Angolan Scandal Bankrupts de Grisogono

Share this article

เมื่อแบรนด์เครื่องเพชรหรูแห่งเจนีวาตกที่นั่งลำบาก หลังหุ้นใหญ่ตกเป็นจำเลยในคดีฉ้อโกงที่ประเทศแองโกล่า
บทความ: LuxuoTH โดยอ้างอิงข้อมูลจากบทความฉบับเต็มโดยโจนาธาน โฮ

[ English ]

แบรนด์จิวเวลรี่หรู de Grisogono ยื่นขอล้มละลายแล้วหลังเอกสารลับ Luanda Leaks นำไปสู่คดีความอื้อฉาวใหญ่โตที่ประเทศแองโกล่า

de Grisogono เป็นแบรนด์ที่ฟาวาซ กรูโอซี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 ด้วยเงินลงทุนเพียง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ ร่วมกับพาร์ทเนอร์อีกสองคน ชื่อแบรนด์ภาษาอิตาเลียน Grisogono นั้นมาจากคำในภาษาลาติน Chrysogonus ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก Chrysogonos χρῡσό-γονος อีกทอดซึ่งมีความหมายว่า “การเกิดขึ้นของทอง”

ความคิดสร้างสรรค์อันปราดเปรื่องของกรูโอซีนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในช่วงเริ่มแรก แต่บุคลิกส่วนตัวของเขาที่ชอบอะไรฟู่ฟ่า หรูหราและท้าทายก็มีส่วนในทางอ้อมต่อการเสื่อมถอยของแบรนด์ในภายหลังเช่นกัน

กรูโอซีซื้อหุ้นจากพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์อีกสองคนในปี ค.ศ. 1996 ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากภรรยาคนที่สามของเขา แบรนด์ de Grisogono ภายใต้การบริหารของฟาวาซ กรูโอซี เป็นที่รู้จักกันเพราะสองสิ่งด้วยกัน ได้แก่ เพชรสีดำและปาร์ตี้สุดอู้ฟู่ ภาพที่ติดตาคนมากที่สุดก็คืออาฟเตอร์ปาร์ตี้ที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์แต่ละครั้งที่ว่ากันว่าใช้งบประมาณสูงถึงครั้งละ 3 ล้านฟรังก์สวิส และเป็นแหล่งชุมนุมของเหล่าคนรวยและคนดังที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย

de Grisogono ได้รับอานิสงส์จากความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมสินค้าลักชัวรี่ในช่วงทศวรรษที่ 2000 เวลามาออกงาน Baselworld ก็มีบูธขนาดมหึมาอยู่ในฮอล 1.1 เมื่อเห็นอย่างนี้ก็จะดูว่า de Grisogono เป็นผู้เล่นระดับแถวหน้าแต่ถ้าถามว่าเขาเหมือนแฮรี่ วินสตั้นไหม เขาก็ไม่ใช่ ในช่วงที่แบรนด์ขายดีที่สุดนั้นมียอดขายปีละราว 100 ฟรังก์สวิส แต่แล้วแบรนด์นี้ก็เริ่มเข้าสู่ขาลงหลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจรอบปี ค.ศ. 2008 ทำให้ผู้คนเลือกใช้เงินซื้อของหรูหราเกินเรื่องน้อยลง และนิสัยของกรูโอซีที่ติดหรูและชอบจัดปาร์ตี้แบบเว่อร์วังก็ทำให้แบรนด์ลงเร็วยิ่งขึ้นอีก

เมื่อถึงจุดที่กระแสเงินสดเริ่มขาดมือ de Grisogono ก็ต้องขายหุ้นใหญ่ให้กับผู้ถือหุ้นจากประเทศแองโกล่าในปี ค.ศ. 2012 โดยผู้ถือหุ้นกลุ่มดังกล่าวนี้มีความเชื่อมโยงกับอิซาเบล ดอส ซานโตส บุตรสาวคนโตของอดีตประธานาธิบดีของแองโกล่าเอง และตัวกรูโอซีนั้นก็เหลือเพียงหุ้นเล็ก 25% ในบริษัท

