The Origin, the Intricacy and the Lasting Popularity of Mooncakes

Share this article

ความสำคัญ ความหมายของเทศกาลไหว้พระจันทร์ และความละเอียดอ่อนของขนมแห่งเทศกาลนี้
บทความ:
ลภีพันธ์ โชติจินดา ภาพ: ทินกร วงเบญจศิลป์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ Mid-autumn Festival หรือ จงชิวเจี๋ย (中秋节) ในภาษาจีนกลางนับว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเทศกาลตรุษจีนของชาวจีนเลยแม้แต่น้อย โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตำนานของเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นก็มีมากมายที่เล่าขานสืบต่อกันมา แต่เรื่องราวที่โด่งดังและเป็นที่จดจำมากที่สุดก็น่าจะเป็นตำนานความรักของ “โฮ่วอี้” (后羿) และ “ฉางเอ๋อร์” (嫦娥) ภรรยาของโฮ่วอี้

โฮ่วอี้เป็นวีรบุรุษผู้มีความเก่งกล้าและมีทักษะในการยิงธนูที่ช่วยมนุษยชาติด้วยการดับพระอาทิตย์ทั้ง 9 ดวงจาก 10 ดวง เหลือไว้เพียงดวงเดียว และเทพเจ้าได้ประได้รับยาอายุวัฒนะให้แก่โฮวอี้ วันหนึ่งมีคนร้ายต้องการที่จะขโมยยาอายุวัฒนะนี้ในขณะที่ฉางเอ๋อร์อยู่เพียงลำพัง เพื่อป้องกันไม่ให้ยาอายุวัฒนะนี้ตกไปอยู่ในมือคนร้าย ฉางเอ๋อร์จึงได้กินยาอายุวัฒนะนั้นเข้าไป จากนั้นร่างฉางเอ๋อร์ก็ล่องลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าและไปสถิตอยู่บนดวงจันทร์ โฮ่วอี้เศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของภรรยาเป็นอย่างมาก จึงได้จัดเครื่องเซ่นไหว้และขนมหวานที่ฉางเอ๋อร์เพื่อชื่นชอบรำลึกถึงภรรยาผู้เป็นที่รักในคืนเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงและสว่างไสวที่สุด

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เชฟ ตัน กวางอิ๊ก (Tan Kwang Aik) หัวหน้าพ่อครัวใหญ่ห้องอาหารจีน Shang Palace โรงแรม Shangri-La Bangkok

นอกจากนี้เทศกาลไหว้พระจันทร์ยังเกี่ยวข้องกับช่วงสิ้นสุดฤดูกาลการเก็บเกี่ยวพืชผลของชาวไร่ชาวนาของจีน การไหว้พระจันทร์และขนมไหว้พระจันทร์จึงเป็นเสมือนการขอบคุณเทพยดาสำหรับผลผลิตในปีที่ผ่านมา และเป็นการขอพรเพื่อความอุดมสมบูรณ์และความโชคดีในปีต่อๆ ดังนั้นการไหว้พระจันทร์จึงถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์และมั่งคั่ง อีกทั้งในประเทศจีนยังถือเป็นเทศกาลใหญ่ที่ผู้คนจะกลับไปยังบ้านเกิด ได้ร่วมฉลองเทศกาล ร่วมรับประทานอาหารและขนมไหว้พระจันทร์และชื่นชมความงดงามของพระจันทร์ร่วมกัน

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เชฟ ศักรินทร์ คันสร พ่อครัวติ่มซำโรงแรม Shangri-La Bangkok สาธิตการทำเปลือกขนมไหว้พระจันทร์
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เชฟ ศักรินทร์ คันสร พ่อครัวติ่มซำโรงแรม Shangri-La Bangkok สาธิตการทำเปลือกขนมไหว้พระจันทร์

ส่วนขนมไหว้พระจันทร์นั้นก็เป็นดั่งสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ และความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในครอบครัวนั่นเอง รูปทรงกลมของขนมไหว้พระจันทร์ไม่เพียงสื่อถึงพระจันทร์เท่านั้น ไส้ต่างๆ ของขนมเองก็สื่อถึงความหมายที่หลากหลายด้วยเช่นกัน อาทิ เม็ดบัวหมายถึงความบริสุทธิ์ งาขาวหมายถึงลูกหลานเต็มเมือง ไข่เค็มหมายถึงความสุกสว่างเหมือนพระจันทร์ที่เต็มดวง ธัญพืชหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และโชคลาภ ฟักเชื่อมหมายถึงความหวานความสุขของชีวิต ส้มหมายถึงความโชคดี

