Kering เล็งซื้อกิจการ Moncler เพื่อเสริมทัพความแข็งแกร่งทางธุรกิจ
บทความ: โจนาธาน โฮ
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานว่า Kering Group เจ้าของแบรนด์หรู Gucci กำลังเจรจาเบื้องต้นกับผู้ผลิตเครื่องกันหนาวสุดหรูชื่อดังสัญชาติอิตาเลียนเพื่อขอซื้อกิจการของ Moncler ซึ่งมีกลุ่มลงทุนของเรโม่ รุฟฟีนี่ ถือหุ้นอยู่จำนวน 25.4 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นไปได้ของดีลนี้ขึ้นอยู่กับว่าฟรองซัวส์–อองรี ปิโนลต์ ซีอีโอของ Kering จะสามารถหว่านล้อมรุฟฟีนี่ นักธุรกิจมหาเศรษฐีชาวอิตาลีซึ่งเป็นซีอีโอของ Moncler ได้หรือไม่
ชื่อเสียงของ Moncler ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นเมื่อแบรนด์ได้ร่วมเป็นผู้สนับสนุนเสื้อผ้าหลักของนักกีฬาสกีโอลิมปิกฤดูหนาวทีมชาติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1968 และที่สำคัญคือแบรนด์ได้ขยับจากเครื่องแต่งกายสำหรับนักสกีบนเทือกเขาแอลป์มาเป็นแบรนด์ที่ทุกคนสวมใส่ได้บนท้องถนน
ตอนที่รุฟฟีนี่เข้าซื้อกิจการของ Moncler ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทอยู่ในสภาวะเกือบล้มละลาย รุฟฟีนี่ใช้คำพูดว่า “อาการไม่ค่อยดี” ในตอนนั้นแบรนด์มีการย้ายฐานการผลิตไปที่มาดากัสการ์ คุณภาพของแจ็คเก็ตดาวน์ที่ทำจากขนเป็ดหรือขนห่านก็ตกต่ำลง จนกลายเป็นแบรนด์นอกสายตาของบรรดานักสกีระดับเศรษฐีในเทือกเขาแอสเพน เมืองรีสอร์ทฤดูหนาวในโคโลราโดและสกีรีสอร์ทอื่นๆ ที่คล้ายๆ กัน
ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา รุฟฟีนี่สร้างแบรนด์ให้กลับมายืนอยู่บนเวทีโลก เขานำแบรนด์กลับไปที่บ้านเกิดที่เมือง เกรอน็อบส์ ฝรั่งเศสเพื่อรำลึกถึงยุคทองของการเล่นสกีในช่วงวันหยุดที่เทือกเขาแอลป์อันทรงเสน่ห์ในช่วงปี คศ. 1950 – 1960 และในที่สุดก็เริ่มแตกไลน์สินค้ามาผลิตเครื่องแบบกันหนาวสำหรับเล่นสกี และกลายเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์แฟชั่นกระแสหลัก รุฟฟีนี่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มิลานในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2013 เพียงครึ่งวันแรกของการเทรดหุ้นในตลาด ราคาหุ้นก็ปรับตัวสูงขึ้นถึง 47 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 2018 สำนักข่าว Reuters รายงานเกี่ยวกับ “Genius” กลยุทธ์อันท้าทายของ Moncler นั่นคือการประกาศว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน แบรนด์จะเปิดตัวแจ็คเก็ตดาวน์รุ่นลิมิเต็ดซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดังระดับโลกให้กับ Moncler ทุกๆ เดือน โดยเริ่มจากฮิโรชิ ฟูจิวาระ เจ้าพ่อแฟชั่นสตรีทเเวร์ชื่อก้องโลกชาวญี่ปุ่น
แบรนด์หรูในเครือ Kering Group อย่าง Yves Saint Laurent, Bottega Veneta และ Balenciaga จัดว่าเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง นักวิเคราะห์มองว่าการเข้าซื้อกิจการเสื้อกันหนาวบุนวมสุดหรูของ Kering ครั้งนี้เป็นแผนที่จะควบรวมตลาดในขั้นต่อไป เนื่องจากกลุ่มบริษัทในเครือของสินค้าลักชัวรี่ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปต่างก็แย่งชิงความเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของ Moncler และ Kering มีการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ของการควบรวมกิจการ แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าจะนำไปสู่การปิดดีล
กลยุทธ์การประสานพลังของหลายๆ แบรนด์เข้าด้วยกันของ Kering Group ช่วยสร้างความหลากหลายให้กับพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่ คู่แข่งอย่าง Richemont Group ก็มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจผู้ผลิตนาฬิกาที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ในขณะที่ LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงก็ใช้กลยุทธ์เดียวกัน แหล่งข่าวภายในบริษัทระบุว่า ซีอีโอของ Kering มีความกังวลในเรื่องการพึ่งพาแบรนด์ Gucci มากเกินไปและกำลังมองหาแบรนด์แฟชั่นสตรีทแวร์และเสื้อผ้าแนวสปอร์ตตี้ลักชัวรี่ที่มีมูลค่าสูงเพื่อมาเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ
