Crown Prince Mohammed Bin Salman and the lavish lifestyles of the House of Saud

Share this article

มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานและไลฟ์สไตล์อันหรูตระการแห่งราชสำนักซาอุดีอาระเบีย
บทความ: โจนาธาน โฮ

[ English ]

ข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่าตำแหน่งของครอบครัวซึ่งมั่งคั่งที่สุดในโลกตกอยู่แก่ตระกูลวอลตันซึ่งเป็นเจ้าของ Walmart ห้างชื่อดัง ประมาณว่ารายได้ของตระกูลตกอยู่ที่สี่ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชั่วโมง ทว่าคนตระกูลนี้ใช้ชีวิตสาธารณะอย่างสมถะมากเมื่อเทียบกับรายได้ ในขณะที่ราชวงศ์แห่งประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นทรงใช้ชีวิตฟู่ฟ่าสมกับความมั่งคั่งสุดหยั่งแห่งพระราชทรัพย์ซึ่งมีการประเมินไว้ที่ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

พระราชาธิบดีซัลมานพร้อมด้วยคณะผู้ตามเสด็จอันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และราชองครักษ์

พระราชทรัพย์แห่งแห่งซาอุดีอาระเบียนี้มั่งคั่งกว่าของพระราชวงศ์อังกฤษเกือบ 16 เท่า เงินทองทั้งหลายแหล่มาจากแหล่งน้ำมันดิบซึ่งค้นพบในรัชสมัยของพระราชาธิบดีอิบุน ซาอูด แม้จะได้ชื่อว่าเป็นพระราชวงศ์ซึ่งทรงหวงแหนความเป็นส่วนพระองค์อย่างมาก แต่เราก็มักเห็นข่าวว่าทั้งพระราชาธิบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงใช้ชีวิตอย่างบรมสุขในเครื่องบินส่วนพระองค์ บนเรือยอชต์ส่วนพระองศ์ ในวังที่ประทับซึ่งประดับประดาด้วยทองคำอย่างอร่าม แล้วยังมีรายงานข่าวว่าชาวบ้านฝรั่งเศสพากันร้องทุกข์เมื่อพบว่าหาดสาธารณะในเมืองของตนถูกปิดสามสัปดาห์สำหรับกันไว้ให้พระราชาธิบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ในช่วงที่เสด็จประพาสตากอากาศ

ชาโตเดอโลไรซอนที่เมืองคานส์ ตำหนักของพระราชาธิบดีซัลมาน

พระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลาซิซ อัลซาอูด ทรงเป็นหนึ่งในพระโอรสซึ่งยังทรงพระชมน์ชีพ 36 พระองค์แห่งพระราชาธิบดีอับดุลาซิซ อิบุน ซาอูด ผู้ทรงสถาปนาประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ ธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์ของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นไปตามความอาวุโส กล่าวคือ พระอนุชาองค์รองลงมาจะได้สืบตำแหน่ง มิใช่พระโอรสของพระราชาธิบดี จนถึงปี 2006 จึงมีกฎมณเฑียรบาลระบุว่าผู้สืบสันตติวงศ์จะต้องผ่านพระราชวินิจฉัยของคณะกรรมการอันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายชายกลุ่มหนึ่ง มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สืบสันตติวงศ์องค์ต่อไปจึงถูกริบยศศักดิ์และถูกถอดจากทุกตำแหน่งตามกฎมณเทียรบาล มีผลให้มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานทรงเป็นผู้สืบสันตติวงค์องค์ต่อไป เมื่อได้รับตำแหน่งพระองค์ก็ทรงลงมือปราบการฉ้อราษฎร์บังหลวงของพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ ซึ่งแต่ก่อนเจ้าเหล่านี้ไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้อง และในขณะเดียวกันตำแหน่งใหม่นี้ก็ส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทซึ่งมั่งคั่งที่สุดของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียด้วย

มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน

รสนิยมของมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานนั้นห่างไกลจากคำว่าสมถะมาก เมื่อปี 2015 ทรงซื้ออสังหาริมทรัพย์พื้นที่ขนาด 23 เฮกตาร์ เป็นที่สวยงามเขียวขจี ตั้งอยู่ระหว่างแวร์ซายส์และมาร์ลี-เลอ-รัวซึ่งมาพร้อมคฤหาสน์งามหรูทรงศตวรรษที่ 17 ในแบบอย่างของพระราชวังแวร์ซาย สินทรัพย์ผืนนี้มีชื่อว่าชาโตพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ ตามพระนามของสุริยราชาแห่งฝรั่งเศส