Luxuo Thailand ได้รับเกียรติจากเชฟ ตัน กวางอิ๊ก (Tan Kwang Aik) หัวหน้าพ่อครัวใหญ่ห้องอาหารจีน Shang Palace และ เชฟ ศักรินทร์ คันสร (Sakkarin Kansorn) พ่อครัวติ่มซำโรงแรม Shangri-La Bangkok มาให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับขนมไหว้พระจันทร์ โดยเฉพาะเชฟศักรินทร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำขนมไหว้พระจันทร์ที่โรงแรม Shangri-La Bangkok มากว่า 30 ปี

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ขั้นตอนการนวดแป้งสำหรับทำเปลือกขนม
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ขั้นตอนการคลึงแป้งที่พิถีพิถัน
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ความบางของเปลือกขนมไหว้พระจันทร์
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ขัันตอนการห่อไส้ขนมไหว้พระจันทร์

เชฟ ตัน กวางอิ๊ก เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ขนมไหว้พระจันทร์ของตนว่า “สำหรับผม เท่าที่ผมได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั้งประเทศจีน อินโดนีเซีย (ในไชน่าทาวน์) และไทย ขนมไหว้พระจันทร์ในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันออกไป ขนมไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิมที่ผมเคยเห็นเป็นขนมไหว้พระจันทร์ขนาดใหญ่ไส้ อู่เหริน (五仁) ซึ่งเป็นไส้รวมธัญพืชหรือถั่วต่างๆ พร้อมแฮมยูนาน ซึ่งไส้เหล่านี้มีราคาสูงและความพรีเมี่ยมมาก และผมว่านี่คือขนมไหว้พระจันทร์แบบดั้งเดิม ทุกๆ ปีเพื่อนผมที่จีนจะส่งขนมไหว้พระจันทร์ชิ้นใหญ่ๆ มาให้ซึ่งด้านบนก็จะตกแต่งด้วยรูปพระจันทร์ ฉางเอ๋อร์ เทพธิดาแห่งพระจันทร์ และกระต่ายซึ่งเป็นสัตว์ที่เคียงคู่กับฉางเอ๋อร์บนดวงจันทร์”

รูปต่างๆ บนขนมนั้นปัจจุบันน่าจะมีไว้เพื่อความสวยงาม อย่างของ Shangri-La ก็จะมีโลโก้บนขนม อย่างในฮ่องกงอาจจะพบเห็นขนมไหว้พระจันทร์ที่มีตัวหนังสือจีนอยู่บนขนม เช่น คำถุย (Kam Tui) หรือ 金腿 หมายถึงไส้รวมธัญพืชและแฮมยูนาน ซึ่งเป็นการระบุว่าขนมนั้นเป็นไส้อะไร และ คำถุย ในภาษาจีนยังหมายถึง ขาทองคำ ซึ่งการมอบขนมไหว้พระจันทร์ไส้คำถุยให้กันนั้นก็เหมือนกับคุณมอบทองหรือของมีค่าให้กันนั่นเอง

เชฟ ตัน ยังกล่าวอีกว่า “ความแตกต่างของขนมไหว้พระจันทร์ในแต่ละประเทศนั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเฉพาะเปลือกของขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งหากคุณได้ลองชิมเปลือกของขนมไหว้พระจันทร์จากที่ต่างๆ ถ้ารู้สึกว่าเปลือกขนมนั้นแข็งและแห้ง แสดงว่าขนมไหว้พระจันทร์นั้นทำจากเครื่องจักร แต่ถ้าคุณได้ชิมขนมไหว้พระจันทร์ของที่โรงแรม Shangri-La Bangkok แล้วจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างเพราะเปลือกของเรานั้นมีความนุ่มนวล ไม่แห้งกระด้าง และมีความหอมกรุ่น เพราะขนมไหว้พระจันทร์ของเรานั้นปั้นมือทั้งหมดซึ่งเป็นขั้นตอนปฏิบัติที่เราทำมาตลอดระยะเวลา 30 ปี”

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ขั้นตอนการขึ้นรูปของขนมไหว้พระจันทร์
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
การทำขนมไหว้พระจันทร์ของที่โรงแรม Shangri-La Bangkok ยังคงเป็นวิธีดั้งเดิมมาตลอดระยะเวลา 30 ปี
Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ขนมไหว้พระจันทร์ก่อนเข้าอบ

