Luxuo Thailand สรุปให้คุณดูแบบโพสท์เดียวจบว่าแบรนด์ใหญ่ในวงการต่างๆ มีสถานะอย่างไรกันบ้าง ณ วันสิ้นปี 2020
บทความ: รักดี โชติจินดา
เราเคยมีบทความหนึ่งที่เป็นการสรุปว่าแบรนด์โรงแรมชื่อดังแบรนด์ใดอยู่ในเครือใด บทความนั้นเผยแพร่ช่วงครึ่งหลังของปี 2019 และเป็นที่นิยมชมชอบของผู้อ่านจำนวนมาก นำไปสู่ยอดแชร์ที่สูงติดอันดับท็อปเท็นของปี ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าเพียงอีกไม่กี่เดือนให้หลัง ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในบทความนั้นจะหมดประโยชน์ไปเพราะสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้เราทุกคนไม่อาจเดินทางไปยังที่ต่างๆ ในโลกได้
มาดูกันครับว่าผู้เล่นรายใหญ่ในแต่ละวงการเขาผ่านปี 2020 กันมาได้อย่างไรบ้าง เริ่มต้นที่อุตสาหกรรมโรงแรมก่อนเลยกับเครือ Marriott ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2020 รายงานกำไรสุทธิในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 ที่จำนวน 100 ล้านดอลลาร์ (เปรียบเทียบกับเดิม 387 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสเดียวกันของปี 2019) ขณะนี้โรงแรมของ Marriott จำนวน 94% ทั่วโลกเปิดรับแขกตามปกติแล้ว และในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ Marriott ยังได้ขยายจำนวนห้องพักอีกกว่า 19,000 ห้อง ด้วยหวังว่าผู้คนจะกลับมาเดินทางกันอย่างคึกคักอีกครั้งหลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดสิ้นสุดลงแล้ว
และตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 เป็นต้นไป โรงแรมบางแห่งในเครือ Marriott ที่สหรัฐอเมริกาจะมีให้บริการตรวจหา Covid-19 แบบออนไซท์เลยด้วยเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้ากลุ่มจัดประชุม หุ้นของ Marriott มีชื่อย่อหลักทรัพย์ MAR ในตลาด NASDAQ ราคาปิดวันที่ 2 มกราคม 2020 อยู่ที่ 151.49 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาปิดวันที่ 31 ธันวาคม 2020 อยู่ที่ 131.92 ดอลลาร์สหรัฐ (-12.88%)
อีกเครือหนึ่งที่วุ่นอยู่กับการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงและเปิดโรงแรมใหม่ก็คือ Hilton ชื่อย่อหลักทรัพย์ของเครือนี้คือ HLT อยู่ในตลาด NYSE และมีราคาปิดปีที่ 111.26 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งก็เท่าๆ กับราคาตอนเปิดปีทั้งที่มีช่วงที่ดิ่งลงไปถึง 44.30 ดอลลาร์สหรัฐมาแล้วระหว่างปี แม้ว่าสถานการณ์ในปี 2020 จะไม่เอื้ออำนวย แต่บริษัทอายุ 101 ปีแห่งนี้ก็สามารถบรรลุหมุดหมายสำคัญในการมีห้องพักมากถึง 1 ล้านห้องแล้วในที่สุดจากการมีโรงแรมและรีสอร์ทรวมราว 6,300 แห่งภายใต้ 18 แบรนด์ดัง
และตั้งแต่ก่อนที่ปี 2020 จะสิ้นสุดลง Hilton ก็ออกข่าวให้นักลงทุนและสื่อมวลชนตั้งตารอชมโรงแรมและรีสอร์ทแห่งใหม่อีกอย่างน้อย 21 แห่งในปี 2021 นี้ในเมืองต่างๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นไทเป ลาสเวกัส ปารีส มาดริดและหมู่เกาะแฟโร แล้วยังมีโปรแกรม WorkSpaces by Hilton ที่จะเปิดห้องให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการแบบเดย์ยูสเหมือนเป็นออฟฟิศส่วนตัวเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงานที่บ้าน หรือเพื่อให้มีสมาธิโดยตัดขาดจากความวุ่นวายภายในบ้านของตน โปรแกรมนี้มีให้บริการที่สหรัฐอเมริกา แคนาดาและสหราชอาณาจักร
