เจลแอลกอฮอลล้างมือ นวัตกรรมที่ผู้คิดค้นส่งมอบให้เป็นของขวัญเพื่อสุขภาวะที่ดีของมวลมนุษยชาติ
บทความ: รักดี โชติจินดา
เมื่อพูดถึงสวิตเซอร์แลนด์คนก็จะคิดถึงนาฬิกากันก่อนเลย ทั้งที่ต้นกำเนิดของนาฬิกานั้นไม่ได้อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนนวัตกรรมสวิสจริงๆ นั้นคนกลับไม่รู้ว่ามาจากประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นฟอย์ลอลูมิเนียม เซลโลเฟนใสหรือแถบเวลโครที่หลายคนเรียกติดปากว่าตีนตุ๊กแก
เจลแอลกอฮอลที่เราใช้กันอย่างจริงจังในช่วงเวลาแห่งภัยไวรัสนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสร้างที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เช่นกัน อันที่จริงแล้วเราไม่รู้เรื่องนี้เลย เห็นก็กด เจอก็ใช้ โดยที่ไม่ได้คิดถึงที่มาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใครคิดค้นขึ้น จนกระทั่งทีมสิงคโปร์ของเราบอกว่าที่โลกมีเจลแอลกอฮอลใช้กันอย่างแพร่หลายนี้ โดยหลักแล้วก็เป็นเพราะความพยายามของคุณหมอชาวสวิสคนหนึ่ง ชื่อ ดิดิเยร์ ปีเต จากเมืองเจนีวา (@DidierPittet บน Twitter) และทีมงานของเขาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา
ข้อมูลทางด้านสถิติชี้ว่าในอดีตนั้นแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตเพราะโรคที่ติดเชื้อจากโรงพยาบาลปีละ 16 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ โรคมาลาเรียและวัณโรครวมกัน การติดเชื้อในโรงพยาบาลเคยเป็นสาเหตุของการตายอันดับสองในโลกตะวันตกหรือเทียบเท่ากับโรคหลอดเลือดสมอง
แต่ในความเป็นจริงแล้วเราควรจะลดตัวเลขดังกล่าวลงได้เป็นอย่างมากหากบุคลากรทางการแพทย์มีการดูแลให้มือของตนสะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณหมอดิดิเยร์ซึ่งใช้เวลาวิจัยเรื่องการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่นานหลายปีในช่วงทศวรรษที่ 1980 กล่าวว่า “เรื่องความสะอาดของมือนี้ที่จริงเป็นเรื่องพื้นฐาน ทุกคนก็รู้กันอยู่แล้ว ตอนเด็กๆ แม่ก็บอกให้ล้างมือก่อนหยิบอะไรกิน เราไม่ได้คิดค้นเครื่องสแกนใหม่หรืออะไรอย่างนั้น”
จากการศึกษาของคุณหมอและเพื่อนร่วมงานที่เป็นพยาบาลอีกสี่ท่านเมื่อปี ค.ศ. 1994 พบว่า บุคลากรทางการแพทย์นั้นยังล้างมือไม่บ่อยพอ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นไม่ล้างมือบ่อยเท่าที่ควรก็เพราะว่ากว่าจะเดินไปถึงอ่าง เปิดน้ำ ถูสบู่ ล้างสบู่แล้วเช็ดมือให้แห้งก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 นาที แล้วเมื่อคูณด้วยจำนวนครั้งที่ต้องล้างมือในแต่ละชั่วโมงนั้นก็เท่ากับว่าไม่ต้องทำงานกันแล้ว ก็จะต้องอยู่แต่หน้าอ่างกันเป็นเวลานานกว่าที่จะได้ทำงานจริง
คุณหมอดิดิเยร์จึงเกิดไอเดียว่าทำไมเราถึงไม่ใช้แอลกอฮอลล้างมือเสียเลย จะได้ไม่ต้องเดินไปที่อ่างล้างมือกัน และบังเอิญว่ามีเภสัชกรประจำโรงพยาบาลท่านหนึ่งชื่อวิลเลียม กริฟฟิธส์จากประเทศอังกฤษเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารละลายแอลกอฮอลอยู่แล้ว และยังเคยคิดค้นสูตรน้ำยาล้างมือที่ใช้แอลกอฮอลเป็นองค์ประกอบหลักมามากกว่า 50 สูตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 เมื่อครั้งที่เขายังทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลประจำรัฐฟรีบูร์กเพราะทางโรงพยาบาลขอให้เขาทดลองดู จากนั้นเมื่อเขาย้ายมาทำงานที่เจนีวาแล้วก็ยังมีการทดลองต่ออีก โดยคุณหมอดิดิเยร์เล่าว่า “วิลเลียมเขาพร้อมอยู่ก่อนแล้ว อย่างกับว่ารอวันที่ผมจะมาค้นพบเขาอย่างไรอย่างนั้นเลย เขานี่แหละคือบิดาแห่งแอลกอฮอลล้างมือเลย”
