Five Things I Did Not Know About Milan

Share this article

เรื่องเล็กๆ ที่ผมค้นพบจากการเดินทางไปมิลานครั้งแรกของผม
บทความ: รักดี โชติจินดา ภาพเปิด: Shutterstock

[ English ]

ด้วยความที่ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศเพราะเรื่องงานอยู่เป็นระยะ คนที่รู้จักผมส่วนมากจึงมักจะอนุมานไปเองว่าผมเคยไปมิลานมาแล้ว แต่ในความจริงแล้วผมเพิ่งจะมีโอกาสได้ไปมิลานเป็นครั้งแรกในชีวิตเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง ดังนั้นผมจึงทำตั๋วเครื่องบินให้ตัวเองไปถึงมิลานก่อนงานจะเริ่ม 2 คืนเพื่อที่ผมจะได้ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวและเดินดูสิ่งต่างๆ พอให้เรียกได้ว่าเราเคยมามิลานแล้วนะ ระหว่างที่ผมอยู่ที่นั่นก็ได้เห็น ได้อ่าน ได้พูดคุยกับผู้คนจนได้เรียนรู้หลายเรื่องที่ผมนึกไม่ถึงมาก่อนโดยบังเอิญ จนนำมาสู่การเขียนบทความ 5 สิ่งที่ผมไม่เคยรู้เกี่ยวกับมิลานบทความนี้ในวันชาติอิตาลี 2 มิถุนายนพอดี

กาแฟจากเครื่องเอสเพรสโซ่ (ภาพ: Shutterstock)

เรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือเรื่องของกาแฟเอสเพรสโซ่ซึ่งที่จริงก็ดื่มอยู่ทุกวัน และรู้ว่าต้นกำเนิดคือประเทศอิตาลี แต่กลับไม่รู้ว่าถ้าจะเจาะจงถึงระดับเมืองแล้วก็ต้องบอกว่ามิลานนี้เองเป็นบ้านเกิดของเอสเพรสโซ่ เพราะลุยจิ เบสซาราชาวมิลานเป็นผู้คิดค้นเครื่องทำกาแฟแบบเอสเพรสโซอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1901 แต่ด้วยความที่ลุยจิเป็นนักประดิษฐ์ที่ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย เดซิเดริโอ ปาโวนีจึงมาขอซื้อสิทธิในดีไซน์ของลุยจิไปพัฒนาต่อและผลิตขายเป็นวงกว้างในชื่อแบรนด์ La Pavoni โดยที่ลุยจิก็ยังคงมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องเอสเพรสโซนั้นต่อไปด้วย

โดมที่จุดศูนย์กลางของ Galleria Vittorio Emanuele II

หลังจากที่เห็นภาพ Galleria Vittorio Emanuele II มานับครั้งไม่ถ้วน ผมก็ได้ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แบบด้วยการมาเยือนช้อปปิ้งอาร์เคดที่เก่าแก่ที่สุดของมิลานแห่งนี้ซึ่งเปิดให้บริการมา 147 ปีแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 เมื่อทุกคนเดินเข้ามาถึงตรงกลางก็จะพบกับลานรูปทรงแปดเหลี่ยมอยู่ใต้โดมกระจก และมีคนจำนวนมากไปยืนล้อมโมเสกรูปวัวบนพื้นที่มีความเชื่อกันว่าเมื่อเหยียบตรงนั้นของน้องแล้วหมุน 3 รอบจะโชคดี เรื่องนี้ผมเคยอ่านเจอก่อนไปถึงแม้ว่าจะไม่ได้สนใจอะไร แต่สิ่งที่ได้ไปรู้ตอนอยู่ที่มิลานแล้วคือหากเราแหงนหน้าขึ้นไปดูข้างบนจะพบว่าหน้าบันของแต่ละอาคารภายใน Galleria Vittorio Emanuele II มีรูปโมเสกที่บอกเล่าถึงทวีปหลัก 4 ทวีปของโลกตามมุมมองของคนในสมัยก่อน ได้แก่ ยุโรป อเมริกา แอฟริกาและเอเชีย ถ้าถามว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อะไรกับชีวิตไหมก็ต้องตอบว่าไม่ แต่ก็ขอจัดให้อยู่ในข่าย “ประดับความรู้” ก็แล้วกัน

