The Principles of Wabi-Sabi Exemplified in the Shou Sugi Ban House

Share this article

Shou Sugi Ban House สปาตัวอย่างของการใช้ปรัชญาญี่ปุ่นซึ่งหยั่งรากจากความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของสรรพสิ่ง
เรื่อง: โจนาธาน โฮ

[ English ]

เมื่อซีรีส์เรื่อง Tidying Up With Marie Kondo ออกฉายทาง Netflix เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2019 นั้น วิธีคิดแบบ “คนมาริ” เกี่ยวกับการจัดการบ้านและชีวิตได้สร้างเทรนด์เกี่ยวกับการเก็บทิ้งสิ่งใดก็ตามที่ “ไม่จุดประกายความสุข” ให้พ้นจากชีวิตของผู้ชม มาริเอะ คอนโดะคือผู้ริเริ่มวิธีการนี้ซึ่งครอบคลุมทุกเรื่องตั้งแต่การจัดตู้เสื้อผ้าไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชื่อของเธอเป็นที่รู้จักกันนอกประเทศญี่ปุ่น แต่ที่ญี่ปุ่นผู้คนกลับนึกเขม่นวิธีการคนมาริ เอาเป็นว่าไม่มีใครทักทายบ้านอย่างที่เธอบอกไว้ในตำรา และที่แน่ๆ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเองเป็นผู้บุกเบิกลัทธิมินิมอลแบบเซ็น โดยน้อมรับความไม่สมบูรณ์แบบอันเป็นอนิจจังของชีวิตและจิตวิญญาณ ถือเป็นปรัชญาที่แท้จริงในชื่อวาบิซาบิ ไม่เหมือนกับคนมาริที่กล่าวถึงข้างต้นนี้

ในช่วงแรกๆ นั้นหลักคิดของวาบาซาบิยังเกี่ยวโยงกับแนวคิดพุทธศาสนาจากประเทศจีน หลักการนี้งอกงามจากพิธีชงน้ำชาของญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 โดยสำนึกว่าชีวิตนั้นไม่จีรังและไร้ซึ่งความสมบูรณ์แบบ และในขณะที่มาริเอะ คอนโดะเชื่อว่าเราสามารถกำราบความรกรุงรังในชีวิตได้อย่างถาวร ทางฝั่งวาบิซาบินั้นกลับสอนว่ามนุษย์ควรจะอยู่ร่วมกับชีวิตตามธรรมชาติซึ่งมีทั้งสิ่งที่เป็นตำหนิต่างๆ และความงามที่อาจจะหลบเร้นให้ได้ (เรียกว่าอยู่อย่างวาบิ) และให้เน้นการคัดสรรสิ่งรอบตัวให้เหลือแต่แก่นสาร เพื่อเราจะได้สามารถดื่มด่ำกับชีวิตได้อย่างเต็มที่แม้จะต้องมีความไม่สมบูรณ์แบบซึ่งจะผ่านมาแล้วก็ผ่านไปก็ตาม (เรียกว่าอยู่อย่างซาบิ)

โจ พินส์เกอร์ นักเขียนในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Atlantic บอกว่าจากการสัมภาษณ์นั้นพบว่าคนส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือของมาริเอะ คอนโดะ ทำไม่ครบตามกฎของเธอทุกข้อ คือจะ “เลี่ยงบางข้อหรือไม่ก็ทำเป็นหูทวนลมกับข้อแนะนำบางประการ” ผู้อ่านจำนวนไม่น้อยพบว่าวิธีการของเธอบางวิธีนั้น “เป็นภาระเกินไป” ดังนั้นปรัชญาวาบิ-ซาบิ

Wabi-Sabi จึงกลายเป็นการพบกันครึ่งทางที่เหมาะเจาะ ทั้งยังผ่านการบ่มเพาะตามครรลองจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ความพยายามในการสร้างแบรนด์เพื่อให้โดนใจผู้อ่านและผู้ชมชาวตะวันตกโดยคุณคอนโดะ

Shou Sugi Ban House ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการวาบิซาบิ และเมื่อผนวกเข้ากับธรรมเนียมแห่งการรักษาสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับความงามอันเรียบง่ายและพลังแห่งการเยียวยาซึ่งพบได้ในในธรรมชาติ วาบิซาบิจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวทางหากแต่กลายเป็นหนทางแห่งการใช้ชีวิตไปเลย ชื่อ shou sugi ban นั้นหมายถึงกรรมวิธีโบราณของการถนอมรักษาเนื้อไม้ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วไม้จะดูเหมือนถ่าน เนื่องจากถูกคลอกจนดำแล้วลงน้ำมันซึ่งทำให้ไม้นั้นทนทานต่อการถูกไฟมอดไหม้ เกิดเป็นความงามในความย้อนแย้ง เสมือนหนึ่งวัตถุจะงามจีรังได้นั้นจักต้องถูกทำลาย เสียก่อนอันเป็นการสะท้อนแนวคิดวาบิซาบิได้เป็นอย่างดี

