UBS Billionaires Insights ชี้ประชากรมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ในโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จาก 5 ปีก่อน โดยในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
บทความ: โจนาธาน โฮ
ธนาคาร UBS ของสวิตเซอร์แลนด์และ PricewaterhouseCoopers ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากฐานข้อมูลของมหาเศรษฐีและจัดทำเป็นรายงาน UBS Billionaires Insights ประจำปี ค.ศ. 2019 ในรายงานระบุว่า สถานการณ์ของโลกที่ไม่แน่นอนส่งผลให้จำนวนมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ทั่วโลกลดลง 57 คน เหลือเพียง 2,101 คน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนมหาเศรษฐีก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 จากปี ค.ศ. 2014 นั่นหมายความว่า แม้ว่าความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีทั่วโลกจะลดลงร้อยละ 4.3 แต่จำนวนมหาเศรษฐีก็ยังเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในจำนวนนี้มีมหาเศรษฐีนี 233 คนติดโผมาด้วยซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 160 คนในปี ค.ศ. 2013

ในรายงานฉบับนี้ซึ่งจัดทำเป็นปีที่ 5 ของ UBS ไม่ได้พูดถึงสถิติความมั่งคั่งของผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงมากเท่าไหร่นัก แต่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจของมหาเศรษฐีและบอกว่าพวกเขาเหนือกว่าคนอื่นอย่างไรมากกว่า
ใน 2 ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รายงานฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญของ “มหาเศรษฐีเอฟเฟ็กต์” เมื่อนักวิเคราะห์ของ UBS พบว่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 603 บริษัทที่มีคนระดับมหาเศรษฐีเป็นผู้บริหารกิจการ ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดหุ้นโดยรวมใน 47 ประเทศถึงร้อยละ 17.8 ต่อปีหรือสูงเกือบ 2 เท่าของผลตอบแทนเมื่อ 15 ปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.1

รายงานของ UBS ระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นปี ค.ศ. 2018 ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.5 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 8.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้หญิงกลายเป็นมหาเศรษฐีนีเร็วกว่าผู้ชายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปลายปี ค.ศ. 2018
ในช่วงเวลาเดียวกัน มีมหาเศรษฐีหน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวน 589 คน ทำให้ประชากรมหาเศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 เป็น 2,101 คน ในจำนวนนี้มีตัวเลขของมหาเศรษฐีนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 หรือจาก 160 เป็น 233 คนซึ่งแซงหน้ามหาเศรษฐีผู้ชายที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 39 และ 4 ใน 10 ของมหาเศรษฐีนีที่สร้างฐานะด้วยตนเองเป็นคนที่มาจากวงการธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ถึงกระนั้นก็ตาม ในปี ค.ศ. 2018 ทรัพย์สินของบรรดามหาเศรษฐีทั่วโลกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.3 หรือ 388,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่เผชิญกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สงครามการค้า ความกังวลว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงและความผันผวนของตลาดการเงิน

แรงผลักดันจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่สูงอย่างเป็นประวัติการณ์ทำให้เทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีด้านกิจการเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 2018 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 มาอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.4 หรือเกือบ 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และในปลายปี ค.ศ. 2018 มีมหาเศรษฐีในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั้งสิ้น 89 คนหรือเพิ่มขึ้นจาก 70 คนในปี ค.ศ. 2017
อัตราการเติบโตของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนอย่าง Tencent, Alibaba, Baidu, Huawei และ Xiaomi ทำให้ผู้ประกอบการของจีนกลายเป็นกลุ่มมหาเศรษฐีที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแซงหน้ารัสเซียในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจำนวนมหาเศรษฐีของจีนในปี ค.ศ. 2018 จะลดลง 48 คนเหลือเพียง 325 คน และมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิก็ลดลงร้อยละ 12.3 ด้วย แต่โดยรวมแล้วความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีจีนก็เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าหรือร้อยละ 202.6 มาอยู่ที่ 982,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เมืองเสิ่นเจิ้นหรือที่รู้จักกันในนามซิลิคอน แวลลีย์ของจีน รายงานฉบับนี้ยังระบุถึงคุณลักษณะของความเป็นผู้นำของมหาเศรษฐีที่ UBS เรียกว่า “มหาเศรษฐีเอฟเฟ็กต์” ด้วย โดยแสดงข้อมูลว่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาจนถึงปลายปี ค.ศ. 2018 อัตราผลตอบแทนของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมหาเศรษฐีเป็นผู้บริหารกิจการจะสูงกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดหุ้นเกือบ 2 เท่าหรือร้อยละ 17.8 ต่อปีเมื่อเทียบกับร้อยละ 9.1 เมื่อ 15 ปีก่อนโดยวัดจาก MSCI AC World Index

