Fon Windsor-Clive’s inspires would-be adventurers with her journey to Antarctica.
Words: Chidsupang Chaiwiroj
English Translation: Suchanart Jarupaiboon
Photos: Courtesy of Fon Windsor-Clive, Garrett Madison and Linda Wohlgemuth
When it comes to traveling, some people say the journey matters more than the destination. As cliché as it may sound, it perfectly describes the latest adventure of Umaworn Windsor-Clive (Fon) scaling the summit of Mount Vinson in Antarctica – possibly the first Thai woman to have conquered the peak although it was hardly her intention to make a name for doing so.
But if you have by any chance heard of her, you will know she is one who always follows her heart. Having felt that she had done all there was to do as a fashion photographer, she went to study museum management in the UK, where she met her future husband Simon Windsor-Clive. After returning to Thailand, she began to busy herself immediately, working with rescue crews at Ruam Katanyu Foundation and Narenthorn EMS Center, Rajavithi Hospital. Aside from being a volunteer, she spends her time with her family and sets aside some time to do what her father has always wanted her to since she was young, which is to be a pilot. Her life sounds unconventional, yet it sure is filled with memorable experiences.
Although she has always loved mountain climbing, the goal of her Antarctica trip was not to conquer Mount Vinson, as it often is for most people. “It might be because I’d always been familiar with changing weather thanks to my work, Antarctica became a must-visit destination. I had to see it with my own eyes. I wanted to see the impact it has on the planet, as there is no other place on earth with more ice. About 90% of the world’s ice is in Antarctica, as is 70% of the world’s freshwater. Researchers have estimated that if the Western Antarctica Ice Sheet were to melt, sea level would rise by 16 feet. I understood nature more when I was there, and everyone there was extremely environmental conscious. Before leaving the mainland, all visitors are required to step in disinfectant, because Antarctica is the last unspoiled continent. And when you’re already there, you kind of feel you have to hike. So that’s why I decided to climb Mount Vinson. It’s not like me to hop on a luxury cruise and see the penguins. I wanted to see how things actually are in Antarctica.”
Not long after she made up her mind to make this trip happen, the first challenge arose: how to prepare for this trip. In addition to having to obtain special equipment, which is not that easy to come by. She had to choose her guide, on whom her life would depend in this journey. “It took me a long time, but eventually I decided to go with Garrett Madison, founder of Madison Mountaineering, because I checked the statistics and he had led more climbers to the summit of Everest than any other guide, which shows that he’s experienced in long expeditions and very likely a patient person. If I had chosen someone else, I might not have made it, because the mental part is really important in this trip. Also, this company takes nutrition quite seriously, unlike other companies. We ate salmon, eggs, meat, and frozen vegetables at both the Base Camp and Low Camp, which was very important. I think the key to scaling the summit successfully lies in this – getting the necessary food and rest.
In addition, from my personal experience, going with Western guides might be better than local guides because they tend to be very well prepared. Safety is a top priority, and no expense is spared. They will tell you this and that equipment is needed, which made the journey more comfortable. I had many people pre-warn me of how extremely cold it was going to be, so to make sure I was fit enough, I practiced first in Chamonix, climbing Mont Blanc, because the height, air pressure, and wind speed are comparable. I practiced wearing hiking boots and dragging car wheels up the mountain, instead of a sled which I would need to drag in Antarctica” Moreover, she needed regular workout for physical strength and endurance in the extreme cold. The preparations took about eight months in total.
As the journey drew near, new challenges emerged to test her determination. “I’ve been to places all around the world, but nothing’s quite this like trip. I had received so many warnings. My family said to me it’s OK to cancel the whole thing if I wasn’t ready for it, and that it doesn’t matter how much I’d already paid for it. But I felt otherwise – I already paid the tickets, and if I don’t do it now, then when? I’m never going to get younger. Now’s the time. And so I went.” The plan was to fly from home in the UK to Chile, to board the Russian-made IL-76 TD of Antarctic & Logistics Expeditions or ALE, the only company operating flights out of Punta Arenas to Ellesworth Mountains in Antarctica. The flight time is approximately four hours 15 minutes, and flights are only available from November to January. “But before I left, I got an email from them telling me not to leave the UK yet, because the weather down there was terrible, and flying was impossible. The weather there can be unreliable and they need a clear weather window to fly.” Since her flight out to Chile couldn’t be changed, she decided to go and wait there instead. “When I got to Chile, a found a group of people already stuck there waiting to fly out to Antarctica. They’d been waiting every day and disappointed every day. Everyone was ready to board and walked to the plane only to be told by the pilot they were not flying that day. We all had a boarding pass, but no date or time was indicated. Even before our trip started, we learned an important lesson, that it’s useless to get upset. Because there’s nothing you can do about it. You’re let down everyday until you give up any hope. We were in low spirits.”
