50 ปีแห่งความสง่างามบนฟากฟ้าของเครื่องบินโดยสาร Boeing 747
บทความ: รักดี โชติจินดา ภาพ: Boeing
Boeing 747 หรือที่เรียกชื่อเล่นเป็นสากลทั่วโลกว่า “จัมโบ้เจ็ท” นั้นเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่อยู่คู่น่านฟ้าของโลกมาเป็นเวลา 50 ปีแล้ว แม้คนที่ไม่รู้จักเครื่องบินเลยก็จะดูออกได้โดยง่ายว่าลำใดเป็น 747 โดยดูจากช่วงหัวของเครื่องที่นูนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพื่อเป็นที่สำหรับค็อกพิทและห้องผู้โดยสารชั้นบน เครื่องบิน Boeing 747 เป็นผลงานแห่งการพัฒนาในยุคทศวรรษที่ 1960 เมื่อการบินพลเรือนขยายตัวแพร่หลายอย่างรวดเร็วในทุกทวีป สนามบินขนาดใหญ่ประสบปัญหาความหนาแน่นของเครื่องบินขนาดเล็กจำนวนมากที่ต้องรองรับผู้โดยสารที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขหนึ่งที่คิดกันในเวลานั้นคือการพัฒนาเครื่องบินโดยสารแบบลำตัวกว้างที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับผู้โดยสารจำนวนมาก รองรับคนได้มากกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นใดในเวลานั้น
โปรเจคนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของพนักงาน Boeing ราว 50,000 คน เครื่อง 747 รุ่นแรกมีความยาว 231 ฟุต 4 นิ้วและกว้างรวมปีก 195 ฟุต 8 นิ้ว ด้วยขนาดอันมหึมาเช่นนี้จึงทำให้ Boeing ถึงขั้นต้องสร้างอาคารโรงงานแห่งใหม่ที่เมืองเอเวอร์เรต รัฐวอชิงตัน เพื่อประกอบเครื่องบินรุ่นนี้โดยเฉพาะ เครื่อง 747 มีพิสัยการบิน 6,000 ไมล์ ความเร็วในการบิน 640 ไมล์ต่อชั่วโมงและเพดานบินสูง 45,000 ฟุต แต่ตัวเลขที่สำคัญกว่านั้นก็คือจำนวนผู้โดยสารที่ 747 สามารถบรรทุกได้ราว 150% ของเครื่องรุ่น 707 ที่ใช้กันอยู่แต่เดิม กล่าวคือ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 374-490 คน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละสายการบินจะจัดที่นั่งเล็กใหญ่มากน้อยอย่างไร โดย Boeing 747 ยังเป็นเครื่องบินโดยสารของพลเรือนรุ่นแรกของโลกด้วยที่มีสองทางเดินบนเครื่อง
Boeing 747 ทยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 และเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์จริงในปี ค.ศ. 1970 เมื่อนำมาใช้งานแล้วก็สามารถลดค่าโดยสารและความหนาแน่นของจราจรทางอากาศได้เป็นอย่างดี สายการบินต่างๆ แห่สั่งซื้อกันเพื่อยกระดับความสามารถในการให้บริการ และก็คงจะต้องการให้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะของสายการบินด้วยเพราะมีใช้แล้วดูดี รวมจำนวนเครื่อง 747 ที่นำส่งถึงสายการบินต่างๆ 500 ลำในปี ค.ศ. 1981 และ 1,000 ลำในปี ค.ศ. 1993 ก่อนที่จะเริ่มช้าลงในที่สุด กว่าที่จะถึงลำที่ 1,500 เวลาก็ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 2014 แล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในประวัติศาสตร์การบินก็ไม่เคยมีเครื่องบินแบบลำตัวกว้างรุ่นใดที่มีการผลิตถึง 1,500 ลำเช่นนี้มาก่อน
นอกจากจะใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าแล้ว Boeing 747 ยังถูกนำไปใช้งานในรูปแบบพิเศษด้วย ที่มีภาพออกมาให้เห็นกันทั่วโลกก็คือเครื่อง Air Force One สีฟ้าขาวที่ใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อันที่จริงแล้ว Air Force One นั้นมีสองลำเลยเอาไว้สลับกันใช้ และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะถูกแทนที่ด้วยเครื่อง 747 รุ่นใหม่ล่าสุดที่จะติดตั้งสารพัดระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เขาคงจะไม่มาบอกเรา
การใช้งานอื่นที่คนส่วนมากไม่ได้เห็นภาพคือเครื่องบิน 747 สองลำที่ NASA นำไปปรับปรุงเพื่อให้สามารถแบกรับกระสวยอวกาศไว้บนหลังเครื่อง แต่ก็มีการปลดระวางไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2012 หลังสิ้นสุดโครงการ Space Shuttle และที่พิเศษเช่นกันก็คือเครื่อง 747 Dreamlifter จำนวนสี่ลำซึ่ง Boeing นำเครื่อง 747-400 แบบบรรทุกสินค้ามาดัดแปลงเสียเองให้มีลำตัวที่โป่งพองจนดูแปลกตา เพื่อที่จะได้บรรทุกชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่สำหรับการประกอบเครื่องรุ่น 787 Dreamliner ซึ่งกำลังเป็นที่รักของหลายสายการบินทั่วโลกในเวลานี้
ปัจจุบันสายการบินส่วนมากเลิกใช้เครื่อง 747 แล้วโดยหันไปใช้อากาศยานที่มีขนาดเล็กกว่าและประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าแทน เพื่อให้ตอบโจทย์ของอุตสาหกรรมการบินในวันนี้ สายการบินอเมริกันอย่าง United และ Delta มี 747 เที่ยวบินสุดท้ายไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 การบินไทยเราเองมี 747 เหลืออยู่สามหรือสี่เครื่องและก็อายุมากแล้วทุกลำ ดูเหมือนว่า Lufthansa จะเป็นสายการบินเดียวในเวลานี้ที่เป็นลูกค้า 747 แบบเหนียวแน่น ขณะนี้มี 747-8 Intercontinental รุ่นล่าสุดใช้อยู่อย่างน้อย 19 ลำ
