Transience นิทรรศการแรกในชีวิตของ ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล
บทความ: อังคณา วงศ์วิเศษไพบูลย์ ภาพ: ชัชนันท์ ฉันทจินดา
ในฐานะนักแสดง ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล สวมบทบาทเป็นตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในจอมานานนับสิบปี ก๊อตมีความสามารถหลากหลายด้าน ล่าสุดเขาเผยความสามารถอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยสัมผัส ในนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกที่มีชื่อว่า Transience การแสดงผลงานศิลปะแอ็บสแตรกต์ 30 ชิ้นที่เขาได้ถ่ายทอดออกมาจากภวังค์ความรู้สึกและประสบการณ์ตรงจากการนั่งสมาธิ
ช่วยเล่าที่มาของนิทรรศการนี้
Transience คือเรื่องของการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในตัวเองผ่านประสบการณ์ตรงแล้วยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนมัน แค่เฝ้าสังเกต มันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเองตลอด ผมทำงานมาหลายรูปแบบมาก ทั้งใช้พู่กัน ใช้เทคนิคหลายๆ อย่าง แต่พอมาทำงานประเภทที่เป็นเท็กซ์เจอร์ ผมใช้ทรายละเอียดกับทรายหยาบผสมกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเทียบเคียงได้กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัว เหมือนเวลาที่เรานั่งสมาธินานๆ เราจะเจอทั้งความหยาบและความละเอียดในตัวเอง ผมเลยแทนค่าความหยาบนั้นด้วยทราย แล้วแทนค่าความละเอียดด้วยสี

ทำไมต้องเป็นแอ็บสแตรกต์
ถ้าเรามองข้ามชื่อเรียกไปว่ามันเป็นแอ็บสแตรกต์หรืออะไรก็ตาม สุดท้ายมันจะเหลือแค่ว่าเรารู้สึกยังไงกับมันขณะที่ได้ทำ ยกตัวอย่างเด็กที่เล่นก่อกองทราย เขาไม่คิดหรอกว่ามันต้องเป็นอะไร แค่รู้สึกสนุกกับการสัมผัสทราย ได้ปั้นได้วาง มีแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ตั้งคำถามว่าก่ออะไร ด้วยความที่โตมากับกรรมพันธุ์ทางสังคมที่สอนมา ทุกอย่างเลยต้องอธิบายได้ ผู้ใหญ่แปะป้ายให้กับทุกสภาวะตามธรรมชาติ แต่แอ็บสแตรกต์ไม่ใช่ แอ็บสแตรกต์มีแต่ความรู้สึกล้วนๆ รู้สึกยังไงก็ออกมาอย่างนั้น จักษุกระทบรูป เกิดความรู้สึกปีติขึ้นภายใน … จบ
เวลาทำภาพเซ็ตนี้ผมนั่งดูมันแล้วจะไม่ตั้งคำถาม แต่ดูว่ามันลิงก์กับปฏิกิริยาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเปล่า เมื่อใดที่มันเกิด sensation บางอย่างขณะที่ดูรูป ผมพอละ ผมว่าใช่ละ รู้สึกละ แต่ถ้าความรู้สึกมันยังไม่ใช่ ผมจะไม่เอา ผมกลบแล้วทำใหม่จนกว่ามันจะลิงก์กับสภาวะที่เราเจอในประสบการณ์ตรงมาแล้ว

ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คุณศึกษาธรรมะหรือเปล่า
ไม่ใช่ส่วนหนึ่งแต่เป็นส่วนใหญ่ครับ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือการเฝ้าสังเกตธรรมชาติตามที่มันเป็น บางคนสังเกตธรรมชาติแล้วอาจถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเสียงดนตรี บางคนถ่ายทอดออกมาในรูปแบบคำสอน แต่ผมรู้สึกสนุกที่จะถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสี ของเท็กซ์เจอร์ต่างๆ
ทั้ง 30 ภาพที่นำมาแสดงมันถ่ายทอดออกมาจากโมเมนต์ไหนของคุณบ้าง
มันบอกไม่ได้นะว่าอันไหนคือความสุข คือความทุกข์ เพราะผมไม่ได้บันทึกความสุขหรือความทุกข์ไว้ ผมแค่บันทึกสภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ [ช่วงเวลาสองปีที่ปฏิบัติธรรมอย่างหนัก] แต่ตอนนี้มันกลายเป็นอดีตไปแล้ว

เพราะอะไรคุณถึงเลือกใช้สีขาว สีดำ สีแดง เป็นหลัก
มันเป็นสีที่ถูกจริตผมที่สุด สีแดงแทนค่าการหยั่งลึกเข้าไปในกาย คือกายเราเป็นธาตุน้ำที่เต็มไปด้วยเลือด ส่วนสีขาวแทนค่าด้วยสติปัญญา เป็นของเดิมที่มีอยู่ก่อน และสีดำแทนค่าหลายเรื่อง เช่น เรื่องของมิติเวลาที่เราหลับตามันจะเข้าสู่ความนิ่ง ในขณะเดียวกันก็แทนค่าการสมมติ การปรุงแต่ง
เอกลักษณ์ของงานคุณคืออะไร
ผมชอบเรื่องการยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น จะเห็นว่ารูปมีความหยาบ มีความย้อนแย้งกัน นั่นแหละความจริงของเรา