ส่วนเชฟ ศักรินทร์ คันสร ได้เล่าให้เราฟังว่าสูตรขนมไหว้พระจันทร์นี้เป็นสูตรดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มทำ ไม่เคยมีการปรับสูตรแต่อย่างใด “ไส้หลักๆ จะมีสามไส้ ได้แก่ ไส้โหงวยิ้งที่นับว่าอร่อยที่สุด ซึ่งเป็นไส้พิเศษที่มีเครื่องเคียงถึง 18 อย่างด้วยกัน อาทิ ถั่วทั้งห้าได้แก่ อัลมอนด์ วอลนัท เม็ดแตงโม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และงาขาว ส้มเชื่อมที่ต้องนำเข้า แฮมยูนนานคุณภาพเยี่ยม ขิงดองแดง รากบัวเชื่อม ฟักเชื่อม เปลือกส้มจีน หมูแผ่น ไข่แดงเค็ม ใบมะกรูด เม็ดมะกอกที่มีราคาสูงมากถึงกิโลกรัมละ 6,000 บาท และอื่นๆ ส่วนไส้ทุเรียนหมอนทอง ก็เป็นไส้ที่ทางโรงแรมคัดเลือกวัตถุดิบเป็นพิเศษมาจากสวนทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี และไส้เม็ดบัวที่คนนิยมไม่แพ้กัน ส่วนไส้พิเศษอื่นๆ ก็จะทำเสริมและสลับในแต่ละปี เช่น ไส้ถั่วแดง ไส้อัลมอนด์งาดำ เป็นต้น”

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เครื่องเคียงส่วนหนึ่งของไส้โหวงยิ้งอันโด่งดังของโรงแรม Shangri-La Bangkok

เชฟ ศักรินทร์ ยังเล่าถึงความพิเศษและความพิถีพิถันของการทำขนมไหว้พระจันทร์ของ Shangri-La ด้วยว่า “ขั้นตอนการทำทุกๆ ขั้นตอนนั้นสำคัญ เช่น ขั้นตอนการผสมแป้ง ขั้นตอนการทำน้ำเชื่อมสำหรับทำเปลือกขนมไหว้พระจันทร์ เพราะสัดส่วนของส่วนผสมในน้ำเชื่อมที่เราต้ม อุณหภูมิที่ใช้ในการต้ม และระยะเวลาที่ต้มก็ต้องให้พอดี ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการสังเกต ซึ่งน้ำเชื่อมนี้ต้องทำล่วงหน้าและพักไว้สามเดือน โดยในน้ำเชื่อมนี้ยังมีส่วนผสมพิเศษที่ทำให้น้ำเชื่อมนั้นมีสีทองและยังช่วยในเรื่องของการถนอมอาหารอีกด้วย ส่วนขั้นตอนการทำไส้ขนมก็สำคัญเพราะเราจะกวนไส้เองเพื่อให้มั่นใจว่ามีความเหนียวที่พอดี ถ้าไส้ที่กวนมีความเหนียวที่ไม่พอดี เมื่อนำมาห่อกับแป้งพออบออกมาแล้วมันจะไม่เกาะกัน และโรงแรมของเรากวนไส้เองทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ปริมาณน้ำตาลให้หวานน้อยเท่าไหร่ก็ได้ ปริมาณน้ำมัน เราสามารถควบคุมได้หมด ซึ่งทำให้รสชาติถูกปากกว่าไปซื้อมาและปราศจากสารกันบูด”

นับเป็นเกียรติและเป็นความโชคดีที่เรามีโอกาสได้เห็นเบื้องหลังการทำขนมไหว้พระจันทร์ที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นขนมที่มีหน้าตาสวยงามสีทองน่ารับประทานและมีรสชาติที่กลมกล่อมให้เราได้ลิ้มรสกันนั้นต้องผ่านกระบวนการมากมายและยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทั้งการเคี่ยวน้ำเชื่อม การกวนไส้ และการปั้นขึ้นขนมรูปด้วยมือทั้งหมด เราจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านได้ลองลิ้มรสชาติขนมไหว้พระจันทร์ของโรงแรม Shangri-La Bangkok ซึ่งมีเพียงปีละครั้งเท่านั้น พร้อมบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามที่สามารถมอบเป็นของขวัญเพื่อส่งมอบความมั่งคั่งและความปราถนาดีให้กับคนที่คุณเคารพหรือคนที่คุณรักได้อีกด้วย สามารถสั่งจองและสั่งซื้อได้ที่โรงแรมโดยตรงตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 17 กันยายน ศกนี้

Luxury dining featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
(ภาพ: Shangri-La Bangkok Hotel)

บทความที่เกี่ยวข้อง: First Dior Spa in Southeast Asia Premieres on Eastern & Oriental Express

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image