มาต่อกันที่ที่พักอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือ Airbnb ซึ่งเป็นข่าวดังแบบใหญ่โตเมื่อเดือนธันวาคมจากการที่หุ้น ABNB ในตลาด NASDAQ เป็นหุ้นไอพีโอสุดฮ็อต กล่าวคือ มีราคาไอพีโอที่ 68 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เปิดตลาดด้วยราคาซื้อขายวันแรก 146 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะขึ้นไปถึง 165 ดอลลาร์สหรัฐแล้วกลับมาปิดวันแรกที่ 144.71 ดอลลาร์สหรัฐหรือสองเท่าของราคาไอพีโอโดยประมาณ
จากวันนั้นราคาหุ้น ABNB ก็ขึ้นๆ ลงๆ เรื่อยมาโดยลงไปปิดต่ำสุดที่ 121.50 ดอลลาร์สหรัฐก่อนที่จะกลับขึ้นไปสูงสุดที่ 174.97 ดอลลาร์สหรัฐแล้วปิดที่ราคา 146.80 ดอลลาร์สหรัฐในวันทำการสุดท้ายของปี ทั้งนี้ เป็นที่เชื่อกันว่า Airbnb จะได้รับอานิสงส์จากเทรนด์การท่องเที่ยวใหม่ที่ผู้คนจำนวนหนึ่งจะต้องการหลีกเลี่ยงโรงแรมและรีสอร์ทขนาดใหญ่ หรือบางทีอาจอยากหลีกหนีเมืองใหญ่ที่มีคนเยอะไปเลยก็ได้
แต่หุ้น BA ของ Boeing ในตลาด NYSE ไม่ได้สดใสแบบนั้น เพราะ Boeing ต้องรับมือกับวิกฤติ 737 Max มาตั้งแต่ก่อน Covid-19 เริ่มต้นแล้ว เล่าย้อนหลังคร่าวๆ ว่า 737 Max เป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ผ่านการรับรองและเริ่มใช้งานกันในปี 2017 แต่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงสองครั้งในเดือนตุลาคมปี 2018 (Lion Air ที่อินโดนีเซีย) และมีนาคมปี 2019 (Ethiopian Airlines ที่เอธิโอเปีย) จนนำไปสู่การสั่งพักใช้งานเครื่อง 737 Max ทุกเครื่องทั่วโลกเพื่อความปลอดภัย แล้ว Boeing ยังต้องมาเจอกับโคโรน่าไวรัสที่ทำให้การบินทั่วโลกต้องหยุดชะงักอีก เป็นเหตุให้ลูกค้าที่เป็นสายการบินนั้นยกเลิกเครื่องบินที่สั่งซื้อบ้างหรือไม่ก็เลื่อนการรับเครื่องที่ผลิตเสร็จแล้วบ้าง ทั้งเครื่องรุ่นนี้และรุ่นอื่นๆ
ในปีเดียวกันนี้เอง Boeing ยังประกาศในเดือนกรกฎาคมว่าจะยุติการผลิตเครื่องบินรุ่น 747 ในปี 2022 เพราะความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่ที่ลดลงเป็นอย่างมาก และก่อนหน้านี้สายการบินต่างๆ ก็ลดการใช้เครื่อง 747 แบบโดยสารลง เหลือเพียงแบบที่ใช้ขนส่งสินค้าเป็นส่วนมาก ราคาหุ้นของ Boeing สะท้อนถึงสถานการณ์ลบทั้งหมดนี้ด้วยการดิ่งลงไปถึงจุด 89 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนมีนาคมก่อนที่จะกลับขึ้นมาปิดปีที่ 214.06 ดอลลาร์สหรัฐ (-34.29% จากวันทำการแรกของปี)
เครื่องบินขนาดใหญ่ที่ต้องยุติการผลิตอีกรุ่นก็คือ Airbus A380 ทั้งที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2005 นี้เอง A380 เป็นเครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานี้และเป็นเครื่องบินแบบสองชั้น แต่ด้วยสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป สายการบินต่างๆ จึงรู้สึกว่าไม่คุ้มที่จะใช้เครื่องใหญ่หากขนาดนี้หากไม่ใช่เส้นทางระยะไกลและหากเครื่องไม่เต็ม ในขณะที่บางสายการบินยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปทางใดต่อก็มีสถานการณ์ Covid-19 เกิดขึ้นมาทำให้ไม่ต้องคิดอีกต่อไปเพราะแค่เอาตัวให้รอดก็เหนื่อยแล้ว
Airbus จากฝรั่งเศสมีการเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมซึ่งระบุว่าบริษัทมีรายได้รวมจากทุกกิจการในช่วง 9 เดือนแรกของปี 3.02 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 4.62 หมื่นล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 หุ้น AIR ของ Airbus ในตลาด EPA ปิดที่ราคา 89.78 ยูโรเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2020 หรือลดลง 31.19% จากระดับ 133.52 ยูโรเมื่อวันทำการแรกของตลาด 2 มกราคม 2020
หากท้องฟ้ามีปัญหามากนัก เรามาดูราคาของหุ้นอะไรบนพื้นดินกันบ้าง นั่นก็คือหุ้น RACE ของ Ferrari ในตลาด NYSE ซึ่งเปิดปีที่ราคา 168.51 ดอลลาร์สหรัฐและจบปีที่ราคาสูงขึ้น 38.65% เป็น 229.52 ดอลลาร์สหรัฐ (อนึ่ง ราคาไอพีโอของหุ้นตัวนี้เมื่อปี ค.ศ. 2015 คือ 52 ดอลลาร์สหรัฐ)