อะไรคือเมสเสจที่คุณอยากบอกในภาพ
ไม่อยากบอกอะไรเลยครับ แค่ดูแล้วเขารู้สึกผมก็โอเคแล้ว ผมไม่ได้ซีเรียสว่าคนจะต้องเข้าใจความหมายของรูป เพราะรูปพวกนี้ก็เหมือนเรายืนดูก้อนเมฆ โดยที่ไม่สงสัยเลยว่าทำไมฟ้าปั้นก้อนเมฆให้เป็นแบบนี้ แค่อิ่มเอิบกับมัน สุดท้ายเราจะหลุดจากปากเองว่า ‘สวยจัง’ แค่นั้น แต่พอเป็นผลงานที่ออกมาจากคน เรากลับตั้งคำถามว่าหมายความว่าอะไร เห็นมั้ยว่าเราไม่ได้ใช้สายตาที่รับรู้ธรรมชาติมารับรู้งานศิลป์
ในฐานะศิลปิน คุณคิดอย่างไรกับคนที่เสพงานแอ็บสแตรกต์
ผมว่าคนเสพงานอาร์ตมีอะไรที่ละเมียดละไม คนที่เสพอาร์ตจริงๆ เขาไม่สนว่ามันสวยหรือไม่สวย เขาสนใจว่าเมื่อเห็นรูปแล้วเขาเห็นปฏิกิริยาความรู้สึกบางอย่างในตัวเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นคนที่เสพรูปแอ็บสแตรกต์จึงเป็นคนที่มีความละเมียดละไมทางจิตใจประมาณหนึ่ง เป็นคนที่รับรู้ความละเอียดอ่อนได้ ซึ่งคนประเภทนี้สามารถนั่งดูเงาที่ทอดลงมาจากใบไม้ เห็นแสงกระทบตกมา มีฝุ่นลอดแสงเงาได้

เชิญสัมผัสกับ Transience นิทรรศการที่ให้คุณเสพได้ทั้ง ‘รูป’ ‘เสียง’ ‘กลิ่น’ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 18 เมษายน 2564 ณ Joyman Gallery เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 11.00-19.00 น. โทร. 065-124-2222, 065-124-1111
บทความที่เกี่ยวข้อง: Now you can own a piece from the Louvre
Transience at Joyman Gallery showcases the latest work of Got Jirayu Tantrakul.
Words: Angkana Wongwisetpaiboon Photo: Chatchanan Chantajinda
The majority of Thai people know Got Jirayu Tantrakul as a seasoned actor with over 10 years of experience. The gentleman is indeed multi-talented. Most recently, he has revealed his artistic persona through his first solo exhibition called Transience: a collection of 30 abstract pieces created from his reverie of feelings and direct experience gained through meditation.
Please tell us more about how this exhibition came to be.
Transience is a story of how changes are perceived from within, through direct experience, through accepting things as they are. There is no attempt to change – there is nothing but observation. Internal changes are constant. I have worked on several formats. I have used brushes and other techniques in the past. But when it comes to texture, I used a mixture of fine and coarse sand. My creation reflects my inner feelings. It’s like when you meditate for a long time and you sense the coarse side and the fine side of yourself. That is why I choose to represent that coarseness with sand and the fineness with colours.
Why abstract?
If we can get over the terminology, whether it is abstract or whatever, it eventually boils down to how you feel when working on it. A child building something out of sand doesn’t think about the eventual result. He just wants to enjoy the touch of it, that tactile feeling. Adults would ask what it is that he is trying to shape. We are socially engineered to explain everything. As an adult, you give any circumstance in the nature a label. Abstractism isn’t that. Abstractism is about feelings. It is an expression of your feelings. Once the eyes see the creation, the feeling of elation arises in the heart … and that’s it.
When I was working on this series of paintings, I looked at them without questioning them. I was looking for linkage and reactions. Once I sense something when I was looking at them, I was done. I knew that was it. I could feel it. But if the feeling wasn’t right, I would paint it over and redo it until it linked with that state of mind I experienced.
Does it have something to do with your dhamma studies?
Not something but a lot. Dhamma is nature. Dhamma is observation of nature as it is. Some may translate that observation of the nature into music, some in the form of teaching. For me, I am eager to translate it into colours and textures.
These 30 paintings were created out of which moment of yours.
I can’t say which one was happiness or sadness. I didn’t record happiness or sadness. I was merely recording the state of mind as it took place at each instant [during the two years of intensive dhamma practice]. But it is the past now.
Why did you choose to use primarily white, black and red?
They best correspond with my temperament. Red represents a dive deep into the body. Our body is filled with blood. White represents intellect – what you already had in the beginning. Black represents many things such as the dimension of time when you close your eyes and enter the state of stillness. At the same time, it represents assumption and manipulation.
What is the characteristic of your work?
I like to accept things as they are. When you see that coarseness, that contradiction, that is our reality.
And the message you want to tell through these paintings?
Nothing at all. If they feel something out of my work, I’m good. I am not too concerned about people understanding the meaning behind my paintings. They are like the clouds. We look at the clouds in the sky without asking why they were formed so. We just enjoy them and eventually say, hey, they are nice. That’s it. But when the work is created by human, we like to question its meaning. See? We are not using the same eyes we use to take in the nature to take in work of art.
As an artist, what do you think of people who appreciate abstractism?
I think people who appreciate art are refined. True art lovers don’t care about beauty or the lack thereof. They care about whether or not they feel something when they look at a painting. Given that, people who enjoy abstract paintings are emotionally refined. They can sense trivial things. They are the kind of people who can watch how the shadow is casted by the leaves, see the reflected light and the dust that dances between that light and shadow.
Indulge in the sensory experiences of Transience from 28 February to 18 April 2021 at Joyman Gallery. Admission is free daily from 11:00 to 19:00. For more information, please call 065-124-2222 or 065-124-1111.

See also: Now you can own a piece from the Louvre