The Photojournalistic Push Towards Sustainable Conservationism

Share this article

สัมภาษณ์พิเศษคุณชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เจ้าของภาพน้องพะยูน “มาเรียม” ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลอย่างต่อเนื่อง
บทความ:
รักดี โชติจินดา ภาพ: ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัยและคณะ

[ English ]

World of Watches / Luxuo Thailand ได้รู้จักคุณชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ในงานแถลงข่าวเปิดตัวนาฬิกา Oris รุ่น Payoon Limited Edition ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากเรื่องราวของ “มาเรียม” ลูกพะยูนที่พลัดพรากจากแม่และเข้ามาเกยตื้นบริเวณชายฝั่งจังหวัดกระบี่ในเดือนเมษายนในปี ค.ศ. 2019 ภาพที่ชาวไทยและชาวโลกได้เห็นในช่วงเวลานั้นเป็นผลงานการถ่ายของนักอนุรักษ์ทางทะเลและช่างภาพสารคดีใต้น้ำชาวไทยดีกรีรางวัลระดับโลกท่านนี้ หลังจากงานแถลงข่าวดังกล่าวเราจึงทำนัดขอเข้าไปสัมภาษณ์คุณชินอย่างเป็นทางการด้วยความประทับใจในจิตวิญญาณแห่งการอนุรักษ์ การสร้างความตระหนักและการบริหารจัดการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเขา

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

ทุกวันนี้คุณชินมีทำงานในฐานะช่างภาพด้วยและก็เป็นนักอนุรักษ์ด้วย
ผมเป็นฟรีแลนซ์ มีสัญญาอยู่บ้างแต่ก็เป็นสัญญาจ้างแบบฟรีแลนซ์ครับ มีด้วยกันสองส่วน ส่วนของงานอนุรักษ์ผมก็จะเน้นงานทำงาน มีส่วนของโปรเจคใหญ๋ก็จะมีรับงานของ National Geographic ทั้งของไทยและของต่างประเทศ แล้ว Getty ก็คือถ้าเป็นสถานการณ์ข่าวผมก็เสนอเรื่อง ไม่ก็เขาก็สั่งให้ผมไปไหนมาไหน

คุณชินใช้ชีวิตช่วงมัธยมเรียนอยู่ที่นิวซีแลนด์ และเริ่มสัมผัสกับทะเลมากๆ ในช่วงนั้น ตอนนั้นอยู่เมืองอะไรครับ
ผมอยู่นิวซีแลนด์สองปี เมืองดันเอดินเป็นทะเลแล้วด้านหลังเป็นภูเขา เป็นเมืองมหาวิทยาลัย ตอนแรกอยากเรียนหมอ เมืองนั้นดังเรื่องการแพทย์ของที่นิวซีแลนด์ ตอนแรกคิดว่าจะเรียนไฮสคูลเสร็จแล้วต่อหมอเลยแต่ที่บ้านไม่ไหวก็เลยกลับไทย แล้วกลับมาเรียนนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ประมาณปีกว่าๆ เสร็จพอดำน้ำทำในไทยปุ๊บและก็ไปช่วยงานอาจารย์เวลาออกสนามพวกนี้บ้างก็รู้สึกว่าเราอยากอยู่กับสิ่งแวดล้อมมากกว่าก็เลยเปลี่ยนมาเรียนสิ่งแวดล้อมแทน

