คุณจก เสริมคุณ คุณาวงศ์ จากนักสะสมสู่ผู้สร้างบ้านพิพิธภัณฑ์แห่งแรงบันดาลใจ
บทความ: LuxuoTH ภาพ: ธนัท เตรียมชาญชูชัย กำกับแฟชั่น: รัชดา ทับทิมเพ็ชร
ในโลกของศิลปะและการสะสมงานศิลป์ของไทย คุณจก เสริมคุณ คุณาวงศ์ ถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีบทบาทอย่างโดดเด่น ด้วยความหลงใหลในศิลปะและประวัติศาสตร์ คุณเสริมคุณได้สร้างสรรค์ “บ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์” ให้เป็นแหล่งรวมสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ใน Cover Story เดือนนี้ Luxuo Thailand ได้รับเกียรติพูดคุยกับคุณเสริมคุณถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังการสร้างสรรค์และการสะสมงานศิลป์ มุมมองที่มีต่อวงการศิลปะไทย และเรื่องราวน่าสนใจของบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นที่เก็บรวบรวมของสะสม แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนรุ่นใหม่ที่ได้มาเยือน

อยากให้คุณเสริมคุณเล่าให้ผู้อ่านฟังว่าศิลปะมีความหมายหรือความสำคัญกับชีวิตของตนเองอย่างไร
ผมว่าศิลปะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคน ทั้งที่บางคนบอกว่าไม่ชอบศิลปะ แต่ศิลปะมันอยู่กับเขาตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก ทั้งความนุ่มนวลของเสื้อที่เขาใส่ตอนที่เขายังช่วยตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงสีของเครื่องเล่นที่มันหมุนอยู่ตรงหน้าเขาตอนที่เขายังลืมตาไม่ได้ ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งชีวิตของเรามันประกอบไปด้วยศิลปะ ทุกเช้าที่เราเลือกเสื้อผ้า การแมทช์ระหว่างสีกางเกง เสื้อชั้นใน เสื้อชั้นนอก รวมทั้งแจ็คเก็ต ศิลปะอยู่รอบตัวเรานะครับ ผมไม่ได้จำกัดความว่าศิลปะมันหมายถึงเฉพาะรูปเขียนหรือประติมากรรม แต่ศิลปะมันเป็นสิ่งประยุกต์ที่อยู่กับเราตลอดครับ
ปัจจุบันนี้คุณเสริมคุณมีการสร้างผลงานของตนเองเท่าเดิมหรือน้อยลง เพราะอะไร
เรื่องการทำผลงานศิลปะของตัวเอง ผมมองเป็น 2 นัยยะ เช่น บ้านพิพิธภัณฑ์ทั้งหลังนี้ ผมถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นใหญ่ของผม เพราะว่ามันใช้ทั้งความรู้ในเรื่องของดรอวอิ้งที่ผมสเก็ตช์ภาพต่างๆ ใช้ทั้งความรู้ในเรื่องของสี หรือความชอบของเราในเรื่องอินทีเรีย รวมทั้งระยะมอง เช่น ในห้องพระ ระยะมองกับขนาดของพระมันมีความสัมพันธ์กัน มันจะส่งผลหรือไม่ส่งผลอะไร เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมเพิ่งทำงานศิลปะชิ้นใหญ่เสร็จ คือบ้านพิพิธภัณฑ์หลังนี้ครับ

