Urban Artist Kongo on Lockdown, Working with Brands and His Love Affair with Asia

Share this article

อัพเดทชีวิต ซีริล คองโก ศิลปินชาวปารีสกับผลงานช่วงล็อคดาวน์ ประสบการณ์การทำงานร่วมกับแบรนด์ดัง และความผูกพันที่เขามีกับทวีปเอเชีย
บทความ: นีนา สตารร์

[ English ]

คองโก หรือชื่อจริง ซีริล ฟาน เป็นศิลปินที่ทำงานได้บนพื้นผิวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นผนัง ผืนผ้าใบ กระจกร้านค้า หีบใส่ของ ชุดเดรส กระเป๋า ผ้าผันคอ จิลเวลรี่ ขวดแชมเปญ กล่องเก็บซิการ์ รถยนต์ หรือแม้กระทั่งเครื่องบิน เขาเคยร่วมงานกับแบรนด์ฝรั่งเศสอย่าง Chanel, Hermès, Richard Mille, Daum และ La Cornue เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาในแบบยุโรปแบบดั้งเดิมมาแล้ว ศิลปินเชื้อสายฝรั่งเศส-เวียดนามวัย 51 ปีคนนี้ทำให้ของใช้ในชีวิตประจำวันกลายเป็นผลงานศิลปะขึ้นมาได้ เราสัมภาษณ์คุณคองโกเกี่ยวกับเรื่องชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19 การตอบแทนสังคม และแผนการของเขาในอนาคต

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ซีริล คองโก

คุณใช้ชีวิตช่วงล็อคดาวน์ของทางการฝรั่งเศสอย่างไร
ผมเสนอโครงการหนึ่งให้โรงพยาบาลหลายแห่งในปารีส โดยผมบริจาคภาพวาดหนึ่งแก่มูลนิธิ Hospitals of Paris – Hospitals of France แล้วเขาก็นำผลงานชิ้นนั้นไปประมูลขายเพื่อระดมเงินทุนไปช่วยเหลือโรงพยาบาลเหล่านี้ โครงการที่สองของผมคือ ศิลปะจัดวางที่โรงพยาบาลลาริบอซิแยร์ เพื่อขอบคุณเจ้าหน้าที่พยาบาลโดยตรง อีกทั้ง ผมได้ทำดิจิกราฟของงานชิ้นนี้ด้วยซึ่งตอนนี้เปิดจำหน่ายทางเว็บไซต์ของผม กำไรทั้งหมดนั้นจะนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลแห่งนั้น บุคลากรเหล่านี้ขาดแคลนหน้ากาก และต้องใส่ชุดพีพีอีชุดเดิมในขณะที่ดูแลผู้ป่วยหลายราย ซึ่งปกติแล้วพวกเขาควรจะต้องเปลี่ยนชุดในทุกครั้ง พวกเขาเลยต้องใส่ชุดพ่อครัวตอนทำงานแทน ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียสติมากครับ

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ศิลปะจัดวางที่โรงพยาบาลลาริบอซิแยร์

แล้วหัวข้อในผลงานของคุณได้เปลี่ยนไปหรือไม่
ผมสร้างสรรค์ผลงานบนกระดาษชุดหนึ่งในชื่อ Confinement ที่ผมบังคับตัวเองให้วาดภาพวันละชิ้นเพื่อตกผลึกความคิดในห้วงเวลาเฉพาะนี้ กว่าหลายชั่วอายุคนแล้วที่คนเราไม่เคยประสบกับภาวะชะงักงันไปทั่วโลก ไม่มีประเทศไหน ใคร รัฐบาลใด หรือกฎหมายฉบับไหนที่จะสามารถหยุดโลกได้เช่นนี้ แน่นอนว่ามันจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับโลกเก่า อย่างไรก็ดี ในโลกใบใหม่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ดาวเคราะห์โลกจะได้ฟื้นตัวจากมลพิษ เราได้มีการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ และพฤติกรรมการบริโภครูปแบบใหม่