After a delay of about one week, it was time for our journey to start. Her first impression was not of the destination, but of the new friends she made there. “If you ask me, money alone isn’t enough to get you there. You have to be a bit crazy too. I met someone who told me he owned a country. He found an unclaimed island while helping out a Serbian, so he claimed it as his own. He now has a passport. I heard he made his fortune in bitcoin. I met a dean who was only 35, as well as executives and experts in multiple fields. Elon Musk wanted to come too. He had a special tent built but then changed his mind. It’s a place where special people are gathered, people who have everything there is to have. I suppose this is their challenge.”
Tell us about the first sight of Antarctica. “It was magical. from Union Glacier Camp, we can see the mountains. We can’t walk there though as it’s too far. But you can’t tell that easily because there’s no point of reference. And it’s dead quiet. Tents are erected quite far from one another, but you can hear everything anyone says. You can even hear when someone moves. Because there’s nothing else, no birds, no machines. You have to understand that there is no one there, because it is uninhabitable. This is what makes it a very special experience. Every morning I woke up, I thought to myself how lucky I was to be there. There are no people here. Antarctica is probably the only place without governed laws, because it is a no man’s land. There’s only a treaty that forbids commercial activity and allows only scientific research and expeditions. This is why it’s so special.
From our base at Union Glacier, those who want to conquer Mount Vinson have to set out to Low Camp and ascend gradually to High Camp. Although climbing Mount Vinson did not worry her all that much, as she was experienced in technical hiking, the necessary changes in her daily life activities caught her by surprise. “I knew it was going to be very cold, but couldn’t quite imagine it would be that cold. Forget luxury, because none exists. From the moment you wake up until your time, everything is different. Start with food. There’s no water, so you have to boil ice. When it’s time to climb, you need 6,500 calories per day, which is impossible to get from the food you eat daily. Not even if you eat a whole piece of butter. So a friend said we should just count the calories and worry about nothing else. And so eating becomes something you do to survive. Taste no longer matters,” says Fon, a graduate of Cordon Bleu.
“When you’re exhausted, you’ll be so drowsy you can fall asleep any minute. It’s a real struggle just trying to maintain your body temperature. The two liters of water you boil every day, you have to drink it up because it’s very dry but we don’t always realize it. When you set out, you need to stop to rest periodically, though not too long because then you get frostbitten. Our sweats are frozen real quick. Putting up a tent takes so much time and energy. As for going to the toilet, you have to practice peeing in a bottle, and then we empty it in a designated area. You can’t just do it anywhere you want, because we have to eat snow. If you have to do more than just peeing, you can use a NASA technology bag, and do it in a toilet which is really just a bucket with some wall around it. When you’re done, just seal the bag and carry it with you. Forget your dignity or comfort. Also you need to pack really light. Leave whatever is unnecessary behind. I even had to break my toothbrush in half. We have to carry our belongings ourselves. And use a sled, carrying fuel and a tent. Looking back at our life before this, I couldn’t help but ask myself if we carry too many unnecessary things in life. After this, I carry so much less in my bag. Now I need only 10 minutes to get ready for dinner. This is all fine. I’ve no problem at all. Because now some things no longer matter to me. When I was in Antarctica, I wore the same clothes in three or four layers every day, and I was fine with that,” says Fon. “We had to think about how to make it through another day all the time. When packing, we need to prioritize. Everything matters. Everything is a matter of life or death. We have to be ready at all times. If there’s a lesson to be learned from this trip, it is that preparations mean everything. Being prepared in all areas is really important.”