หน้าบัน 4 ด้านที่มีภาพโมเสกของทวีปต่างๆ

อีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมของมิลานที่ผมอยากเห็นด้วยตาตนเองก็คือภาพวาด The Last Supper ของลีโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งแม้จะผ่านการบูรณะมาหลายครั้งจนแทบไม่เหลืออะไรที่เป็นของดั้งเดิมแต่ก็ยังคงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่ดี ภาพวาด The Last Supper นี้อยู่บนผนังโรงอาหารของสำนักสงฆ์คณะโดมินิกัน ติดกับวัดซานตามารีอาเดลเลกราเซีย ปัจจุบันห้องที่มีภาพวาดนี้ได้รับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างจริงจังด้วยการใช้ประตูกั้นอากาศมากถึง 3 ชั้นก่อนที่เราจะเข้าถึงตัวห้องจริง ทั้งยังมีการจำกัดจำนวนผู้เช้าชมในแต่ละรอบ และมีการกำหนดเวลาให้เข้าชมได้รอบละ 15 นาที

ตั๋วเข้าชมภาพวาด The Last Supper ซึ่งซื้อยากกว่าที่คิด

ปัญหาเริ่มตรงนี้ ผู้สนใจเข้าชมจะต้องซื้อตั๋วซึ่ง Museo del Cenacolo Vinciano (พิพิธภัณฑ์ภาพวาด The Last Supper ของลีโอนาร์โด ดาวินชี) จะทำการขายตั๋วล่วงหน้าครั้งละ 3 เดือน เช่น ตั๋วของเดือนพฤษภาคม มิถุนายนและกรกฎาคมจะเริ่มขายตั้งแต่เดือนมีนาคม ถ้าคุณวางแผนช้าหรือตัดสินใจช้าแล้วกดเข้าไปซื้อในเว็บของพิพิธภัณฑ์ช้าก็จะพบว่าตั๋วขายหมดแล้ว แต่ในขณะเดียวกันถ้าคุณกดเข้าไปดูในเว็บของทัวร์ต่างๆ จะพบว่าบริษัททั้งหลายยังมีกรุ๊ปที่พาคุณเข้าชมภาพ The Last Supper ได้โดยมีวันและเวลาให้เลือกพอสมควร ซึ่งนี่คือวิธีการแก้ปัญหาที่ผมต้องยอมรับ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีทางเข้าไปได้ แต่ในขณะเดียวกันผมก็คิดด้วยว่าการที่ทางวัดขายตั๋วจำนวนน้อยให้กับประชาชนโดยตรงและขายตั๋วจำนวนมากให้กับบริษัททัวร์แบบนี้เป็นการจัดการที่เป็นเชิงพาณิชย์เกินไป จนในที่สุดผมก็หาคำตอบได้แล้วว่าพิพิธภัณฑ์ที่กำกับการเข้าชมภาพ The Last Supper แห่งนี้บริหารจัดการโดยหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ใช่โดยวัดหรือคณะนักบวชแต่อย่างใด ถ้าอย่างนั้นก็จบ หยุดคิดมาก หยุดรู้สึกไม่โอเคได้