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
“Confinement Jour 8”
Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
“Confinement Jour 32″

ศิลปินมีบทบาทอย่างไรในบริบทเช่นนี้คะ
ในโลกแห่งความว้าวุ่นที่พวกเราทุกคนอาศัยอยู่นี้ ศิลปินอย่างเราต้องนำเสนอสิ่งที่น่าสนุก ชวนเพลิดเพลิน และมอบความรู้สึกแง่บวกครับ ยกตัวอย่าง เวลาที่ผมเครียด ผมจะชอบกินชีสพลางดื่มไวน์ไป นี่ก็คือฝั่งที่เป็นฝรั่งเศสในตัวผมน่ะครับ หรือสำหรับผู้คนที่อยากมีภาพวาดของช่วงเวลาใดหนึ่งเพื่อนำไปตกแต่งบ้าน ผมว่านั่นก็สามารถคลายความเครียดและทำให้รู้สึกอยากเริ่มต้นสิ่งใหม่ได้ สิ่งที่ศิลปินคนหนึ่งจะให้ได้ในบริบทเช่นนี้ คือ การนำความความสวยงามเล็กๆ มาสู่โลกใบนี้และยกระดับจิตวิญญาณซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นนะครับ เพราะหากผู้คนมัวแต่ติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาก็จะมีแต่เครียดและกังวล

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ผลงานที่ทำร่วมกับ Hermès

เวลาร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆๆ คุณไม่ใช้คำว่าคอลลาบอเรชั่น แต่คุณบอกว่าเป็นการพบกันของผู้สร้างจากสองวงการที่แตกต่างกัน ช่วยขยายความเรื่องนี้ด้วยค่ะ
การร่วมงานทั้งหลายที่ผมได้ทำกับวงการเหล่านั้น ที่จริงแล้วคือการพบปะกันครับ ผมได้พบกับคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจและแลกเปลี่ยนความคิดกับเขาซึ่งนำไปสู่การสร้างสะพานเชื่อมสองวงการไว้ด้วยกัน จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการร่วมงานแต่ละครั้งจึงไม่เคยทำโดยทีมการตลาดเลย ผมปฏิเสธโปรเจคต่างๆ ที่เข้ามาหาผมเช่นนี้ไปกว่า 90% ผมคิดว่าความสำเร็จจากการร่วมงานกันนั้น อย่างแรกเลยคือมาจากการพบปะกัน ความจริงแท้ ความซื่อสัตย์ในการสรรค์สร้าง และความเป็นหนึ่งเดียวกันในการสร้างสรรค์ จากนั้นจึงจะเป็นเรื่องของการขายหรือการตลาด แต่นั่นไม่ใช่หน้าที่ของผม เพราะว่ามันมาทีหลัง

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ผลงานที่ทำร่วมกับ Richard Mille

คุณร่วมกับมูลนิธิ Antoine de Saint-Exupéry Youth Foundation ด้วยในการลงสีเครื่องบินวินเทจ Nord 1000
เราต้องระดมเงินเพื่อผลิตหนังสือสัมผัสพร้อมภาพนูนต่ำเรื่องเจ้าชายน้อยสำหรับผู้พิการทางสายตา คุณปู่ผมก็ตาบอดเพราะเหยียบกับระเบิดที่เวียดนาม สมัยเด็กๆ ผมเคยอ่านหนังสือพิมพ์ให้ท่านฟัง ดังนั้นเมื่อทางมูลนิธิเสนอโครงการนี้ ผมจึงตอบตกลงเพราะมันสอดคล้องกับแนวทางในชีวิตของผม และยังเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ผมเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของคนๆ หนึ่งนั้นคือการทำในเรื่องที่ตนเชื่ออย่างจริงจัง และการสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนได้ครับ

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เครื่องบิน Nord 1000 Sacrilege