ในฐานะที่คุณเสริมคุณเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์และผู้สะสม คิดว่าวงการศิลปะไทยในเวลานี้เป็นอย่างไรบ้าง
วงการศิลปะไทยก้าวหน้าไปมากในช่วง 5-6 ปีมานี้นะครับ จากการขยายตัวของศิลปะไทยสมัยใหม่ (Thai Art Now) ที่บุกเบิกโดย Gongkan, Suntur, Crybaby แล้วก็ Alex Face ท่านเหล่านี้ได้บุกเบิกให้คนหันมาสนใจศิลปะมากขึ้นเยอะ แล้วก็ศิลปะไทยยังก้าวไปอีกมาก เพราะว่าถ้าเทียบกับนานาชาติแล้ว เราเหมือนกับเป็นอนุบาล เป็นเพียงการเริ่มต้นของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่รอเราอยู่เบื้องหน้าครับ
อย่างนั้นคุณเสริมคุณคิดว่าต่อไป วงการศิลปะไทยจะเป็นอย่างไร
ต่อไปวงการศิลปะไทยของเราก็น่าจะขยายความนิยมในหมู่คนไทยมากขึ้น น่าจะเป็นแนวนิยมที่ว่าในห้องนั่งเล่นทุกห้อง เริ่มจากห้องนั่งเล่นก่อนนะ ในคอนโดเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องประเภทสตูดิโอ หนึ่งห้องนอน สองห้องนอนก็ตาม จะมีงานศิลปะที่เขาซื้อไว้หนึ่งชิ้น อาจจะเป็นภาพพิมพ์ของ Suntur ที่ราคาสักหนึ่งหมื่น ประมาณนี้ อันนี้จะเป็นมาตรฐานใหม่ของไลฟ์สไตล์ของคนไทยครับ

เกณฑ์ในการเลือกสะสมผลงานศิลปะของคุณเสริมคุณคืออะไร
เกณฑ์สำคัญในการเลือกงานศิลปะของผมก็คงจะเลือกอันที่ชอบครับ เอาที่ชอบๆ อย่างนั้นครับ แต่ว่าสำหรับผมแล้ว ส่วนตัวเป็นคนชอบด้านประวัติศาสตร์ด้วย หน้าตาก็เหมือนวิชาการ เราก็ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ แล้วเราก็เก็บบางชิ้นที่อยู่ในเส้นทางเดินของกาลเวลาเหล่านั้นเข้ามาไว้ด้วยกันด้วยครับ
ทำไมคุณเสริมคุณจึงคิดทำบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ และมีแรงบันดาลใจมาจากที่ใดหรือเรื่องอะไร
ถ้าถามว่าทำไมถึงสร้างบ้านพิพิธภัณฑ์หลังนี้ขึ้นมา ก็คือสร้างเอาไว้อยู่ครับ ไม่ได้สร้างเอาไว้ให้คนดู วัตถุประสงค์คือสร้างเอาไว้อยู่เอง เพื่อให้เรารู้สึกว่า เราได้ชื่นชมสิ่งที่เรารัก รวมทั้งครอบครัวของเราก็ได้ชื่นชมไปด้วย แล้วเราก็แบ่งปันอาทิตย์ละหนึ่งวัน ให้คนอื่นได้มาเข้าชมครับ นี่ก็คงเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของบ้านครับ

สิ่งจัดแสดงภายในบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์ ชิ้นใดแพงที่สุดและชิ้นใดได้มายากที่สุด
ชิ้นงานศิลปะในบ้านหลังนี้ชิ้นไหนแพงที่สุดหรือ ผมคิดว่าที่แพงที่สุดก็คือตัวบ้านหลังนี้เองซึ่งก็เป็นงานศิลปะอันหนึ่ง หมายถึงตัวสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายในทั้งหมด อันนี้คงเป็นสิ่งที่แพงที่สุดของบ้านพิพิธภัณฑ์ครับ หรือครุฑที่อยู่ด้านหลังผมนี่ เป็นงานในยุคนีโออิตาเลียน ครุฑซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของประเทศไทยมายาวนานที่มาในรูปแบบศิลปะตะวันตก ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นในอิตาลีแล้วก็ในรัสเซียมันมีลัทธิศิลปะนี้เกิดขึ้น ก็เลยเป็นช่วงเวลาเฉพาะที่รังสรรค์ให้เกิดครุฑชิ้นนี้ขึ้นครับ
คุณเสริมคุณคิดว่าเส้นแบ่งระหว่าง “คุณค่า” และ “มูลค่า” ของผลงานอยู่ที่ใด
“คุณค่า” และ “มูลค่า” ของงานศิลปะเป็นเรื่องท้าทายนักคิดนักปราชญ์ทั่วโลกมายาวนานนะครับ ผมคิดว่าคุณค่าและมูลค่านี่มันเป็นเรื่องคล้ายๆ กัน แม้กระทั่งคำก็ยังคล้ายกัน แต่จริงๆ มันคนละเรื่องเลยนะครับ คุณค่านี่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คุณค่าที่ถูกเชื่อถือโดยสังคม มันก็จะมีระยะเวลาที่เชื่อถือด้วยนะครับ เช่น กำไลสมัยสำริดซึ่งผมก็มีด้วย กำไลสมัยสำริดที่มีงูมีสัตว์เลื้อยคลานซึ่งใช้ในพิธีกรรมก็ย่อมจะมีคุณค่าสูงในสมัยโน้น แต่เมื่อมาเป็นยุคนี้ก็เทียบไม่ได้กับแจกันพอร์ซเลนสมัยหมิง เพราะฉะนั้นทั้งคุณค่าและมูลค่ามันเป็นเรื่องสมมติที่มนุษย์แต่ละยุคเชื่อ มันก็เป็นเรื่องค่อนข้างที่จะเป็นปรัชญา ไม่มีอะไรตายตัวครับ