Although in the end she successfully scaled Mount Vinson, a bigger challenge than walking eight to ten hours everyday was to confront yourself. “I remember sobbing for a long time. Not sure if because I was glad to have made it to the top or glad that it’s finally over. Everyone was emotional. Because every day on our way up, there was no talking as we needed to keep a distance of four meters for safety. So we had been walking in silence for a long time. The things that never crossed our mind, or the thoughts we’d tried to keep at bay were all coming back to us. Whatever we’d avoided was coming right at us, very strongly. Then we’d ask ourselves why we never tried to address them before. I think this is what haunts everyone more up there. Just imagine, when you’re here, will you have moments when you have absolutely no distractions? Hardly. But right there, there is no distraction at all. There’s nothing for you to do but walk, with a lot on your mind. Some people like it because they get to learn who they really are. Doesn’t mean all their problems are solved, but at least their heart is open, and they acknowledge the problems as they are. When I came back, I even contemplated telling my children never to start a family, because family is about attachments, a fetter that you can never break free from. But in Antarctica, there is no attachment. You’re on your own, and you have to make it on your own. It completely changed the way I see the world. I was in situation where there’s nothing else, and so I asked myself, is it better for them to not have any burden at all? The concept is simple: whatever we bring, we have to carry it ourselves. Aside from the belongings, there are memories, problems, and worries. We can let go of physical stuff, but family is something we can’t just let go of. It’s the most difficult thing, a feeling I’d never experienced before. The trip has completely changed my worldview,” she recounts. “When I came back, the first thing people asked was, how was it coming back to reality, or re-entry. At first I didn’t get it. But then it started to sink in. Just the sight of a chair almost brought me to tears, because there was none in Antarctica. Or a restroom with a shower box, where I showered four times a day. I went to bed and hear this loud music, like a concert was playing nearby. I was thinking how insane, a concert at midnight? But later I found out it was just music from the radio, which was extremely loud to me at the time. That’s when I know my body was already adjusted to the state of utter silence, and now I was hearing absolutely everything. In addition, when I was on the expedition, a lot of energy was used several days on end. If I become idle all of a sun, the body can go into a state of shock. So I had to find an energy-consuming activity, so my body can make the necessary adjustments. If you stop training physically after this kind of trip, you might experience chemical imbalance. The mental side to this is important too. I decided to stay