คุณเริ่มรู้สึกผูกพันกับเอเชียเมื่อใดคะ
ผมเป็นลูกครึ่งเอเชียครับ คุณพ่อผมเป็นคนเวียดนาม ดังนั้นผมจึงมีความเชื่อมโยงกับทวีปเอเชียมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะครึ่งหนึ่งของครอบครัวผม ผมใช้ชีวิตอยู่ในยุโรป แอฟริกาและเอเชีย ดังนั้นผมจึงเป็นพลเมืองของโลกโดยแท้จริงครับ

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
ผลงานที่ทำร่วมกับ Fender

คุณเป็นศิลปินคนแรกๆ ที่ได้นำเสนอศิลปะสตรีทอาร์ทในประเทศจีน เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรคะ
ในปี ค.ศ. 2004 ผมริเริ่มนิทรรศการชื่อ Eating Frogs Tour ร่วมกับกลุ่มเพื่อนที่มีชื่อเสียงในวงการกราฟิตี วงการดีเจ และวงการเต้น เพื่อนำเสนอความเป็นฮิปฮอปฝรั่งเศสทางตอนใต้ของจีน ทั้งที่กวางโจว เซินเจิ้น และฮ่องกง ตอนนั้น ผมได้พบกับศิลปินหนุ่มอายุ 16 ปีที่ความกระตือรือร้นสูงมากชื่อว่า ฟานซัก เขาบอกผมว่าเขาเริ่มสร้างสรรค์ผลงานกราฟิตีในจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 และเห็นผมในสารคดีต่างๆ ผมจึงบอกเขาว่าหากวันหนึ่งเขามาเยือนฝรั่งเศส ก็ให้โทรหาผมได้เลย สองสามปีถัดมา เขาก็โทรมาจริงๆ และบอกว่าเขามาฝรั่งเศสแล้ว ฟานซักกลายมาเป็นผู้ช่วยของผม และผมก็ถ่ายทอดทักษะของตัวเองให้เขา ตอนนี้ฟานซักกลับเมืองจีนไปอยู่ที่เมืองเฉิงตูแล้วเพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในอาชีพ ผมเชื่อว่าเขาจะเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จครับ

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
กล่องเก็บและซิการ์ El Kongo
Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
กล่องเก็บและซิการ์ El Kongo

เราเห็นคุณไปเยือนจาการ์ตา สิงคโปร์ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้และเมืองอื่นๆ  ประสบการณ์ใดในเอเชียที่คุณคิดว่ายอดเยี่ยมที่สุด และเมืองใดคือเมืองโปรดของคุณ
ประสบการณ์แต่ละครั้งนั้นยอดเยี่ยมในตัวของมันครับ ผมมีความรู้สึกชอบสิงคโปร์เป็นพิเศษเพราะผมประทับใจความทันสมัยของวิสัยทัศน์แห่งความเป็นประเทศนี้ สิงคโปร์มีการบริหารประเทศราวกับเป็นบริษัท และทุกคนก็เดินไปตามแนวทางเดียวกัน ในฐานะชาวปารีเซียงผมมองว่านี่คือประเด็นที่น่าสนใจเพราะที่ปารีสนี่ทุกอย่างยุ่งเหยิงไปหมด บางครั้งก็รู้สึกดีเหมือนกันนะครับที่ได้เห็นการตีกรอบเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้าง ซึ่งสิงคโปร์ก็ทำให้ผมประทับใจมากในเรื่องนี้ คนสิงคโปร์มีคุณภาพชีวิตที่ดีครับ