ชาโตหลุยส์ที่สิบสี่ คฤหาสน์อันงดงามที่สร้างในสไตล์ศตวรรษที่ 17 อย่างพระราชวังแวร์ซายส์
การก่อสร้างใช้เวลาสี่ปี ระหว่างนั้นนายอีมาด คาชอกกี นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต้องว่าจ้างช่างฝีมือมากมายมาใช้ในการก่อสร้าง บางวันต้องใช้ช่างถึง 120 คน

คฤหาสน์ที่ประทับนี้ล้อมรอบด้วยคูคล้ายคูเมือง มีพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง 7,000 ตารางเมตรและพื้นที่ใช้สอย 5,000 ตารางเมตร จากนั้นมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานโปรดให้สร้างน้ำพุปิดทอง เลือกใช้หินอ่อนนำเข้าเนื้องามวิจิตรและรูปหล่อสำริดของแท้จากยุคศตวรรษที่ 17 งบที่ใช้ในการตกแต่งคือ 300 ล้านดอลลาร์ คฤหาสน์นี้จึงกลายเป็นที่พักอาศัยมูลค่าแพงที่สุดซึ่งมีการซื้อขายกันในโลกนี้

ช่างแต่ละคนต่างมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตั้งแต่งานรูปหล่อสำริด แกะสลักหิน งานเหล็ก มุงหลังคา ทาสี ภาพเขียนฝาผนัง งานประติมากรรม ฯลฯ
อุทยานเป็นสไตล์ฝรั่งเศสตามแนวคิดของอังเดร เลอโน๊ตร์ ผู้สร้างสรรค์อุทยานที่ชาโตเดอแวร์ซายส์และชาโตเดอโว-เลอ-วิกมต์

กรณียกิจของราชวงค์แห่งซาอุดีเป็นงานรับใช้ชาติ ทว่าพระคลังเองก็มีหนทางงอกเงยให้พระบรมวงศานุวงศ์สามารถใช้จ่ายตามอัธยาศัย บางองค์สนับสนุนบรรษัทหรือบรรษัทนานาชาติโดยช่วย “หยอดน้ำมัน” ในการเจรจาระหว่างรัฐบาลซาอุดีฯ กับบรรษัท บางองค์เป็นหุ้นส่วนเงียบของบริษัทต่างๆ ซึ่งประกอบธุรกิจในประเทศร่ำรวย พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่มีรายได้จากค่าสัมปทานและเงินปันผลจากบริษัทน้ำมันอย่าง Aramco ผู้จ่ายค่าสิทธิบัตรให้รัฐบาลในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในซาอุดีอาระเบีย

บางองค์ที่มีหัวการค้าก็ริเริ่มธุรกิจเป็นของตนเองอย่างเช่นเจ้าชายสุลต่าน บิน โมฮัมเหม็ด อัล คาเบียร์ ดำเนินกิจการของบริษัท Almarai เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะเรียกว่าเป็นผู้ผูกขาดกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่มในราชอาณาจักรเลยก็ว่าได้ บ้างก็ทรงเป็นผู้ร่วมลงทุน ตั้งบริษัทโฮลดิง ลงทุนในกิจการอย่าง Citigroup และ Twitter ไม่ว่ารายได้ของพระคลังจะมาจากทางไหน แต่เอกสารที่รั่วไหลจากแหล่งข้อมูลเอกชนปิดอย่าง Panama Papers และ Paradise ระบุตรงกันว่าพระบรมวงศานุวงศ์ของราชสำนักซาอุดีอาระเบียเป็นลูกค้าที่พระหัตถ์เติบอย่างยิ่ง

เรือ Serene ขนาด 134 เมตร หนึ่งในเรือระดับซูเปอร์ยอชต์ของโลกที่มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานทรงซื้อมาในราคา 500 ล้านยูโรเมื่อปี 2015
สำนักข่าว CBS รายงานว่าเมื่อไปเที่ยวพักผ่อนอย่างที่มัลดีฟส์นั้นปกติแล้วสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์จะใช้จ่ายครั้งละ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปครั้งหนึ่งก็จะเหมารีสอร์ทสามแห่งสำหรับพระองค์เองและอาคันตุกะ

กล่าวได้ว่า พระราชทรัพย์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การซื้อเรือระดับซูเปอร์ยอชต์ อสังหาริมทรัพย์อันใหญ่โตโอ่อ่าหรือภาพเขียนซึ่งประมาณค่ามิได้ นักข่าวที่ขุดคุ้ยเรื่องราวเกี่ยวกับฟาร์มสัตว์ป่าแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ที่มีชื่อว่า Limpopo กลับพบว่าเครือข่ายของนอมินี บริษัทนอกประเทศและบริษัทที่จดทะเบียนทิ้งไว้เฉยๆ ซึ่งต่างปกปิดตัวเลขของพระราชทรัพย์แห่งราชวงศ์ซาอุดีนี้