ข้อมูลจาก Business of Fashion ระบุว่าอัยการสูงสุดของแองโกล่าได้ส่งฟ้องอิซาเบล ดอส ซานโตสแล้ว โดยเศรษฐีนีอันดับหนึ่งของแอฟริกาได้กลายเป็นจำเลยในฐานความผิดบริหารงานผิดพลาดในช่วงเวลาที่เธอดำรงตำแหน่งประธานรัฐวิสาหกิจน้ำมัน Sonangol เป็นเวลา 18 เดือน นอกจากนั้นศาลแองโกล่ายังมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของเธอและของสามีของเธอที่อยู่ในประเทศแองโกล่า เนื่องจากอัยการส่งสำนวนว่าทั้งสองมีธุรกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียเงินจำนวน 1,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ไม่เพียงเท่านั้น เงินทุนอัดฉีด 120 ล้านฟรังก์สวิสที่ใช้ซื้อแบรนด์นั้นก็หมดไปกับยอดขาดทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ Sodiam ซึ่งเป็นบริษัทค้าเพชรของรัฐบาลแองโกล่าก็ไปกู้เงินมาจากธนาคารที่อิซาเบล ดอส ซานโตสเป็นเจ้าของเพื่อใช้เป็นค่าซื้อกิจการร่วมกับซินดิกา โดโกโลผู้เป็นสามีของเธอ เงื่อนไขในการซื้อกิจการครั้งนี้เอื้อประโยชน์ให้กับโดโกโลเป็นอย่างมากโดยยกสิทธิ์การบริหารให้กับเขาโดยสมบูรณ์ แน่นอนว่าดีลนี้กรูโอซีย่อมไม่ปลื้มแน่ๆ หลังจากที่เขาเป็นผู้กุมบังเหียนมานานถึง 25 ปี

กรูโอซีออกจากตำแหน่งกรรมการและบอกลาบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งโดยสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 และแบรนด์ de Grisogono ยื่นขอล้มละลายในที่สุดเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา

บทความที่เกี่ยวข้อง: Double-Digit Increases in Revenue and Profit for LVMH


The Geneva-based jeweller is found in a gravely difficult position, following allegations made against Africa’s richest woman.

Words: LuxuoTH, based on original article by Jonathan Ho

The Angolan Scandal, exposed by the famed Luanda Leaks has just bankrupted de Grisogono – the company founded in 1993 by Fawaz Gruosi with a humble investment of USD 60,000, together with two other associates.

The Italian name Grisogono is derived from the Latin Chrysogonus, which in turn comes from the Greek Chrysogonos χρῡσό-γονος, meaning “begotten of gold”. And it was Gruosi’s penchant for mastering the ephemeral and breathe it into reality that shaped much of the brand’s early success.

A vivacious personality, with a well-known love of the finer things, an appreciation of aesthetics, and a restless spirit of adventure, Gruosi’s hands-on approach of the business, also indirectly contributed to its eventual decline.

With the financial backing of his third wife, he took sole control of the company in 1996. Under Fawaz Gruosi, de Grisogono became known for two things – black diamonds and lavish parties. Most famously, the ultra glamorous Cannes Film Festival after-party which reputedly costed CHF 3 million each time, attended by the who’s who of the glitterati elite.

Riding high on the luxury boom of the 2000s and commanding a prominent Hall 1.1 presence at Baselworld, the Geneva high jeweller seemed like it played the big leagues but a Harry Winston he was not. With an annual turnover of around CHF 100 million at its peak, the brand began to decline after the 2008 financial crisis forever altered the trend of conspicuous luxury expenditure. The downward progression was hastened by Gruosi’s love of the high life and over-the-top parties.

Facing cash flow issues, a major stake in de Grisogono was bought in 2012 by Angolan investors linked to Isabel dos Santos – the eldest daughter of Angola’s former president. Gruosi was left with a minor 25% share of the business.

According to Business of Fashion, Angola’s prosecutor general has named Isabel dos Santos, Africa’s richest woman, as a suspect in an investigation into alleged mismanagement during her 18-month stint as chairwoman of state-owned oil company Sonangol. An Angolan court separately froze her local assets and those of her husband, as prosecutors alleged that they engaged in illicit transactions with state-owned companies that cost the government USD 1.14 billion.

Furthermore, the initial CHF 120 million injection that went into acquiring the brand was used to cover subsequent losses and Sodiam, the trading arm of Angola’s state-controlled diamond agency, had in turn had borrowed money from Isabel dos Santos’s own bank to finance the takeover with her husband Sindika Dokolo. The terms of the acquisition were immensely favourable to Dokolo, giving him full management control, a deal which likely did not sit well with Gruosi who had run the company for the last 25 years.

By January 2019, Gruosi stepped away from the brand he founded and from his position as board director, exiting the business entirely. de Grisogono declared bankruptcy on 28 January 2020.

See also: Double-Digit Increases in Revenue and Profit for LVMH

Get Exclusive Connections with LUXUO Thailand
Join us today
Connect!
Close
Join us for exclusive access to Luxuo Thailand's contents and events
Subscribe
close-image