a week in Chile to adjust myself, because I wasn’t ready to see my family or other people right way. When I came back to London, I was down for a while. The guide told me that while we were there, other people carried on with their lives as normal. If we explain our experience to them, they might not understand. I really felt that things were not the same. After I was back, sometimes people really frustrate me. There are times when I feel I don’t want to live like I used to any more . No wonder so many people want to go back to Antarctica again, because you have complete freedom. When people hear this, they’ll say, but that’s not real life you know. It’s a dream land. This here is reality. Since I’ve only just returned recently, I’m still making sense of it all. I need some time to reflect on this.”
I asked her how she felt having conquered the summit of Mount Vinson. “I remember blurting out “Thank God it’s over.” Other team members were stunned to hear me say that other than congratulating myself. But it was never my plan to conquer this Mount. On my return, people congratulated me. But the truth is, anyone who’s been well prepared can scale the summit. It’s not a grand achievement or anything. If you think it is, what about people who don’t get to go climbing at all, but live their life with integrity every day? Shouldn’t they be prouder of themselves? My husband congratulated me too, saying how great I was and that he’s really proud of me. It got me thinking, if I didn’t climb that mount, does that mean the trip was unsuccessful?” She continued, “but the biggest impression is the fact that I’ve seen it, the land that all climbing guides refer to as their magical place. A place where they long to be back the most. I got to experience this faraway land, the last place on earth untouched by civilization. Where the sky is truly blue and the sun never sets in summer. Now I can’t say which one is real life. But I can say that once in my lifetime, I was really there.”
Behind the Success
To Fon, the most valuable lesson learned from this trip is that preparations are key to success. Without the help of these people, she would not have been able to successfully scale the summit of Mount Vinson:
– Kris Erickson and David Göttler, North Face athlete and IFMGA mountain guide, respectively
– Libby Peter, one of the UK’s most respected climbers and IFMGA mountain guide
– Garrett Madison from Madison Mountaineering, mountain guide who specializes in climbs on high altitude peaks.
จริงเหนือภาพฝัน … แอนตาร์กติกากับคุณฝน วินด์เซอร์-ไคลฟ์
พอพูดถึงการเดินทางแล้ว บางทีจุดหมายก็สำคัญน้อยกว่าระหว่างทาง… เราอาจจะได้ยินคำกล่าวนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่มีครั้งใดที่มันจะดูชัดเจนเท่ากับเมื่อตอนที่ได้ฟังเรื่องราวการผจญภัยครั้งล่าสุดของคุณฝน อุมาวร วินด์เซอร์-ไคลฟ์ ที่เธอเดินทางไปปีนเขาวินสันที่แอนตาร์กติกา ซึ่งดูแล้วเธอน่าจะเป็นผู้หญิงไทยคนแรกๆ ด้วยที่ได้พิชิตยอดเขานี้ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว เธอไม่ได้ตั้งใจไปเพื่อปีนเขาเก็บแต้มด้วยซ้ำ