Ferrari ต้องปิดโรงงานเป็นการชั่วคราวตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมเพราะว่าสถานการณ์ Covid-19 ที่อิตาลีนั้นรุนแรงมาก แต่อุปสงค์ที่ตลาดมีให้กับรถ Ferrari นั้นมั่นคงเหมือนเดิมเพราะว่าคนที่จะซื้อได้นั้นก็ย่อมมีฐานะดีแบบเหลือเฟืออยู่แล้ว ยอดการส่งรถของ Ferrari ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 คือ 6,440 คัน เปรียบเทียบกับยอด 7,755 คันของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 และ Ferrari ก็คาดว่าจากยอดการผลิตที่ตกไป 2,000 คันในช่วงล็อคดาวน์นั้นตนจะกลับมาผลิตเพิ่มได้อีก 500 คัน ซึ่งเราก็ต้องรอดูตัวเลขสรุปยอดทั้งปีต่อไป โดยเราคาดว่าจะเห็นรายงานฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์นี้
มาดูแบรนด์เพื่อนร่วมชาติอย่าง Lamborghini กันบ้าง เพราะว่าทำลายสถิติเดือนกันยายนด้วยการส่งรถรวมทั้งหมด 738 คัน ถือเป็นเดือนกันยายนที่ Lamborghini ส่งรถมากที่สุดนับตั้งแต่ที่ดำเนินกิจการมา 57 ปี เดี๋ยวเราต้องมาดูกันว่ายอดรวมทั้งปีของ Lamborghini ในปี 2020 จะเป็นกี่คัน เพราะในปีก่อนหน้านั้นยอดอยู่ที่ 8,205 คันเพราะว่ารถเอสยูวี Urus ขายดีเป็นอย่างมาก และทางบริษัทออกมาพูดก่อนที่จะมี Covid-19 ว่าจะรักษาระดับการผลิตไว้ไม่ให้เกินไปกว่านี้ในปี 2020
ปีนี้ Lamborghini ได้ประธานและซีอีโอคนใหม่ด้วยในเดือนพฤศจิกายน ที่จริงจะเรียกว่า “ใหม่” ก็ไม่ถูกนัก เพราะคุณสเตฟาน วิงเกิลแมนน์เคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วจากปี 2005 ถึง 2016 นี่จึงต้องเรียกว่าเป็นการกลับมาเสียมากกว่า แต่คุณวิงเกิลแมนน์ก็ไม่ได้ทิ้งตำแหน่งประธาน Bugatti ที่ดำรงอยู่ด้วย ทั้งนี้ Lamborghini และ Bugatti ต่างก็เป็นบริษัทในเครือ Volkswagen Group หุ้นของเครือนี้อยู่ในตลาด ETR และมีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า VOW3 ราคาปิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2020 คือ 180.50 ยูโรและราคาปิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2020 คือ 152.42 ยูโร
ขยับขึ้นไปทางเหนือที่เยอรมนีกันต่อเลย หุ้น DAI ในตลาด ETR ของ Daimler ปิดปี 2020 ที่ราคา 57.79 ยูโร (+17.05% จากราคา 49.98 ยูโรเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2020) แม้รายงานการเงินแบบสรุปรวมทั้งปีจะยังไม่ออกมา แต่รายงานระหว่างกาลที่ออกมาสำหรับไตรมาสที่ 3 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2020 ก็ระบุว่าบริษัทมีรายได้ 107,688 ล้านยูโรในช่วงสามไตรมาสแรกของปี (ลดลง 14% จาก 125,618 ล้านยูโรของช่วงเดียวกันในปี 2019)
เฉพาะในไตรมาสที่ 3 นั้น Daimler มียอดขายรถแบบนับเป็นคันลดลงรวม 8% หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2019 จะเห็นว่ายอดขายรถยนต์ Mercedes-Benz ลดลง 8% ยอดขายรถบรรทุก Daimler ลดลง 25% ยอดขายรถบัส Daimler ลดลงอย่างรุนแรง 43% ในขณะที่ยอดขายรถแวน Mercedes-Benz สูงขึ้น 7% ตัวเลขดังกล่าวพอจะสะท้อนความต้องการของตลาดได้บ้างว่าเมื่อเจอ Covid-19 เข้าไปแล้วความต้องการได้เปลี่ยนไปอย่างไร และเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Daimler ยังได้เปิดตัวรถเอ็มพีวีแบบไฟฟ้าล้วน Mercedes-Benz EQV เป็นครั้งแรกด้วย