แล้วเริ่มถ่ายรูปจริงจังตอนนั้นเลยหรือเปล่าครับ
เปล่าครับ ผมเริ่มถ่ายรูปจริงจังหลังจากจบมหาวิทยาลัย ตอนนั้นคือผมไปทำงานกองหนัง เก็บเงินเป็นก้อนแรกๆ พอซื้อกล้องคอมแพ็คเล็กๆ ตอนนั้นผมย้ายไปอยู่เกาะเต่าทำงานแนวปะการัง เพราะงานหนังเป็นงานหนังฮอลีวู้ดก็จะแบบมาๆ ไปๆ ผมก็ไปทำงานกับเพื่อน พอดีตอนนั้นเพื่อนเสนอโครงการไปให้ สวส. (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม) ช่วงปี ค.ศ. 2012 คอนเซปท์เรื่องโซเชียลเอนเตอร์ไพรส์กำลังมา ผมเขียนโครงการร่วมกับเพื่อนที่เกาะเรื่องการให้ความรู้ผู้คนเกี่ยวกับเรื่องแนวปะการังแล้วก็ได้ทุนมาก็เอาไปลงที่โครงการนั้นและพัฒนาต่อกับเพื่อนอยู่สามปีก็ถ่ายรูปไปเรื่อยๆ ตอนที่อยู่เกาะครับ เป็นช่วงเริ่มถ่ายรูปเลยก็ว่าได้ คือผมเริ่มจากถ่ายรูปในน้ำเลยครับ  

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

แล้วกลายมาเป็นช่างภาพจริงจังได้อย่างไรครับ
ตอนนั้นน่าจะปี ค.ศ. 2014 National Geographic ของไทยมีงานแข่งประกวด 10 ภาพเล่าเรื่อง ผมก็ส่งงานเรื่องการทำอนุรักษ์แนวปะการังเกาะออกไปเป็นสตอรี่หนึ่ง เขาบอกว่าน่าสนใจ ก็คือเข้ารอบเป็นไฟนอลลิสครับ เสร็จแล้วเขาก็ถามว่าทำอะไรอยู่ ผมก็บอกเรียนต่อปริญญาโทเรื่องปลาฉลาม เขาบอกน่าสนใจ โอเคไปลองถ่ายมา ก็เริ่มแอสไซเม้นแรกเลยครับ ถ่ายมาเพื่อลงนิตยสารและตีพิมพ์ปี ค.ศ. 2016 ผมถ่ายประมาณสองปี

ที่เป็นฉลามเพราะมีความชอบอยู่ก่อนแล้วหรือเปล่าครับ 
มีความชอบอยู่ก่อนแล้วครับ คุณพ่อชอบเปิดสารคดีให้ดู ชอบเปิดหนังสือเพราะว่าคุณพ่อชอบเก็บหนังสือครับ เมื่อก่อนคุณพ่อเคยไปทำงานเซรามิกญี่ปุ่นมีเพื่อนเยอะ เวลาเพื่อนๆ มาเที่ยวไทยก็ซื้อหนังสือมาให้ เลยได้อ่านหนังสือพวกนี้ ดูรูป และตอนเด็กๆ ไปดำน้ำสนอร์คเกิลก็เจอด้วยก็รู้สึกว่ามันเท่ ก็หลายๆ อย่างครับ เมื่อก่อนไปตลาดปลาก็เห็นลูกฉลามในซุปเปอร์มาร์เก็ต แล้วเป็นคนชอบสัตว์ก็ขอเก็บกลับมาที่บ้าน ขอใส่ตู้แช่ช่องฟรีซไว้ดูว่าสัตว์ตัวนี้มันเท่ ตอนนั้นน่าจะช่วงอนุบาลก็มีฉลามแช่แข็งอยู่ในตู้ที่บ้าน เป็นฉลามที่ขายไว้เพื่อทำอาหาร เมื่อก่อนมันเยอะมาก ฉลามหัวค้อนนี่เรียงพรึ่บ เป็นยุคที่ประมงฉลามมากขึ้นเรื่อยๆ มีเอาไปโรงเรียนให้เพื่อนดูด้วย ตอนเล่าให้ National Geographic ฟังเขาชอบเรื่องนี้มาก