ภาพวาด The Last Supper ของลีโอนาร์โด ดาวินชี

และไหนๆ ก็ต้องซื้อทัวร์ใดทัวร์หนึ่งเพื่อเข้าไปชมภาพ The Last Supper แล้ว ผมจึงเลือกซื้อวอลค์กิ้งทัวร์แบบที่มีไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวที่ไม่รู้จักกันจำนวนหนึ่งเดินไปยังสถานที่ต่างๆ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาหรือความสำคัญเสียเลย แลนด์มาร์คหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการเดินจากวัดซานตามารีอาเดลเลกราเซียก็คือปราสาทซฟอร์เซสโก้ที่มีลักษณะเหมือนป้อมปราการใจกลางเมือง (หากมองในเชิงภูมิศาสตร์จากแผนที่โดยไม่ใช้ย่านใดย่านหนึ่งในปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง) ขณะที่เราเดินอยู่ภายในนั้นผมก็เกิดตาดี เงยขึ้นไปเห็นตรารูปงูอยู่บนหอคอยด้านหนึ่ง ดูแล้วเหมือนกับที่เคยเห็นในโลโก้ของรถ Alfa Romeo เมื่อสอบถามกับไกด์จึงได้รับคำตอบว่าผมไม่ได้มโนไปเอง เพราะ Alfa Romeo ถือกำเนิดขึ้นที่มิลาน โลโก้ของ Alfa Romeo ประกอบด้วยรูปไม้กางเขนสีแดงบนพื้นหลังสีขาวซึ่งเป็นตราประจำเมืองมิลาน และข้างกันเป็นรูปงูซึ่งเป็นตราประจำตระกูลวิสคอนติที่ปกครองนครมิลานในยุคศตวรรษที่ 14

Alfa Romeo Giulia Quadrifoglio
Alfa Romeo Giulia Quadrifoglio

มาถึงจุดนี้ผมก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าภาพมิลานที่อยู่ในหัวของผมตั้งแต่เด็กจนโตนั้นมีแต่ภาพดูโอโม่และภาพสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น ผมไม่เคยคิดถึงมิลานในมุมเศรษฐกิจเลย สอดคล้องกับบทสนทนาของผมกับคุณลุงคนขับรถ Uber ช่วงเช้าของวันนั้นว่าที่จริงแล้วมิลานเป็นศูนย์กลางด้านการเงินและการธนาคารของอิตาลี ตลาดหลักทรัพย์ของอิตาลีก็ตั้งอยู่ที่มิลาน บริษัทชื่อดังจำนวนมากก็มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่มิลาน และมิลานไม่ได้มีเฉพาะอาคารเก่าแก่ แต่ยังมีย่านสำนักงานที่เป็นตึกสูงด้วย เรียกว่าย่านปอร์ตานัวว่า (Porta Nuova หรือแปลเป็นอังกฤษได้ว่า “New Gate”) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางด้านเหนือของเมือง ภารกิจจริงที่ผมต้องไปทำในทริปนี้ก็อยู่ในย่านดังกล่าว แต่ด้วยตารางงานที่ต่อเนื่องกันเกือบทั้งวันและฝนที่ตกแบบไม่แรงแต่ไม่หยุด ผมจึงไม่มีโอกาสเดินสำรวจย่านนี้แม้แต่น้อย ได้แค่นั่งรถเข้าไปทำงานแล้วก็นั่งรถกลับออกมาโรงแรมเท่านั้น ก็ไม่เป็นไร เอาไว้ถ้าในอนาคตมีโอกาสได้กลับไปทำงานที่มิลานอีกก็จะเปลี่ยนจากการเข้าวัดเข้าพิพิธภัณฑ์มาดูความเจริญดูสถาปัตยกรรมสมัยใหม่บ้างอะไรบ้างนะครับ

ย่านอาคารสำนักงานที่เป็นตึกสูงของมิลาน (ภาพ: Shutterstock)

บทความที่เกี่ยวข้อง: Five Iconic Italian Brands to Know


As a first-time visitor to Milan, I came upon a few surprise discoveries that may be of interest to future travelers.

Words: Ruckdee Chotjinda Opening Photo: Shutterstock

My frequent overseas business trips led most of my acquaintances to assume, quite wrongly, that I have been to Milan. In fact, I have just made my first visit to that city this March, and I made arrangements to stay on my own for two nights so I could play tourist and do a reasonable amount of sightseeing. While there, I chanced upon conversations and information that I found interesting enough to be compiled into this article on the occasion of Italy’s National Day on 2 June.

An espresso shot being pulled (Photo: Shutterstock)

The first discovery has to do with espresso, which I have two to three each day. I knew in the back of my mind that espresso originated in Italy, but I did not know that Milan is home to espresso! The espresso machine as we know it today was first invented in 1901 by Luigi Bezzera. As an inventor, he lacked the fund to fully commercialize the design so the patent was bought by Desiderio Pavoni who had the machines produced and marketed widely under the La Pavoni brand name, with Bezzera continuing to be involved in its development.