เมื่อพูดถึงรถพลังงานไฟฟ้าแล้วจะไม่พูดถึง Tesla ก็คงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหุ้น TSLA ในตลาด NASDAQ ทะยานขึ้นแล้วขึ้นอีกรวม 743.44% จาก 86.05 ดอลลาร์สหรัฐ (ราคาที่คำนวณขึ้นใหม่หลังแตกหุ้นในช่วงปี) เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2020 ไปจบที่ 705.67 ดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 31 ธันวาคม ทั้งนี้ หุ้น TSLA ยังเข้าไปอยู่ในดัชนี S&P 500 ในปีเดียวกันนี้ด้วย หลังจากที่หุ้นเข้าตลาด 10 ปีพอดีที่ราคาในเวลานั้นเพียงแค่ 17 ดอลลาร์สหัฐเท่านั้น
เรื่อง Tesla นั้นถ้าจะเอาจริงๆ คงต้องเขียนเป็นบทความแยกต่างหากไปเลย สำหรับบทความนี้ ขอให้ท่านรู้เพียงว่า Tesla มีกำไรต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสแล้ว ณ จุดสิ้นสุดของไตรมาส 3 ปี 2020 และเราก็จะได้เห็นต่อไปว่าไตรมาส 4 ของปี 2020 นั้นจะเป็นไตรมาสที่ 6 ที่ Tesla ทำกำไรต่อเนื่องได้หรือไม่ เวลานี้ต้องรอดูรายงานฉบับเต็มต่อไปก่อน เพราะในเบื้องต้นนั้น Tesla เปิดเผยเพียงแค่จำนวนการผลิตและส่งรถเท่านั้น โดยมียอดการส่งรถในปี 2020 รวม 499,550 คันซึ่งอีกนิดเดียวก็จะได้ตามเป้า 500,000 คันแล้ว
แต่เทคโนโลยีไม่ใช่ทุกสิ่ง ผู้คนยังคงต้องการสิ่งของอะไรที่จับต้องได้ ให้ความสุขความพึงพอใจในการครอบครองได้ เพราะเป็นของที่มีเรื่องราวหรือต้องใช้ความชำนาญในการผลิต นั่นเป็นเหตุที่ทำให้สินค้าลักชัวรียังคงขายได้อย่างต่อเนื่องในปี 2020 แม้ว่าจะเป็นตลาดที่มีการหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 ตามผลการศึกษาของ Bain & Company Luxury Study ครั้งที่ 19 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา การศึกษาเดียวกันนี้ยังคาดอีกด้วยว่าในปีใหม่นี้ตลาดลักชัวรีจะทำกำไรส่วนที่หายไปในปีที่แล้วกลับคืนมาได้ 50%
ถ้าเราจะใช้ราคาหุ้นของบริษัทใหญ่ๆ ในธุรกิจลักชัวรีเป็นตัวชี้วัด เราก็คงจะต้องมองไปที่ Hermès ก่อนเลย เพราะว่าหุ้น Hermès ที่มีชื่อย่อหลักทรัพย์ RMS ในตลาด EPA นั้นเริ่มต้นปีที่ราคา 671 ยูโรและจบปีที่ราคา 879.60 ยูโรหรือคิดเป็นการเติบโต 32.03% ทีเดียว ขณะนี้รายงานประจำปี 2020 ยังไม่ออก โดยเราคาดว่าน่าจะได้เห็นภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่สิ่งที่เราทราบแล้วก็คือตัวเลขครึ่งแรกของปี 2020 ซึ่ง Hermès มีรายได้ลดลง 24.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019
LVMH หรือ Moët Hennessy Louis Vuitton มีข่าวสารส่งถึงผู้ถือหุ้นและสื่อมวลชนบ่อยกว่าเราจึงมีรายละเอียดมาเขียนเพิ่มเติม ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2020 เครือ LVMH ระบุว่า “ธุรกิจไวน์และสุราและธุรกิจแฟชั่นและเครื่องหนังมีแนวโน้มในการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020” หุ้นของ LVMH ในตลาด EPA มีชื่อย่อหลักทรัพย์ MC และมีราคาสูงขึ้น 23.35% ในปีที่ผ่านมา โดยเปิดปีที่ 419.15 ยูโรและปิดปีที่ 510.90 ยูโร ถึงแม้ว่ารายได้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีจะต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 21% ก็ตาม
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุดของเครือนี้คือธุรกิจร้านค้าปลีก (-32%) เนื่องจากมีร้านค้าปลอดภาษีหนึ่งแบรนด์ (DFS) และมีธุรกิจบริหารร้านค้าบนเรือสำราญ (Starboard Cruise Services) เพราะว่าผู้คนยังเดินทางท่องเที่ยวเหมือนเดิมไม่ได้ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรองลงมาก็คือนาฬิกาและจิวเวลรี (-31%)