เคยลงน้ำไปเพื่อถ่ายรูปนานสุดแค่ไหนหรือติดต่อกันกี่วันครับ
ต่อเนื่องที่สุดก็ลงทุกวันนะครับ มีเป็นเดือน ปกติเวลาเราดำน้ำถังออกซิเจนอยู่ได้ไม่นานมากครับประมาณไม่ถึงชั่วโมง แต่ถ้าถามว่าแช่อยู่ในน้ำรอนานที่สุดน่าจะเป็นที่บาฮามาส มันมีแหล่งที่เป็นลูกอ่อนของปลาฉลามมะนาวที่มันเข้าอยู่ในป่าโกงกาง เพราะว่าเวลาน้ำขึ้นพวกมันจะหลบเข้าไปในป่า เพราะว่าแนวด้านนอกป่าปลาผู้ใหญ่เข้ามากินตัวอ่อน ฉลามหลายชนิดที่มันกินกันเองอยู่แล้วครับ ผมก็เลยต้องเข้าไปอยู่ในป่าแช่อยู่ในน้ำเพื่อเฝ้า ถ้ายุงเยอะก็ก้มหลบ ก็อยู่ตั้งแต่หัวน้ำขึ้นจนถึงหัวน้ำลงจำไม่ได้ว่ากี่ชั่วโมงแต่ก็สองรอบเพราะว่าแอตแลนติกเวลาน้ำขึ้นลงสองรอบครับ ก็มีออกมาพักหาอะไรกินแล้วก็กลับไป

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

ปกติคุณชินเดินทางกับคณะอย่างไรครับ
แล้วแต่งานครับ หลังๆ ถ้าเป็นงานธรรมชาติที่ไปอยู่นานๆ อาทิตย์สองอาทิตย์ผมชอบให้มีทีมน้องๆ เพื่อนๆ พอทำงานเข้าขากันก็ไม่ต้องบอกอะไรกันมาก เมื่อก่อนทำงานคนเดียว แลนด์โลจิสติกพวกนี้ต้องคิดคนเดียวจัดการเองหมดเลย หลังๆ พอเราทำงานด้วยกันนานเขาก็ได้จากเรา เหมือนมีคนคอยช่วย หลายๆ ครั้งถ้าเป็นคนอื่นมาเขาอาจจะมองประเด็นสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนเรา ทุกคนในทีมสำคัญมากสำหรับผมเพราะทุกคนเข้าใจประเด็นเหล่านี้ดี เป็นช่างภาพหนึ่ง อีกคนเป็นถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอ ไปด้วยกันบ่อย พอทำงานเรื่องประเด็นสิ่งแวดล้อมสำคัญที่เราต้องเข้าใจ และสำคัญคือต้องเข้าใจคนในพื้นที่ด้วย เพราะหลายๆ ครั้งถ้าใช้ช่างภาพที่ไม่ได้มาคลุกคลีกับเรื่องเหล่านี้มา พอไปทำงานไปพูดอะไรบางอย่างที่ไม่เข้าใจบริบทหรือว่าไม่เข้าใจธรรมชาติว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เราทำงานหนักขึ้นเยอะ  

เป็นคนใส่นาฬิกาติดข้อมือแค่ไหนครับ
ติดมากนะครับ แต่ถ้าปกติใส่ทุกวันจริงๆ ก็พูดตรงๆ ว่าผมมักจะใส่สมาร์ทวอช์ทเพราะว่าผมค่อนข้างกลัวจะทำเป็นรอยครับก็คือข้อกังวลหลักของผมเลย ถ้าให้เลือกปกติจะเลือกสมาร์ทวอช์ท เพราะจริงๆ สมาร์ทวอช์ทของผมเป็นรอยแตกหน้าจอด้วยนะ กระจกเซฟตี้ด้านหน้าแตกยังไม่ถึงด้านล่าง และมีคอมพิวเตอร์ นาฬิกาและก็มีเข็มทิศ ปัจจุบันนาฬิกาในน้ำจะใช้น้อยครับ แต่ก็ยังต้องมีเป็นแบ็คอัพไว้ครับ เป็นนาฬิกาอะไรก็ได้ที่มันจะไม่พัง จับเวลาได้ก็พอก็จบแล้ว ดูแค่ไทม์เมอร์เท่านั้นเองครับ แล้วก็เรืองแสงได้ก็ดี หรือไม่มีปุ่มเปิดไฟก็ได้