ดีลการซื้อขายแบรนด์ลักชัวรี่ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วเมื่อ LVMH เข้าซื้อกิจการ Tiffany & Co แบรนด์จิวเวลรี่ระดับไฮเอนด์สัญชาติอเมริกันในราคา 16,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอนนี้ Moncler มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการทำกำไรสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มซื้อขายในตลาดหุ้นที่มิลานเมื่อ 6 ปีก่อน สำหรับราคาหุ้นของบริษัทโดยรวมนับตั้งแต่มีการเสนอขายหุ้นเป็นครั้งแรกมีการปรับตัวสูงขึ้นถึง 187 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการทำกำไรสูงที่สุดในปีนี้ ในขณะเดียวกัน ราคาหุ้นของ Kering ก็เพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์
ชื่อของแบรนด์ Moncler ตั้งตามชื่อของโมเนสตีเย่ร์-เดอ-เคลร์มอนท์ หมู่บ้านใกล้ๆ กับเมืองเกรอน็อบส์
The move is made as the biggest European luxury conglomerates race to out-perform each other in an increasingly competitive market.
Words: Jonathan Ho
According to Financial Times, Kering Group is in preliminary talks to acquire Moncler. The Gucci-owner has held discussions with famed Italian skiwear-maker, with 25.4% currently held by Remo Ruffini’s investment group, any possibility of a take-over requires Kering CEO Francois-Henri Pinault convincing Ruffini, the Italian billionaire businessman who is also currently the brand’s CEO.
Moncler shot to international acclaim in 1968 when they were appointed to outfit the French Olympic ski team, catapulting the brand into cultural consciousness and in essence, the brand moved from one of outfits for the alpine crowd to consumers in the street.
By the time Ruffini took over Moncler in 2002, it was almost bankrupt, and in Ruffini’s words, “not in good condition”. At the time, production had moved to Madagascar where the puffer jackets were of comparatively poorer quality, rapidly losing its relevance to the style conscious high net worth skiers commonly found in Aspen and other similar ski resorts.
For the last 17 years, Ruffini nourished the brand back from its roots in Genoble, recalling the nostalgia of a golden age of ski holidays in the glamorous French Alps during the 1950s and 60s and eventually began kitting out, skiwear extended beyond its original raison d’etre and became part of mainstream fashion lexicon. Ruffini took the company public in December 2013, listing it on Milan,s stock exchange. Within the first afternoon, the share price rose 47%.
Last May 2018, Reuters reported Moncler’s ambitious “Genius” strategy: from June, the brand would offer a limited edition collection of down jackets each month, specially produced for the label by a world famous designer, beginning with Japanese streetwear king Hiroshi Fujiwara.
Kering Group already counts Yves Saint Laurent, Bottega Veneta and Balenciaga among its stable of brands, adding the maker of quilted jackets is perceived by analysts as further market consolidation as the biggest European luxury conglomerates race to out-perform each other in an increasingly competitive market. However, Bloomberg said that while “Senior executives at Moncler and Kering have held exploratory talks about a combination, there is no indication that it could lead to an acquisition”.
Kering Group’s multi-brand approach allows substantial diversification in its luxury brand portfolio, comparatively, competitor Richemont Group is more focused on specialist watchmakers where LVMH, its closest rival is more evenly matched. Sources within the company suggested that Mr. Pinault had been concerned with over dependence on Gucci and was looking into the lucrative luxury streetwear and athleisure genre.
The luxury industry’s highest profile acquisition took place last month when LVMH bought American jeweller Tiffany & Co for USD 16.2 billion. Moncler currently has a market valuation of USD 12 billion with shares surging as much as 12%, the biggest gain since the shares began trading about six years ago in Milan; its share price has grown 187% overall since IPO with its biggest gains this year. Meanwhile, Kering shares rose 1%. Moncler is named for Monestier-de-Clermont, a village near Grenoble.