แต่ถ้าคุณเคยได้ยินชื่อของฝน วินด์เซอร์-ไคลฟ์ มาบ้างแล้ว คุณจะเข้าใจว่าผู้หญิงคนนี้ใช้หัวใจนำทางเสมอ หลังจากรู้สึกเต็มที่กับชีวิตช่างภาพแฟชั่นแล้ว เธอก็หันไปเรียนต่อด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษ ซึ่งทำให้เธอได้พบรักกับไซมอน วินด์เซอร์-ไคลฟ์ แม้จะกลับมาอยู่เมืองไทยแล้ว เธอก็ไม่ปล่อยตัวให้ว่าง โดยไปเป็นอาสาสมัครกู้ชีพให้กับมูลนิธิร่วมกตัญญูและศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี ส่วนเวลาที่เหลือ นอกจากจะดูแลครอบครัวแล้ว เธอก็ยังสงวนเวลาไปทำสิ่งที่คุณพ่อของเธออยากให้เธอทำมาตั้งแต่เด็ก นั่นคือการเป็นนักบิน ฟังดูช่างเป็นชีวิตที่อยู่นอกแบบแผน แต่ก็เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่น่าประทับใจ
แต่แม้จะชื่นชอบกีฬาปีนเขามาเป็นทุนเดิม เป้าหมายของทริปแอนตาร์กติกากลับไม่ใช่การพิชิตภูเขาวินสันเหมือนคนอื่นๆ “อาจจะเป็นเพราะเราทำงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมาโดยตลอด แอนตาร์กติกาจึงเป็นที่ที่ต้องไปเห็นให้ได้ เพราะถ้าไม่ไปเห็นด้วยตาตัวเองก็กระไรอยู่ อยากเห็นว่าที่นี่มีผลกระทบกับโลกยังไง เพราะมันเป็นที่ที่มีน้ำแข็งมากที่สุดแล้ว น้ำแข็งที่เป็นน้ำจืดประมาณ 90% อยู่ที่ทวีปแอนตาร์กติกา น้ำจืด 70% ของโลกก็อยู่ที่นี่ด้วย นักวิจัยประมาณการณ์ไว้ว่าถ้าแผ่นน้ำแข็งด้านตะวันตกของแอนตาร์กติกาละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 16 ฟุต ซึ่งพอไปเห็นแล้วก็เข้าใจมากขึ้นค่ะเรื่องสิ่งแวดล้อม และทุกคนที่ไปก็ตระหนักเรื่องนี้กันมาก ก่อนออกจากแผ่นดินใหญ่ เขาจะให้เหยียบสารฆ่าเชื้อที่พื้นเลย เพราะที่นี่คือที่สุดท้ายแล้วบนโลกที่จะไม่ปล่อยให้มนุษย์ไปทำให้แปดเปื้อนอีก แต่จะไปถึงนั่นแล้วไม่ปีนเขามันก็ยังไงอยู่เหมือนกัน ก็เลยตัดสินใจปีนวินซันด้วย จะไปแบบนั่งเรือสำราญดูเพนกวิ้นก็คงไม่ใช่เรา เพราะเราอยากจะไปดูว่าเขาอยู่กันจริงๆ ยังไง”เมื่อตัดสินใจจองทริปเรียบร้อยไม่ทันไร บททดสอบแรกก็เผยโฉมออกมาในรูปแบบของการเตรียมตัว นอกจากจะต้องสรรหาอุปกรณ์เฉพาะทางที่ไม่ได้หาง่ายๆ เธอยังต้องเลือกไกด์ที่จะกลายมาเป็นผู้ที่เธอต้องฝากชีวิตไว้ในทริปนี้ด้วย “ก็คิดอยู่นาน สุดท้ายก็เลือกไปกับแกเร็ตต์ แมดิสัน เจ้าของบริษัท Madison Mountaineering เพราะดูจากสถิติแล้วเขาพาลูกค้าขึ้นไปถึงยอดเอเวอเรสต์ได้มากที่สุด แสดงว่าต้องเก่งทริป expedition ยาวๆ และน่าจะใจเย็นมาก ถ้าไปกับคนอื่นอาจจะไม่ถึงก็ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของจิตใจเหมือนกัน อีกอย่างคือบริษัทนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการมาก ไม่เหมือนกับบริษัทอื่น เขาให้เราทานแซลมอน ไข่ เนื้อสัตว์ และผักแช่แข็งทั้งที่เบสแคมป์และโลว์แคมป์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ ฝนว่าเคล็ดลับในการพิชิตยอดเขาได้อยู่ที่ตรงนี้เลยนะ ต้องกินอิ่ม นอนหลับ สำคัญมาก
อีกอย่างคือจากประสบการณ์แล้ว ไปกับไกด์เวสเทิร์นจะโอเคกว่าโลคัลไกด์ เพราะเขาจะเตรียมตัวดีมาก และเน้นความปลอดภัย ไม่เขียมเลย อุปกรณ์ต้องแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งจะทำให้เราทรมานน้อยลง ด้วยความที่มีคนเตือนไว้มากว่ามันหนาวมาก เราก็กลัวไม่ไหว ก็เลยไปเทรนก่อนที่ชาโมนิกซ์ ลองปีนมงต์บลองก์ดู เพราะความสูง ความกดอากาศและแรงลมน่าจะใกล้ๆ กัน ไปซ้อมใส่บู๊ตลากยางรถยนต์ขึ้นเขาแทนลากเลื่อนที่จะต้องลากจริงที่นู่น” นอกจากนี้ คุณฝนยังต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อไปปีนเขาในความหนาวเหน็บ ซึ่งแค่ขั้นตอนเตรียมตัวนี้กินเวลาถึงแปดเดือนล่วงหน้า