กลุ่มต่อไปที่ต้องพูดถึงคือ Kering เพราะว่ามีธุรกิจลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ แฟชั่นและเครื่องหนัง (Gucci, Saint Laurent, Bottega Veneta, Balenciaga, Alexander McQueen และ Brioni) นาฬิกาและจิวเวลรี (Boucheron, Pomellato, Dodo, Qeelin, Ulysse Nardin และ Girard-Perregaux) หุ้น Kering ในตลาด EPA มีชื่อย่อหลักทรัพย์ KER และมีราคาเปิดปีที่ 594.40 ยูโรและปิดปีที่ราคาพอๆ กัน คือ 598 ยูโร
รายงานล่าสุดจาก Kering เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2020 ระบุว่ายอดขายในไตรมาสที่ 3 กลับตัวสูงขึ้นจนเกือบจะเท่ากับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้าแล้ว รายได้รวมของเครือในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมานี้คือ 3,717.7 ล้านยูโร ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2019 เพียง 1.2% เท่านั้น ตลาดที่ฟื้นตัวดีสำหรับ Kering คืออเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นนั้นยังคงไม่ฟื้นเพราะว่าขาดนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกของ Kering ในช่วง 9 เดือนแรกของปีมาจากช่องทางอีคอมเมิร์ซ 12.5%
ราคาหุ้นของ Richemont ซึ่งเป็นเครือบริษัทนาฬิกาและจิวเวลรีรายใหญ่อีกเครือหนึ่งก็มีแนวโน้มไม่ต่างกัน หุ้นของ Richemont ในตลาด SWX มีชื่อย่อหลักทรัพย์ CFR และเปิดปีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2020 ที่ราคา 76.58 ฟรังก์สวิสแล้วปิดปีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2020 ที่ราคา 80.08 ฟรังก์สวิส รายงานทางการเงินระหว่างกาลล่าสุดที่ครอบคลุมช่วงเวลาครึ่งปีการเงินของ Richemont จากเมษายนถึงกันยายน 2020 ระบุว่าประเทศจีนเป็นตลาดที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะว่ามียอดขายสูงขึ้นถึง 83% ซึ่งในจุดนี้เราก็อนุมานเองได้ว่าเป็นเพราะคนจีนไม่ได้เดินทางไปเที่ยวที่อื่นจึงต้องซื้อของอยู่ในประเทศตนเอง แม้ว่าตัวรายงานจะไม่ระบุชี้ชัดเช่นนั้นก็ตาม
แต่สิ่งที่รายงานดังกล่าวระบุก็คือว่าแบรนด์จิวเวลรีของ Richemont ทำรายได้มากกว่าแบรนด์นาฬิกา เพราะแบรนด์จิวเวลรีมียอดขาย 3,061 ล้านยูโรในช่วงครึ่งปีดังกล่าว (-18% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019) ในขณะที่แบรนด์นาฬิกามียอดขาย 966 ล้านยูโร (-38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019) ทั้งนี้ เราควรชี้ให้เห็นด้วยว่าในปีก่อน Covid-19 นั้นยอดขายของเครือนี้เป็นจิวเวลรี 51% และนาฬิกา 21% อยู่แล้ว
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มียอดส่งออกนาฬิกาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2020 อยู่ที่ 12,263,040 เรือน เดือนที่อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือมีนาคมถึงมิถุนายน ยอดส่งออกในเดือนกันยายนนั้นไต่ระดับกลับมาเท่ากับยอดของเดือนกุมภาพันธ์แล้ว และยอดส่งออกของเดือนตุลาคมยังสูงกว่าเดือนมกราคมด้วยซ้ำ นาฬิกาที่ส่งออกราวครึ่งหนึ่งหรือ 6,060,606 เรือนนั้นส่งมายังเอเชีย และอีกครึ่งหนึ่งเป็นยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ แอฟริกาและโอเชียเนีย ตัวเลขส่งออกแบบนับจำนวนเรือนดังกล่าวนี้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 ถึง 35.2% แต่หากจะดูจากมูลค่าส่งออกนั้นตัวเลขลดลงเพียง 23.1% ซึ่งก็สอดคล้องกับเทรนด์ที่เราเห็นมาตั้งแต่ปี 2015 ที่ว่านาฬิกาสวิสราคาถูกมีการส่งออกน้อยลง ส่วนนาฬิกาที่มีราคาแพงนั้นมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