ผู้เยี่ยมชมบ้านพิพิธภัณฑ์เสริมคุณในปัจจุบันเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติมากกว่ากัน และมีแผนการประชาสัมพันธ์ต่อไปอย่างไร
คนเยี่ยมชมปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทยครับ ชาวต่างชาตินี่ก็มีเข้ามาเยี่ยมชมทุกอาทิตย์อยู่แล้ว แล้วก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ เราก็หวังว่าบ้านพิพิธภัณฑ์จะเป็นห้องรับแขกอีกห้องหนึ่งของคนไทยที่ใช้ต้อนรับเพื่อนต่างแดน ให้เขาได้เห็นแล้วก็ได้รับแรงบันดาลใจ ให้รู้ว่าประเทศไทยมีรากอารยธรรม แล้วก็มีศิลปะมาจนถึงยุคสมัยใหม่ที่น่าสนใจ แล้วผมก็พบว่า คนต่างประเทศที่มาเที่ยวที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคนฝรั่งเศส รัสเซียก็เคยเจอ ญี่ปุ่น อเมริกันก็มีครับ เขาก็จะทึ่งกันว่า ทั้งหมดที่ฉันเห็นนี่เป็นของศิลปินไทยหรือ ความรู้สึกนี้มันทำให้เรารู้สึกเหมือนได้รับรางวัลครับ ที่เราได้ยินอย่างนั้น ซึ่งมันดีมากครับ
คุณเสริมคุณคาดหวังให้ผู้เยี่ยมชมได้รับอะไรกลับไปจากบ้านพิพิธภัณฑ์คุณาวงศ์แห่งนี้
ผมไม่คิดว่าคนที่มาชมที่นี่จะต้องเป็นอาร์ตเลิฟเวอร์เพียงอย่างเดียว ก็หมายถึงว่าไม่ได้เป็นผู้รักในศิลปะอย่างเดียว คือผู้รักในศิลปะควรมาอยู่แล้วครับ แต่ว่าผู้ที่ไม่ได้คิดว่าตัวเองตั้งตนเป็นแฟนพันธุ์แท้ศิลปะ ก็จะได้อะไรจากบ้านหลังนี้ด้วยเช่นกัน เพราะผมเชื่อ แล้วผมก็พบว่า หลายๆ คนที่ได้มาเที่ยวที่นี่เขาก็จะได้แรงบันดาลใจจากมุมใดมุมหนึ่งในบ้านหลังนี้ หรืออาจจะเป็นแรงบันดาลใจจากงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งในบ้านหลังนี้ เช่นเดียวกับตอนที่ผมเป็นเด็ก แล้วผมก็อ่านหนังสือชื่อ “ชาวกรุง” แล้วผมก็เห็นภาพของ “ช่วง มูลพินิจ” บ่อยๆ หลายๆ สัปดาห์ มีคอลัมน์ชื่อ “ระเบียงภาพ” ที่เป็นภาพถ่าย แต่ 2 สิ่งในหนังสือชาวกรุงก็ทำให้ต่อมาผมมาเป็นช่างภาพ ต่อมาก็ได้มารู้จักอาจารย์ช่วง แล้วเราก็มีคอลเลกชันอาจารย์ช่วงที่สมบูรณ์แบบที่สุดคอลเลกชันหนึ่ง เพราะฉะนั้นการให้มีแรงบันดาลใจ มันเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่เราสามารถจะให้กับคนอื่นได้ วันหนึ่งคนๆ หนึ่งที่มาเยี่ยมชมที่นี่อาจจะไปเติบโตงอกงาม เป็นดอกผลอะไรที่เราชื่นใจได้ครับ

