Champs-Élysées is Getting a Major, Green Facelift

Share this article

จากจุดเริ่มต้นสู่วิสัยทัศน์ใหม่แห่งอนาคตอันร่มรื่นของถนนสายประวัติศาสตร์ฌ็อง-เซลิเซส์
บทความ: พีรชัย พสุทันท์

[ English ]

ฌ็อง-เซลิเซส์ถือเป็นแลนด์มาร์คอีกแห่งหนึ่งของโลกซึ่งผู้คนมักจะเห็นจากพาเหรดวันชาติฝรั่งเศส วันส่งท้ายปีเก่า หรือภาพยนตร์โรแมนติกในดวงใจ ถนนที่กินความยาวตั้งแต่จัตุรัสกงกอร์ดถึงจัตุรัสชาร์ล เดอ โกลสายนี้มีเส้นทางการพัฒนามาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 และจะถูกปูทางใหม่ให้เป็นสวนแสนรื่นรมย์ในอนาคตอันใกล้

ก่อนที่จะเป็นถนนที่เราคุ้นตาในปัจจุบัน ฌ็อง-เซลิเซส์เคยเป็นที่ชื้นแฉะไม่มีผู้อาศัยอยู่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1667 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราชดำริที่จะขยายเขตเมืองและแปลงปารีสให้สวยงามยิ่งขึ้น จึงทรงสั่งให้อองเดร เลอ โนเทรอะ ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบสวนของพระราชวังแวร์ซายส์ มาวางภูมิทัศน์ให้ถนนและสวนแห่งใหม่ที่ขยายออกไปจากสวนตุยเลรีย์ส พร้อมตั้งชื่อว่ากรองด์กูร์

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
อองเดร เลอ โนเทรอะ (ภาพ: Comité Champs-Élysées)

ส่วนชื่อฌ็อง-เซลิเซส์ที่เรารู้จักกันดีมาจากชื่อ เอลิเซส์หรือเอลิเซียของเทพปกรนัมกรีกซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้ทำความดีและวีรบุรุษจะได้ไปอาศัยอยู่หลังความตาย ชื่อนี้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อถนนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1709 โดยสันนิษฐานว่าเอาไว้แก้เคล็ดพื้นที่ซึ่งเคยรกร้างไร้ความสำคัญในอดีต ทั้งนี้ การสร้างฌ็อง-เซลิเซส์สะท้อนได้ถึงพระราชอำนาจของสุริยกษัตริย์ที่ทรงเหนือธรรมชาติผ่านการจัดระเบียบ และความเป็นแบบแผนเช่นนี้เองถือเป็นหัวใจสำคัญของความคลาสสิกแห่งฝรั่งเศสก็ว่าได้

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ฌ็อง-เซลิเซส์ในยุคศตวรรษที่ 19 (ภาพ: Comité Champs-Élysées)

การปรับปรุงฌ็อง-เซลิเซส์ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงศตวรรษที่ 19 ฌักส์ อีตอร์ฟฟ์ ได้เข้ามาปรับปรุงสวนบนณ็อง-เซลิเซส์และจัตุรัสกงกอร์ดพร้อมสร้างน้ำพุสี่แห่ง อดอล์ฟ อัลฟองเข้ามาสานต่องานในการออกแบบสวนสไตล์อังกฤษจนเป็นที่โด่งดังช่วงงานนิทรรศการโลกปี ค.ศ. 1855 อีกทั้งการแปลงเมืองโดยบารงโอสมานน์ก็มีส่วนสำคัญซึ่งทำให้ฌ็อง-เซลิเซส์ รวมไปถึงเขตเมืองชั้นในของปารีสมีเสน่ห์น่าเดินสำรวจอย่างที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
บูติคของ Dior บนถนนฌ็อง-เซลิเซส์ (ภาพ: Dior)