ฟาร์มสัตว์ป่า Limpopo ขนาด 12,000 เฮกตาร์ กลายสภาพเป็นรีสอร์ทล่าสัตว์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์แห่งซาอุดี พร้อมด้วยรันเวย์สำหรับเครื่องบินเจ็ทส่วนพระองค์

มกุฎราชกุมารยังทรงเป็นผู้ถือหุ้นนอมินีของบริษัทซึ่งมีมูลค่าสูงลิบในซิลิคอนแวลลีย์อย่าง Google, Apple และ Uber โดยใช้กองทุนความมั่งคั่งแห่งราชอาณาจักรอย่าง Public Investment Fund ของซาอุดีอาระเบีย แต่ไม่มีใครล่วงรู้ถึงตัวเลขมูลค่าการลงทุนทั้งหมดของพระองค์แต่อย่างใด


The ruling family of Saudi Arabia has a lifestyle of opulence that matches their equally mind-boggling net worth.

Words: Jonathan Ho

According to Bloomberg, making USD 4 million each hour, the honour of the world’s wealthiest family goes to the Walton family of Walmart fame. That said, the public lifestyles of the Waltons are fairly modest. In contrast, the ruling family of Saudi Arabia, the royal House of Saud, with an estimated of USD 1.4 trillion dollars, has a lifestyle of opulence that matches their equally mind-boggling net worth.

Nearly 16 times the British royal family’s net worth, the bulk of the Saudi royal family’s wealth comes from vast Saudi petroleum reserves discovered around Ibn Saud’s rule, and while notoriously private, Saudi royals are often captured in a life of luxury with private jets, yachts, palatial estates with gold fixtures and fittings, and complaints from French natives when public beaches in Cannes turned private for the sole use of the King and his family during the 3-week royal vacations.

King Salman bin Abdulaziz al-Saud is one of 36 surviving sons of King Abdulaziz Ibn Saud: the founder of modern Saudi Arabia. Like most royal families, royal succession was hereditary by agnatic seniority (that is to say, the King’s surviving brother would inherit the crown rather than the King’s own sons) until 2006 when a royal decree provided that future Saudi kings are to be elected by a committee of Saudi princes. Crown Prince Muhammad bin Nayef was to be next in line when he was deposed and then relieved of all positions by royal decree, making Crown Prince Mohammed bin Salman the presumptive heir. His subsequent “corruption crackdown” against other Saudi royals, once considered untouchable, also made him the Kingdom’s richest, most powerful soon-to-be potentate.

Crown Prince Mohammed bin Salman’s tastes are not small. In 2015, he acquired an epic slice of French real estate – 23-hectare verdant paradise between Versailles and Marly-le-Roi with an equally lush palatial mansion constructed in the style of 17th century Versailles. The estate? Chateau Louis XIV, so named for France’s Sun King.

Surrounded by moats and featuring a constructed surface area of 7,000 square metres with 5,000 square metres of living space, then Crown Prince Mohammed bin Salmon purchased the homage to Versailles with its gold-leafed fountain, generous use of exotic marble and period authentic bronze cast fittings to a tune of USD 300 million, setting a world record for residential property transactions.

Being a Saudi royal is a full time job but national largesse can create many sources of incomes for family members: Some assist conglomerates and multinational corporates by “greasing the wheels” on the Saudi government’s corporate deals, others serve as silent partners of businesses hoping to operate in the prosperous nation, most live off royalties and dividends from oil companies like Aramco which pay the government for rights to prospect and drill for oil.

The enterprising few even start businesses of their own – Prince Sultan bin Mohammed Al Kabeer runs Almarai, the kingdom’s effectively monopolistic food and beverage giant. Some become venture capitalists, starting holding companies, investing in companies like Citigroup and Twitter. Whatever their income streams, documents which disclose once private financial information like the Panama Papers and Paradise leaks, all describe the members of the House of Saud as generous spenders.

Suffice it to say, this spending is not limited to superyachts, sprawling real estate or even priceless paintings, in fact, investigative reporters looking into an obscure Limpopo game farm in South Africa uncovered a shadowy international network of proxies, offshore firms and shelf companies concealing the Saudi royal family’s wealth.

Through sovereign wealth funds like Saudi Arabia’s Public Investment Fund, the Crown Prince is also a proxy shareholder for some of Silicon Valley’s most valuable tech companies including Google, Apple and Uber. The full extent of his investment holdings is not known.

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image