เมื่อทุกอย่างเข้าทางเช่นนี้แล้วจึงมีการเลือกแอลกอฮอลสูตรหนึ่งไปทดลองใช้ในปี ค.ศ. 1995 จนค่อยๆ เห็นผลชัดเจนว่าเป็นโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในการยกระดับสุขอนามัยของมือ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ล้างมือกันบ่อยขึ้น อัตราการติดเชื้อก็ลดลง และแอลกอฮอลล้างมือนี้ยังระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าสบู่ด้วยในขณะที่มีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย 99.9% ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่กว่าที่เจ้าหน้าที่จะหันมาใช้แอลกอฮอลล้างมือกันอย่างจริงจังนั้นก็ใช้เวลานานอยู่ ในระยะเวลาสามปีที่ทดลองกันนั้นมีอัตราการใช้แอลกอฮอลเพิ่มขึ้นห้าเท่าในขณะที่อัตราการติดเชื้อลดลงไปครึ่งหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็ยังมีการปรับสูตรให้กลายเป็นเจลแอลกอฮอลด้วยเพื่อลดปริมาณสารที่จะหกลงบนพื้น เจลแอลกอฮอลล้างมือและสูตรการล้างมือในห้าช่วงเวลาสำคัญที่ทางทีมนี้คิดจึงกลายเป็นรูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “เจนีวาโมเดล” ในที่สุด
บทความของคุณหมอดิดิเยร์ในหัวข้อความสะอาดของมือนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet ในปี ค.ศ. 2000 ทำให้มีแพทย์จากประเทศต่างๆ เดินทางมาดูงานที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวาเพื่อนำเจนีวาโมเดลนี้กลับไปปฏิบัติใช้บ้าง โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีการส่งเสริมให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้เจลแอลกอฮอลล้างมือหลังจากที่หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยแห่งชาติติดต่อมาทางคุณหมอให้ไปช่วยวางแผน
หลังจากนั้นคุณหมอผู้นี้จึงเริ่มออกเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2006 ในฐานะตัวแทนขององค์การอนามัยโลก เพื่อแนะนำให้คนรู้จักใช้เจลแอลกอฮอลล้างมือในโรงพยาบาลต่างๆ ทริปแรกของคุณหมอเป็นทริปไปยังแอฟริกา และเมื่อคุณหมอเดินทางไปตามแห่งต่างๆ ในประเทศเคนยาจึงได้ตระหนักว่าโรงพยาบาลแห่งต่างๆ นั้นต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อเจลแอลกอฮอลนี้ อันเป็นผลจากระบบการตั้งราคาของบริษัทยาบวกกับภาษีนำเข้าที่มีอัตราสูง
ทั้งหมดนั้นทำให้คุณหมอคิดว่าองค์การอนามัยโลกควรเผยแพร่สูตรการผลิตเจลแอลกอฮอลล้างมือในแบบไม่มีลิขสิทธิ์เพื่อให้แม้แต่ประเทศที่ยากจนที่สุดก็ยังสามารถผลิตใช้เองได้ในประเทศ ในที่สุดแล้วจึงมีการนำเสนอสูตรเจลแอลกอฮอลล้างมือถึงสองสูตรด้วยกัน โดยสูตรหนึ่งใช้เอธานอล 80% และอีกสูตรหนึ่งใช้ไอโซโพรเพนอล 75% ในเรื่องนี้ คุณหมอบอกว่า “ราคาไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อความสะอาดของมือ หากมาตรการป้องกันมีราคาแพงก็จะกลายเป็นมาตรการที่ไม่ได้ผล เจลล้างมือนี้จะต้องมีราคาถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
เจลแอลกอฮอลล้างมือเริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชนนอกโรงพยาบาลหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ในปี ค.ศ. 2009 เพราะว่ามีการแจกเจลแอลกอฮอลเป็นขวดให้กับแขกและนักข่าวที่มาร่วมประชุมใหญ่ประจำปีขององค์การอนามัยโลกที่เจนีวาในปีเดียวกันนั้น
ศ.นพ. ดิดิเยร์ ปีเต สามารถเป็นเศรษฐีพันล้านจากเจลนี้ได้ถ้าเขาเลือกที่จะเดินสายธุรกิจ แต่คุณหมอกลับเลือกเดินสายบุญคือเปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมโลกสามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างทั่วถึงกัน และช่วยรักษาชีวิตของผู้คนในวงกว้างมากกว่าที่จะสร้างผลตอบแทนให้ตนเอง
เรื่องราวชีวิตการทำงานของคุณหมอท่านนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Clean Hands Save Lives โดยเธียรี ครูเซต์ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ แล้วรวม 7 ภาษาและมีฉบับภาษาอังกฤษด้วย หากคุณซื้อหนังสือนี้หนึ่งเล่มจาก https://cleanhandssavelives.org/the-book/ มูลนิธิชื่อ Fondation Philanthropia จะทำหน้าที่บริจาคเจลแอลกอฮอลล้างมือหนึ่งขวดให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในประเทศที่ด้อยโอกาส ใครอยากทำบุญก็ช่วยกัน แต่จะทำไม่ทำไม่เป็นไร อ่านบทความนี้แล้วก็อย่าลืมเดินไปล้างมือด้วยแล้วกันครับ เพื่อสุขอนามัยที่ดีในวันนี้และวันหน้าครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Virtual Escapes to Museums of the World
One of the most indispensable everyday carry items during this pandemic time was invented in Switzerland.