มาจนถึงศตวรรษที่ 20-21 สองข้างถนนของฌ็อง-เอลิเซย์ขนาบด้วยตัวแทนวัฒนธรรมฝรั่งเศส ทั้งโรงภาพยนตร์ คาเฟ่และร้านค้าของแบรนด์แฟชั่นต่างๆ อาทิ Louis Vuitton, Dior, Lacoste และ Cartier จากพัฒนาการเหล่านี้ ทำให้ฌ็อง-เซลิเซส์กลายเป็นต้นแบบของความโมเดิร์นสไตล์ตะวันตก และได้รับการขนานนามว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดสายหนึ่งของโลก

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ภาพจำลองวิสัยทัศน์แห่งฌ็อง-เซลิเซส์ในอนาคต (ภาพ: PCA)

แต่อีกด้านหนึ่ง ฌ็อง-เซลิเซส์ก็ประสบกับปัญหาต่างๆ มานาน ทั้งมลพิษทางเสียง ปัญหาการจราจร โดยเฉพาะคุณภาพอากาศที่มีค่าต่ำว่าเขตถนนวงแหวนรอบนอกของเมือง ทำให้มีชาวปารีเซียงเดินสัญจรบนถนนสายนี้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น แม้หน่วยงานของกรุงปารีสจะมีโครงการวันปลอดรถแล้ว 6 ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีมากนัก เพื่อเป็นการหาทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สมาคมการค้า Comité Champs-Élysées จึงให้บริษัทสถาปนิก PCA หรือ Philippe Chiambaretta Architecte จัดทำบทวิเคราะห์ในชื่อ Champs-Élysées History & Prospects พร้อมออกแบบถนนสายนี้ใหม่ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ของฌ็อง-เซลิเซส์แห่งปี ค.ศ. 2030

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ภาพจำลองวิสัยทัศน์แห่งฌ็อง-เซลิเซส์ในอนาคต (ภาพ: PCA)

ในการนี้ อานน์ อิดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีสได้ประกาศเมื่อกลางเดือนมกราคมว่า จะมีโครงการพัฒนาถนนฌ็อง-เซลิเซส์ให้เป็นดั่งสวนอันร่มรื่น โดยจะลดเส้นทางสัญจรของรถยนต์ลงครึ่งหนึ่ง แล้วแทนที่ด้วยสวน ทางเท้า อุโมงค์ต้นไม้ พื้นที่สันทนาการสำหรับเด็กและครอบครัวไปทั่วทั้งย่าน จากบทวิเคราะห์ของ PCA โครงการพัฒนาย่านฌ็อง-เซลิเซส์จะแบ่งออกเป็นห้าส่วน ได้แก่ จัตุรัสกงกอร์ด สวนฌ็อง-เซลิเซส์ ถนนฝั่งเหนือ ถนนฝั่งใต้ และบริเวณวงเวียนประตูชัย

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ภาพจำลองวิสัยทัศน์แห่งฌ็อง-เซลิเซส์ในอนาคต (ภาพ: PCA)

โครงการนี้จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 250 ล้านยูโร คาดว่าเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มเป็น 95,200 ตร.ม. มีพื้นที่ถนนคนเดินอยู่ที่ 402,300 ตร.ม. ได้เนื้อที่สำหรับการเล่นกีฬา 2,850 ตร.ม. เพิ่มพื้นที่ร่มและที่นั่งพักผ่อนอีกหลายเท่าตัว ลดมลพิษทางเสียงได้ 6 เดซิเบล และลดการสัญจรของรถยนต์ต่อชั่วโมงสูงสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ในบางจุด

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ภาพจำลองวิสัยทัศน์แห่งฌ็อง-เซลิเซส์ในอนาคต (ภาพ: PCA)

การปรับปรุงฌ็อง-เซลิเซส์อาจแล้วเสร็จช่วงปี ค.ศ. 2030 ซึ่งไม่ทันช่วงฤดูการแข่งขันโอลิมปิกปี ค.ศ. 2024 ณ กรุงปารีส อย่างไรก็ดี อิดาลโกเปิดเผยว่าโครงการถนนสีเขียวอาจขยายไปยังพื้นที่รอบหอคอยไอเฟลในอนาคต นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับการอนุรักษ์เขตสำคัญทางประวัติศาสตร์ พร้อมการได้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพกลับคืนสู่ประชาชนอีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง: Left Bank Elegance at Hotel Lutetia


A grand scheme is developed for a transformation of Champs-Élysées by 2030.

