โรแซน

[ English ]

บริษัทรถยนต์ระดับยักษ์ใหญ่ BMW จากมิวนิคสร้างกระแสดังไปทั่วอินเตอร์เนทเมื่อออกมาเปิดตัวดีไซน์โลโก้รูปแบบใหม่ที่ยังคงเป็นทรงกลมเหมือนเดิม แต่ลดทอนรายละเอียดจนเหลือเพียงแค่สองมิติ เป็นเหตุให้แฟนคลับออกมาวิจารณ์กันไปในทิศทางต่างๆ กัน 

โลโก้ใหม่ของ BMW นี้เป็นผลงานการออกแบบร่วมกับดีไซน์สตูดิโอชื่อ BECC Agency จากมิวนิคเหมือนกัน และจะถูกนำไปใช้ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์อย่างทั่วถึง โลโก้ใหม่ที่ว่านี้มีลักษณะแบนกว่าเดิม โปร่งใสกว่าเดิม รายละเอียดทางด้านกราฟฟิกน้อยกว่าเดิม แต่จะเรืองแสงได้ทั้งในเวลาที่อยู่บนตัวรถและในโชว์รูม 

แนวทางที่ BMW เลือกใช้ในการออกแบบโลโก้นี้ก็คือแนวทางสายมินิมอลแบบ “less is more” โดยถอดเอาพื้นวงสีดำออกไปเพื่อให้ดูมีเนื้อที่สีขาวมากขึ้น เรียบง่ายขึ้น และมีปรวิสัยมากขึ้น ในขณะที่นำสายตาของผู้ที่พบเห็นโลโก้ไปยังตัวอักษรชื่อแบรนด์อันโดดเด่นและจตุภาคสีขาวและฟ้า

โลโก้แนวมินิมอลนี้อาจจะเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มที่อายุน้อยและเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีได้ดีขึ้น เพราะว่าเขาเหล่านี้เป็นประชากรกลุ่มที่ฝักใฝ่ในแบรนด์และโลโก้ที่ดูเรียบและเข้าใจง่าย แต่โลโก้ใหม่ดังกล่าวก็มีความเสี่ยงที่จะถูกกลืนหายไปในฉากหลังสีใสได้ (ทั้งในโลกออนไลน์และในสื่อสิ่งพิมพ์) จนทำให้มองไม่ชัดหรือเห็นเฉพาะส่วนที่เป็นสีฟ้าลอยขึ้นมาแบบแปลกๆ 

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมองจากไกลๆ ดีไซน์แบบใสใหม่นี้ทำให้มองโลโก้เป็นชิ้นเป็นอันเดียวกันได้ยาก เพราะเดิมมีวงสีดำช่วยดึงทุกองค์ประกอบไว้ด้วยกัน ยิ่งถ้าไปอยู่บนรถสีขาว 

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียและแฟนคลับของ BMW ส่วนมากจะไม่เข้าใจว่าทางบริษัทตั้งใจทำโลโก้ของตนเองให้มองเห็นยากทำไม ก็ยังมีคนที่เปิดรับความเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นคุณดั๊ก เซลเลอร์ส ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของบริษัทออกแบบ Siegel+Gale ซึ่งให้สัมภาษณ์กับ CNN Business ในเชิงบวกว่าโลโก้ใหม่นี้ดู “เปิดกว้างและเข้าถึงได้มากกว่า” ในสายตาผู้บริโภครุ่นอายุน้อยสายดิจิตอลทั้งหลาย 

เจนส์ ธีมเมอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายลูกค้าและแบรนด์ กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการใช้โลโก้ใหม่นี้ว่า BMW ต้องการมีเครื่องมือในการสื่อสารที่พร้อมสำหรับสื่อชนิดต่างๆ ทั้งหมด และจะให้โลโก้นี้เป็นเครื่องหมายแห่ง “ความสำคัญและความเกี่ยวข้องที่ BMW มีต่อการเดินทางและความสุขในการขับขี่แห่งโลกอนาคต” ทั้งยังกล่าวเสริมด้วยว่าโลโก้แบบใสนี้จะทำให้สีตัวถังของรถ “ดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น” 