พอวันเดินทางใกล้เข้ามา บททดสอบใหม่ๆ ก็ดาหน้าเข้ามาลองใจไม่หยุด “ไปมาทั่วโลกแล้วไม่เคยมีทริปไหนเหมือนทริปนี้เลยค่ะ คนเตือนเยอะมาก ที่บ้านก็บอกว่าถ้าไม่ไหวก็ไม่ต้องไปนะ เรื่องเงินช่างมัน แต่เราก็รู้สึกว่าก็จองตั๋วไปแล้ว แล้วถ้าไม่ไปตอนนี้จะไปตอนไหนเพราะอายุก็มากขึ้นทุกวัน ก็เลยไปตอนนี้แหละ” แผนคือบินจากบ้านที่อังกฤษไปชิลี เพื่อขึ้นเครื่องบิน IL-76 TD ที่ผลิตในรัสเซียของบริษัท Antarctic & Logistics Expeditions หรือ ALE บริษัทเดียวที่ให้บริการการเดินทางจากปุนตา อเรนาส (Punta Arenas) สู่เทือกเขาเอลส์เวิร์ธ (Ellesworth Mountains) ในแอนตาร์กติกา โดยใช้เวลาบินประมาณ 4 ชั่วโมง 15 นาที และเปิดให้บริการระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมเท่านั้น “แต่พอจะไป เขาอีเมลมาบอกว่าอย่าเพิ่งออกจากอังกฤษนะเพราะอากาศแย่มาก บินไม่ได้ ซึ่งตรงนั้นอากาศมันแรงจริงๆ ค่ะ ถ้าวินโดว์ในการบินไม่พอ” ด้วยความที่ตั๋วขาไปเปลี่ยนไม่ได้ คุณฝนจึงตัดสินใจไปรอเวลาอยู่ที่ชิลีแทน “ไปถึงเขาก็มีกรุ๊ปหนึ่งที่ตกค้างอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเขาก็รอมาทุกวันและผิดหวังทุกวัน แบบวันนี้เตรียมตัวจะขึ้นเครื่องแล้วพอเดินไปเครื่องบิน นักบินบอกไม่บินละ บอร์ดดิ้งพาสมีนะ แต่ไม่ได้เขียนวันเวลาไว้เลย แค่ยังไม่ไปมันก็สอนบทเรียนตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่าไม่รู้จะหงุดหงิดไปทำไม เพราะช่วยไม่ได้ ผิดหวังทุกวันจนเลิกหวังไปแล้ว ขวัญและกำลังใจแย่มาก”
หลังจากดีเลย์ไปสัปดาห์หนึ่ง ก็ถึงเวลาเดินทาง ความประทับใจแรกนั้นไม่ใช่จุดหมาย แต่กลับเป็นเพื่อนใหม่ที่รวมตัวกันอยู่ที่นั่น “ฝนว่ามาถึงที่นี่ได้มีเงินไม่พอนะ ต้องบ้าด้วยนิดนึง เจอคนหนึ่งเข้าบอกว่าไปเคลมประเทศนึงเป็นของตัวเองมา ตอนนี้เป็นเจ้าของประเทศอยู่ คือเคยไปช่วยคนเซอร์เบียไว้แล้วไปเยี่ยมเขา แล้วไปเจอเกาะระหว่างเซอร์เบียกับอีกประเทศที่ไม่ได้เป็นของใคร ก็เลยเคลมเลย ตอนนี้มีพาสปอร์ตเป็นของตัวเองแล้ว ได้ข่าวว่าร่ำรวยมาจากบิทคอยน์ อีกคนอายุแค่ 35 เป็นคณบดีแล้ว แล้วก็มีนักบริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อีลอน มัสก์ ก็เคยอยากมานะ ให้มาสร้างเต็นท์พิเศษไว้แล้วก็เปลี่ยนใจ มันเป็นที่ที่รวมคนพิเศษไว้ในที่เดียว ซึ่งเขาก็เป็นพวกที่มีทุกอย่างในโลกแล้ว นี่ล่ะมั้งความท้าทายของเขา”
แล้วภาพแรกของแอนตาร์กติกาเป็นอย่างไร? “มหัศจรรย์มากค่ะ ตรงแคมป์ตรงยูเนียน กลาเซียนี่มองเห็นภูเขาอยู่ แต่เดินไปไมได้เพราะไกลมาก มันไม่มีอะไรมาเป็นตัวเปรียบเทียบเลย แล้วเงียบมาก เต็นท์ห่างกันแต่คุยกันนี่ได้ยินหมดนะ ขยับตัวก็ได้ยินแล้ว เพราะมันไม่มีอะไรเลย ไม่มีนก ไม่มีเครื่องจักร ต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์ว่าตรงนี้ไม่มีใครอยู่ เพราะไม่มีใครอยู่ได้ มันก็เลยเป็นประสบการณ์ที่พิเศษมาก ตื่นเช้าทุกเช้าคิดทุกวันเลยว่าทำไมเราโชคดีจังที่ได้มาอยู่ตรงนี้ ไม่มีคนเลย แอนตาร์กติกาน่าจะเป็นที่เดียวที่ไม่มีกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นประเทศของใคร มีแค่สนธิสัญญาร่วมว่าห้ามค้าขาย ให้มาเพื่อวิจัยหรือ expedition เท่านั้น ก็เลยกลายเป็นที่ที่พิเศษมากๆ”