เริ่มรู้จักกับ Oris เมื่อปีอะไรครับ
เมื่อปี ค.ศ. 2016 ครับ ตอนนั้นเป็นรุ่นฉลามครับ Oris ติดต่อผ่าน National Geographic ประเทศไทย แล้วเงินบริจาคของ Oris ก็มาลงที่งานวิจัยฉลามซึ่งตอนนั้นยังมีทำวิจัยอยู่

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

การอนุรักษ์ที่ดีและยั่งยืนควรเป็นอย่างไร
จริงๆ ตอนนี้ผมก็คิดถึงเรื่องหลายๆ อย่างนะเช่น ในแวดวงการอนุรักษ์ระดับสากลชอบจะไปลงทุนอะไรหลายๆ อย่างในเรื่องนวัตกรรมที่ดูฉาบฉวย คือถ้าเอาเม็ดเงินไปแก้ปัญหาในภาคสนามหรือจัดการจริงๆ สนับสนุนให้เพียงพอจริงๆ ผมว่าได้ผลกว่าเยอะ นวัตกรรมไม่ใช่ไม่ดีนะครับ แต่ปัญหาจริงๆ ก็คือเรื่องการจัดการในภาคสนาม ผู้คน งบประมาณ การระดมเงินทุน หรือการเพิ่มการป้องกันในการควบคุมพื้นที่ ถ้าหากเม็ดเงินตรงนั้นเอามาลงได้ก็อาจจะได้อะไรมากกว่า ปัญหาในภาคสนามยังมีอยู่ แล้วก็เห็นอยู่แล้วว่ามันต้องการอะไรเพิ่มเติม

และถ้าเจาะจงเรื่องพะยูนเลย คุณชินมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
อย่างงานพะยูน ผมก็เชียร์ว่าอยากให้มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนมากขึ้น เพราะการปลูกหญ้าทะเลหลายๆ ที่ปลูกไปไม่ได้ผล นวัตกรรมควรลงทุนให้ถูกเรื่องคือ ถ้าหากต้องการจะปลูกหญ้าทะเล ควรจะทำอย่างไรให้มันแน่นหนาอยู่ในพื้นที่ได้นานๆ และมีสัดส่วนความสำเร็จมาก หญ้าตายน้อย หญ้าทะเลเป็นพืชที่มีระบบรากซับซ้อนมาก ไม่ใช่ไปปักแล้วจะอยู่ ส่วนใหญ่ที่เห็นก็มักจะอยู่ได้ไม่นาน ซึ่งผมก็เห็นว่ามันน่าเสียดาย ทางกลุ่มชุมชนเขาก็มีส่วนสำคัญมาก ซึ่งชุมชนนี้เขาเป็นคนที่ทำงานสนับสนุนทั้งหน่วยงานรัฐเช่นทางอุทยานหรือว่าทางศูนย์วิจัยหญ้าทะเล ชาวบ้านคือกลุ่มที่อยู่ที่นั่นตลอดและเป็นคนที่ตามตรวจสอบ แล้วเวลาที่มีประเด็นอะไรขึ้นมา คนที่จะแจ้งให้หน่วยงานหรืออะไรก็คือพวกเขา แล้วพวกเขาก็คือคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลพะยูน พบเจออะไรพวกเขาคือคนที่รู้คนแรก ทางกลุ่มอาสาสมัครผู้พิทักษ์ดุหยงเขาทำงานมานานมากแล้ว