สุดท้ายนี้คุณเสริมคุณอยากเห็นการสนับสนุนด้านศิลปะในไทยจากภาคส่วนใด และอย่างไรบ้าง
ผมอยากจะให้ประเทศไทยมีนโยบายในการสนับสนุนศิลปะหลายๆ ด้าน อันที่หนึ่งก็คืออยากให้มีการเปิดกว้าง ให้ศิลปะจากทั่วโลกรวมทั้งศิลปะไทยที่อยู่ในต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยโดยไม่มีภาษีมากั้น คือให้เหมือนเป็นเมืองปลอดภาษีด้านศิลปะ ก็จะเกิดการหมุนเวียน แล้วก็จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางศิลปะของอาเซียนและเอเชีย หวังไว้อย่างนี้อย่างเดียวเลยครับ แล้วก็การเติบโตงอกงามของหอศิลป์ระดับนานาชาติในประเทศไทย ก็อาจจะเป็นก้าวต่อไปจากการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภาษีนะครับ วันนี้เป็นแค่ก้าวที่หนึ่งของศิลปะไทย เรายังมีอีกหลายๆ ก้าวซึ่งผมก็คงจะไม่ได้ก้าวไปกับทุกคนตลอดกาล แต่ผมเชื่อว่าก้าวเล็กๆ ของผมอาจจะทำให้เกิดก้าวต่อๆ ไปในที่สุดครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง: Sirawat Thepcharoen on Passion for Music and the Beats of Success
The collector built an inspiring museum and opens it to the public.
Words: LuxuoTH Photo: Thanut Treamchanchuchai Styling: Ratchada Tubtimphet
Sermkhun Kunawong is a prominent figure who has long played an important role in the Thai art and art collecting scene. His passion for art and history led him to build the Kunawong House Museum as a depository of invaluable cultural assets. For this month’s Cover Story, Luxuo Thailand was honored to talk to Khun Sermkhun about what inspires him to create and collect art, his views on the Thai art scene, and the compelling story behind the Kunawong House Museum, which in addition to being the place where the owner’s art collections are stored and exhibited, also serves as a link between the past and present and a source of inspirations for new generations of visitors.

What can you tell our readers about the meaning of art and its importance to life?
I think art is part of all our lives. Some say they don’t like art, but art is something that’s always with us from the moment we open our eyes for the first time. It’s in the softness of the shirt we wore when we were unable to take care of ourselves, in the colors of the toys that spun in front of us when we didn’t yet open our eyes. And not only that, but art is a component of life. It’s in the way you choose your clothes every morning, how you match the colors of your trousers, your inner shirt, your top, your jacket. Art is all around us. My definition of art isn’t limited to paintings and sculptures. Art in its applied form is always present around us.
Are you creating your own works as much as before or are you doing less of that today and why?
I consider this house museum a large work of art. It took my knowledge of drawing and sketching, my knowledge about colors, my passion for interiors, and my knowledge of things like viewing distances. In the Buddha image room, for instance, do the relationships, or lack thereof, between viewing distances and sizes of the images create an impact? From this point of view, I have just finished a big work of art – this house museum.