และไม่ว่าจะถูกหรือแพง Swatch Group ก็เป็นเครือบริษัทนาฬิกาที่มีแบรนด์ครอบคลุมทุกช่วงราคา รายงานรอบครึ่งปีของ Swatch Group ระบุว่า “ผลการดำเนินงานของเครือโดยรวมกลับมาเป็นบวกในเดือนมิถุนายน” และชี้ด้วยว่า “ตลาดที่ออกจากการล็อคดาวน์แล้วมีความต้องการนาฬิกาสูงมากในทุกระดับราคา” หุ้นของ Swatch Group อยู่ในตลาด SWX และมีช่อย่อหลักทรัพย์ UHR ราคาหุ้นเปิดปีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2020 อยู่ที่ 270.60 ฟรังก์สวิสและปิดปีในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 ที่ราคา 241.50 ฟรังก์สวิส
ราคาหุ้นทั้งหลายนี้ไม่อาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดทุกสิ่งได้ แต่อย่างน้อยก็พอจะสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทหรืออุตสาหกรรมได้ และสำหรับปี 2020 ที่ Bitcoin มีราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าลงต่ำสุดในรอบสองปีเช่นนี้ พวกเราทุกคนก็คงจะต้องหาตัวเลขอะไรต่างๆ มาเป็นเครื่องอ้างอิง ไม่ว่าเราแต่ละคนนั้นจะมีบทบาทอะไรในอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ตาม
**Luxuo Thailand จะอัพเดทบทความนี้อีกครั้งช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์เมื่อบริษัทต่างๆ ข้างต้นประกาศตัวเลขงบการเงินของไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว**
บทความที่เกี่ยวข้อง: What exactly is esports and why it matters to businesses
Luxuo Thailand takes a look at how some top names in the various sectors fared in 2020.
Words: Ruckdee Chotjinda
We recall with great fondness the immense response we have received for our article, on who is who in the hotel industry of the world, in the second half of 2019. In fact, it was one of our most shared pieces of writing that year. Little did we know that the travel industry would come to a halt just a few months later because of the pandemic.
So how did the major players fared in the year of great change? Most recently, on 6 November 2020, Marriott reported a Q3 net income of USD 100 million, compared to the USD 387 million of the same period of 2019. As many as 94% of the group’s hotels around the world are open to guests, and they have added more than 19,000 rooms globally in the third quarter in anticipation of post-pandemic travel rebound.
Beginning January 2021, certain hotels of the group in the United States of America will offer Covid-19 testing on-site in order to bolster confidence in group meetings. Their MAR stock on the NASDAQ closed at USD 151.49 on 2 January 2020 and at USD 131.92 on 31 December 2020 (-12.88%).
Equally busy adapting, improving and launching was the Hilton whose HLT stock on the NYSE ended the trading year at USD 111.26 – virtually the level they began the year with, despite having had a low of USD 44.30. Despite everything that was going on in 2020, the 101-year-old company already reported a significant milestone of reaching 1 million rooms across 6,300 properties under 18 brands.
Even before the year ended, Hilton was already teasing investors and journalists with news of at least 21 hotels and resorts to open in 2021 in destinations as varied as Taipei, Las Vegas, Paris, Madrid and Faroe Islands. People working from home in the United States, Canada and the United Kingdom can benefit from a change of scenery and a pause from distractions with the WorkSpaces by Hilton day-use program.