ส่วนการเก็บขยะทางทะเลมันก็เป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ แต่เม็ดเงินส่วนมากถูกเอาไปใช้ในการสร้างเทคโนโลยีจัดเก็บในทะเลข้างนอก หรือแม้กระทั่งการแก้ปัญหาจากหน่วยงานภาครัฐ การปรับโครงสร้าง การเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าพนักงานที่ สวัสดิการการทำงานของเขาอาจจะไม่ได้ดี การลงทุนในพื้นที่ การเก็บการแยก หรืออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน มีการกระตุ้นอย่างอื่นไหมที่ทำให้คนอยากร่วม ปัญหานโยบายต่างๆ เรียกร้องให้ประชาชนทำตาม แล้วคุณอำนวยความสะดวกอะไรให้ประชาชนบ้าง

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

ในฐานะคนที่เข้าไปคลุกคลีเรื่องการอนุรักษ์มามากกว่าใคร คุณอยากบอกอะไรกับผู้อ่านบ้างครับ
ผมเชื่อในพลังของการเล่าเรื่อง ถ้าพูดถึงในประเด็นหลายๆ อย่าง เอาจริงๆ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมก็ต้องทั้งภาคประชาชนทำด้วยและนโยบายด้วย ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่ยุคที่เราควรหลอกตัวเองต่อไปแล้วว่าทุกคนช่วยกันทุกอย่างมันจะดีขึ้นเองโดยที่ด้านบนไม่ทำอะไรเลย เราก็ทำส่วนของเรา ซึ่งจริงๆ เราทำอะไรได้บ้าง ผมว่าก็ไม่ยากหรอกครับแค่นโยบายต้องมา ซึ่งเราถูกทำให้สายตาไม่ได้มองไปที่ภาพใหญ่

คุณชินมีเป้าหมายอะไรอื่นอีกต่อไปในอนาคตครับ ทั้งสำหรับตนเองและสำหรับสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเล
ผมคงแบ่งเป็นสามส่วน เรื่องงานการบอกเล่าเรื่อง ผมก็อยากจะไล่ตามเรื่องราวที่มีความท้าทายกว่าทุกวัน และก็อยากให้มีความครีเอทีฟในเชิงของภาพไปไกลมากกว่านี้ อยากให้งานผมมันดีกว่านี้ครับ อย่างที่สองก็คือเรื่องวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์ บทบาทของนักวิชาการก็มีในแง่ของฉลามที่ยังทำวิจัยอยู่ อยากให้ทุกเรื่องที่ได้ทำมาถูกส่งต่อไปให้เกิดอิมแพค แล้วก็เล็งเรื่องของวัฒนธรรมเกี่ยวกับการประมง รวมทั้งเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมด้วย ส่วนที่สามก็คือส่วนที่กำลังทำอยู่ อยากเห็นเรื่องของงบประมาณถูกลงทุนไปในโครงการที่จะส่งผลจริงๆ อยากให้มันคุ้มค่าและก็เกิดผลจริงๆ กับทั้งชุมชนและสิ่งแวดล้อมตรงนั้น

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

บทความที่เกี่ยวข้อง: Oris Payoon Limited Edition Watch Offers Financial Aid to Dugong Conservation Efforts


An exclusive interview with Shin Sirachai Arunrugstichai, the photojournalist behind the images of Mariam the baby dugong and a driving force in marine conservation.

Words: Ruckdee Chotjinda Photos: Sirachai Arunrugstichai and His Team

World of Watches / Luxuo Thailand first met Shin Sirachai Arunrugstichai at a press conference for the launch of Oris’s Payoon Limited Edition, a watch inspired by the story of Mariam the baby dugong, who became separated from her mother and was found beached on the coast of Krabi in April 2019. The images of Mariam that people all over Thailand and the world saw during the days and weeks that followed are the work of this marine conservationist and winner of world-class underwater photography awards. Impressed by his conservationist spirit as well as his awareness-raising work and skill in managing all stakeholders involved, we decided to request a formal interview with Shin following the press conference.