As someone who is both a creator and a collector, what are your views on the current Thai art scene?
The Thai art scene has made a lot of progress in the past 5-6 years on the strength of Thai Art Now’s expansion, pioneered by Gongkan, Suntur, Crybaby, and Alex Face. These individuals have blazed a trail, leading a lot more people to become interested in art. But Thai art still has plenty of room to move ahead because compared to the international art scene, we are still in kindergarten. This is merely the beginning of great things that lie ahead.
With this in mind, in what direction do you see Thai art moving from where it is now?
Thai art is likely to gain wider popularity among Thai people. By popular I mean it will be in every living room. Even in a small condo, a studio or one- or two-bedroom, there will be a piece of art that the owner has bought, maybe a 10,000 baht print by Suntur. This will become a new lifestyle standard among Thais.
What are your criteria for art collecting?
The major criterion for me is to choose what I like. I am a history buff. I love to study art history, to collect pieces made along the passage of time and gather them together.

What gave you the idea to create the Kunawong House Museum? Where or from what did you get the inspiration?
If you ask me why I built this house museum, the answer is I built it to live in it, not to show it to others. This build-to-live-in objective allows me to feel that I get to admire what I love, and my family also gets to admire them. And one day a week, we share it by allowing others to come and see it.
Of all the display objects within the Kunawong House Museum, which one is the costliest and which was the hardest to acquire?
Which of the art works is the costliest? I think the house itself, the architecture and all of the interior decoration. Together they are the costliest thing. And the garuda you see behind me, a Neo Italian work. Garuda has long been an important emblem of Thailand. This piece is in a pre-World War II Western art style. That was the period when this art movement took place in Italy and Russia, and also when this garuda sculpture was created.
Where would you draw the line between “value” and “worth” of art works?
The value of art versus its worth has long been a challenging topic for the world’s thinkers and philosophers. Value and worth are similar – even the Thai words for them [khun kha and mula kha] are similar – but they are two different things. Two different types of value exist. The value that society puts on things only lasts for a time. For example, Bronze Age bracelets – of which I own several – Bronze Age bracelets with images of serpents and reptiles were once used in ritual performances. They were highly valued in their own time, but today they cannot compare to Ming porcelain vases. Both value and worth are human constructs that humans of the corresponding periods believe in. They are philosophical propositions and not set in stone.

Currently, does the museum receive more Thai or foreign visitors, and what are your plans to further promote the museum?
Currently, the majority of our visitors are Thais. We do have foreigners come in every week and their number is steadily growing. We hope the museum can serve as another receiving room for us Thais to receive our friends from overseas, allowing them to take a look around, get inspired, and know that Thailand has civilized roots and is home to interesting art up to and including the modern period. I have found that most foreign visitors who come here – we have had French, Russians, Japanese, even American visitors – they are impressed that what they see are all by Thai artists. Hearing that makes me feel as if I have received an award. It’s very rewarding.
What do you expect visitors to take home with them from the museum?
I don’t expect our visitors to all be art lovers. Art lovers of course should come, but those who don’t think of themselves as art devotees will also find something to take home with them. I believe, and I have found that many who come here find inspiration in some corner or another of this house, or one of the art works on display. When I was a child, I was a Chao Krung magazine reader. I would frequently see drawings by Chuang Moolpinit and also the “Photo Gallery” column in the magazine. These two things in Chao Krung led me to become a photographer and then to meet Ajarn Chuang. And now I am the owner of one of the most complete collections of Ajarn Chuang’s works. Inspiration is a big gift that we can give to others. Some of our museum visitors could one day go on to make something beautiful and make us proud.
On a closing note, what would you like to see happen in terms of support for Thai art?
I would like for Thailand to have policies supporting different aspects of art. First of all, I would like to see free movement of art from around the world, including Thai art abroad, into Thailand without tax barriers, making Thailand a freeport for art. This would create an influx leading Thailand to become an art hub for the ASEAN region and all of Asia. This is my one and only wish. The growth of international art galleries in Thailand could come as the next step after developments in the tax area. What we see happening today are merely the first steps for Thai art. There are many more steps ahead and I probably won’t always be around to take them along with all of you, but I believe that my own small steps could eventually lead to the next step, and then to the next.

See also: Sirawat Thepcharoen on Passion for Music and the Beats of Success