Elsewhere in the travel sector, in December, Airbnb’s ABNB stock on the NASDAQ became one of the hottest IPOs of the year. With the IPO price of USD 68, ABNB opened the first day trading at USD 146 before hitting a high of USD 165 and closing at USD 144.71 or double the IPO price.
From that day, its price was a mini rollercoaster that dipped to USD 121.50 at one point before going back up to a high of 174.97. It closed at USD 146.80 on the last trading day of the year. It is believed that Airbnb will benefit from the new travel trend where people may avoid crowded hotels and resorts or big cities altogether.
Boeing (NYSE: BA) is not so lucky. The company was already dealing with an ongoing crisis even before Covid-19. Their 737 Max, certified and entered service in 2017, was involved in two fatal crashes in October 2018 (Lion Air in Indonesia) and in March 2019 (Ethiopian Airlines in Ethiopia) before all aircrafts of this type were grounded. The pandemic only compounded to the confidence issue, resulting in cancellations and deferments of the 737 Max and other aircrafts.
Boeing also confirmed in July that the 747 program, serving primarily cargo users in recent years, will end in 2022. Boeing stock reflected these circumstances, dipping as deep as USD 89 in late March. It ended the year at USD 214.06 (-34.29% from the first trading day of the year).
Suffering similar fate is the Airbus A380. The largest passenger aircraft at the moment took to the sky for the first time in 2005. However, changing market dynamics rendered the double-decker less attractive to airlines unless their long-haul flights are full. And, of course, the pandemic was the final nail in the coffin as airline customers themselves struggle to survive.
The most recent report published by Airbus was on 29 October. The French company’s consolidated revenues for first nine months of the year was EUR 30.2 billion, down from EUR 46.2 billion of the same period in 2019. Airbus’s AIR stock on the EPA closed at EUR 89.78 on 31 December 2020, 31.19% down from EUR 133.52 it started the year with on 2 January 2020.
If the sky was not so bright, maybe we can look to the roads and to products for the few instead for more sustained demand and sales. Ferrari, listed as RACE on NYSE, began the year at USD 168.51 and finished it 38.65% up at USD 229.52 – its IPO price back in 2015 was USD 52.
Ferrari had to close their factory temporarily from mid March to early May as Italy was severely affected by Covid-19. The demand for their supercars was not significantly affected though because their buyers are beyond any financial troubles. In the first nine months of 2020, Ferrari’s shipments amounted to 6,440 units, compared to 7,755 for the same period of 2019. The company also expected recovery of 500 units from the 2,000 lost during the lockdown. Whole year figures should be published by February 2021.
Lamborghini achieved a record-breaking delivery of 738 units in September 2020 – that was the highest of all Septembers in the 57 years of the company’s operation. Earlier in 2019, they sold a total of 8,205 units, thanks to a strong boost by their Urus SUV. The company indicated before Covid-19 that they planned to maintain the number for 2020.
On an unrelated note, a new President and CEO, Stephan Winkelmann, was appointed in November 2020. Technically, he is not “new” though because he was in that very same position from 2005 to 2016. This is his return, while also maintaining his President role at Bugatti. Both Lamborghini and Bugatti are owned by the Volkswagen Group whose VOW3 stock on the ETR closed at EUR 180.50 on 2 January 2020 and at EUR 152.42 on 30 December 2020.
Up north in Germany, Daimler’s DAI stock on the ETR ended 2020 at EUR 57.79 (+17.05% from EUR 49.98 on 2 January 2020). While the final numbers of 2020 have yet to be published, their Q3 interim report on 23 October 2020 showed revenue of EUR 107,688 million for the first three quarters (-14% from EUR 125,618 million of the same period in 2019).
In the third quarter alone, the group’s units sold decreased by an overall 8%. Compared to Q3 2019, Mercedes-Benz cars sales was down by 8%, Daimler trucks down by 25% and Daimler buses down by a staggering 43%, while Mercedes-Benz vans sales rose by 7% – yet another reflection of how Covid-19 is changing market needs. The group also announced the premiere of Mercedes-Benz EQV fully electric MPV in November 2020.
Speaking of electric vehicles, Tesla’s TSLA has had an incredible year on the NASDAQ skyrocketed 743.44% from USD 86.05 (adjusted amount for subsequent stock split in the year) on 2 January 2020 to USD 705.67 on 31 December 2020. It entered the S&P 500 index in this same year – exactly 10 years after becoming listed at USD 17 per share.