บริษัทของมหาเศรษฐีที่สร้างฐานะด้วยตนเองมีผลประกอบการโดยเฉลี่ยที่ดีกว่าบริษัทที่มีคนหลากหลายเจนเนอเรชั่นบริหารงานเพียงร้อยละ 1.4 ต่อปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนับจากปี ค.ศ. 2011 และเมื่ออำนาจการบริหารกิจการยังคงเป็นของครอบครัว ก็ดูเหมือนว่าความสามารถในการบริหารกิจการเพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดีจะยังคงมีอยู่ต่อไป
สำหรับการรับความเสี่ยงทางธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการที่เป็นมหาเศรษฐีมีทัศนคติในเชิงบวกมากๆ โดยจะเน้นที่ความเสี่ยงที่พวกเขามีความเข้าใจดีและหาวิธีอันชาญฉลาดในการลดความเสี่ยงเหล่านั้นให้เจอ พวกเขามีเป้าหมายทางธุรกิจที่มุ่งมั่น แสวงหาโอกาสใหม่ๆ บนโลกใบนี้ มีความยืดหยุ่นสูงและไม่เกรงกลัวต่อความล้มเหลวและอุปสรรคใดๆ
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจของมหาเศรษฐีพันล้านก็เหมือนกับธุรกิจครอบครัวที่มักจะใช้กลยุทธ์ระยะยาวที่เหนือชั้นในการเสนอแรงจูงใจหรือรางวัลเพื่อกระตุ้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพไม่ว่าผู้ก่อตั้งบริษัทจะยังคงเป็นคนควบคุมการบริหารอยู่หรือจ้างซีอีโอจากคนนอกเข้ามาบริหารก็ตาม ซึ่งนั่นนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่สร้างมูลค่าในอนาคตเช่นเดียวกับการลงทุนในเรื่องของกำลังคนอย่างต่อเนื่อง
According to the UBS Billionaires Insights 2019 report, there are now 2101 billionaires in the world, up 40% from five years ago with females leading the pack in terms of growth.
Words: Jonathan Ho
Working with insights gleaned from a joint UBS – PricewaterhouseCoopers billionaires database, the Swiss investment bank has released their annual UBS Billionaires Insights 2019 study which reports that even though global uncertainty has reduced the number of billionaires across the globe by 57 to 2101, across a period of fiver years, the global population of billionaires is up 38.9% from 2014. This means that despite the 4.3% fall in Billionaire wealth globally, the number of billionaires actually went up over the five years, with 233 female billionaires joining the ranks of ultra high net worth individuals up from the 160 in 2013.
Now in its fifth year, the UBS Billionaire Insights Report isn’t so much a wealth of statistics about high net worth individuals but rather, as the name would hint, provide insights into the business of billionaires and how these entrepreneurs have excelled.
The first two decades of the 21st century have been a time of unprecedented economic change and growth than at any other period in history. The UBS billionaire report also shows that the “billionaire effect” was a major factor when UBS analysts found that stock performance of 603 publicly listed companies led or directed by billionaires outperformed the global market average across 47 countries to a tune of almost double 17.8% versus 9.1% over the last 15 years.
According to UBS: Over the five years to the end of 2018, billionaire wealth grew by more than a third (34.5%), reaching a total of USD 8.5 trillion, USD 2.2 trillion higher than five years earlier. Women became billionaires at a faster rate than men over the five years to the end of 2018.
In the same period, 589 individuals became billionaires, increasing the population by 38.9% to 2,101 and among them the number of female billionaires increased by almost half (46%) in the period, with 4 in 10 of self-made women from the consumer and retail sector, rising from 160 to 233; leading male billionaires who only grew 39%. That said, in 2018 billionaire wealth dropped by 4.3%, or USD 388 billion, in the face of a strong US dollar, trade friction, fears of lower economic growth, and financial market volatility.
Driven by the unprecedented growth in eCommerce, software and technology, tech is the only industry where billionaire wealth increased in 2018, rising 3.4% to USD 1.3 trillion with net wealth almost doubling over the last five years, growing 91.4%. By the end of 2018, there were 89 tech billionaires, up from 70 in 2017.
With the growth of Chinese technology firms headlined by giants like Tencent, Alibaba, Baidu, Huawei and Xiaomi, China’s entrepreneurs have become the world’s second largest billionaire group over the past five years, overtaking Russia’s, even if there was a decline in 2018 when the number of Chinese billionaires fell by 48 to 325 with their net worth declining by 12.3%. Overall, Chinese Wealth almost tripled, growing by 202.6% to reach USD 982.4 billion.
The data showed that thanks to a variety of billionaire leadership traits that UBS called “the billionaire effect”, over the 15 years to the end of 2018, billionaire-controlled businesses outperformed by a surprisingly large margin. Those listed on the equity markets returned almost twice the average market performance with annualised performances of 17.8% versus 9.1% for the MSCI AC World Index (the fore-mentioned broad stock index).
Self-made billionaires’ companies outperformed their multi-generational peers by an average of just 1.4% annually over the 15 years, with the rate of their outperformance accelerating from 2011. When control remains in the family, outperformance seems to last.
When it comes to taking risk, billionaire entrepreneurs have a very optimistic attitude, focusing on risks they understand and finding smart ways to reduce them. They have an obsessive business focus, constantly scanning the world for new opportunities. And they are highly resilient, undeterred by failures and roadblocks. But like family businesses more generally, billionaires’ enterprises tend to pursue a long-term strategy that benefits from an exceptional alignment between performance and management incentives, whether the founder remains in control or a CEO from outside the family is hired. That leads to laser-focused research and development, concentrated on the products most likely to create future value, as well as continual investment in the workforce