ผมรักอินโดนีเซียด้วยโดยเฉพาะที่บาหลีเพราะเป็นสถานที่ที่เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ และก็มีความยุ่งเหยิงเหมือนปารีสอยู่บ้าง ผมชอบเวียดนามเป็นพิเศษเพราะมันอยู่ในสายเลือดผม ส่วนญี่ปุ่นนั้น ผมชอบความทันสมัยและชอบที่เวลาไปแล้วเราได้เปลี่ยนบรรยากาศโดยสิ้นเชิง ชอบวิสัยทัศน์ของคนญี่ปุ่นในเรื่องของศิลปะด้วย ผมประทับใจจีนในฐานะประเทศที่มีอำนาจ และประทับใจที่เขาสามารถฟื้นกลับมาจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกได้โดยรู้จักเดินหมากเรื่องการเมือง อุตสาหกรรมและทุนนิยมไปพร้อมกัน

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
เครื่องมือสำคัญในการทำงานของคองโก

ช่วยเล่าเรื่องบูติคที่คุณเปิดในฮานอยสักหน่อยค่ะ
ผมเข้าหุ้นกับนายทุนคนหนึ่งที่เป็นผู้เปิดบูติคแบรนด์ชื่อ Cyril Kongo ให้ผมช่วยนำเสนอศิลปินจากเวียดนามและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แกลเลอรี่สโตร์ระดับแฟล็กชิปแห่งนี้จะนำเสนอวัตถุและภาพวาดต้นฉบับต่างๆ แล้วผมยังจะช่วยพัฒนางานฝีมือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ด้วย อย่างเช่นงานแลคเกอร์และงานแกะสลักของเวียดนาม หรืองานผ้าบาติคของอินโดนีเซีย ผมจะเดินทางไปรอบๆ ภูมิภาคนี้และตีความภูมิปัญญาในแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ ผมอยากให้ทุกคนเห็นถึงทักษะแบบดั้งเดิมเหล่านี้ที่เรามีอยู่ในประเทศชาติของเราและเป็นที่น่าภูมิใจของเราแต่อาจจะดูโบราณไปหน่อย และผมจะเติมวิสัยทัศน์ในแบบร่วมสมัยของผมลงไปครับ

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
คองโกในวัยเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง: Banksy’s “Show Me the Monet” Fetched GBP 7.5 at Sotheby’s London


The Paris-based self-taught artist, who started off painting graffiti in the streets, today counts Richard Mille and Pierre-Alexis Dumas as his friends.

Words: Nina Starr

Kongo a.k.a. Cyril Phan has never been particular about the surface he leaves his mark on, whether wall, canvas, shop window, trunk, dress, bag, scarf, jewellery, champagne bottle, humidor, car or even airplane, multiplying collaborations with French brands like Chanel, Hermès, Richard Mille, Daum and La Cornue to showcase traditional European savoir-faire. The 51-year-old French-Vietnamese artist likes the idea of being able to appropriate an everyday object and transform it into a work of art, something that makes life more beautiful. We sit down with him to find out about his life during the Covid-19 crisis, giving back to society and his plans for the future.

How did you live out the confinement France put in place to stop the spread of the novel coronavirus?
I proposed a project to the Paris hospitals: I donated a painting to the Hospitals of Paris – Hospitals of France Foundation, which they sold at auction to raise funds to help these hospitals. My second initiative was an installation at Lariboisière Hospital to thank the nursing staff directly, and then I made a digigraph of this work, which I’m currently selling via my website, where all profits will be donated to the hospital. These guys had no masks and wore the same PPE while treating several people, when usually they’re supposed to change them each time. They had to wear cooks’ outfits to work. It was completely crazy.

Did the subject of your artworks change?
I did a whole series on paper on the present moment called Confinement, where I forced myself to make one drawing per day to crystallise this unique moment. Over several generations, we didn’t have the occasion to experience a global pause. No country, person, government or law has succeeded in stopping the world like that, and there are certainly going to be catastrophic consequences compared to the old world, but in the new world, a lot of reflexes will be created where the planet will also have a real break in terms of pollution, new forms of intensified communication and a new form of consumption.