Nowadays you work as both a photojournalist and a conservationist.
I work on a freelance basis and the contracts I have are all freelance contracts. My work falls into two categories. In my conservation-related work, I focus mostly on actual field work and my big projects are for National Geographic’s Thai and other editions. As for my Getty work, the news-type assignments are proposed by me, or else they assign me to travel to various places.

You spent your high school years in New Zealand and that was when you began to really experience the sea. Where did you live during those years?
I lived in New Zealand for two years, in Dunedin, which is a seaside city backed by mountains and also a university town. At first I wanted to study medicine and within New Zealand, Dunedin is known as a medical city. Initially I thought I would finish high school and then go directly to medical school, but my family was unable to support that plan. So I came back to Thailand and studied biomedical sciences for over a year. I took a diving course here in Thailand and went on to assist my professors on field work. After that, I felt I’d rather be with the environment, so I switched to study environment.

Luxury news featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator

Was that when you took up serious photography?
No, I only started serious photography after I graduated from university. I got a job on a film crew and saved up enough to buy a small compact camera. I had moved to Koh Tao to work on the coral reefs. My film work was from Hollywood and sporadic, so I went to work with my friend. He’d proposed a project to the Office for Social Enterprise Promotion (OSEP). It was 2012 and the social enterprise concept was beginning to get traction. I co-wrote a project with my friend on the island on educating the public about coral reefs. We received funding, which we put into that project, and continued to develop it for three years. I kept on with my photography while living on the island. You can say that that was when I got my start in photography. I actually started from taking photos under water.

And how did you become a serious photographer?
It was around 2014. National Geographic Thailand was hosting a contest for 10 story-telling photos. I entered my island coral reef conservation work as one of my stories. They found it interesting and chose me as one of the finalists. Afterwards they asked me what I was doing. I said I was studying sharks for my master’s. They said, ‘That’s interesting. Go take some photos for us.’ That’s how I got my first assignment for the magazine, which was published in 2016. It took me about two years to complete.

Why sharks? Because you already had a liking for them?
I had always liked them. My father would put documentaries on for me and I also liked to look through books because my father collected them. He’d spent time in Japan working on ceramics and had lots of friends there. When his friends would visit Thailand, they would bring him books as a gift. I got to read those books and look at the pictures. And as a child I’d go snorkeling and when I’d see sharks I’d feel that they were so cool. It was a combination of all these reasons. Like, when I’d go to a fish market I’d see baby sharks in the supermarket. Being an animal lover, I asked to take them home and put them in the freezer to look at how cool they were. I think I was in kindergarten when I had these baby sharks in the freezer at home. They were sold as food then and you’d see an abundance of them. Hammerheads all laid out in a row. It was a time when shark fishing was going up. I’d take my sharks to school for my classmates to look at. When I told National Geographic about this, they loved it.

What was the longest hours you spent in water for a shoot? Or how many days?
On my longest continuous shoot, I was in water every day for a month. When you go on a dive, your oxygen tank doesn’t last very long, generally less than an hour. But the longest time I have spent in water, waiting, was in the Bahamas. There are places there where baby lemon sharks live in mangrove forests. At high tide they escape into the forests because the outer edges of the forests are where adult fish prey on the young ones. There are many shark species that eat their own young. So I had to go into the forest, stay in the water and keep watch. When mosquitoes were thick, I’d duck down to get away from them. I’d stay in water from high tide to low tide. I don’t remember how many hours altogether, but I went through the cycle twice because the Atlantic has two high tides and two low tides every day. I’d take breaks to get something to eat and then go back in again.

Normally, how do you travel with your team?
It depends on the job. Now, if it’s a long nature assignment where I have to stay on location for a week or two, I prefer to have a team of frequent collaborators around me. If you have worked together well before, you don’t need to say much. I used to work solo and handle all the land logistics myself. My team and I have worked together a long time, they have learned from me and now I have help. Many times when a new person comes with us, they may not see eye to eye with us on environmental issues. To me, every member of my team is very important, because every one of them understands these issues well. One is a photographer, another does stills and video. We work on location together often. When you work on environmental issues, it’s important that you understand the issues and understand local people. When you use a photographer who has no previous hands-on experience, they might say something on the job because they don’t understand the context or they don’t understand what’s going to happen in nature, and you end up having to work a lot harder.