จากเบสที่ยูเนียน กลาเซีย คนที่ต้องการพิชิตภูเขาวินสันต้องออกเดินสู่โลว์แคมป์ แล้วค่อยไต่ระดับขึ้นไฮแคมป์ตามลำดับ แม้จะไม่หวั่นกับการปีนภูเขาวินสันเท่าไหร่เพราะเป็นคนถนัดปีนเชิงเทคนิค แต่สิ่งที่เหนือความคาดคิดสำหรับคุณฝนคือวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทุกอย่าง “คิดว่าหนาวแน่แต่ไม่คิดว่าจะขนาดนี้ ลืมคำว่าลักชัวรี่ไปเลย เพราะมันไม่มี ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนคือชีวิตเปลี่ยนทุกอย่าง ตั้งแต่การกิน น้ำก็ไม่มีก็ต้องเอาหิมะมาต้ม แล้วพอถึงเวลาปีนจริงๆ เราจะใช้พลังงาน 6,500 แคลอรี่ต่อวัน ที่กินยังไงก็ไม่ถึง ขนาดกินเนยเป็นก้อนๆ ก็ยังไม่ถึง สุดท้ายเพื่อนบอกว่าให้นับแคลอรี่เลยไม่ต้องคิดเยอะ มันก็เลยกลายเป็นกินเพื่อให้มีชีวิตรอด ไม่คำนึงแล้วเรื่องความอร่อย” คุณฝนที่จบกอร์ดอง เบลอกล่าว “เพราะเวลาเหนื่อยนี่คือง่วงแบบจะหลับเลยนะ เพราะแค่รักษาอุณหภูมิของร่างกายน่าจะครึ่งนึงแล้ว น้ำต้มสองลิตรที่ต้มไว้ทุกวันก็ต้องกินให้หมดเพราะมันแห้งมากแต่เราไม่รู้ตัว เวลาเดินก็ให้หยุดเป็นระยะๆ แต่ไม่นานเพราะถ้าหยุดนานจะโดนหิมะกัด เหงื่อเราจะกลายเป็นน้ำแข็งเร็วมาก กางเต็นท์กว่าจะขุดให้เป็นร่องได้ก็ใช้เวลาและกำลังไม่น้อย ส่วนเรื่องเข้าห้องน้ำก็ต้องซ้อมก่อน เพราะมันจะเป็นท่อที่ต้องปัสสาวะลงไปให้ลงไปในขวดพอดี เสร็จแล้วก็ค่อยไปเทตรงจุดที่เขาปักธงไว้ ไม่ใช่ตรงไหนก็ได้เพราะเราต้องกินหิมะ ถ้าปวดกว่านั้นเขาก็จะมีถุงที่เป็นนวัตกรรมของนาซ่า ก็ไปจัดการตรงห้องน้ำซึ่งเป็นแค่ถังแล้วมีผนังขึ้นมานิดนึง เสร็จแล้วก็ซีลถุงแล้วแบกไปด้วย ลืมไปเลยเรื่อง dignity หรือ comfort แล้วทุกอย่างต้องแพ็กไลต์มาก อะไรไม่จำเป็นเอาออกไปให้หมด แปรงสีฟันยังหักครึ่งเลย เพราะเราต้องแบกทุกอย่างเอง ต้องลากเลื่อนด้วย มีเชื้อเพลิง มีเต็นท์ จนกลับมาแล้วมาดูชีวิตเดิมของเรา ได้แต่คิดว่าสิ่งไม่จำเป็นมันเยอะเกินไปไหม เราเลยกลายเป็นคนแพ็กน้อยลงครึ่งหนึ่ง ไปดินเนอร์ก็เตรียมตัวสิบนาทีเสร็จ ก็อยู่ได้ไม่เห็นเป็นไร เพราะหลายอย่างมันไม่ได้สำคัญกับเราไปเรียบร้อยแล้ว อยู่นั่นใส่เสื้อผ้าชุดเดียวซ้อนกันสามสี่ชั้นทุกวันยังอยู่ได้เลย” คุณฝนบอก “แล้วทุกอย่างต้องคิดตลอด คิดว่าจะรอดยังไง การแพ็กของต้องเอาอะไรไว้ก่อนหลัง มันมีความหมายหมดเลย เพราะทุกอย่างมีผลต่อชีวิตหมด เราก็ต้องเตรียมตัวตลอด ซึ่งถ้าทริปนี้จะสอนอะไร น่าจะเป็นเรื่องการเตรียมตัวนี่ล่ะค่ะ การเตรียมตัวทุกอย่างสำคัญมาก”
แม้ท้ายสุดก็พิชิตยอดเขาวินสันได้สำเร็จ แต่สิ่งที่ดูจะหนักหนาว่าการเดินเป็นเวลา 8-10 ชั่วโมงทุกวันกลับกลายเป็นการต้องเผชิญหน้ากับตัวเอง “จำได้ว่าสะอื้นอยู่นานมาก ไม่รู้ว่าตัวเองดีใจที่ขึ้นมาได้ หรือดีใจที่มันจบลงซะที และทุกคนตรงนั้นก็สะเทือนใจมากค่ะ เพราะระหว่างที่เดินทุกวัน ไม่มีใครได้คุยกันอยู่แล้วเพราะต้องเดินห่างกันสี่เมตรเพื่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นมันเป็นการเดินในภาวะเงียบๆ นานมาก สิ่งที่เราไม่เคยคิดหรือไม่อยากจะคิด มันกลับมาหมด มันต้องคิด อะไรที่เราหลบหนี มันมาแรงมาก แล้วเราจะรู้สึกเลยว่าทำไมเราไม่เคยคิดจะแก้ปัญหาตรงนี้ ทุกคนจะทรมานกับตรงนี้มากกว่า ถามดูถ้านั่งวันนี้มีกี่นาทีที่จะไม่มีอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจ แทบจะไม่มีเลยนะ แต่ตรงนั้นคือไม่มีเลย เป็นภาวะที่ทำอะไรไม่ได้ยกเว้นเดิน สมองก็ต้องคิด บางคนก็ชอบเพราะได้รู้จักตัวเองจริงๆ ไม่ได้แปลว่าแก้ปัญหาได้นะ แต่อย่างน้อยได้เปิดใจรับปัญหาตรงๆ กลับมานี่คิดถึงขนาดว่าจะบอกลูกว่าไม่ต้องมีครอบครัวดีไหม เพราะมันเป็นเรื่องความผูกพันเหมือนกันนะ เป็น ‘ห่วง’ ที่เราไม่สามารถปล่อยวางได้ พอเราอยู่ตรงนั้นมันไม่มีไง มันตัวคนเดียว ก็ต้องอยู่ให้ได้ ขนาดนั้นเลย มองโลกเปลี่ยนไปเลย เพราะตอนเราอยู่ในสถานการณ์นั้นคือมันไม่มีอะไรแล้ว ก็เลยคิดว่าอย่าให้ลูกมีภาระเลยดีมั้ย คอนเซ็ปต์ง่ายมากคืออะไรที่เราแบกไป เราต้องแบกเอง นอกจากของแล้วยังเป็นความทรงจำ ปัญหา ห่วงต่างๆ ของยังวางได้ แต่อันนี้วางไม่ได้เลย ตัดยาก