Shou Sugi Ban House เป็นสปาแบบค้างแรมบนพื้นที่กว่าสามเอเคอร์ อาคารของสปาแห่งนี้ดัดแปลงมาจากโรงนา มีขนาด 13 ห้อง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวอเตอร์ฮิล ของเมืองแฮมป์ตัน ชานนครนิวยอร์คซิตี้ สปาแห่งนี้ให้บริการต่างๆ ได้แก่ การให้คำแนะนำการใช้ชีวิตแบบโฮลิสติก โภชนาการ การศึกษา การออกกำลัง การฝึกสติ การดูแลผิวพรรณในระดับสูง การบำบัดกล้ามเนื้อและกระดูกภายในร่างกาย การนวดและวารีบำบัด Shou Sugi Ban House ให้บริการทรีทเมนท์เหล่านี้ในบรรยากาศที่ลงตัวด้วยโทนสีที่ผ่อนคลายและเฟอร์นิเจอร์งานมือที่ให้สัมผัสของความมีราคา ทั้งหมดออกแบบมาเพื่อคืนความเยาว์วัยให้แก่จิตใจที่ตรากตรำมาจากโลกภายนอกอันไม่สมบูรณ์แบบใบนั้น

โลกสมัยใหม่ทุกวันนี้ล้วนโดนกระหน่ำผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ว่าทุกสิ่งต้องดูสมบูรณ์แบบ ต้องไร้ที่ติ จนส่งผลเสียและสร้างความเหนื่อยล้าให้ชีวิตหากเราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามแบบอุดมคตินั้นได้ หลักการคนมาริเองก็เป็นอุดมคติ แต่หลักการวาบิซาบินั้นไม่ใช่ ด้วยเหตุนี้ Shou Sugi Ban House จึงเป็นสถานที่แห่งความสงบที่ช่วยให้ผู้มาเยือนได้ลับคืนสู่ความเรียบง่ายอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าที่จะต้องมาฝืนหรือหักดิบอะไรกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง: Private Onsen Suite Experience Awaits at Panpuri Wellness


Embrace a true Japanese philosophy with roots in the beauty of imperfect things and understated elegance.

Words: Jonathan Ho

When Netflix series Tidying Up With Marie Kondo debuted on 1 Jan 2019, the KonMari methodology of home/life organisation began a trend which sparked a rapid decluttering of everything in the lives of its viewers that “didn’t spark joy”. Consequently, Marie Kondo, the originator of this method which covers everything from closets to personal relationships, became a household name outside Japan. In Japan, KonMari is an anathema, no one “greets the house” and certainly, while being pioneers of zen-minimalism, Japanese culture thoroughly embraces the inevitability of imperfection and life with a soul, it is a genuine philosophy, unlike KonMari, known as wabi-sabi.

With early links to Chinese Buddhism, the principles of wabi-sabi blossomed out of the Japanese tea ceremonies in the 15th and 16th centuries. Life is impermanent and imperfect and while Marie Kondo believes one can keep clutter at bay on a permanent basis, the wisdom behind wabi-sabi can be discerned in its name – wabi refers to living in tune with natural life and all its imperfection and understated elegance while sabi recommends keeping things to the essentials so one could appreciate life and its transient imperfection.

According to Joe Pinsker, staff writer at The Atlantic, most people he talked to didn’t practice all the precepts laid out in Marie Kondo’s book, instead, they “carved out exceptions to or ignored certain recommendations”, a good number of them would admit that some of the KonMarie methodology was “far too onerous”, wabi-sabi is therefore a naturalistic middle-ground, organically evolved from Japanese culture rather than a “branding exercise for Western audiences” by Ms. Kondo.

The Shou Sugi Ban House is inspired by the principles of wabi-sabi, and when combined with wellness traditions that value the simple beauty and healing properties found within the natural world, wabi-sabi becomes not just a way of life but a way of living. The name itself, shou sugi ban refers to a traditional craft of preserving wood – it appears like charcoal but really is a wood specially blackened by scorching and then finished with a varnish of oil which then fireproofs the material. In a paradoxical way, the visual aesthetics of the wood is produced but it is here that the wabi-sabi ideal is best exemplified – it’s “destroyed” but now, preserved for life.

Located within a converted barn in New York city, the Shou Sugi Ban House is a thirteen-room destination spa housed on more than three acres in the Hampton’s Water Mill hamlet just outside NYC. Featuring holistic living, nutrition, education, fitness, meditation, advanced skin care, therapeutic bodywork, artful massage and hydrotherapy, the treatments are accompanied with the mellow aesthetics and colour palettes as well as the sumptuous hand-crafted artisan furniture and finishings – an atmosphere perfectly designed to rejuvenate souls walking in from an imperfect world.

Our modern world, especially with the advent of social media tools like Instagram is one which promotes the appearance of perfection and thus, the deleterious effects of burn out should one not be capable of living that ideal on a day to day basis. KonMari is an ideal, wabi-sabi offers the opposite and the Shou Sugi Ban House thus becomes a tranquil yet homely environment which encourages a return to the simplicity of self in a more organic rather than “enforced” manner.

See also: Private Onsen Suite Experience Awaits at Panpuri Wellness

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image