Words: Peerachai Pasutan

Champs-Élysées is a landmark seen by people around the world during Bastille Day parades, New Year’s Eves celebrations and in classic romantic films. Constructed in 17th century, the avenue which runs from La Place de la Concord to La Place de Charles de Gaulle is slated to receive a major, green transformation in the near future.

This area was once an uninhabited marsh area. It was in 1667 when Louis XIV wished to expand and beautify Paris that André Le Nôtre, the landscape of architect of Versailles’ gardens, was tasked with the design of the new avenue and an extended section of the Tuileries Garden. The given name at the time was Grand Cours.

Afterwards, Champs-Élysées was officially adopted as the title for this avenue in 1709. The name is a reference to Elysium, an afterlife place for dead heroes in Greek mythology, and believe to be an antidote to the swampy origin of the area. Regardless of the nomenclature, the construction of this avenue reflected the authority of the divine Sun King, as well as the discipline approach that is the core of French classicism.

Champs-Élysées continued to be improved over time. In the 19th century, architect Jacques Hittorff created new gardens and four fountains along the avenue and at the La Place de la Concord. Adolphe Alphand stepped in later to design British-style gardens which became popular during the Exposition Universelle of 1855. Baron Haussmann’s renovation of Paris further cemented the charm of Champs-Élysées and the inner part of the city which lasts until this day.

In the 20th and the 21st centuries, both sides of Champs-Élysées are occupied by representations of the French culture such as cinemas, cafés and fashion brands like Louis Vuitton, Dior, Lacoste and Cartier. All of the said elements have rendered Champs-Élysées a model of modern western civilisation, and earned it the reputation as a most beautiful avenue in the world.

Nevertheless, Champs-Élysées is not without its problems like noise pollution, heavy traffic and lower air quality than the city’s périphérique ring road. Only 5% of the foot traffic is made up of Parisiens. Although Paris officials have implemented the Car Free Day on six occasions since 2015, the result remains unsatisfying. Therefore, in order to identify sustainable solutions for the neighbourhood, the commerce association Comité Champs-Élysées has commissioned the architectural firm PCA or Philippe Chiambaretta Architecte to conduct an analysis titled Champs-Élysées History & Prospects, and to introduce a new vision for the landmark avenue in the coming future of 2030.

Paris Mayor Anne Hidalgo has announced subsequently in mid-January a plan to transform Champs-Élysées into an extraordinary garden. Car lanes will be reduced by half and replaced with gardens, footpaths, tree tunnels and recreational spaces for children and families in the area. The PCA study compartmentalises Champs-Élysées into five zones: La Place de la Concord, Champs-Élysées Gardens, Lower Avenue, Upper Avenue and La Place de l’Étoile.

The EUR 250 million project, once done, will bring green space area up to 95,200 square metres and pedestrian area up to 402,300 square metres. There will be 2,850-square-metre space for sports and significantly more shaded areas where one can sit and linger. Additionally, the improvements will bring noise pollution down by 6 decibels and reduce up to 70% of hourly traffic in certain sections.

Although it will not be completed until 2030 which is not in time for the Paris Olympic Games in 2024, there is another good news: Hidalgo disclosed that the greenification may extend to areas around the Eiffel Tower in the future. This is an interesting case study indeed for how history can be preserved and the environment can be restored for the quality of life of the next generations.

Luxury project featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
A vision of Champs-Élysées in the future (Photo: PCA)

See also: Left Bank Elegance at Hotel Lutetia

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image