เป็นความรู้สึกที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน แล้วกลับมารู้สึกเลยว่าวิธีการมองโลกเราเปลี่ยนไปเลย” คุณฝนเล่า “กลับมานี่พวกโปรถามคำแรกเลยว่าพอได้กลับมาสู่โลกแห่งความจริง (re-entry) แล้วเป็นไงบ้าง ตอนได้ยินตอนแรกเราก็งงนะ แต่ก็เริ่มเข้าใจ เพราะกลับมาได้เห็นเก้าอี้คือแทบน้ำตาไหล เพราะที่นั่นไม่มีเลย เจอห้องน้ำแบบมีชาวเวอร์นี่อาบน้ำวันละสี่รอบ พอมานอนก็ได้ยินเสียงเพลงเหมือนคอนเสิร์ตดังมาก ก็คิดว่าใครบ้าป่าวเล่นอะไรตอนนี้เที่ยงคืน มารู้ทีหลังว่าเสียงที่เราได้ยินมาจากแค่วิทยุ แต่มันดังมากสำหรับเราในตอนนั้น รู้เลยว่าร่างกายของเราจากในภาวะที่เงียบสนิทไม่มีอะไรเลย ตอนนี้ทุกอย่างได้ยินหมดเลย นอกจากนี้ ตอนไปเราใช้พลังงานเยอะมากทุกวันติดต่อกัน อยู่ดีๆ หยุดนี่ร่างกายอาจช็อกได้ ก็เลยต้องหาอะไรทำเพื่อออกแรงให้ร่างกายปรับตัว เพราะถ้ากลับมาแล้วไม่เทรนร่างกายต่อ ภาวะเคมีในร่างกายอาจจะเสียสมดุลได้ ในเรื่องจิตใจก็เหมือนกันค่ะ ฝนเลือกอยู่ชิลีต่ออีกหนึ่งสัปดาห์เพื่อปรับตัว เพราะเราไม่พร้อมที่จะเจอครอบครัว เจอคนเยอะๆ แล้วพอกลับมาลอนดอนก็ซึมไปพักหนึ่งจริงๆ ไกด์อธิบายว่าตอนที่เราอยู่ที่นั่น ชีวิตคนอื่นเขาก็ดำเนินไปเรื่อยๆ เหมือนเดิม เวลากลับมาแล้วอธิบายให้ฟัง คนอื่นก็อาจจะไม่เข้าใจนะ ซึ่งเราเองก็รู้สึกเลยว่าไม่เหมือนเดิมจริงๆ พอกลับมาอยู่ในชีวิตเดิมแล้ว ได้เจอผู้คน บางทีถึงกับหงุดหงิดเลยนะ บางทีรู้สึกว่าไม่อยากกลับเข้ามาในชีวิตเดิม ไม่แปลกเลยที่ทำไมหลายคนไปแล้วแล้วรู้สึกอยากกลับไปอีก เพราะมันคือที่สุดของอิสรภาพแล้ว แต่ใครที่ได้ฟังก็บอกว่าเออ ที่นั่นมันไม่ใช่ความจริงนะ มันเป็นดรีมแลนด์ ที่นี่สิชีวิตจริง ตอนนี้เพิ่งกลับมาก็ยังงงอยู่ ขอใช้เวลาตกตะกอนเรื่องนี้ก่อนค่ะ”
เมื่อถามว่ารู้สึกยังไงบ้างที่พิชิตยอดเขาวินสันได้ คุณฝนบอกว่า “จำได้ว่าพูดออกมาว่า Thank God it’s over คนอื่นในทีมก็งงว่าทำไมเราพูดแบบนั้น แทนที่จะแสดงความยินดีกับตัวเอง แต่เราก็ไม่ได้ตั้งใจมาเก็บแต้มไง กลับมาคนอื่นก็มาแสดงความยินดีนะ แต่จริงๆ แล้ว คนที่เตรียมตัวมาดีก็จะซัมมิตได้อยู่แล้ว มันไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรเลย ถ้าเห็นว่าอันนี้ยิ่งใหญ่มาก ฝนว่าคนที่ไม่ได้ไปปีนแล้วต้องดีลกับชีวิตประจำวันทุกวัน คนที่สามารถจะอยู่ในชีวิตแบบมีทำนองคลองธรรมนี่ไม่น่าภูมิใจกว่าเหรอ สามีก็แสดงความยินดี บอกเก่งมาก ภูมิใจในตัวเรามาก ก็ทำให้เราคิดเหมือนกันว่าการที่ไม่ได้ปีนมันแปลว่าไม่ประสบความสำเร็จหรือเปล่า” เธอบอก “แต่สิ่งที่ประทับใจที่สุดคือในที่สุดก็ได้เห็นค่ะ ดินแดนที่ไกด์ปีนเขาทุกคนบอกว่านี่แหละ เป็น magical place ของพวกเขา เป็นที่ที่พวกเขาอยากจะกลับไปมากที่สุด ได้ไปสัมผัสกับตัวเองว่าดินแดนอันแสนห่างไกลไร้อารยธรรมมนุษย์แห่งสุดท้ายของโลกนั้นเป็นอย่างไร ที่ที่ฟ้าเป็นสีฟ้าและดวงอาทิตย์ไม่เคยลับขอบฟ้าในฤดูร้อน ตอนนี้ก็ไม่รู้หรอกนะว่าอันไหนคือชีวิตจริง แต่ครั้งหนึ่งในชีวิต เราได้ไปอยู่ที่นั่นจริงๆ”
Behind the Success
สำหรับคุณฝนแล้ว เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดที่เธอเรียนรู้จากการเดินทางครั้งนี้คือ ‘การเตรียมตัว’ นั้นสำคัญที่สุด และทริปนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากปราศจากบุคคลเหล่านี้ที่ช่วยเธอเตรียมตัวให้พร้อมพิชิตยอดเขาวินสัน
– Kris Erickson และ David Goettler ทีมนักกีฬาจาก North Face และไกด์ IFMGA
– Libby Peter นักปีนเขาอาชีพระดับแถวหน้าของอังกฤษและไกด์ IFMGA
– Garrett Madison จาก Madison Mountaineering ลีดไกด์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขาในพื้นที่สูง