Tourists entering Galleria Vittorio Emanuele II from the Duomo side

After seeing pictures of Galleria Vittorio Emanuele II for countless times, it was my turn to become a perfect tourist by visiting this 147-year-old shopping arcade, which opened in 1877. Regardless of the entrance you use, you will eventually arrive at its central octagonal space under a glass dome. Here, you would see people gathering around a mosaic of a bull on the floor. The story goes that luck would be yours if you place your heel on the bull’s private part and spin three times. I read about this prior to my trip but did not care about it. What I discovered while there, though, is that the pediments of the four buildings converging there feature mosaics that depict the four major continents of the world as known to people of the time: Europe, America, Africa, and Asia. While this is not a particularly useful bit of information, I should still categorize it as a cultural trivia which is kind of cool to know.

One of the four lunettes with mosaic depiction of the continents

Another cultural heritage of Milan that I wanted to see with my own eyes is The Last Supper by Leonardo da Vinci. Despite numerous restorations that have left little of the original, it still holds historical value without a doubt. The globally-famed mural painting is on the wall of the refectory of the Dominican convent next to the Santa Maria delle Grazie. Today, the room housing this painting is protected with three layers of airlock doors in order to control temperature and humidity. Visitors are admitted in a group of a predetermined size, with a time limit of 15 minutes per session.

The last airlock door regulating temperature and humidity for “The Last Supper”

This is where things get a little bit complicated. Tickets must be purchased in advance, and they are sold by Museo del Cenacolo Vinciano in batches of three months. For example, May, June, and July tickets are sold from March. If you do not decide quickly on a date or decide to make a visit close to the actual day, you will find that the tickets are all sold out on the museum’s website. However, if you check with the various tour operators, you will still discover availability with plenty of date and time choices to choose from. This was the solution I had to accept otherwise I would not have been able to get in. At the same time, I could not help but feel that the church was being too commercialized in selling fewer tickets to the public and more to the tour operators. And I was determined to know more about the background to this setup. Eventually, I found out that the museum managing The Last Supper is run by a government agency, not the church or priests. That put an end to whatever it was that was going on in my mind before the visit.

The refectory that is home to “The Last Supper” mural painting by Leonardo Da Vinci

And since I had to book a tour anyway to see The Last Supper, I opted for the kind of walking tour with a local guide taking a group of tourists who do not know each other to various sites while explaining their history and significance. One landmark on the route from Santa Maria delle Grazie is the Castello Sforzesco which is essentially a fortress in the center of the city (geographically speaking as seen on the map, not in relation to any modern neighborhood in particular). While wandering inside, I could not help but noticed a snake emblem on one tower – its resemblance to the Alfa Romeo logo was very obvious. My guide for the afternoon confirmed that I was not imagining things. Alfa Romeo was founded in Milan. Its logo features the city’s coat of arms of a red cross on a white background, together with the snake crest of the Visconti family who ruled Milan in the 14th century.

Alfa Romeo Stelvio (Photo: Alfa Romeo)
Alfa Romeo Stelvio (Photo: Alfa Romeo)

It was then that I had a realization. Milan in my mind from when I was young was a conjecture of images like the Duomo and the other places I wrote about above. I never looked at Milan from the economic perspective, at least not until that same morning when an elderly Uber driver pointed out to me that Milan is in fact the financial and banking center of Italy, and home to the Italian stock exchange and the headquarters of many renowned companies. Milan is not all about historical buildings. There are districts with high-rise office buildings as well, like the Porta Nuova or the New Gate in English which is to the north of the city. The actual work I came to do in Milan was also in Porta Nuova. However, tight schedule and incessant rain made any side exploration impossible. I took a car ride in for work and then another back to the hotel and that was it. Well, there will always be a next time. I will be sure to switch from churches and museums to explore the what Milan has to offer in terms of contemporary architecture for a change. Thank you for reading!

The business district of Milan as seen from a distance (Photo: Shutterstock)

See also: Five Iconic Italian Brands to Know

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image