Words: Ruckdee Chotjinda
Switzerland is the birthplace of several useful inventions like aluminium foil, cellophane and velcro although most people are not aware of this. Mechanical time-telling devices, ironically, were not of Swiss origin, but that is a story for another article.
The Swiss excellence we need to highlight today is the alcohol-based handrub – that great necessity we cannot do without in this time of global pandemic. Like members of the general public, we took it for granted, and used it without giving a thought as to how it was developed in the first place. It was our colleagues at Luxuo Singapore who showed us that the widespread use of alcohol-based handrub was primarily a labour of a Geneva native Didier Pittet (@DidierPittet on Twitter) and his team at the Geneva University Hospitals.
Statistically, hospital-acquired infections used to cost the life of 16 million patients yearly in the past. The number was greater than deaths from AIDS, malaria and tuberculosis combined. Nosocomial illnesses were the second most significant cause of death in the western world, tied with strokes.
That fatality rate could have been reduced drastically with improved hand hygiene on the part of medical personnel. “Hand hygiene is simple. Everyone understands about hands. We all learned
from our mothers to wash up before eating. We’re not inventing new scanners,” says the good doctor who spent years in the 1980s studying infection prevention in a hospital setting.
In a 1994 study he conducted with four nurse colleagues, it was found that medical personnel did not wash their hands frequently enough to be hygienic. One cause for the non-compliance was the time of one to two minutes it took to go to the sink, turn on the water, use the soap, rinse and dry. Multiplied by the number of occasions that they supposedly had to wash hands in an hour, the staff have been spending an impossible amount of minutes engaged in the routine.
Pittet thought to use alcohol on the hands so the staff would not have to make trips to the sink, and it just so happened that one of the pharmacists at his hospital is an expert on alcohol-based solutions. British William Griffiths concocted 50 variations of alcohol-based rinses for the hands as early as 1974 at the request of the Fribourg Cantonal Hospital he worked for at the time. He continued his experiment following his relocation to Geneva. “William was already prepared, as if he’d been waiting all this time for me to come and find him. He’s the father of the alcohol-based handrub,” recounts Pittet.
A formula was put to test use in 1995 and it gradually became clear that alcohol-based rinse was an effective hand hygiene solution – compliance improved and infections diminished. It also caused less abrasion on the skin when compared to soap, while destroying 99.9% of bacteria in a matter of seconds. The switch to alcohol, however, took about three years during which time alcohol handrubs were made available to hospital staff, its use rose by five times and the infection rate dropped by half. The solution was also tweaked into the gel form to minimise spillage. This alcohol-based handrub and the associated five critical moments for hand hygiene became known as the Geneva Model.
Pittet’s papers on the matter was published in The Lancet medical journal in 2000, drawing doctors from several countries to visit the Geneva University Hospitals so they could replicate the Geneva Model. Britain became the first country to promote the use of alcohol-based handrub to improve hand hygiene at all hospitals, after the National Patient Safety Agency got in touch with Pittet.
Pittet began to travel the world as a WHO delegate in 2006 to promote the use of alcohol-based handrubs at hospitals in various countries. His first trip was to Africa and it was in Kenya where he was upset to learn that hospitals were paying a lot for the product because of pricing by pharmaceutical companies, as well as high customs duties.
He decided then and there that the formula should be published by WHO in a patent-free manner so that even the poorest countries could produce the handrubs locally. In fact, two formulas were offered, one with 80% ethanol and one with 75% isopropanol. Pittet shared, “The price shouldn’t be an obstacle for hand hygiene. If a preventive measure is costly, it won’t work. The handrub has to be as cheap as possible.”
Outside of hospitals, alcohol-based handrubs came into the attention of the general population during the H1N1 influenza pandemic of 2009 after bottles were presented to guests and journalists attending the annual world assembly of WHO in Geneva.
Professor Didier Pittet could have become a billionaire if he chose to capitalise on this invention, but he chose the humanitarian/philanthropic approach instead, giving the world more chance to save lives.
His lifetime of work is retold in a book titled “Clean Hands Save Lives” by Thierry Crouzet, available in seven languages including English. For each copy purchased, the Fondation Philanthropia is providing a bottle of alcohol-based handrub to healthcare workers in a disadvantaged country. Find more info on the book at https://cleanhandssavelives.org/the-book/ and remember to watch your hands regularly!
See also:Virtual Escapes to Museums of the World