Do you always wear a watch?
Very much, I’d say. But day-to-day I usually wear a smartwatch because I am worried about scratching my watch – that’s my main concern. Given the choice, I normally go with a smartwatch and mine has a crack on the dial. The safety glass is cracked but not all the way through. And I have a dive computer, a watch and a compass. I rarely look at the watch when underwater, but I still wear one as a backup. I’ll wear any watch that won’t die on me – one that I can use to time a dive. I only need it as a timer. If it is luminescent, well and good, if not, a light button will do.

When were you first introduced to Oris?
In 2016, when they did the Shark watch. Oris contacted me through National GeographicThailand and the donation from Oris went to our shark research, which was ongoing then.

What should good and sustainable conservation look like?
I am thinking about many things at the moment. Conservation at international level tends to invest in innovations that seem superficial. If that money were spent to ensure adequate support for solving problems in the field or fieldwork management problems, I think it would produce much better results. I am not saying innovation isn’t good, but the real problems lie in fieldwork management, people, budget, fundraising, and increased safeguards for conservation area control. If the money were to be diverted to these things, we could get much more out of it. Problems in the field still exist and it’s apparent what else is needed.

And if we narrow the focus to zero in on dugongs specifically, what are your thoughts about this?
As far as dugong work, I am all for more involvement by the local community. Seagrass planting in many locations has not been successful, and investment in innovation should be directed to the right things. If you want to grow seagrasses, what should you do to ensure that they grow thick and last a long time in that area, with a high success rate and low rate of death? Seagrasses have very complex root systems; just because you plant them doesn’t mean they will take. And from what I have seen, most plantings don’t last long – which I think is a pity. Local community groups have very important roles to play. The community works in support of government agencies, such as the national parks or the seagrass research center. The local people are the ones that live there all the time and also do follow-up checking and monitoring. When an issue arises, they are the ones that will notify the agencies, and they are the ones that do the largest share of caring for dugongs. When something new is discovered, they are the first to know. The Duyong Protector volunteer group has been doing this work for a long time.

As for marine garbage collection, it’s definitely something that should be done, but the majority of the funding tends to be spent on building technology for garbage collection in the open sea. And the way government agencies tackle problems, whether by restructuring, increasing the competency level of personnel who may not be receiving good work benefits, investing in local areas, and collection and sorting, or facilitating these processes for the public. Are there other stimuluses that will make people want to join in? There are all these problems and all these policies that you urge the public to comply with, but what are you doing to make compliance easier for them?

As someone who has more hands-on experience in conservation work than most, what would you like to tell our readers?
I believe in the power of story-telling. As with many things, making social and environmental changes needs both the civil society and the policy sector to get involved. I don’t think that in this day and age we should continue to fool ourselves that if everyone just lends a hand, everything will get better without anything needing to happen at the top, or that we should all just do our part, when in fact how much can we really do? I don’t think it will be all that hard, but there must be policy in place. We have been kept from looking at the big picture.

What other future goals do you have, both for yourself and in terms of environmental and marine life conservation?
I have goals in three areas. In my story-telling work, I want to pursue stories that are more challenging, to push the creativity of my images further and make my work better. Secondly, in science and conservation, I will continue in my academic role through my ongoing shark research. I want everything I have done to be passed on and create impact, and I am also looking at the culture of fishery and cultural environment conservation. The third area is what I am currently doing. I want the budget that has been invested in the project to produce concrete results. I want it give real value and have real impact for both the local community and local environment.

See also: Oris Payoon Limited Edition Watch Offers Financial Aid to Dugong Conservation Efforts

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image