นี่เป็นการรีแบรนด์ครั้งที่ 6 ของ BMW นับตั้งแต่ที่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 1917 ซึ่งในเวลานั้นตัวบริษัทเองมีเป้าประสงค์ในการดำเนินกิจการเพียงอย่างเดียวก็คือการผลิตอากาศยาน 

ในเวลานี้ BMW ได้นำโลโก้ใหม่ที่ว่าไปใช้แล้วบนโซเชียลมีเดีย เว็บไซท์ และรถคอนเซปท์พลังงานไฟฟ้ารุ่น i4 สีบรอนซ์ แต่ไม่ได้มีการระบุว่าจะนำโลโก้แบบใสดังกล่าวไปใช้ในรถรุ่นปกติที่จะผลิตในอนาคตอย่างไรหรือเมื่อใด แต่วัดจากเสียงคอมเมนท์ของสังคมที่หนักไปทางไม่รับอยู่ในเวลานี้ คิดว่าถ้า BMW ไม่ใช้โลโก้ใหม่นี้ก็คงจะดีกว่านะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: The First Fully Electric Fiat is Intricately Adorned by Bulgari


BMW’s latest logo redesign ditches the black ring for a transparent circle, leaving brand enthusiasts divided in their judgements. 

Words: Julia Roxan

The Munich-based automaker has presented its latest logo with the iconic roundel design … in 2D. It has since sparked immense controversy, leaving brand enthusiasts divided in their judgements.

Developed in collaboration with Munich-based studio, BECC Agency, BMW’s newest logo design is applicable across a multitude of online and offline platforms. Its flatter, transparent design not only showcases visual and graphic restraint, but is expected to illuminate on vehicles and in showrooms.

Stripped down to its most fundamental features, BMW adopts a “less is more” approach, trading its historic black outlines for increased whitespace to create a sense of simplicity and objectivity, whilst refocusing audience attention to the brand’s iconic typography and inversely painted, quartered inner-circle in white and blue.

Expressing hope of expanding its demographic to a younger, more tech-savvy community of consumers who are known to gravitate toward easily identifiable brands and logos – BMW’s Marie Kondo-ed logo, while refreshing, faces the potential risk of camouflaging into clear backgrounds (both online and in print) to the point of a partial-invisibility, barely distinguishable by two awkwardly positioned blue quadrants.

Furthermore, at a distance, the new design’s transparent effect makes it harder to parse the logo as a whole – relying on a single inner element, that was once viewed as a whole with its prior black outer ring and BMW lettering, to stand out alone against a variety of backdrops, including on an already white model.

While a vast majority of social media users and brand enthusiasts were left wondering why BMW would purposefully make their logo harder to see, not all were resistant to its change. In an interview with CNN Business, Doug Sellers, Executive Creative Director for design firm Siegel+Gale expressed his approval, stating that the new design appeared “more open and accessible” to younger, digitally savvy consumers.

Upon its release, Senior Vice President Customer and Brand, Jens Thiemer, shared his ambitions of equipping BMW with the necessary versatility for communication across all mediums, whilst utilizing the logo as a ubiquitous communication tool to symbolize the brand’s “significance and relevance for future mobility and driving pleasure”. Adding that the transparent design gives the car’s exterior colour “even greater prominence”.

This is the sixth rebrand throughout the history of BMW which dates as far back as 1917, to a time when the enterprise was originally established for the sole purpose of engineering aircrafts. 

Despite featuring the revamped logo’s integration across all BMW social media platforms, on its website, and on the bronze-hued electric i4 Sedan concept, the automaker has yet to announce further plans to implement the transparent design in its future production of cars. Though based solely on the overwhelming public recoil, they probably should not.

See also: The First Fully Electric Fiat is Intricately Adorned by Bulgari

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image