What role can artists play in such a context?
In a world of anxiety like the one we’re living in, we need to offer something fun, enjoyable, some positive emotion. For example, when I stress, I like to drink a glass of wine and eat cheese – this is my French side. For people to have a painting of a given moment, that they put at home and change their decor, I think it’s something that de-stresses, that gives a desire for renewal. What an artist can offer in such a context is to bring a little beauty into the world and uplift spirits, which is necessary, because if people watch the news all the time, it is so anxiety-provoking.

You don’t speak about collaborations with brands, but about encounters between creators from different universes. What do you mean by that?
All the collaborations that I have been able to achieve with these universes have in fact been encounters. I met the decision-makers with whom we exchanged ideas, which then created a bridge between our two universes. That’s why each collaboration was never done by a marketing team, for example. Moreover, I refuse 90 per cent of the projects that have been brought to me like this. I think that the success of a collaboration comes first through an encounter, authenticity, integrity in creation, then comes the sales or marketing work. That’s not my job, but it comes afterwards.

You’ve also partnered with the Antoine de Saint Exupéry Youth Foundation to paint a vintage Nord 1000 airplane.
The idea was to raise funds to produce The Little Prince tactile art book with drawings in relief for the blind. My grandfather was blind. He had jumped on a mine in Vietnam and lost his eyes. As a kid, I read the newspaper to him, so when the Saint Exupéry Foundation proposed this project to me, I accepted because it was in the direction of my life and it served others. I believe the most important thing in the life of a person is to serve concretely for a cause and to be able to inspire people.

When did your almost visceral relationship with Asia start?
I am half Asian. My dad is Vietnamese and therefore I have always been linked to Asia, especially Southeast Asia, by half my family. I had the chance to progress between Europe, Africa and Asia, so I am a true citizen of the world.

You were one of the first artists to present street art in China. How did it come about?
I created the Eating Frogs Tour in 2004 with a group of friends comprising big names in graffiti painting, DJing and dance to present French hip-hop in South China: Guangzhou, Shenzhen and Hong Kong. At the time, I met a 16-year-old kid called Fansack, who is a Chinese artist, super passionate, and he told me he started graffiti in China in 2000 and had seen me in various documentaries. I told him if he came to France one day to call me. Two or three years later, I received a phone call from him saying he was in France. He became my assistant and I showed him my savoir-faire. Now, he has returned to China, to Chengdu, to develop his career and I believe he’s an artist who will make it big.

We’ve seen you in Jakarta, Singapore, Hong Kong, Shanghai, etc. What was your best experience in Asia? Your favourite capital?
Each experience is magnificent. I have a special fondness for Singapore, which impresses me by the modernity of its vision. The country is managed like a company and everyone follows the same path. I find it interesting as a Parisian where here everything is all over the place. Sometimes it feels good to have some boundaries for the common good, and Singapore impresses me a lot with regards to that. I find that there is a quality of life there, which is very interesting.

I also love Indonesia, especially Bali, where I find a lot of spirituality and a bit of the disorder of Paris. I particularly like Vietnam because it’s part of my blood. I love Japan for its modernity and the total change of scenery that we can have there, and the vision they have of art, too. I am very impressed by China, by its power, how it managed to rebound and become a major force in the world, knowing how to mix politics, industry and capitalism.

Tell me about the boutique you have opened in Hanoi.
I partnered with a financier who’s opening a Cyril Kongo brand boutique for me to highlight Vietnamese and Southeast Asian artists. It will be a flagship store-gallery. I will present objects and original drawings, but I also want to develop the savoir-faire of Southeast Asia, like Vietnamese lacquer, carving and Indonesian batik. I’ll go around Southeast Asia and reinterpret Southeast Asian savoir-faire. I want to highlight all these traditional skills that we have at home that we are proud of, but which seem a bit old-fashioned, and give my contemporary vision to them.

Luxury art featured by Luxuo Thailand -- The Luxury Lifestyle Curator
Cyril Kongo Boutique in Hanoi

See also: Banksy’s “Show Me the Monet” Fetched GBP 7.5 at Sotheby’s London

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image