เชื่อว่าในอนาคตเราก็จะเห็นเครื่อง 747 สำหรับผู้โดยสารน้อยลงอีก วันหนึ่งอาจจะเหลือใช้เฉพาะสำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นจึงควรรีบตักตวงอากาศในการเข้าไปเป็นผู้โดยสารในชั้นบนหรือส่วนจมูกของเครื่องตั้งแต่วันนี้ที่ยังพอจะทำได้กันอยู่บ้าง
The world’s most recognisable passenger aircraft celebrates its 50th anniversary of flight this year.
Words: Ruckdee Chotjinda Photo: Boeing
Affectionately nicknamed the Jumbo Jet, the Boeing 747 celebrates its 50th anniversary of flight this year. Most recognisable, even to the uninitiated, by the protruding hump or bulge that contains the cockpit and an upper deck, this product of the 1960s was conceived at the time when air transportation was growing very quickly. Major airports struggled to handle the amount of aircrafts shuttling a greater number of passengers. A possible solution was to develop a larger, wide-bodied jet, one that provided a much greater capacity than anything in service at the time.
The Boeing 747 project was completed by some 50,000 Boeing people. The initial version of the aircraft measured 231 feet 4 inches long with a span of 195 feet 8 inches. It was so big that a special purpose facility had to be constructed in Everett, Washington, just to build the planes. Each unit had a range of 6,000 miles with a cruising speed of 640 miles per hour and a ceiling of 45,000 feet. More importantly, the passenger capacity was around 150% of the 707 that it superseded, being able to carry 374 to 490 people, depending on the seating arrangement of the individual airlines. It represented the largest civilian airplane in the world, and also the first of its kind to have two aisles.
The 747’s first flight was made in 1969, and its first commercial service began in 1970. This had tangible positive effects on airfare and air traffic congestion. Airlines ordered 747s in herds for their operational efficiency and understandably, as status symbols as well. By 1981, 500 units were delivered. The number increased to 1,000 in 1993 before the pace dropped – the 1,500th Boeing 747 was delivered only in 2014. It is important to note though that no wide-bodied airplane in history has reached the 1,500-unit milestone before.
Outside of typical passenger and cargo uses, the Boeing 747 found itself in some special applications, of which the most well known is Air Force One. Yes, we are talking about that blue and white aircraft used exclusively by US presidents. Actually, there are two of them in service and both will soon be replaced by the latest version of the 747, fitted of course with all the systems and gadgets we are not allowed to know.
Lesser known to the public, two 747s also served as NASA shuttle carrier aircrafts – ones that could carry a space shuttle on their back – but they were already retired in 2012, following the end of the Space Shuttle Program. Also, there are the 747 Dreamlifters. This series of four heavily modified 747-400 freighters are used by Boeing themselves. They have an extremely bulging fuselage section to transport the large parts needed to assemble another aircraft type – the 787 Dreamliner – that is the new darling of numerous airlines, which brings us to the present climate of the airline industry.
Most airlines of the world have retired their 747s in favour of smaller or more fuel-efficient aircrafts to reflect the operational needs of today. The American carriers United and Delta had their last Boeing 747 flights in 2017. Thai Airways still operates three or four, and they are quite old. Lufthansa appears to be the most loyal customer of this aircraft type today, with at least 19 of the latest generation 747-8 Intercontinental aircrafts in service.
Perhaps, it is not an exaggeration to say that the 747 as a passenger aircraft is becoming a rarity. There may come a time when the 747 is reduced to cargo service only, so it is best to get yourself into the upper deck or the nose of this legendary aircraft, if you have not done so already, to experience it while you still can.