This topic of Tesla may require a dedicated article by itself. Fundamentally, Tesla has been profitable for five consecutive quarters as of end of Q3 2020 and we will see for sure if Q4 2020 will the sixth one once the full financial performance is revealed. So far, Tesla has only shared production and delivery figures: a total of 499,550 units where delivered in 2020, just under the target of 500,000 units.
But consumers of the world are not all about technology. It remains fulfilling for them to indulge in time-honoured products and age-old traditions where they can. That is why luxury goods still sold in 2020, despite first contraction of the market since 2009, according to the 19th edition of the Bain & Company Luxury Study released in November 2020. The study also indicated expectation that the market will recover 50% of the 2020 profit loss in this new year.
Outside of those findings, some big names continue to be a strong performer in the stock market. The RMS stock of Hermès on the EPA began the year at EUR 671 and finished it at EUR 879.60 – a 32.03% rise. The company’s 2020 full year report should be published by end of February 2021. For the time being, we only know that their revenue for the first half of 2020 is 24.2% down from the same half of 2019.
LVMH or Moët Hennessy Louis Vuitton publishes investor relations materials more frequently so we have more details to share. On 25 October 2020, they indicated “significant improvement in trends in the third quarter of 2020 in wines and spirits and fashion and leather goods”. LVMH trades as MC on the EPA. The stock rose 23.35% in the year from EUR 419.15 to EUR 510.90. This is despite their revenue in the first nine months of 2020 being 21% lower than the same period of the prior year.
Their hardest hit arm is selective retail (-32%) which encompasses one duty free shop business (DFS) and one cruise ship shopping business (Starboard Cruise Services), for the obvious reasons. Their second hardest hit arm is watches and jewellery (-31%).
Kering (EPA: KER) is the next group to mention as they operate in the same areas of fashion and leather goods (Gucci, Saint Laurent, Bottega Veneta, Balenciaga, Alexander McQueen and Brioni), watches and jewellery (Boucheron, Pomellato, Dodo, Qeelin, Ulysse Nardin and Girard-Perregaux). Kering’s stock exited 2020 at EUR 594.40 – virtually the same level as how it began the year (EUR 598).
Latest report from Kering on 22 October 2020 indicated a sharp rebound in Q3 sales to nearly the same level as the same period in 2019. Their Q3 2020 consolidated revenue is EUR 3,717.7 million, down 1.2% from Q3 2019. Markets with good recovery for the group are North America and Asia Pacific while Europe and Japan remained lagging due to lack of tourists. E-commerce accounted for 12.5% of the group’s retail sales in the first nine months of the year.
The share price of another major watches and jewellery group, Richemont, is not dissimilar to this. Their CFR stock on the SWX began the year at CHF 76.58 on 2 January 2020 and finished at CHF 80.08 on 30 December 2020. In their latest interim report, covering the half financial year from April to September 2020, China was cited as a single most significant market where sales rose by 83% – one may assume that it is because the Chinese customers are buying locally now that they cannot travel but this is not specifically suggested in the report.
What it did say is that Richemont’s jewellery brands fared better than watchmaking ones. Jewellery maisons posted sales of EUR 3,061 million in that half year (-18% year-on-year) while watchmaking companies achieved sales of EUR 966 million (-38% year-on-year). It must be noted though that, in the year before Covid-19, jewellery already accounted for 51% of the group’s sales, and watches 21%.
Switzerland exported 12,263,040 watches in the first 11 months of 2020. The hardest hit months are those from March to June. By September, export volume already climbed back to February level with October figure exceeding that of January. About half of the export or 6,060,606 units went to Asia and the other half to Europe, the Americas, Africa and Oceania. This is a 35.2% decrease from the same period of 2019. Contraction in terms of value is less though at 23.1%. In a way, this is consistent with the trend since 2015 where export declined for the more affordable watches and increased for the more expensive ones.
The half-year report of Swatch Group, whose watch brands cover the entire price spectrum, shared the same sentiment of “return to a positive operating result in the month of June for the overall group”. It also hinted at “very high customer demand in all price segments in markets which have already overcome the lockdown”. Swatch Group trades as UHR on the SWX. Its price was CHF 270.60 on 2 January 2020 and CHF 241.50 on 30 December 2020.
While stock prices are not entirely representative of performance, they are a reflection of investors’ sentiments on the company or the industry as a whole. And for the ended year of 2020 when Bitcoin reached all-time high and USD slid to the lowest point in two years, we all should need something as a point of reference, regardless of our actual role in these various industries.
**Luxuo Thailand intends to update this article around the end of February, once these companies publish official financial results for the last quarter of 2020.**
See also: What exactly is esports and why it matters to businesses